ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ดาวพลูโต (Pluto)
5
ดาวพลูโตเป็นดาวที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดและมีขนาดเล็กที่สุดด้วย และยังมีขนาดเล็กกว่าดาวบริวาร 7 ดวงของดาวเคราะห์ดวงอื่นด้วย คือ ดวงจันทร์, Io, Europa, Ganemede, Callisto, Titan, และ Triton
6
ในตำนานโรมัน Pluto เป็นเทพแห่งบาดาลหรือนรก หรือในตำนานกรีกที่เรียกว่า Hades การที่ดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ชื่อนี้ อาจเพราะเนื่องจากระยะทางที่ไกลจากดวงอาทิตย์มาก และมีความมืดตลอดปี
7
ดาวพลูโตถูกค้นพบในปี 1930 ภายหลังจากการค้นพบดาวพลูโต ก็ได้พิจารณากันว่าดาวพลูโตมีขนาดเล็กเกินไปที่จะอยู่ในวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่น การค้นหาดาวเคราะห์ X ยังทำกันอยู่อย่างต่อเนื่อง
8
ดาวพลูโตเป็นเพียงดางดวงเดียวที่ยังไม่มียานอวกาศไปเยือน มีเพียงกล้องโทรทรรศน์ Hubble ซึ่งศึกษาได้เฉพาะลักษณะใหญ่ๆที่พบบนพื้นผิวของดาวพลูโต
9
ดาวพลูโตมีดาวบริวารเพียงดวงเดียว เรียกว่า Charon ถูกค้นพบในปี 1978
10
ถึงแม้ว่ามวลโดยรวมของดาวพลูโตและ Charon จะทราบกันดี จากการวัดคาบและรัศมีของวงโคจรของ Charon แต่มวลของดาวพลูโตหรือมวลของ Charon ยังแยกออกจากกันได้ยาก
11
วงโคจรของดาวพลูโตไม่เป็นวงกลมอย่างมาก โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 249 ปี มีช่วงเวลาที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูนถึง 20 ปี ตั้งแต่ วันที่ 21 มกราคม 1979 ถึง วันที่ 14 มีนาคม 1999 ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 1989 ดาวพลูโตมีทิศทางการหมุนในทิศทางตรงข้ามกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ
14
คาบของวงโคจรของดาวพลูโตยาวกว่าของดาวเนปจูนประมาณ 1
คาบของวงโคจรของดาวพลูโตยาวกว่าของดาวเนปจูนประมาณ 1.5 เท่า ค่าการเอียงตัวของวงโคจรของดาวพลูโตมีค่ามากกว่าของดาวเคราะห์ดวงอื่น เมื่อดาวพลูโตอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดจะมีค่าการเอียงตัวถึง 17 องศา แม้ว่าวงโคจรของดาวพลูโตจะตัดวงโคจรของดาวเนปจูน แต่ดาวทั้ง 2 ดวงจะอยู่กันได้ใกล้ที่สุดไม่เกิน 18 AU ซึ่งจะไม่มีโอกาสชนกัน
15
เช่นเดียวกับดาวยูเรนัสที่ระนาบของศูนย์สูตรของดาวพลูโตตั้งฉากกับระนาบของวงโคจร
16
อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวพลูโตยังไม่ทราบกันดีนัก แต่ประมาณว่าอยู่ในช่วง 35 ถึง 45 K (-228 ถึง –238 C)
17
ส่วนประกอบของดาวพลูโตก็ยังไม่เป็นที่ทราบกัน แต่จากความหนาแน่น (ประมาณ 1.8 ถึง 2.1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) อาจเชื่อได้ว่าดาวพลูโตประกอบด้วย หิน ระหว่าง 50 ถึง 70% และ น้ำแข็ง 30 ถึง 50% คล้าย Triton
19
จุดสว่างบนพื้นผิวของดาวพลูโตอาจเป็นบริเวณที่ปกคลุมด้วยไนโตรเจนแข็ง บางส่วนของมีเทนแข็งและคาร์บอนมอนอกไซด์แข็ง ส่วนบริเวณพื้นที่ที่มืดบนพื้นผิวของดาวพลูโตยังไม่ทราบองค์ประกอบ แต่อาจเป็นสารประกอบอินทรีย์ดั้งเดิมหรือปฏิกิริยาเคมีทางแสงที่ทำให้เกิดรังสีคอสมิค
20
ส่วนดาว Charon ซึ่งมีความหนาแน่นประมาณ 1. 2 ถึง 1
ส่วนดาว Charon ซึ่งมีความหนาแน่นประมาณ 1.2 ถึง 1.3 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ความแตกต่างของความหนาแน่นระหว่างดาวพลูโตและดาว Charon ทำให้เชื่อว่าดาวทั้งสองดวงมีจุดกำเนิดที่แตกต่างกัน
21
พื้นผิวของดาวพลูโตประกอบด้วย ไนโตรเจนในรูปที่เป็นของแข็ง 98% และร่องรอยของมีเทนและคาร์บอนมอนอกไซด์ มีเทนในรูปของแข็งแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวพลูโตน่าจะต่ำกว่า 70K
22
บรรยากาศของดาวพลูโตยังไม่เป็นที่ทราบกันดี อาจประกอบด้วยไนโตรเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ และมีเทน ความดันบนพื้นผิวดาวพลูโตเบาบางมาก บรรยากาศอาจเป็นก๊าซเฉพาะเมื่อดาวพลูโตอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ส่วนช่วงอื่นบรรยากาศจะแข็งตัวเป็นของแข็ง
23
ความผิดปกติของวงโคจรของดาวพลูโตและ Triton และความคล้ายคลึงของสมบัติต่างๆของ ดาวพลูโตและ Triton ทำให้เชื่อว่าในอดีตดาวทั้งสองดวงอาจมีความสัมพันธ์กัน Triton อาจเคยโคจรอย่างอิสระรอบดวงอาทิตย์มาก่อนและต่อมาถูกจับโดยดาวเนปจูน
24
ดาวพลูโตสามารถเห็นได้จากกล้องโทรทรรศน์แต่ไม่ง่ายนัก
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.