งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ชนิดของคลื่น ฟังก์ชันคลื่น ความเร็วของคลื่น กำลัง, ความเข้มของคลื่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ชนิดของคลื่น ฟังก์ชันคลื่น ความเร็วของคลื่น กำลัง, ความเข้มของคลื่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ชนิดของคลื่น ฟังก์ชันคลื่น ความเร็วของคลื่น กำลัง, ความเข้มของคลื่น
คลื่น (Waves) ชนิดของคลื่น ฟังก์ชันคลื่น ความเร็วของคลื่น กำลัง, ความเข้มของคลื่น

2 คลื่นมีอยู่ทั่วไป ดังนั้นเราจึงสัมผัส และ พบเจอ กับคลื่น ในการดำเนินชีวิตทุกวัน
เช่น คลื่นเสียง คลื่นแสง คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ คลื่นน้ำ คลื่นรูปไซน์ คลื่นฝูงชน หรือ คลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหว คลื่นในเส้นเชือก คลื่นในขดลวดสปริง

3 คลื่น (Wave) คลื่น คือ การเคลื่อนที่ของการรบกวน (disturbance)
คลื่น นั้นต้องมี ต้องมีแหล่งกำเนิดของการรบกวน ตัวกลางที่สามารถรบกวนได้ การเชื่อมต่อทางกายภาพที่ทำให้เกิดกลไกของการที่แต่ละส่วนของตัวกลางนั้นสามารถที่จะไปมีอิทธิพลต่อส่วนข้างเคียง ทุกคลื่นนั้นจะมีค่าพลังงาน และ โมเมนตัมของตัวเอง อนุภาคของตัวกลาง 1D 3D 2D

4 การแบ่งประเภทของคลื่น
1.แบ่งตามลักษณะของตัวกลาง คลื่นกล (Mechanical waves) เป็นคลื่นชนิดที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นน้ำ คลื่นเสียง คลื่นในเส้นเชือก เป็นต้น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves)ที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ สามารถเคลื่อนที่และแผ่กระจายสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กไปได้ในสุญญากาศ เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุ รังสีเอกซ์

5 ชนิดของคลื่น 2. แบ่งตาม ทิศทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคของตัวกลาง
คลื่นตามขวาง ( Transverse waves) เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นในเส้นเชือก คลื่นน้ำ คลื่น คลื่นตามยาว ( Longitudinal waves หรือ Compression waves) เช่น คลื่นเสียง คลื่นในสปริง

6 คลื่นตามขวาง (Transverse Waves )
จากรูป แสดงคลื่นตามขวางที่เคลื่อนที่ในแนวแกน x ไปทางขวาจะสังเกตได้ว่าอนุภาคของตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่ไปกับคลื่นด้วยโดยมันจะมีการเคลื่อนที่ขึ้นลงรอบตำแหน่งสมดุลของตัวมันเอง เมื่อตัวคลื่นเคลื่อนที่ผ่าน

7 คลื่นตามยาว (Longitudinal Waves)
คลื่นตามยาว หรือ อาจเรียกว่าคลื่นอัด คือ คลื่นที่อนุภาคของตัวกลางมีการขจัดของการเคลื่อนที่อยู่ในแนวขนานกับทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวคลื่น จากรูปแสดงการเคลื่อนที่ของคลื่นตามยาวแบบ 1 มิติในท่อ อนุภาคของตัวกลาง (เช่นอนุภาคของอากาศ) ไม่ได้มีการเคลื่อนที่ไปกับตัวคลื่น มันเพียงแต่มีการสั่นรอบจุดสมดุลของตัวมันเองเท่านั้น เมื่อเลือกพิจารณาเพียง 1 อนุภาคของตัวกลางที่เคลื่อนที่อยู่ จะเห็นการเคลื่อนที่ของมันว่ามีการเคลื่อนที่ไปทางซ้ายและขวา การเคลื่อนที่ของตัวคลื่นจะเห็นเหมือนกับว่าคือการเคลื่อนที่ของส่วนอัดที่เคลื่อนที่จากซ้ายไปขวา

8 คลื่นน้ำ(Water Waves )
คลื่นน้ำ เป็นตัวอย่างของคลื่นที่มีลักษณะการเคลื่อนที่แบบผสม คือมีทั้งการเคลื่อนที่แบบคลื่นตามยาว และ คลื่นตามขวาง เมื่อตัวคลื่นเคลื่อนที่ผ่านอนุภาคของน้ำ มันจะมีการเคลื่อนที่เป็นวงกลมในทิศตามเข็มนาฬิกา โดยที่รัศมีของวงกลมที่อนุภาคเคลื่อนที่จะมีขนาดเล็กลงเมื่อ ระดับความลึกมากขึ้น จากรูปแสดงการเคลื่อนที่ของคลื่นน้ำที่เคลื่อนที่จากซ้ายไปขวา เมื่อ ระดับความลึกของน้ำนั้นมากกว่า ความยาวช่วงคลื่นของคลื่นน้ำ เมื่อพิจารณาจุด สีน้ำเงิน จะเห็นว่าอนุภาคของน้ำนั้นจะมีการเคลื่อนที่ในทิศตามเข็มนาฬิกา เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวมัน

