ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยChakrabandhu Chuasiriporn ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
ปรัชญา และวิธีวิทยา ของเศรษฐศาสตร์การเมือง
ผศ. ดร.จิตรกร โพธิ์งาม
2
KARL MARX “ The philosophers have only interpreted the world ,
in various ways ; the point is to change it.” Theses on Forereach No. 11
3
เศรษฐศาสตร์การเมือง – Political Economy
คำนิยาม เศรษฐศาสตร์การเมือง วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ของระบบเศรษฐกิจ และสถาบันของระบบมองดูความเชื่อมโยงของปัจจัยเหล่านี้ กับระบบสังคมและการพัฒนาสังคม ให้ความสำคัญสูงแก่เรื่องสถาบันการเมืองและสังคม อุดมการณ์ ค่านิยม ความเชื่อ ซึ่งมีอิทธิพล ต่อปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ มองในแง่นี้แล้ว เศรษฐศาสตร์การเมืองมีขอบเขตกว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก
4
ต้นกำเนิดของเศรษฐศาสตร์การเมือง
ตามคำนิยามดังกล่าว ถือได้ว่า งานของ ADAM SMITH : The Wealth of Nation ปี 1776 เป็นงานแนวเศรษฐศาสตร์การเมืองเช่นกัน คือวิเคราะห์แบบรอบด้านหลายมิติ แต่ในภายหลังต่อมา political economy ได้กลายเป็น economics แบบบริสุทธิ์ มีแต่มิติทางเศรษฐกิจเท่านั้น
5
เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก
ปัจจุบัน เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ (เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) พื้นฐานของการวิเคราะห์ คือ ความคิดแบบนีโอคลาสสิค มีการแบ่งแยก ระหว่างเศรษฐกิจกับการเมือง (ดู PowerPoint ชุด หลักเศรษฐศาสตร์)
6
เศรษฐศาสตร์ทางเลือก Alternative Economics
ในระยะหลัง ๆ มีการวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น ว่าเศรษฐศาสตร์กระแสหลักมีจุดอ่อนหลายข้อ และไม่สามารถอธิบาย ร่วมทั้งแก้ไขปัญหาหลายอย่างได้ จึงเกิดสิ่งที่เราเรียกว่า “พาราไดม์วิกฤติ” อันนำไปสู่ การเคลื่อนไหวเพื่อหาทางเลือกใหม่ ๆ (ดูเอกสารเรื่อง ปรัชญาและวิธีวิทยาของเศรษฐศาสตร์ทางเลือก)
7
ความหลากหลายของสำนักคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง
ในบรรดาแนวคิดต่าง ๆ ของเศรษฐศาสตร์ทางเลือก เศรษฐศาสตร์การเมือง เป็นสำนักคิดที่ค่อนข้างได้รับความนิยมมากที่สุดสำนักหนึ่ง ภายในเศรษฐศาสตร์การเมืองด้วยกัน เศรษฐศาสตร์การเมืองของมาร์กซ์ ( Marxian political economy ) ถือได้ว่า เป็นสำนัก ที่สำคัญที่สุด และมีอิทธิพลทางทฤษฎีและทางการปฏิบัติการมากที่สุด
8
Marxian Political Economy (MPE)
ต้นตอของเศรษฐศาสตร์การเมืองของมาร์กซ์ เศรษฐศาสตร์การเมือง ปรัชญาเยอรมัน สังคมนิยมยูโธเปีย ของอังกฤษ ฝรั่งเศส M P E แนวคิดพื้นฐานของมาร์กซ
9
เศรษฐศาสตร์การเมืองของอังกฤษ
ADAM SMITH อาดัม สมิธ บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ บุกเบิกทฤษฎีพัฒนาการ ทางเศรษฐกิจระยะยาวที่มีการวิเคราะห์หลายมิติ DAVID RICARDO เดวิด ริคาร์โด เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ การแบ่งรายได้ระหว่างชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม ทั้ง 2 มีอิทธิพลต่อ ความคิดของ MARX
10
แผนภูมิ : แบบจำลองความขัดแย้งทางชนชั้น ของ RICARDO
ที่ดิน แรงงาน ทุน
11
สังคมนิยมยูโรเปียฝรั่งเศส ( Utopian Socialism)
THOMAS MORE นักคิด นักปรัชญา นักการเมืองอังกฤษ เสนอผลงาน UTOPIA ปี 1515 (สถานที่ที่ไม่อยู่ในที่ไหน...ยังไม่เกิดขึ้น) แสดงความใฝ่ฝันถึงสังคมอุดมคติ ที่ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มี คนจน ไม่มีคนรวย ไม่มี การเอารัดเอาเปรียบกัน งาน UTOPIA กลายเป็น แรงกระตุ้นสำคัญให้นักคิดฝรั่งเศส หลายคนเสนอภาพสังคมในอนาคตโดยใช้หลักการสังคมนิยม มาร์กซ วาดภาพอนาคตเช่นเดียวกัน โดยฝันว่าเมื่อทุนนิยมถูกทำลาย ลงแล้ว จะมีการปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างสังคมนิยม
