งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สื่อการเรียนรู้ เรื่อง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ประกอบการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย ๕ (ท ๓๓๑๐๑) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จัดทำโดย นางศิรินทิพย์ เด่นดวง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สื่อการเรียนรู้ เรื่อง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ประกอบการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย ๕ (ท ๓๓๑๐๑) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จัดทำโดย นางศิรินทิพย์ เด่นดวง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สื่อการเรียนรู้ เรื่อง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ประกอบการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย ๕ (ท ๓๓๑๐๑) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จัดทำโดย นางศิรินทิพย์ เด่นดวง โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๙

2 ทำนองการเห่เรือในขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค
จุดมุ่งหมาย ๑. เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินคลายความเหนื่อยล้าขณะเดินทาง ๒. ช่วยกำกับจังหวะให้พลพายพายโดยพร้อมเพรียงกัน ช้าลวะเห่ มูลเห่ สวะเห่

3 ช้าลวะเห่ ช้าลวะเห่เป็นทำนองที่ใช้เริ่มต้นการเห่ มี จังหวะช้าๆ ท่วงทำนองไพเราะ ถือเป็นการให้ สัญญาณเริ่มต้น เคลื่อนเรือในกระบวนทุกลำไปพร้อมๆ กัน อย่างช้าๆ บทนี้ขึ้นต้นว่า “เห่เอ๋ย...พระเสด็จ...โดย...แดน (ลูกคู่รับ โดยแดนชล)”

4 มูลเห่ มูลเห่ หรือในการเห่เรือเล่น เรียกว่า เห่เร็ว
มูลเห่ หรือในการเห่เรือเล่น เรียกว่า เห่เร็ว เป็นการเห่ในจังหวะกระชั้นกระชับ พนักงานนำเห่แล้ว ลูกคู่จะรับว่า ชะ...ชะ...ฮ้าไฮ้ และต่อท้ายบทว่า เฮ้ เฮ เฮ เฮ...เห่ เฮ  ฝีพายจะ เร่งพายให้เร็วกว่าเดิม ตามจังหวะ กระทุ้งเส้า *** สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในตำนานเห่เรือว่า มูลเห่ คงหมายความว่า เห่เป็นพื้น ใช้ขณะพายเรือทวนน้ำ ต้องพายหนักแรง จึงพายจังหวะเร็วขึ้น และใช้เห่ทำนองเร็ว มีพลพายรับ “ฮ่าไฮ้”

5 ตัวอย่างทำนองการเห่เรือ ( มูลเห่ )
ตัวอย่างทำนองการเห่เรือ ( มูลเห่ ) สุวรรณหงส์ (ชะ) ทรงพู่ห้อย (ชะ) งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ ( ฮ้าไฮ้ ) เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม ( เฮ้เฮเฮ้เฮเฮ่เห่เฮเฮ เห่เห่เห่ เฮ้เฮเฮ่เห่เหเฮ )

6 สวะเห่ สวะเห่ เป็นการเห่ เมื่อใกล้จะถึงที่หมาย หรือ ตอนนำเรือเข้าเทียบท่า เป็นสัญญาณว่า ฝีพายจะต้องเก็บพายโดยไม่ต้องสั่งพายลง บทเห่ทำนองนี้ ขึ้นต้นว่า “ช้าแลเรือ” ลูกคู่รับ “เฮ  เฮ  เฮ  เฮโฮ้  เฮโฮ้” วรรคสุดท้ายจบว่า “ศรีชัยแก้ว พ่อเอ๋ย” ลูกคู่รับ “ ชัยแก้วพ่ออา ” เรือพระที่นั่งก็จะ เข้าเทียบท่า พอดี และจบบทเห่

7 สวะเห่ ฝั่ง มูลเห่ ช้าลวะเห่ ฝั่ง

8

9 กระบวนพยุหยาตรา ประกอบด้วย

10 ๑. เรือต้น หรือเรือกิ่ง มี ๔ ลำ
๑. เรือครุฑ ๒. เรือสุพรรณหงส์ ๓. เรือศรีสมรรถชัย ๔. เรือไกรสรมุข

11

12 เรือครุฑ “เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง”

13 บูรณาการสู่อาเซียน “เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา” คติความเชื่อเกี่ยวกับครุฑและนาคนี้เป็นคติแรกที่ปรากฏ ในศิลปกรรมแบบเขมร ประเทศไทยเป็นศิลปะต่อเนื่องมาจากศิลปะเขมรในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ และมีสืบต่อมาโดยตลอด แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างกัมพูชาและไทย

14 เรือสุพรรณหงส์ “สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์”

15

16

17 ๒. เรือชัย หรือเรือไชย มีการกระทุงเส้าให้จังหวะประกอบการพายเรือ
๒. เรือชัย หรือเรือไชย มีการกระทุงเส้าให้จังหวะประกอบการพายเรือ “เรือชัยไวว่องวิ่ง รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม เสียงเส้าเร้าระดม ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน”

