ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การจัดการคุณภาพ บทที่ 6.
2
ความหมายของคุณภาพ คุณภาพ หมายถึง มาตรฐานที่เกี่ยวกับการจัดการและการประกันคุณภาพ โดยเน้นความพึงพอใจของลูกค้าเป็น สําคัญและตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานที่ว่าเมื่อกระบวนการดีผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะดีตามไปด้วยได้ว่าเป็นการตอบสนอง ผู้ใช้และผู้รับบริการให้เกิดความพึงพอใจในผลผลิตนั่นเอง
3
การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
4
ความหมายโดยนัยของคุณภาพ
ชื่อเสียงของบริษัท คือ ผลลัพธ์ทางคุณภาพที่ได้จากการรับสินค้า ใหม่ของบริษัทที่ผลิตขึ้น การปฏิบัติงานของพนักงานและความสัมพันธ์กับผู้จัดหาวัตถุดิบ ความรับผิดชอบต่อสินค้า จากการออกแบบจนถึงการผลิตออกจำหน่ายตามมาตรฐานจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เช่น พระราชบัญญัติความปลอดภัยในการบริโภคสินค้า การก้าวสู่ระดับโลก ในยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วคุณภาพถือเป็นมาตรฐานสากลที่บริษัทจะต้องแข่งขันกันเป็นอย่างสูง
5
ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality) COQ
ต้นทุนการป้องกัน (Prevention cost) คือ ต้นทุนที่เกี่ยวกับการลดจำนวนของเสียในการผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น ต้นทุนการฝึกอบรม ต้นทุนโครงการปรับปรุงคุณภาพ ต้นทุนการประเมิน (Appraisal cost) คือ การประเมินสินค้ากระบวนการผลิตชิ้นส่วนและบริการ เช่น ต้นทุนสำหรับการทดสอบ ห้องปฏิบัติการผู้ตรวจสอบ
6
ต้นทุนความสูญเสียภายใน (Internal failure) คือ ต้นทุนที่เป็นผลมาจากการผลิตที่ให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าหรือบริการ เช่น ต้นทุนการทำซ้ำ ของเสีย เวลาที่สูญเสียไป ต้นทุนภายนอก (External cost) คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นภายหลังการส่งมอบให้กับลูกค้า เมือเกิดความเสียหายแก่สินค้าและบริการ เช่น ต้นทุนการแก้ไข การส่งสินค้ากลับคืน ค่าเสียหาย ต้นทุนสังคม
7
มาตรฐานคุณภาพระหว่างประเทศ (International Quality Standards) ISO 9000
8
แสดงเครื่องหมายที่ใช้รับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดย สมอ.
เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้าน ความปลอดภัย
9
เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม
เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากัน ได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า
10
ISO 9000 : 2000 มุ่งส่งเสริมให้มีการนำการบริหารโดยการมองและคิดอย่างเป็นกระบวนการสำหรับการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ การนำระบบบริหารคุณภาพไปประยุกต์ใช้ และการปรับปรุงประสิทธิผลของระบบบริหารขององค์การ ทั้งนี้ก็เพื่อให้องค์การสามารถเสริมสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าของตนด้านการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
11
มาตรฐานคุณภาพระหว่างประเทศ International Quality Standards
ISO 9000 จุดมุ่งเน้นของมาตรฐานนี้ คือ การกำหนดระเบียบการจัดการและการประกันคุณภาพ โดยมีแนวคิดพื้นฐานคือ การนำระบบมาตรฐานของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกันมารวมให้เป็นมาตรฐานประเภทเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น
12
มาตรฐานคุณภาพระหว่างประเทศ International Quality Standards
ISO เป็นมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักสำคัญ 5 ประการ - การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม - การตรวจสอบ - การประเมินผลการดำเนินการ - การอธิบาย - การประเมินวงจรการทำงาน
13
การจัดการคุณภาพโดยรวม Total Quality Management (TQM)
1. การปรับปรุงต่อเนื่อง Continuous improvement 2. การเพิ่มขีดความสามารถของ Employee empowerment 3.การสร้างมาตรฐานเปรียบเทียบ Benchmarking 4.ระบบการผลิตแบบทนเวลาพอดี just-in-time (JIT) 5.แนวความคิดของ Taguchi (Taguchi concept) 6.ความรู้เกี่ยวกับการจัดการคุณภาพ Knowledge of TQM tools
14
ปัจจัยสำคัญ 10 ประการในการจัดการคุณภาพโดยรวมอย่างมีประสิทธิภาพ 1