12
ปรัชญาเยอรมัน ในบรรดาต้นตอความคิดหลายแห่ง กล่าวได้ว่า ปรัชญาเยอรมัน ของ G.W.F. HEGEL มีอิทธิพลต่อระบบคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของมาร์กซ์ มากที่สุด เฮเกล เสนอการวิเคราะห์สังคม โดยใช้หลักเหตุผลแบบ dialectical reasoning : thesis – antithesis – synthesis เฮเกล แนะนำให้นำแนวคิด dialectic นี้ ไปประยุกต์ใช้ความรู้ทุกด้าน
13
ปรัชญาเยอรมัน (ต่อ) ในทฤษฎี ญาณวิทยาของเฮเกล ไม่มีการแบ่งแยกระหว่าง วัตถุ กับ จิต ความเป็นจริงของสังคมที่ดำรงอยู่ เป็นผลผลิตของความคิด ซึ่งก็มาจากจิตของมนุษย์ (ปรัชญาแบบ absolute idealism) มาร์กพัฒนาแนวคิดนี้ต่อไป โดยบอกว่าความคิดของมนุษย์จะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับภาวะแวดล้อมและความเป็นจริงของสังคม สรุปแล้ว เฮเกล สอนให้เรามองอย่างรอบด้านจิตสำนึกของคนเรา จะพัฒนาเชื่อมโยงกับสังคม จริยศาสตร์ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และปรัชญา เป็นโลกทัศน์ แบบ comprehensive world-view
14
แนวคิด dialectic ของ เฮเกล
Thesis Synthesis Antithesis ความคิดแบบทุนนิยม ความคิดแบบใหม่ สังคมนิยม หรือ นิเวศนิยม ต่อต้านความคิดแบบทุนนิยม
15
POST-MARXISM นับตั้งแต่เกิดวิกฤตสังคมนิยม (กำแพงเบอร์ลินล่มสลาย 1989) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองของมาร์กก็มีแนวโน้มเสื่อมมนต์ขลังไปด้วย กระตุ้นให้มีการทบทวนความคิดกันใหม่ ท่ามกลางการพื้นฟูทฤษฎี แนวคิดที่เรียกว่า Post Marxism ได้ปรากฏขึ้นมา โดยเสนอให้เศรษฐศาสตร์การเมืองผสมผสานกับแนวคิดอื่น ๆ ที่มีพลังในการอธิบายด้วย แต่ปรัชญาพื้นฐานของมาร์กซ์ซึ่งมีต้นตอ มาจาก 3 แนวคิดใหญ่ก็ยังคงอยู่ต่อไป
16
Postmodern Political Economy (PPE)
ในช่วงทศวรรษที่ผ่าน ความคิดแบบ postmodern เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการสังคมศาสตร์ ทฤษฎีต่าง ๆ มีการปรับตัวเข้าหา postmodernism อย่างเป็นระบบ Postmodernism คือกระจกของกระจกทั้งหลาย คือการตรวจสอบแนวคิดและพาราไดม์ต่าง ๆ ที่เลื่อนไหลตลอดเวลา เศรษฐศาสตร์การเมืองก็เคลื่อนเข้าสู่ความคิดของ postmodernism เช่นกัน
17
PPE (ต่อ) Postmodern Political Economy วิเคราะห์
- postmodernity ของปลายศตวรรษที่ 20 การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจการเมืองของทุนนิยมยุคโลกาภิวัฒน์และการแปรเปลี่ยน ไปสู่วัฒนธรรมโลก - การแพร่กระจาย ของการต่อสู้ทางความคิดของสังคมศาสตร์ ที่เน้นเรื่องของสังคมมากขึ้น โดยลดความสำคัญของเศรษฐกิจลงไป
18
การเคลื่อนไหวสังคม ระดับโลกและระดับท้องถิ่น เพื่อต่อสู้ กับการครอบครองของทุนนิยมโลก และการครอบงำโดยใช้ความคิด แบบโลกาภิวัตน์ - Postmodern political economy มีเนื้อหาหลัก ที่สอดคล้องกับ political ecology (นิเวศวิทยาการเมือง หรือ การเมืองเรื่องธรรมชาติ)
19
Integral Political Economy
ในยุคโลกาภิวัตน์ของศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีลักษณะสลับซับซ้อนและแตกแยกเป็นหลายเสี่ยง เศรษฐศาสตร์การเมืองแนว postmodern จะยังคง ยืนอยู่บนพื้นฐานปรัชญาของ เฮเกล ต่อไป นั่นคือ มีความคิดและวิธีวิทยา เชิงระบบที่เรียกว่า integral system หมายความว่า เราจะรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ทำได้ไว้ในระบบคิดของเรา เพื่อให้การวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหามีลักษณะเป็นเชิงบูรณาการมากขึ้น รอบด้านมากขึ้น หลายมิติมากขึ้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.