ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การเป็นคนไทยก่อนกฎหมายสัญชาติ
กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2
ความเข้าใจของนักกฎหมายที่มีต่อการเป็นคนไทย
พันทิพย์ กาญจณจิตรา สายสุนทร เสนอว่า ก่อนการมีพระราชบัญญัติแปลงชาติ พ.ศ. 2454 ประเทศไทยกำหนดสัญชาติบุคคลให้กลายเป็น “คนไทย” ด้วย “มูลนิติธรรมประเพณี” “ในยุคแรกของรัฐสมัยใหม่ นานารัฐมักจะไม่บัญญัติกฎหมายเพื่อกำหนดการได้หรือการเสียสัญชาติของตน และปล่อยให้การกำหนดสัญชาติตกอยู่ภายใต้หลักการที่ยอมรับกันในฐานะกฎหมายจารีตประเพณี” “ช่วงเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ เป็นช่วงเวลาที่กฎหมายไทยว่าด้วยสัญชาติอยู่ใน รูปของมูลนิติธรรมประเพณีมีลแต่ลำพัง”
3
ว่าด้วย “มูลนิติธรรมประเพณี”
พันทิพย์ อธิบายเองว่า มูลนิติธรรมประเพณี คือ หลักการที่ยอมรับกันในฐานะกฎหมายจารีตประเพณี สำหรับความเป็นคนไทยนั้น เชื่อกันว่า น่าจะมีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่า เป็นสมัยดั้งเดิมของประเทศไทย ไม่ใช่เพิ่งจะ มาเกิดขึ้นในยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งถือว่า เป็นยุคที่ ๔ ของประเทศไทย การจำแนกประชากรในยุคก่อน พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๕๖ เป็นไปโดยหลักสืบสายโลหิต กล่าวคือ คนไทยย่อมหมายถึงคนที่มีบิดามารดาทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนไทย ความ เป็นไทยที่รู้จักในสังคมไทยดั้งเดิมเป็นเรื่องทางสังคม มิใช่เรื่องทางการเมือง โดยพิจารณากฎหมายจารีตประเพณีไทย ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๖ เรียกว่า “มูลนิติธรรมประเพณี” ในเรื่องความเป็นคนไทย เรา พบว่า ความเป็นคนสัญชาติไทยเกิดขึ้นใน ๓ สถานการณ์ กล่าวคือ (๑) คนสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดา (๒) คน สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา และ (๓) คนสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ขอให้สังเกตว่า สัญชาติไทยสองลักษณะแรกเป็นสัญชาติไทยโดยการเกิดและเป็นเรื่องของกฎหมายธรรมชาติ
4
เรื่องเล่าหนึ่ง ว่าด้วย ชาติไทย – คนไทย
ถ้า “ชาติ” คือ ชุมชนจินตกรรม, ดินแดน ฯลฯ, เราจะสามารถอธิบายคนในชาติอย่างไร “คนไทย” คืออะไร? เรื่องที่เรารู้กันมาอย่างหนึ่งคือชื่อชนชาติไทยมาจาก คำว่า “สยาม” “สยาม” คืออะไร? เมืองยิ้ม?