ปัจจัยสำคัญ 10 ประการในการจัดการคุณภาพโดยรวมอย่างมีประสิทธิภาพ 1.การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง Continuous improvement 2.การสร้างมาตรฐานเปรียบเทียบ Competitive benchmarking 3.การให้อำนาจตัดสินใจแก่ลูกจ้าง Employee empowerment 4.การทำงานเป็นทีม Team approach 5.การตัดสินใจที่มาจากข้อมูลจริง Decisions based on facts rather than opinions
15
ปัจจัยสำคัญ 10 ประการในการจัดการคุณภาพโดยรวมอย่างมีประสิทธิภาพ 6
ปัจจัยสำคัญ 10 ประการในการจัดการคุณภาพโดยรวมอย่างมีประสิทธิภาพ 6.มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการจัดการคุณภาพ Knowledge of tools 7.คุณภาพของผู้ผลิตวัตถุดิบ Supplier quality 8.ทำให้องค์กรเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของคุณภาพ Champion 9.คุณภาพที่เริ่มต้นจากคนในองค์กรทุกคน Quality at source 10.มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า Suppliers
16
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง Continuous improvement
การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ การปรับปรุงแก้ไข plan-do-check-act A P plan act C D check do
17
P การวางแผน ระบุหรือกำหนดช่องทางการปรับปรุง พัฒนาและนำมากำหนดเป็นแผนการ ดำเนินงาน D การปฏิบัติ นำไปปฏิบัติเพื่อตรวจสอบแผนการ C การตรวจสอบ ผลที่เกิดขึ้นมีความสอดคล้องกับแผนการ ดำเนินงานหรือไม่ A การปรับปรุงแก้ไข นำแผนการดำเนินงานมาปรับปรุงแก้ไข และนำไปปฏิบัติ
18
การเพิ่มขีดความสามารถ
1.สร้างเครือข่ายในการติดต่อสื่อสาร 2. พัฒนาหัวหน้างานให้มีวิสัยทัศน์ รับฟังความคิดเห็น และสนับสนุนทีมงาน 3. กระจายความรับผิดชอบจากผู้จัดการและทีมงานไปยังพนักงานระดับปฏิบัติงาน 4. สร้างจริยธรรมระดับสูงในองค์กร 5. กำหนดโครงสร้างองค์การอย่างเป็นทางการในรูปแบบทีมงาน Teams และวงจรคุณภาพ Quality circls
19
ซิกซ์ ซิกมา (Six sigma)
ในประเทศญี่ปุ่นจะใช้คำว่า ไคเซน Kaizen ในการอธิบายกระบวนการการปรับปรุงคุณภาพอย่างไม่สิ้นสุดสำหรับการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้นไป เรื่อย ๆ ส่วนในอเมริกาใช้คำว่า การจัดการคุณภาพโดยรวม TQM เป็นการทำให้ของเสียเท่ากับศูนย์
20
ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี just-in-time (JIT)
ช่วยลดต้นทุนคุณภาพ จากของเสีย การทำซ้ำ ต้นทุนสินค้าคงคลัง ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการสูญเสีย ช่วยปรับคุณภาพ ระบบ JIT ช่วยลดเวลานำ (Lead time) และจำกัดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น คุณภาพที่ดีกว่า การมีสินค้าคงคลังลดลงและทันเวลาไปใช้งานบ่อยครั้งที่วัตถุประสงค์ของการมีสินค้าคงคลังเป็นการป้องกันการผลิตสินค้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ
21
แนวความคิดของ Taguchi (Taguchi concept)
คุณภาพที่มีความคงทน (Quality robust)สินค้าสามารถผลิตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการผลิต การสูญเสียหน้าที่ด้านคุณภาพ (Quality Loss Function QLF) เป็นการระบุต้นทุนทั้งหมดที่สัมพันธ์กับการด้อยคุณภาพ แสดงให้เห็นว่าต้นทุนเหล่านี้เพิ่มขึ้น เป้าหมายด้านคุณภาพ (Target-oriented quality) เป็นวิธีการดําเนินงานแบบดั้งเดิมที่มุ่งเน้นการผลิตผลิตภัณฑ์ให้อยู่ภายใต้ขอบเขตของการออกแบบ
22
เครื่องมือการจัดการคุณภาพโดยรวม Knowledge of TQM tools
ใบตรวจสอบ (Check sheet) เป็นแบบฟอร์มที่ถูกออกแบบสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล แผนภาพการกระจาย (Scatter diagrams)เป็นแผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง 2ตัวแปร ผังแสดงเหตุและผล(Cause-and –effect diagram) เป็นเครื่องมือสำหรับระบุประเด็นที่เกี่ยวกับคุณภาพและจุดตรวจสอบ หรือเรียกว่า ไดอะแกรมIshikawa หรือผังก้างปลา (Fish bone chart)
23
แผนภูมิ Pareto (Pareto charts) เป็นวิธีแสดงให้เห็นข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องของการปฏิบัติการ
แผนภูมิการไหล(Flow charts) เป็นกราฟฟิกแสดงกระบวนการหรือระบบ โดยใช้สัญญาลักษณ์ สี่เหลี่ยม ลูกศร ฮิตโตแกรม (Histograms) เป็นเครื่องมือสำหรับแสดงช่วงค่าวัด ค่าความถี่ของคุณค่าที่เกิดขึ้น รวมทั้งความแปรปรวนของข้อมูลที่เกิดขึ้น เช่น ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การควบคุมด้วยกระบวนการทางสถิติ (Statistical Process Control SPC ) เป็นการควบคุมให้เป็นมาตรฐานด้วยการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ทำการวัดและแก้ไขขณะที่ผลิตภัณฑ์หรือบริการกำลังอยู่ในระหว่างการผลิต