9 ชนิดของคลื่น 3. แบ่งตามลักษณะการรบกวนของตัวกลาง
คลื่นดล (Pulse) คือคลื่นที่ตัวกลางถูกรบกวนเพียงครั้งเดียว หรือแบบไม่ต่อเนื่อง และ คลื่นต่อเนื่อง( Periodic wave) ที่ตัวกลางถูกรบกวน คือถูกกระทำให้เคลื่อนที่แบบต่อเนื่อง ในที่นี้จะพิจารณาเฉพาะคลื่นต่อเนื่องที่การรบกวนมีการสั่นแบบซิมเปิลฮาร์โมนิก (เป็นไปตามกฎของฮุค) ดังนั้นคลื่นที่เกิดขึ้นก็จะเป็นคลื่นรูปไซน์

10 ชนิดของคลื่น 4. แบ่งตามลักษณะการแผ่ คลื่นระนาบ (plane waves)
คลื่นที่มีการสั่นของอนุภาคในแนวเดียวกันและมีหน้าคลื่นในแนวระนาบ

11 ชนิดของคลื่น คลื่นทรงกลม (spherical waves)คลื่นที่มีการสั่นของอนุภาคกระจายตัวออกไปจากจุดกำเนิดคลื่นในแนวรัศมี

12 ทบทวนความเข้าใจ จงพิจารณาคลื่นในเส้นเชือกที่เกิดจากการสะบัดปลายเชือกขึ้นลง คลื่นผิวน้ำที่เกิดจากวัตถุกระทบผิวน้ำ และ คลื่นเสียงในน้ำ แล้วบอกว่าข้อความใด ผิด คลื่นทั้งสามชนิดเป็นคลื่นกล คลื่นทั้งสามชนิดเป็นคลื่นตามยาว คลื่นทั้งสามชนิดเป็นการถ่ายโอนพลังงาน คลื่นทั้งสามชนิดจะสะท้อนเมื่อเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างชนิด

13 รูปแบบของคลื่น (Waveform )
เส้นสีแดงแสดงถึงลักษณะของคลื่น ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เส้นสีน้ำเงินนั้นแสดงคลื่นในช่วงเวลาต่อมา A เรียกว่าเป็น สันคลื่น B เรียกว่าเป็น ท้องคลื่น

14 การแสดงรูปคลื่นด้วยคลื่นรูปไซน์
คลื่นตามขวางนั้นจะเห็นได้ค่อนข้างชัดว่ามีลักษณะของคลื่นรูปไซน์อยู่แล้ว ส่วนคลื่นตามยาวนั้นก็สามารถที่จะแสดงได้ในรูปของคลื่นรูปไซน์ การอัดตัวนั้นสัมพันธ์กับสันคลื่น และ การขยายนั้นสัมพันธ์กับช่วงที่เป็นท้องคลื่น

15 การอธิบายรูปคลื่น แอมปลิจูด (A) คือ การขจัดของเส้นเชือกซึ่งเคลื่อนไปอยู่ ณ ตำแหน่งสูงสุดเหนือจากจุดสมดุลของมัน ความยาวช่วงคลื่น() คือ ระยะระหว่าง 2 จุดที่อยู่ถัดกันที่แสดงพฤติกรรมเหมือนกันทุกประการ คาบ (T) เวลาที่คลื่นใช้ในการเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ ความถี่ (f) จำนวนรอบที่เคลื่อนที่ได้ในเวลา 1 วินาที A

16 คลื่นเคลื่อนที่ (Traveling wave)

17 คลื่นเคลื่อนที่ไปทางขวา y (x,t) = f ( x) = f (x-vt) t = t
Traveling Waves y f (x) f (x) o รูปร่างของคลื่นยังเหมือนเดิมเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปในเวลา t y = f (x) t = 0 คลื่นเคลื่อนที่ไปทางขวา y (x,t) = f ( x) = f (x-vt) t = t คลื่นเคลื่อนที่ไปทางซ้าย y = f (x+vt) t = t

18 ความเร็วเฟส (Phase velocity)
พิกัด y ของจุด P ต้องเหมือนเดิม ซึ่งจะเป็นจริงเมื่อ (x-vt) คงที่ สำหรับคลื่นเคลื่อนที่ไปทางขวา: หรือ

