งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงงานเรื่อง โรงนม ยูเอชที สวนจิตรลดา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงงานเรื่อง โรงนม ยูเอชที สวนจิตรลดา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงงานเรื่อง โรงนม ยูเอชที สวนจิตรลดา

2 สมาชิกในกลุ่ม นางสาวณัฐวรรณ วงศ์ชัยวัชร์ เลขที่ 12 นางสาวนิติพร สุวรรณวัฒน์ เลขที่ 15 นางสาวนิติพร ภูสะตัง เลขที่ 35 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3

3 ประวัติความเป็นมา โรงโคนมสวนจิตรลดา
ในช่วงปลายปีพุทธศักราช ได้เกิดภาวะน้ำนมดิบล้นตลาดขึ้นอีกครั้ง ( จากที่ประมาณปี พ.ศ.2511 ซึ่งดำเนินการเลี้ยงโคนมมาก่อนหน้านี้แล้ว ได้ ประสบปัญหาใหญ่เกี่ยวกับน้ำนมดิบล้นตลาด จนต่อมาในหลวงทรงมี พระราชดำริก่อตั้งสหกรณ์โคนมหนองโพ ที่ จ.ราชบุรี ขึ้นมา ) โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาจึงได้ขอพระบรมราชานุญาตจัดตั้งโรงนมยู เอชที สวนจิตรลดา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและยังเป็นการสาธิตการผลิตนม ยูเอชที จากนมสดแท้แทนการ นำนมผงมาละลายน้ำ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด โรงนม ยู เอช ที สวนจิตรลดาในวันที่ 2 กันยายน ปีพุทธศักราช 2546 พร้อมมีพระราชกระแส รับสั่งให้จัดหาเครื่อง บรรจุนม ยูเอชที แบบถุงพลาสติก เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการสั่งซื้อบรรจุ ภัณฑ์แบบกล่อง ซึ่งได้ เริ่มดำเนินการในปีพุทธศักราช 2547 โรงนมยูเอชที ทำการผลิตนมยูเอชทีรสจืดทั้งนมโรงเรียน โดยจะรับซื้อน้ำนม ดิบจากสหกรณ์โคนมต่างๆ มาประมาณวันละ 24 ตัน ตรวจสอบคุณภาพน้ำนม ดิบ แล้วนำน้ำนมดิบเข้ามาสู่กระบวนการยูเอชทีแล้วทำการบรรจุในระบบปลอด เชื้อ ทั้งในบรรจุภัณฑ์แบบกล่องและแบบถุง โดยนม ยูเอชที แบบกล่องมีอายุการเก็บประมาณ 8 เดือน และแบบถุง สามารถเก็บได้นานประมาณ 3เดือน

4 โรงนมผงสวนจิตรลดา การตั้งโรงนมผงสวนดุสิต เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะนมสด ล้นตลาดเมื่อปี พ.ศ โดยที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯทรงทราบถึงความเดือดร้อนของผู้ เลี้ยงโคนมที่ไม่สามารถจำหน่ายนมสดที่ผลิตได้มีนมสดเหลืออยู่ มากเกินความต้องการของตลาดจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ดำเนินการ ช่วย เหลือโดยพระราชทานเงินทดรองจ่ายรวมกับ รายได้จากการจำหน่ายนมสดสร้างโรงงาน ผลิตนมผงขนาดย่อม ขึ้น ภายในสวนจิตรลดาเพื่อผลิตนมผงจากนมสดที่รับซื้อจาก สมาชิกผู้เลี้ยงโคนมเป็นการแก้ปัญหานมสดล้นตลาดส่วนหนึ่ง รัฐบาลเดนมาร์กน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย เครื่องมือและอุปกรณ์ ดังนี้ - เครื่องอัดลม Stenhoej type KA 112 c จำนวน 1 เครื่อง กำลังผลิต 720 ลิตร/นาที กำลังอัดสูงสุด10 Bar  - เครื่องระเหยนม APV Anhydro type compact จำนวน 1 ชุด อัตราการ ระเหย 125 ก.ก./ชั่วโมง  - เครื่องพ่นนมผง APV type compact จำนวน 1 ชุด อัตราการผลิต 5 ก.ก./ชั่วโมง  - เครื่องพ่นนมผง APV Anhydro bab mini จำนวน 1 ชุด อัตราการผลิต 2 ก.ก./ชั่วโมง - เครื่องบรรจุนมผง JH Pakkesystemer type GV-20 จำนวน 1 ชุด อัตรา การผลิต 30 ชิ้น/นาที เครื่องอัดลม เครื่องพ่นนมผง เครื่องพ่นนมผง เครื่องบรรจุนมผง