24
ขั้นการวางแผน (Plan) ขั้นการวางแผน (Plan)
ระบุถึงปัญหาต่างๆ ที่ต้องการปรับปรุง เก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดหัวข้อและแสดงภาพของปัญหา กำหนดเป้าหมายที่แน่นอน เลือกวิธีการแก้ไขปรับปรุง
25
ขั้นการปฏิบัติ (Do) หลังจากได้ดำเนินการวางแผนขั้นต่างๆ แล้ว ในขั้นไปนี้จะเป็นขั้นของการปฏิบัติตามแผน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สาเหตุของแต่ละสาเหตุ
26
ขั้นการตรวจสอบและการปรับปรุง (Check-Act)
เมื่อทดลองแก้ไขปัญหาในข้อ 2 แล้ว ในขั้นนี้จะต้องทำการตรวจสอบและติดตามผลงานที่ปฏิบัติไป โดยการเปรียบเทียบการทำงานก่อนและหลังการปฏิบัติตามแผนการแก้ไขปัญหาว่าให้ผลแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด หากได้ตามเป้าหมายหรือดีกว่าก็นำผลที่ได้มาจัดทำเป็นมาตรฐานการทำงาน หรือหากไม่ได้ตามเป้าหมายให้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
27
Knowledge of tools แผนผังแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน
Flow charts แผนผังแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน Check sheet เครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหารูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น Histograms การแจกแจงข้อมูลความถี่ของเสียแบบปกติ
28
Knowledge of tools การแจกแจงข้อมูลความถี่ของของเสีย จากมากไปหาน้อย
Pareto charts การแจกแจงข้อมูลความถี่ของของเสีย จากมากไปหาน้อย Scatter diagrams การแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ชนิด Control Chart เครื่องมือสำหรับควบคุมการผลิต
29
Knowledge of tools Cause-and –effect diagram
เครื่องมือใช้วิเคราะห์เหตุและผล ที่เป็นปัจจัยของปัญหา
30
ใบตรวจสอบ (check sheet)
ชื่อผลิตภัณฑ์………………………………..หมายเลข……………………………………………… ลักษณะที่วัด………………………………………………………………………………………………….… ล็อตที่……………………………………….วันที่…………………………………………..…………………… ขนาดของล็อต……………………………หน่วยที่ตรวจสอบ………………..……………… จำนวนที่ตรวจสอบ…………………………ตรวจสอบโดย………………………………… หมายเหตุ………………………………………………………………………………………………………
31
ฮิสโตแกรม (Histogram)
เป็นเครื่องมือสำหรับแสดงช่วงค่าในการวัด ค่าความถี่ของคุณค่าที่เกิดขึ้น เช่น ค่าเฉลี่ยลัส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
32
ผังก้างปลา (fish-bone diagram) หรือผังเหตุและผล
33
การจัดการคุณภาพโดยรวม Total Quality Management (TQM)
Quality Laboratory Process (QLP): หมายถึง วิธีวิเคราะห์ นโยบาย ขั้นตอนการปฏิบัติที่มีคุณภาพ Quality Control (QC): หมายถึง การใช้กระบวนการทั้งทางสถิติ และไม่ใช่สถิติเพื่อการควบคุมคุณภาพ Quality Assessment (QA): หมายถึง การประเมินและการติดตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นควบคุมการผลิตและการบริการให้มีคุณภาพ หรืออาจเรียกว่าเป็นการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) Quality Improvement (QI): หมายถึง การพัฒนาคุณภาพ Quality Planning (QP): หมายถึง การวางแผนเพื่อการพัฒนาคุณภาพ การกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์
34
สรุป คุณภาพ คือรูปแบบและคุณลักษณะโดยรวมของสินค้าหรือบริการที่สามารถสร้างความพึงพอใจหรือตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ การสร้างคุณภาพโดยรวมมาผสมผสานเข้าของแนวคิด 7 ประการ ได้แก่ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซิกส์ ซิกมา การมอบอำนาจให้พนักงาน การเทียบเคียงสมรรถนะ ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี แนวคิดของ Taguchi และความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือการจัดการคุณภาพโดยรวม
35
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือการจัดการคุณภาพโดยรวมทั้ง 7 อย่าง ได้แก่ ใบตรวจสอบ แผนภาพการกระจาย แผนภาพแสดงเหตและผล แผนภาพมิพาเรโต แผนภูมิการไหล ฮิสโตแกรมและการควบคุมด้วยกระบวนการทางสถิติ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.