19 คลื่นฮาร์มอนิก (Harmonic waves)
ที่ t = 0; ที่ t = t;  = ความยาวคลื่น = vT T = คาบ

20 คลื่นเคลื่อนที่ไปด้านขวา
คลื่นฮาร์มอนิก (Harmonic waves) คลื่นเคลื่อนที่ไปด้านขวา k = เลขคลื่น (wave number) หน่วย  = ความถี่เชิงมุม (angular frequency) หน่วย คลื่นเคลื่อนที่ไปด้านซ้าย ความเร็วคลื่นหรือความเร็วเฟส

21 คลื่นฮาร์มอนิก (Harmonic waves)
ในกรณีที่ ระยะกระจัด y  0 เมื่อ x = 0 และ t = 0 รูปทั่วไปสมการของคลื่น sine ที่เคลื่อนที่ไปทางขวา ตัวอย่าง  = -90° = -/2 ตัวอย่าง x = /k Co-fn ในทางคณิตศาสตร์

22 มวลต่อหนึ่งหน่วยความยาวของเชือก  มวลของเชือกที่ตรงยอดคลื่น  m= l
***ความเร็วของคลื่นขึ้นกับชนิดของคลื่นและสมบัติของตัวกลาง ความเร็วคลื่นในเส้นเชือก l 2 = l / R  = l / 2R มวลต่อหนึ่งหน่วยความยาวของเชือก  มวลของเชือกที่ตรงยอดคลื่น  m= l แรงที่กระทำต่อมวล แรงดึงสู่จุดศูนย์กลาง = F Fcos() 2Fsin()

23 sin()    tan() = -y/x
กำลัง (Power) ของคลื่นในเส้นเชือก แรงตึงเชือกในทิศ y = Fsin() ที่มุม  น้อยๆ sin()    tan() = -y/x ในกรณีที่เป็นคลื่น sine: y = ym sin(kx-t)

24 กำลังเฉลี่ยในหนึ่งคาบ
กำลัง (Power) ของคลื่นในเส้นเชือก กำลังเฉลี่ยในหนึ่งคาบ ค่าเฉลี่ยของ sin2 หรือ cos2 ใน 1 คาบ คือ 1/2

25 ความเข้ม (I) ของคลื่น อัตราส่วนกำลังของคลื่นที่ตกกระทบพื้นที่ตั้งฉาก (กับทิศทางของคลื่น) ต่อพื้นที่นั้น ซึ่งหมายถึงพลังงานต่อเวลาต่อพื้นที่ นั่นคือ A = พื้นที่หน้าตัดตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นเคลื่อนที่

26 ตัวอย่าง 1 ถ่วงลวดโลหะเส้นหนึ่งซึ่งมีมวล 0.3 kg ยาว 6 m ให้ตึงด้วยตุ้มมวล 2 kg แล้วเกิดพัลส์คลื่นบนเส้นเชือก จงหาอัตราเร็วของพัลส์คลื่นบนเส้นเชือกนี้ (ใช้ g = 9.8 m/s2) วิธีทำ จาก มวลของเชือกคือ 3 kg และเชือกยาว 2 เมตร ค่าความตึงเชือก อัตราเร็วของคลื่นบนเชือกนี้ คือ

27 ตัวอย่าง 2 เชือกเส้นหนึ่งมีความหนาแน่นมวลเชิงเส้น 510-2 kg/m มีความตึง 80 N และมีคลื่นฮาร์โมนิคความถี่ 50 Hz และค่าแอมปลิจูด 0.1 m แผ่ผ่านเส้นเชือกนี้ จงหากำลังเฉลี่ยของคลื่น วิธีทำ กำลังเฉลี่ยคือ

28 ตัวอย่าง 3 จงหาค่าต่าง ๆ ของคลื่นในเชือกดังสมการ
ตัวอย่าง 3 จงหาค่าต่าง ๆ ของคลื่นในเชือกดังสมการ แอมปลิจูดของคลื่น ความยาวคลื่น คาบ และความถี่ ความเร็ว การกระจัดของเชือกที่ x = 22.5 cm, t = 18.9 s ( m) ความยาวคลื่น

29 คาบ ความถี่ ความเร็ว

30 แต่ละตำแหน่งของเชือกมีการสั่นแบบ ซิมเปิลฮาร์มอนิค จริงหรือไม่
การกระจัดของเชือกที่ x = 22.5 cm, t = 18.9 s - - แต่ละตำแหน่งของเชือกมีการสั่นแบบ ซิมเปิลฮาร์มอนิค จริงหรือไม่ a = -2y

31 ความเร็วของเชือกที่ x = 22.5 cm, t = 18.9 s
ความเร่ง


ดาวน์โหลด ppt ชนิดของคลื่น ฟังก์ชันคลื่น ความเร็วของคลื่น กำลัง, ความเข้มของคลื่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google