ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การเขียน Abstract บทคัดย่อ (เรื่องย่อ)
Prof Drs J Patumanond, MD, MPH, DSc MSc-PhD Program in Clinical Epidemiology Faculty of Medicine, Thammasat University
2
Types of Abstract Structured abstract Non-structured abstract
มีโครงสร้าง (ขึ้นหัวข้อ) ชัดเจน Biomedical sciences Non-structured abstract ไม่มีโครงสร้าง (ไม่ขึ้นหัวข้อ) Social sciences
3
Structured Abstract (1)
Full-structured ความสำคัญ (Importance) วัตถุประสงค์ (Objective) รูปแบบศึกษา สถานที่ และผู้ป่วย (Design, setting & participants) วิธีการวัดผล (Main outcomes & measurements) ผล (Results) [ตารางผล (Tables)] ข้อยุติและการนำไปใช้ (Conclusions & relevance) คำสำคัญ (Keywords)
4
Structured Abstract (2)
Semi-structured วัตถุประสงค์ (Objectives) วัสดุและวิธีการศึกษา (Materials & Methods) ผลการศึกษา (Results) ข้อยุติ (Conclusions)
5
การส่ง Abstract สำหรับ การประชุมวิชาการเครือข่ายวิจัยโรงพยาบาล
Structured แบบ Full-structured structures abstract with summary table or figure Content ครบถ้วน (อ่านรู้เรื่อง) ตรวจสอบกับคำชี้แจงของผู้จัดงานให้ตรงกัน ความยาว ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 แบบอักษร Tahoma 11 pt กระดาษ A4 กั้นบนล่างซ้ายขวา 1 นิ้ว ตั้ง line spacing = single ระบุคำสำคัญ (keywords) 3 – 6 คำ ให้แปลจาก MeSH (Medical Subject Headings)
6
การเตรียม Structured Abstract
ความสำคัญ (Importance) ~ 3-5 บรรทัด วัตถุประสงค์ (Objective) ~ 1 บรรทัด รูปแบบ สถานที่ ผู้ป่วย ~ 5-8 บรรทัด (Design, setting & participants) วิธีการวัดผล ~ 3-5 บรรทัด (Main outcomes & measurements) ผล (Results) ~ 5 บรรทัด [ตารางผล (Tables)] แทรกตาราง ข้อยุติและการนำไปใช้ ~ 5 บรรทัด (Conclusions & relevance) คำสำคัญ (Keywords) ~ 3-6 คำ
7
ตัวอย่าง Structured Abstract
8
คำสำคัญ: ต้อหิน ตาบอด สายตาพิการ ความดันลูกตา การรักษา ปัจจัยเสี่ยง
บทคัดย่อ ความสำคัญ: โรคต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สายตาพิการ มีผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ผู้ป่วยจำนวนมากมีความพิการทางสายตาเกิดขึ้นภายหลัง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปและลักษณะทางคลินิกที่มีผลต่อความพิการทางสายตา รูปแบบ สถานที่และผู้ป่วย: การศึกษาเชิงพรรณนา ที่โรงพยาบาลลำพูน ศึกษาผู้ป่วยโรคต้อหินที่มารับการรักษาที่คลินิกตาระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2548 วิธีการวัดผล: รวบรวมข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทางคลินิก การตรวจพิเศษ วิธีการรักษา ผลการควบคุมความดันลูกตา และสายตาหลังการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผล: ผู้ป่วยที่มารับการรักษาโรคต้อหินจำนวน 162 ราย มีประวัติโรคตาอื่นร่วมด้วยร้อยละ 24.1 มีอาการแบบเริ้อรังร้อยละ 72.8 เป็นต้อหินปฐมภูมิร้อยละ 80.9 มารับการตรวจรักษาสม่ำเสมอร้อยละ 85.8 หลังการรักษาควบคุมความดันลูกตาได้ร้อยละ 76.5 แต่ระดับสายตาเลวลงจนพิการร้อยละ 19.8 มีผู้ป่วยไม่ได้รับการตรวจลานสายตาร้อยละ 56.8 และไม่ได้รับการตรวจขั้วประสาทตาร้อยละ 75.3 ปัจจัยที่มีผลทำให้สายตาเลวลงจนพิการได้แก่ ควบคุมความดันลูกตาไม่ได้ ไม่มาตรวจตามนัด และอายุมากกว่า 60 ปี การรักษาด้วยการผ่าตัดมีแนวโน้มว่าควบคุมความดันลูกตาได้ดีกว่าการรักษาด้วยยา ข้อยุติและการนำไปใช้: พยากรณ์โรคและการดูแลผู้ป่วยโรคต้อหิน ยังไม่ดีเท่าที่ควร ผู้เกี่ยวข้องควรปรับปรุงระบบการดูแลผู้ป่วยด้วยแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ชัดเจน เพื่อควบคุมระดับความดันลูกตา และปรับปรุงการติดตามผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คำสำคัญ: ต้อหิน ตาบอด สายตาพิการ ความดันลูกตา การรักษา ปัจจัยเสี่ยง ระดับสายตา >3/60 ระดับสายตา ≤3/60 ปัจจัยเสี่ยง จำนวน ร้อยละ p-value อายุมากกว่า 60 ปี 91 70.0 29 90.6 0.023 รักษาด้วยยา 86 66.2 22 68.8 0.780 ควบคุมความดันตาไม่ดีหรือไม่ได้ 21 16.1 17 53.1 <0.001 มาตรวจตามนัดไม่สม่ำเสมอหรือไม่มา 11 8.5 12 37.5
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.