5 ขั้นตอนที่ 1 การเปิดเครื่องจักร การจัดเตรียมอุปกรณ์ และวัตถุดิบ
ขั้นตอนต่างๆในการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 1 การเปิดเครื่องจักร การจัดเตรียมอุปกรณ์ และวัตถุดิบ เริ่มเปิดเครื่องจักรเดินเครื่องระเหยนมและจัดเตรียม อุปกรณ์ในการผลิต รวมถึงการทำความสะอาดจากนั้น จึงทำการระเหยนม โดยเครื่องทั้ง 2 ชุด แล้ว ดำเนินการผลิตไปตามกระบวนการที่กำหนดไว้ ขั้นตอนที่ 2 การระเหยนม ส่งนมสดจากคูลลิ่งแท้งค์ ส่งนมไปยังชุดระเหยนมซึ่งชุด ระเหยนมได้พลังงานไอน้ำจากหม้อต้มน้ำทำให้นมได้ รับความร้อนเกิดการระเหยแยกน้ำกับนมออกจากกัน ซึ่ง เป็นระบบการทำงานที่ต่อเนื่องหมุนเวียนตลอดเวลา ขั้นตอนที่ 3 การพ่นนม    ต้องอุ่นเตาลมร้อนให้อุณหภูมิสูงถึง 100 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 45 นาทีจากนั้นจ่ายไอร้อน ไปยังถัง อบแห้ง ละอองนมโดนความร้อน ในถังอบแห้ง นมจะ กลายเป็นผง พัดลมด้านบนจะดูดนมผงไปสู่ถังดักนมและ เจ้าหน้าที่จะนำนมผงออกจากถังพักนมบรรจุใน ถุงพลาสติก

6 ขั้นตอนที่ 4 การล้างเครื่อง
ทำความสะอาดเครื่องจักร อุปกรณ์และท่อส่งนมต่างๆ ที่สัมผัสนมและเป็น ขั้นตอนที่สำคัญมาก ในการล้างทำ ความสะอาดชุดระเหยนม จะต้องเป็นไปตามคู่มือการทำความสะอาดถ้าล้างไม่สะอาด จะทำให้การ ระเหยนม ในวันถัดไป ไม่มีประสิทธิภาพ เศษนมเก่าๆ จะไปเกาะติดตาม ท่อต่างๆ ทำให้การระเหยนมช้าและนมไม่ได้คุณภาพ ขั้นตอนที่ 5 การบรรจุและส่งผลิตภัณฑ์นมผง  นมผงสำหรับอัดเม็ดจะบรรจุใส่ถุงพลาสติกขนาด 30 ก.ก./ถุง ซึ่งในแต่ละ วัน ผลิตได้ประมาณ ก.ก. ส่งจำหน่ายไปยังโรงนมเม็ด ถ้าเป็น นมผงบรรจุกระป๋อง จะต้องนำตัวอย่างนมผงที่ได้ส่งให้ เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบคุณภาพ ตรวจสอบในเรื่องของการละลาย ค่าความชื้นและ ความสะอาด เมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วผลการตรวจสอบผ่านเจ้าหน้าที่จะ บรรจุนมผงลงกระป๋องน้ำหนักกระป๋องละ 1 ปอนด์และจัดส่งเข้าคลังสินค้า ต่อไป

7 โรงนมเม็ด ปี พ.ศ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้ ก่อสร้างโรงนมอัดเม็ดขึ้นใหม่ หลังจากที่ได้เคยทดลองผลิตเมื่อ พ.ศ แต่ประสบปัญหาทางเทคนิค ปัจจุบันโรงนมเม็ดได้ผลิต นมเม็ดให้เป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมโภชนาการแก่ผู้บริโภค และเพื่อ รับซื้อนมจาโรงนมผง มาใช้ผลิต ทำให้การดำเนินการของโรง นมผงคล่องตัวยิ่งขึ้น การดำเนินงาน ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการมานมเม็ดสวนดุสิตได้รับความ นิยม อย่างกว้างขวาง ทางโรงนมเม็ดจึงได้เพิ่มปริมาณการผลิตโดย สั่งซื้อเครื่อง มือ เพิ่มเติม รวมทั้งปรับปรุงผลิตภัณฑ์นมเม็ด เพื่อตอบสนอง ต่อความต้อง การของตลาดที่สนใจบริโภคอาหารนมโดยสำรวจความต้องการ ของ ผู้บริ โภค และทดลองผลิตนมเม็ดหลายรสอาทินมเม็ดรสหวาน รส ช็อกโกแลต และรสกาแฟ จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคโดยเฉพาะตามโรงเรียน ทั่วไปในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2541โรงนมเม็ดเริ่มผลิตนมเม็ดสำหรับสัตว์เลี้ยงโดย ใช้เศษ นมหลังจากการคัดแยกเม็ดสมบูรณ์ บรรจุซอง มาทำการแร่ง และบด ให้ละ เอียดแล้วจึงตอกเม็ดใหม่ซึ่งขนาดเม็ดจะโตกว่าเดิม นำมาผ่าน การอบแห้ง และฆ่าเชื้อก่อนบรรจุใส่กล่องจำหน่าย ในขนาด 400 กรัม 50 บาท