18 ๓. เรือรูปสัตว์ เรือคชสีห์ เรือราชสีห์ เรือม้า เรือสิงห์ เรือนาค
เรือมังกร เรือเลียงผา เรืออินทรีย์

19 “คชสีห์ที่ผาดเผ่น ดูดั่งเป็นเห็นขบขัน”

20 “ราชสีห์ที่ยืนยัน ขั้นสองคู่ดูยิ่งยง”

21 “เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง”

22 “นาคาหน้าดั่งเป็น ดูเขม้นเห็นขบขัน”

23 “มังกรถอนพายพัน ทันแข่งหน้าวาสุกรี”

24 “เลียงผาง่าเท้าโผน เพียงโจนไปในวารี”

25 “นาวาหน้าอินทรี มีปีกเหมือนเลื่อยลอยโพยม”

26 ๒. เรือริ้ว เรือประกอบกระบวนแห่จัดเป็นหลายๆ สาย แล่นเรียงขนานกัน

27 เรือพระที่นั่งในกระบวนเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค ในรัชกาลปัจจุบัน

28 เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ต่อขึ้นใหม่และสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๖

29 เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณเป็นเรือพระที่นั่งกิ่งประเภทเรือรูปสัตว์โขนเรือสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ รัชกาลที่ ๔ มีพระราชดำริเสริมรูปพระนารายณ์ยืนประทับบนหลังพญาสุบรรณเพื่อความสง่างาม

30 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชเป็นเรือพระที่นั่งบัลลังก์ สร้างขึ้นตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ ๕ ลำปัจจุบันสร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ โขนเรือเป็นพญาอนันตนาคราชหรือนาค ๗ เศียร ใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง หรือเรือเชิญผ้าพระกฐิน

31 เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จัดเป็นเรือ พระที่นั่งรอง เป็นเรือพระที่นั่งลำเดียวที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ โขนเรือจำหลักปิดทองเป็นรูปพญานาคเล็กๆ จำนวนมาก

32 คุณค่าของกาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
๑. กระบวนการพรรณนาความงามของกระบวนเรือโดดเด่น (เสาวรจนี) และสอดแทรกความเศร้าโศก (สัลลปังคพิสัย) ในบางช่วง ๒. สะท้อนให้เห็นคุณค่าทางภาษาและวรรณคดี จิตรกรรม และสถาปัตยกรรมอันเป็นมรดกของชาติ ที่คนไทยควรภาคภูมิใจ

33 เรื่อง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
แบบทดสอบ เรื่อง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

34 ๑. การเห่เรือของไทยสันนิษฐานว่ามีที่มาจากชาติใด ก. ชวา. ข. มอญ ค. เขมร
๑. การเห่เรือของไทยสันนิษฐานว่ามีที่มาจากชาติใด ก. ชวา ข. มอญ ค. เขมร ง.อินเดีย

35 ๒. ข้อใด ไม่ใช่ ผลงานของกวีผู้แต่งกาพย์เห่เรือ
ก. พระมาลัยคำหลวง ข. พระนลคำหลวง ค. กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท ง. กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

36 ๓. กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ได้รับยกย่องว่าเป็นยอดทางด้านใด
ก. บรรยายโวหารชัดเจน ข. ไพเราะด้วยพรรณนาโวหาร ค. เป็นรูปแบบของการเห่เรือ ง. สะท้อนภาพสังคมของไทยสมัยก่อนได้ชัดเจน

37 ๔. หน่วยราชการใดมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดกระบวน พยุหยาตราชลมารค
ก.มหาดไทย ข.ราชนาวีไทย ค.สำนักราชเลขาธิการ ง.สำนักนายกรัฐมนตรี

38 ๕. เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา บทประพันธ์นี้แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด ก. กลอนสุภาพ ข. กาพย์ยานี ค. กาพย์ฉบัง ง. อินทรวิเชียรฉันท์

39 ๖. เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา คำว่า “กราย” ในวรรคที่ ๓ ข้อที่ ๕ หมายความว่าอย่างไร ก. สวยงาม ข.มีระเบียบ ค.จังหวะที่ใช้ในการพาย ง.เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง

40 ๗. กวีรุ่นหลัง ๆในข้อใดที่เลียนแบบการแต่ง กาพย์เห่เรือ ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ฯ
ก. รัชกาลที่ ๒ ข. รัชกาลที่ ๖ ค. สมเด็จ ฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ง. ทุกข้อที่กล่าวมา

41 ๘. ชื่อสัตว์ในข้อใดหมายถึงเรือ
ก. หางไก่ว่ายแหวกว่าย หางคล้ายไม่มีหงอน ข. เลียงผาง่าเท้าโผน เพียงโจนไปในวารี ค. เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ เนื้อน้องฤๅอ่อนทั้งกาย ง. แก้มช้ำช้ำใครต้อง อันแก้มน้องช้ำเพราะชม

