ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ยาในประเทศไทย สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลับมหาสารคาม เอกสารประกอบการสอนวิชา ยาในชีวิตประจำวัน 9-10 เมษายน 2557
2
ยาในประเทศไทย ยาเป็นมากกว่าการรักษาโรค แหล่งกระจายยา ประเภทของยา
การขออนุญาต การโฆษณา การส่งเสริมการขาย คุณภาพยา
3
ยาเป็นมากกว่าการรักษาโรค
ยาคืออะไร ดูรายละเอียดจากเรื่อง หลักการใช้ยา มีคุณอนันต์ มีโทษมหันต์ เป็นสินค้าพิเศษ ต่างจากสินค้าทั่วไป การเข้าถึงยา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยาอยู่ที่ไหน เภสัชกรไปถึงที่นั่น
4
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
มาตรา ๕๑ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์
5
การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2554
ร้อยละ## ผู้ป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาล# เจ็บป่วย/รู้สึกไม่สบาย โรคเรื้อรัง/โรคประจำตัว อุบัติเหตุ/ถูกทำร้าย เปรียบเทียบกับ พ.ศ. 2550 เจ็บป่วย/รู้สึกไม่สบาย โรคเรื้อรัง/โรคประจำตัว # ในรอบ 1 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ (สัมภาษณ์ 26,500 ครัวเรือนในทุกจังหวัด) ## ร้อยละของประชากรทั้งหมด
6
การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2554
ร้อยละ สถานที่รับบริการสาธารณสุขครั้งสุดท้าย ผู้ป่วยที่มีการรักษา สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ 39.7 ซื้อ/หายากินเอง สถานพยาบาลเอกชน รักษาด้วยวิธีอื่น เช่น หมอพื้นบ้าน หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
7
แหล่งกระจายยา สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ เช่น ในสังกัด สธ.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล-รพ.สต /เดิมคือสถานีอนามัย-สอ. โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ สถานพยาบาลเอกชน เช่น คลินิกแพทย์ โรงพยาบาลเอกชน ร้านยา ร้านค้าทั่วไป ร้านชำ ฯลฯ → ยาสามัญประจำบ้าน หมอพื้นบ้าน → ยาสมุนไพร ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
8
ร้านยา ร้านค้า ร้านชำ รถเร่ ฯลฯ
สถานพยาบาลเอกชน พรบ.สถานพยาบาล สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สสจ. ร้านยา ร้านค้า ร้านชำ รถเร่ ฯลฯ พรบ.ยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย.
9
ยาชุด สุดอันตราย คุยกับยายคนนึงที่ใช้ยาชุด/ยาลูกกลอนเล่าให้ฟังว่า
“ยายใช้มานานแล้ว ใช้แล้วดี หายเร็ว เวลาปวดก็กินอีก ไม่กิน ไม่ได้ จะไม่ได้ทำงานเพราะปวดมาก ซื้อครั้งนึงก็ประมาณ 1,000-2,000 บาท บางทีก็ไปคลินิกหมอ ได้ยาเป็นชุดๆมากิน อาการปวดหายเป็นปลิดทิ้งเลย” วันนี้มานอนรพ. ด้วยอาการบวมทั่วตัว มีเลือดออกใน กระเพาะอาหาร ... จึงถามถึงแหล่งที่มาที่ซื้อยามากิน พบว่า ร้านชำในหมู่บ้านนั่นเอง ... ภญ.จันทร์จรีย์ ดอกบัว (รพ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ)
10
