ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ดาวเสาร์ (Saturn)
5
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นดวงที่หกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง
6
ในตำนานของชาวโรมัน Saturn เป็นเทพแห่งการเกษตร หรือในตำนานของกรีกเรียกว่า Cronus
7
ดาวเสาร์เป็นที่รู้จักตั้งแต่ช่วงก่อนประวัติศาสตร์ Galileo เริ่มสังเกตเป็นครั้งแรกโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ในปี 1610 วงแหวนของดาวเสาร์เป็นลักษณะเฉพาะที่รู้จักกันดีในระบบสุริยะจนกระทั่ง ปี 1977 ถึงได้มีการค้นพบวงแหวนของดาวยูเรนัส ดาวพฤหัส และดาวเนปจูน
8
ดาวเสาร์ดูค่อนข้างแบนเมื่อมองจากกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตรและตามแนวขั้วต่างกันประมาณ 10% (120,536 km vs km) ซึ่งเป็นผลเนื่องจากการหมุนอย่างรวดเร็วและสถานะที่เป็นของเหลว
9
ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 10 ชั่วโมง 39 นาที ดาวกลุ่มก๊าซทั้งหลายก็มีลักษณะค่อนข้างแบนเช่นกัน แต่ไม่มากเท่ากับที่ดาวเสาร์เป็น
10
ดาวเสาร์เป็นดาวที่มีความหนาแน่นน้อย มีค่าความถ่วงจำเพาะประมาณ 0
ดาวเสาร์เป็นดาวที่มีความหนาแน่นน้อย มีค่าความถ่วงจำเพาะประมาณ 0.7 ซึ่งน้อยกว่าน้ำ
11
ดาวเสาร์ประกอบด้วยไฮโดรเจน 75% และ ฮีเลียม 25% มีร่องรอยของน้ำ มีเทน แอมโมเนีย และ “หิน” ซึ่งมีส่วนประกอบคล้ายกับดาวพฤหัส และเนบิวลาเริ่มแรก
12
โครงสร้างภายในดาวเสาร์มีลักษณะคล้ายดาวพฤหัส ซึ่งมีแกนกลางเป็นหิน มีชั้นของ liquid metallic hydrogen และชั้นของ molecule hydrogen และพบร่องรอยของน้ำแข็ง
13
ที่แกนกลางของดาวเสาร์มีอุณหภูมิสูงประมาณ 12,000 K ดาวเสาร์ปลดปล่อยพลังงานสู่จักรวาลมากกว่าพลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ พลังงานส่วนเกินนี้ได้จากกระบวนการ Kelvin-Helmholtz เช่นเดียวกับทีเกิดในดาวพฤหัส แต่พลังงานนี้ไม่พอที่จะทำให้ดาวเสาร์เกิดการเรืองแสง ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการซึ่งอาจเกิดจากฝนฮีเลียมที่เกิดในดาวเสาร์
14
แถบสีที่สังเกตเห็นได้บนดาวพฤหัสก็พบได้บนดาวเสาร์ แต่มีความเลือนลางมากกว่า แต่มีความกว้างมากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ยังพบลักษณะคล้ายจุดแดงยักษ์และลักษณะอื่นๆบนดาวเสาร์ที่คล้ายกับที่พบบนดาวพฤหัส
15
วงแหวน 2 วง (A และ B) และ วงแหวนจางๆอีก 1 วง (C) สามารถสังเกตได้จากบนพื้นโลก ช่องว่างระหว่างวงแหวน A และ B เรียกว่า Casini division และช่องว่างจางๆที่ส่วนนอกของวงแหวน A ที่เรียกว่า Encke division ภาพถ่ายที่ได้จากยาน Voyager แสดงให้เห็นวงแหวนจางๆอีก 4 วง วงแหวนของดาวเสาร์ซึ่งไม่เหมือนวงแหวนของดาวเคราะห์อื่นๆเพราะมีความสว่างมาก
17
วงแหวนที่ล้อมรอบดาวเสาร์ทำให้ดาวเสาร์เป็นดาวที่สวยที่สุดดวงหนึ่งในระบบสุริยะ ประกอบด้วยชิ้นส่วนขนาดเล็กที่เป็นอิสระล่องลอยอยู่ในวงโคจร วัตถุเหล่านี้มีขนาดตั้งแต่ระดับเซ็นติเมตรจนถึงหลายเมตร และบางชิ้นมีขนาดสองสามกิโลเมตร
18
วงแหวนของดาวเสาร์มีความหนาบางมากเมื่อเทียบกับเส้นผ่าศูนย์กลาง วงแหวนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 250,000 กิโลเมตร แต่มีความหนาเพียง 1.5 กิโลเมตร วงแหวนเหล่านี้ประกอบด้วยวัตถุจำนวนไม่มากนัก ถ้ารวมวัตถุที่ประกอบขึ้นเป็นวงแหวนจะได้วัตถุที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 100 กิโลเมตร
20
วงแหวนประกอบด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนที่เป็นหินที่มีน้ำแข็งหุ้มอยู่
21
วงแหวน F ซึ่งเป็นวงแหวนชั้นนอกสุด ยังประกอบด้วยวงแหวนขนาดเล็กอีกหลายวง
22
จุดกำเนิดของวงแหวนยังไม่เป็นที่ทราบกัน แต่คาดว่าน่าจะมีการกำเนิดในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือเป็นชิ้นส่วนที่ได้จากการแตกของดาวบริวารขนาดใหญ่ที่ถูกชนด้วยอุกาบาตหรือดาวหาง
23
ในยามค่ำคืนบนท้องฟ้า ดาวเสาร์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ถึงแม้ว่าดาวเสาร์จะไม่สว่างไสวเหมือนดาวพฤหัส แต่ก็อาจสังเกตเห็นได้จากการที่ดาวเสาร์ไม่มีแสงกระพริบเหมือนดวงดาวอื่นๆในท้องฟ้า วงแหวนและดาวบริวารสามารมองเห็นได้โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก
24
ดาวเสาร์มีดาวบริวาร 18 ดวง ซึ่งมากที่สุดในดาวเคราะห์ทั้งหลายในระบบสุริยะ และในปี 1995 นักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์ Hubble พบวัตถุ 4 ชิ้นที่คาดว่าอาจเป็นบริวารใหม่ของดาวเสาร์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.