5
แง่มุมหนึ่งจากชื่อชนชาติ “สยาม”
เล่าต่อจาก จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อ ชนชาติ. สยามเป็นชื่อชนชาติ ตรงกับคำว่า “เสียม” ในภาษาขอม ตรงกับคำว่า “ชาน” (ฉาน) ตรงกับคำว่า “เสียน” ในภาษาจีน ฯลฯ สยาม/ศยาม เป็นชื่อของชนชาติ “เสียม” ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทุกภาคใน/นอกประเทศไทย
6
“ชาน” = รัฐฉาน (Shan State)
7
เสียมกุก (ชาวเสียมที่แม่น้ำกก)
8
“คนไทย” “คนชาติไทยก็คือเกิดเปนไทย เกิดในหมู่ชนที่เรียกนามตัวเองว่าไทย”
น่าจะเกิดขึ้นช่วงรัชกาลที่ 4-5 แต่เกิดขึ้นเฉพาะในหมู่ชนชั้นนำ เพราะขาดกลไกอย่างการศึกษาและการพิมพ์ เหตุที่น่าจะเป็นช่วงรัชกาลที่ 4 เพราะช่วงนั้นเกิดสนธิสัญญาเบาวริ่ง ทำให้จำเป็นต้องคิดวิธีการจัดการปัญหาต่างๆ ใหม่ ตาม “คนชาติ” อื่นๆ เช่น คนในบังคับอังกฤษ คนในบังคับฝรั่งเศส ฯลฯ คนจีน คนแขก คนญี่ปุ่น ที่อยู่ในบังคับ ฯลฯ
9
Sir John Bowring
10
สัญญาเบาริ่ง สัญญาที่สยามทำกับอังกฤษ
สาระสำคัญเป็นเรื่องวิธีการค้าขายเป็นการค้าเสรี คนในบังคับอังกฤษจะอยู่ภายใต้อำนาจควบคุมของกงสุลอังกฤษ คนในบังคับอังกฤษได้รับสิทธิในการค้าขายอย่างเสรีในเมืองท่า สามารถพำนักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นการถาวรได้ ภายในอาณาเขตสี่ไมล์ แต่ไม่เกินกำลังเรือแจว เดินทางในยี่สิบสี่ชั่วโมง คนในบังคับอังกฤษสามารถซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์
11
ผลหลังสนธิสัญญาเบาริ่ง
“เมื่อทำหนังสือสัญญาแล้ว มีฝรั่งเข้ามาค้าขายมากขึ้นโดยลำดับ และมีกงสุลเข้ามาตั้งคอยหนุ่น ฝรั่งพวกของตน...และความลำบากซึ่งมิได้เคยมีมาแต่ก่อนเกิดขึ้นต่างๆ” “จะว่าราชการบ้านเมืองในสมัยนั้นก็ลำบากด้วยฝรั่งเข้ามามีอำนาจกว่าแต่ก่อน” การตั้งชุมชนของคนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ พวกเขาได้รับสิทธิพิเศษทั้งทางกฎหมาย การค้า และการถือครองที่ดิน การได้รับประโยชน์ของคนเหล่านี้ทำให้เกิดการตั้งถิ่นฐานใน กรุงเทพฯต่อมา
12
การเปลี่ยนแปลงในเชิงกายภาพ อันเกี่ยวเนื่องจากการตั้งถิ่นฐานและการสร้างชุมชน โดยเฉพาะบริเวณตอนใต้ของกรุงเทพฯ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เกิดจากการสร้างถนนและ ตึกแถวจำนวนมาก ชาวอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษมีส่วนร่วมในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจภาครัฐ และเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ การตั้งถิ่นฐานของชาวอังกฤษและคนในบังคับ ได้ก่อให้เกิดการบริหารจัดการเมืองที่ เปลี่ยนแปลงไปในกรุงเทพฯ มาลินี คุ้มสุภา, “การเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ พ.ศ : ผลกระทบจากการตั้งถิ่นฐานของชาวอังกฤษและคนในบังคับ” วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตร์ดุษฎี บัณฑิต (ไทยศึกษา), 2554.
14
พลังของสัญญาเบาริ่ง สัญญาเบาริ่ง ในมิติปัจจุบัน คือ “สนธิสัญญาระหว่างประเทศ” อันเป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ ตามมาตรา 38 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ “ศาลซึ่งมีหน้าที่พิจารณา พิพากษากรณีพิพาทที่มาสู่ศาลตามกฎหมายระหว่างประเทศจะต้องใช้” สนธิสัญญา, จารีตประเพณีระหว่างประเทศ, หลักกฎหมายทั่วไป เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นพลังของกฎหมายระหว่างประเทศที่ทำให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในสังคมไทย
15
รวมถึงการก่อให้เกิดสำนึกความเป็น “คนไทย” และ “คนชาติ” อื่นๆ ในหมู่ชนชั้นนำไทย
17
พระราชสาสน์ ร.4 ถึงนโปเลียนที่ 3 พ.ศ. 2408
“สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎพระเจ้ากรุงรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยาเป็น มหาราชธานีใหญ่ในพระราชอาณาจักรฝ่ายสยาม คือแผ่นดินสยามเหนือใต้และ ดินแดนต่างๆ อยู่เคียงอยู่ใกล้ เป็นที่อยู่อาศัยของชนชาวประเทศมีเพศภาษา ต่างๆ คือ ลาวกาว ลาวเฉียง กัมพูชา มลายูและกะเหรี่ยง”
18
ก่อนหน้ารัชกาลที่ 5 ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ 2416 ของหมอบรัดเลย์ ชาติ หมายถึงบังเกิด กำเนิด ขึ้น หรือเป็นการเปรียบเปรยถึงบุคคลบางประเภท เช่น ชาติข้า ชาติหงส์ ชาติหมา ตราบจนกระทั่งแนวคิดเรื่องรัฐสมัยใหม่แผ่อิทธิพลเข้ามา โดยประชาชนใต้อำนาจ ปกครองต้องมีลักษณะบางอย่างร่วมกันซึ่งก็คือ สัญชาติ
19
การปฏิรูปการปกครองในสมัย ร.5
จัดตั้งมณฑลลาวเฉียง (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เถิน) > มณฑลพายัพ จัดตั้งมณฑลลาวพวน (อุดร ขอนแก่น นครพนม สกลนคร เลย หนองคาย > มณฑลอุดร จัดตั้งมณฑลลาวกาว เขมร หัวเมืองแขกมลายู > มลฑลไทรบุรี
20
เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเมืองเชียงใหม่คนสุดท้าย 2453 – 2482
21
จนกระทั่งแนวคิดเรื่องรัฐสมัยใหม่แผ่อิทธิพลเข้ามา ตั้งแต่ ร
จนกระทั่งแนวคิดเรื่องรัฐสมัยใหม่แผ่อิทธิพลเข้ามา ตั้งแต่ ร. 5 โดย ประชาชนใต้อำนาจปกครองต้องมีลักษณะบางอย่างร่วมกันซึ่งก็คือ สัญชาติ จึงทำให้เกิดกฎหมายว่าด้วยสัญชาติขึ้น แต่ในรัชกาลถัดมา พระราชบัญญัติแปลงชาติ พ.ศ. 2454 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456
22
ความเป็นคนไทย ความเป็นคนไทยในความหมายปัจจุบันไม่ได้มีมาแต่อดีต
ที่มามาก่อน คือ การเป็นคนไท ที่ร่วมเชื่อชาติกับชาวเสียม, ชาน ในทั้งพม่า ลาว และกัมพูชา การเป็นคนไทยไม่ได้เกิดขึ้นในด้วยตัวมันเอง แต่เกิดขึ้นเมื่อ “ชนชั้นนำไทย” เริ่มตระหนักถึงคนกลุ่มอื่นๆ ที่ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงและมีอำนาจเหนือกว่า โดยเฉพาะฝรั่ง อีกแง่หนึ่ง คนไทย, พม่า, ลาว ย่อมไม่เกิดขึ้นหากไม่มีภาวการณ์ล่าอาณานิคมอย่างกว้างขวาง สัญชาติไทย ก็เป็นเทคโนโลยีทางอำนาจอย่างหนึ่งที่ไทยหยิบยืมมาจากประเทศเจ้าอาณานิคมต่างๆ เช่นเดียวกับ กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากร, พระราชบัญญัติป่าไม่, ที่ดิน ฯลฯ
23
กฎหมายจารีตประเพณีของไทยมีอยู่ก็จริง แต่ไม่มีอยู่ในเรื่องของความคิดเรื่อง “ชาติ” เพราะเราไม่มีจารีต ประเพณีเรื่องชาติ ก่อนระบบกฎหมายสมัยใหม่จึงไม่มีสำนึกเรื่องสัญชาติหรือการเป็นคนในบังคับของรัฐ นอกจากการเป็นไพร่หรือ ทาสในสังกัดมูลนายเท่านั้น อีกนัยหนึ่ง ก่อนมีกฎหมายสัญชาติ ความคิดเรื่องสัญชาติมีอยู่เฉพาะในหมูชนชั้นนำเรื่อยมาตลอด คิดแบบนี้ เราอาจเข้าใจได้มากขึ้นว่า ทำไมชาวเขา ชาติพันธ์ ชนกลุ่มน้อย จึงเมินเฉยต่อสัญชาติในระยะแรกๆ จนกว่าการไม่เป็นไทยจะเริ่มคุกคามพวกเขาไม่ว่าจะด้วยทางตรงหรืออ้อมก็ตาม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.