ยาชุด สุดอันตราย คนในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบของผม นิยมใช้ยาชุดกันมาก ใคร ๆ ก็ใช้ เขาบอกว่าได้ผลเร็วทันใจ บอกต่อ ๆ กัน หาซื้อก็ง่ายในชุมชน และที่ตลาด และแล้วก็ได้มีผู้ป่วยคนหนึ่งเป็นหญิงวัยกลางคน มีอาการแพ้ยาชุดอย่างรุนแรงจนบวม ผิวหนังลอก ปากเปื่อย ข่าวนี้ทำให้ชาวบ้านแตกตื่นและหวาดกลัวว่าเกิดจากอะไร เขาได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล หมอบอกว่าเขาแพ้ยา ที่ใช้อยู่ในยาชุดนั่นเอง ชาวบ้านบอกเราว่ากลัวแล้ว ไม่เอาแล้วยาชุด ได้เห็นกับตา อันตรายจริง ๆ และหมู่บ้านนั้นก็ไม่นิยมใช้ยาชุดกันเท่าไรแล้ว ภก.พีรศิลป์ นิลวรรณ (รพ.สต.หัวเสือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ)
11
ยาชุด สุดอันตราย ยาชุด หมายถึง ยาที่ผู้ขายจัดไว้เป็นชุด โดยทั่วไปจะมียาตั้งแต่ 3-5 เม็ดขึ้นไป มีรูปแบบและสีต่างๆ กัน ในยา 1 ชุด จะประกอบด้วยยาหลายๆ ชนิดรวมกัน ผู้ขายจะให้ผู้ซื้อ กินครั้งละ 1 ชุด โดยไม่มีการแบ่งว่าเป็นยาชนิดใด ควรกินเวลาใด ยาชุด ผิดกฎหมาย อันตราย ตายผ่อนส่ง
12
ประเภทของยา จำแนกตามการขออนุญาต จำแนกตามระดับของอันตรายจากยา
ยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพร จำแนกตามระดับของอันตรายจากยา ยาควบคุมพิเศษ ยาอันตราย ยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ยาสามัญประจำบ้าน
13
การขออนุญาต การนำหรือสั่งยาเข้าฯ การผลิตยา การขายยา
ต้องได้รับใบอนุญาตก่อน ยกเว้น การผลิตยาโดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรม (องค์การเภสัชกรรมเป็นโรงงานผลิตยาของรัฐ เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัด สธ.) การขายยาสามัญประจำบ้าน ร้านค้าทั่วไป ร้านชำ ... การขายยาสมุนไพรที่ไม่ใช่ยาอันตราย หมอพื้นบ้าน หมอสมุนไพร ... สมุนไพรสาธารณสุขมูลฐาน สมุนไพรใกล้ตัว สมุนไพรน่าใช้ ... ฯลฯ
14
ยาสมุนไพร ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่
ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ ยาสมุนไพรที่เป็นยาอันตราย ซึ่งไม่อนุญาตให้ใช้ในตำรับยาแผนโบราณ ตัวอย่างเช่น เมล็ดมะกล่ำตาหนู เมล็ดสลอด น้ำมันสลอด
15
สมุนไพรดองดึง โฆษกกระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชน ไม่ควรปลูกสมุนไพรดองดึง ร่วมกับพืชผักสวนครัวที่กินใบ-ผลหรือยอดอ่อน เพื่อป้องกันการเก็บผิดพลาด เนื่องจากดองดึงมีสารหลายชนิดทั้งที่มีสรรพคุณเป็นยาและ มีความเป็นพิษสูง ถึงขั้นเสียชีวิต พืชชนิดนี้ต้องใช้โดยผู้มีความรู้เท่านั้น โดยล่าสุดพบเสียชีวิตแล้ว 1 รายที่จ.ศรีสะเกษ จากการกินผลดองดึงเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นผลของต้นสลิด
16
สมุนไพรดองดึง หากพบผู้ป่วยจากการกินลูกดองดึง
ให้ช่วยชีวิตเบื้องต้นโดยให้กินไข่ขาวหรือดื่มนมทันที เพื่อทำให้อาเจียนออกมาให้มากที่สุด เพื่อลดการดูดซึมพิษเข้าร่างกาย และรีบส่งไปโรงพยาบาลทันที
17
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน
ต้องมีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติการ ตลอดเวลาทำการ (=ตลอดเวลาที่เปิดร้าน)
18
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน เฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ
ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการไม่ใช่เภสัชกร จำกัดจำนวน กำหนดโควตา ไม่อนุญาตร้านใหม่ หลายร้าน เปลี่ยนเป็นร้านขายยาแผนปัจจุบัน มีจำนวนลดลง
19