8  ปี พ.ศ ผลิตนมเม็ดขนาดใหม่ ซองเล็กบรรจุ 8 เม็ด ราคา 3 บาท สำหรับนักเรียน และขนาดประหยัด บรรจุ 100 เม็ด ราคา 30 บาท เพิ่มขึ้นจากขนาดเดิมที่บรรจุ 20 เม็ด ราคา 7 บาท   ปี พ.ศ ปรับปรุงขยายพื้นที่โรงงาน เนื่องจากการผลิตที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับจัดซื้อเครื่องผสมนมแบบ High Speed 1 เครื่อง เครื่องบรรจุซอง 2 เครื่อง เครื่องบรรจุซอง 100 เม็ด 1 เครื่อง เครื่องตอกเม็ด 2 เครื่อง และ เครื่องตอกเม็ดขนาดสำหรับสัตว์เลี้ยง 1 เครื่อง  ปี พ.ศ เพื่อให้การปฏิบัติงานผลิตรวดเร็วขึ้น จึงติดตั้งเครื่องบรรจุซอง ใหม่ 2 เครื่อง เป็นเครื่องอัตโนมัติ ชนิดผ่าฟิล์ม แบบผนึกซองตัด 4 แถว สำหรับขนาดบรรจุ 20 เม็ด และเครื่องอัตโนมัติ ชนิดผ่าฟิล์มแบบ ผนึกซองตัด 3 แถว สำหรับขนาดบรรจุ 8 เม็ด  ขณะนี้โรงนมเม็ดโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา สามารถผลิตนมเม็ด ได้วันละประมาณ 30,000 ซอง และได้ส่งผลิตภัณฑ์ออกไปจำหน่าย ใน ร้านค้าหลายแห่ง รวมทั้งสหกรณ์กรุงเทพฯ และสหกรณ์พระนคร ใน กรุงเทพมหานคร ตามคำเรียกร้องของผู้บริโภค ซึ่งเป็นการช่วยสนับสนุน กิจการของสหกรณ์เหล่านั้นด้วย     

9 โรงเนยแข็ง เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พ.ศ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา สร้างโรงเนยแข็ง น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ คณะกรรมการบริหารของบริษัท ซีซี ฟรีสแลนด์ ประเทศ เนเธอร์แลนด์ ร่วมน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายอุปกรณ์ สำหรับการผลิตเนยแข็ง ทางโครงการส่วนพระองค์ฯ จึง จัดทำโครงงานศึกษาความเป็นไปได้ ในการผลิตเนยแข็ง เพื่อการส่งเสริมแนะนำเป็นอาชีพในโอกาสต่อไป ปัจจุบัน โรงเนยแข็งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกสู่ตลาดได้ หลายชนิด อาทิเช่น นมข้นหวานบรรจุหลอด นมเปรี้ยวรส ต่างๆ ไอศกรีม นมสดพาสเจอร์ไรส์ปราศจากไขมัน เนย สด เนยแข็งปรุงแต่ง ชนิดแผ่นและชนิดทา เนยแข็ง เช็ดด้า และเนยแข็งเกาด้า ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อเนยแข็งที่ผลิตว่า "เนย แข็งมหามงคล“ การดำเนินงาน ในปี พ.ศ รัฐบาลเดนมาร์ก น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายเครื่องมือ พร้อมการติดตั้ง โดยส่งผู้เชี่ยวชาญมา อบรมเกี่ยวกับการบำรุง รักษาเครื่องมือ กรรมวิธีการผลิต ผลิตภัณฑ์นมชนิดต่างๆ การใช้เครื่องมือตลอดจนการ ตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ ระหว่างผลิต จนถึง ขั้นตอนสุดท้ายที่ได้ผลิตภัณฑ์ ระหว่างการฝึกอบรม มีการ เรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นค้นคว้า และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกมา เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือก มากขึ้น

10 ผลิตภัณฑ์ของโรงเนยแข็ง
เนยแข็ง (Cheese) 2. ไอศกรีม (Ice cream) 3. นมสดปราศจากไขมัน (Non - fat pasteurized milk) 4. เนยสด (Butter) 5. โยเกิตพร้อมดื่ม (Drinking yoghurt) 6. นมข้นหวาน (Sweeten condensed milk) 7. เนยแข็งและขนมปัง (Cheese and cracker) 8. เนยแข็งปรุงแต่งชนิดทา (Processed cheese spread) 9.โยเกิตไขมันต่ำแบบถ้วยตัก (Low fat set yoghurt) 10. ไอศกรีมโยเกิต (Yoghurt ice cream)

11 โรงงานผลิตนมสวนจิตรลดา เป็นการผลิต แบบครบวงจรและมีผลิตภัณฑ์นมเนยต่อเนื่อง

12 โรงนมอัดเม็ด

13 รูปปั้น วัวพันธุ์ทริวลิป ที่อยู่หน้าโรงนม ยู เอส ที

14 แหล่งอ้างอิง www.eppo.go.th/royal/m1700_0002.html
ณ สถานที่จริง สวนจิตรลดา

15 ขอจบการนำเสนอเพียง เท่านี้ค่ะ


ดาวน์โหลด ppt โครงงานเรื่อง โรงนม ยูเอชที สวนจิตรลดา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google