42 ๙. ปลาชนิดใดมีลักษณะรูปร่างต่างจากปลาชนิดอื่นมากที่สุด
ก. เพียนทอง ข. กระแห ค. คางเบือน ง. แก้มช้ำ

43 ๑๐. “ชะแวงแฝงฝั่งแนบ ชะวาดแอบแปบปนปลอม
เหมือนพี่แอบแนบถนอม จอมสวาทนาฏบังอร” บทประพันธ์ข้างต้นกล่าวถึงปลากี่ชนิด ก. ๑ ชนิด ข. ๒ ชนิด ค. ๓ ชนิด ง. ๔ ชนิด

44 ๑๑. จากข้อ ๑๐ วรรคใดที่ใช้ศัพท์เกี่ยวกับผู้หญิงทั้งหมด
ก. วรรคที่ ๑ ข. วรรคที่ ๒ ค. วรรคที่ ๓ ง.วรรคที่ ๔

45 ๑๒. “ เรือชายชมมิ่งไม้ มีพรรณ
ริมท่าสาครคันธ์ กลิ่นเกลี้ยง เพล็ด ดอกออกแกมกัน ชูช่อ หอมหื่นรื่นรสเพี้ยง กลิ่นเนื้อนวลนาง”  บทประพันธ์นี้แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด ก. โคลงสองสุภาพ ข. โคลงสามสุภาพ ค. โคลงสี่สุภาพ ง.โคลงกระทู้

46 ๑๓. “ เรือชายชมมิ่งไม้ มีพรรณ ริมท่าสาครคันธ์ กลิ่นเกลี้ยง เพล็ด ดอกออกแกมกัน ชูช่อ หอมหื่นรื่นรสเพี้ยง กลิ่นเนื้อนวลนาง” คำที่พิมพ์ตัวหนาหมายความว่าอย่างไร ก. ผลิออก ข. ดอกไม้ ค. กลิ่นหอม ง. สวยงาม

47 ๑๔. ข้อใด ไม่มี คำศัพท์ที่หมายถึงน้ำ ก
๑๔. ข้อใด ไม่มี คำศัพท์ที่หมายถึงน้ำ ก. กรีธาหมู่นาเวศ จากนคเรศโดยสายชล ข. เรือกระบวนต้นแพร้ว เพริศพริ้งพายทอง ค.สมรรถชัยไกรกาบแก้ว แสงแวววับจับสาคร ง. เลียงผาง่าเท้าโผน เพียงโจนไปในวารี

48 ๑๕. กวีนึกถึงผมของนางที่รักเมื่อเห็นปลาชนิดใด ก. หางไก่ ข. หวีเกศ ค
๑๕. กวีนึกถึงผมของนางที่รักเมื่อเห็นปลาชนิดใด ก. หางไก่ ข. หวีเกศ ค. นวลจันทร์ ง.ข้อ ก และข้อ ข

49 ๑๖. เพรางายวายเสพรส แสนกำสรดอดโอชา
คำที่พิมพ์ตัวหนาหมายถึงเวลาใด ก. เช้า ข. กลางวัน ค. เย็น ง. กลางคืน

50 ๑๗. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้ง
ก. เป็นการพรรณนาชมกระบวนเรือรบต่าง ๆ ข. เป็นวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ค. เป็นกาพย์เห่เรือที่เก่าที่สุดและดีที่สุดในกาพย์เห่เรือทั้งหลาย ง. เดิมเป็นบทเห่เรือเล่น มาใช้เป็นบทเห่เรือหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๔

51 ๑๘. กาพย์เห่เรือ ได้สะท้อนให้เห็นภาพชีวิตของคนไทยตรงกับข้อใด
ก. คนไทยชอบความสนุกสนาน ข.การคมนาคมใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ค.ไทยมีประเพณีเกี่ยวกับทางน้ำมาก ง. ประเทศไทยมีกองทัพเรือที่เข้มแข็ง

52 ๑๙. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรฯ
เนื้อหาแบ่งเป็น ๕ ตอน ก. มีการเห่ชมกระบวนเรือพยุหยาตราและชมธรรมชาติ ข. หัวเรือพระที่นั่งเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ คชสีห์ นาค ฯลฯ ค.จากนั้นชมปลา ชมไม้ ชมนก พบสิ่งใดก็คร่ำครวญถึงความรักความ ง.อาลัยที่มีต่อนางเป็นทำนองนิราศ

53 ๒๐. ตอนใดใน กาพย์เห่เรือ ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ฯ ที่ผู้แต่งไม่ได้สอดแทรกอารมณ์รักและอาลัยไว้
ก. เห่ชมกระบวนเรือ ข.เห่ชมปลา ค.เห่ชมไม้ ง.เห่ชมนก


ดาวน์โหลด ppt สื่อการเรียนรู้ เรื่อง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ประกอบการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย ๕ (ท ๓๓๑๐๑) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จัดทำโดย นางศิรินทิพย์ เด่นดวง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google