ร้านขายยาแผนโบราณ ร้านขายยาแผนโบราณ
ต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย สาขาเภสัชกรรม เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตลอดเวลาทำการ (=ตลอดเวลาที่เปิดร้าน)
20
การโฆษณายา ห้ามโฆษณา โฆษณาได้เฉพาะการโฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพ
แสดงสรรพคุณยาอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง ทำให้เข้าใจว่ามีวัตถุใดเป็นตัวยาหรือเป็นส่วนประกอบของยา ซึ่งความจริงไม่มีวัตถุหรือส่วนประกอบนั้นในยา หรือมี แต่ไม่เท่าที่ทำให้เข้าใจ โฆษณาได้เฉพาะการโฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น สรรพคุณยาอันตรายหรือยาควบคุม การโฆษณายาต้องได้รับอนุญาตก่อน
21
ดังนั้น การโฆษณายาทางสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ นิตยสาร เป็นต้น
โฆษณาได้เฉพาะยาสามัญประจำบ้าน ยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพืเศษ ห้ามโฆษณาแสดงสรรพคุณยาอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง ห้ามโฆษณาทำให้เข้าใจว่ามีวัตถุใดเป็นตัวยาหรือเป็นส่วนประกอบของยา ซึ่งความจริงไม่มีวัตถุหรือส่วนประกอบนั้นในยา หรือมีแต่ไม่เท่าที่ทำให้เข้าใจ ต้องได้รับอนุญาตก่อน
22
คุณภาพยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต
ตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต เช่น ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี ตรวจวิเคราะห์คุณภาพในเขตจังหวัด
23
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยและฐานข้อมูลคุณภาพความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2. เพื่อสร้างเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทย 3. เพื่อสร้างระบบและรูปแบบการป้องกันแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ ไม่ปลอดภัยของประเทศที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผ่านการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ
24
เครื่องดื่ม น้ำหมักพืชแท้ หอม หวาน เย็นซ่า เต็มพลัง ตราผู้ใหญ่สุพรรณ (พบ ไดคลอโรมีเทน หรือ เมทิลีนคลอไรด์) #9 ก.ย : น.
28
แก๊สหัวเราะ ไนตรัสออกไซด์ ยาเสพติดตัวใหม่#10 ต.ค. 2556 : 14.00 น.
29
ยาผงจินดามณี (ยาผีบอก) (พบ เดกซาเมทาโซน) #12 ก.ย. 2556 : 16.00 น.
30
อังคาร 15 ธันวาคม 2552
34
เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทย
2.1 ผู้สั่งใช้ยาไม่พึงรับประโยชน์อันเป็นทรัพย์สินจากผู้แทนยาหรือบริษัทยา เช่น 2.1.1 ของขวัญ รวมถึงการจัดอาหารและเครื่องดื่ม 2.1.2 ตัวอย่างยา 2.1.3.เงิน สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดที่บริษัทยาให้แก่ผู้สั่ง ใช้ยาเป็นส่วนตัว ทีไม่ใช่ค่าตอบแทนวิทยากร
35
3.1 ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจ ไม่พึงรับประโยชน์อืนใด ซึง เป็นทรัพย์สินและบริการจากบริษัทยาหรือ
ผู้แทนยา อันนำมาซึง ประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อืน เพือแลกเปลีย นกับการตัดสินใจสัง ซือ6 ยานัน6 เช่น ของขวัญ เงิน สิงของ ตัวอย่างยา การจัดอาหารและเครือ งดืม
36
4.2 ในการนำตัวอย่างยามาจ่ายให้กับผู้ป่วย เภสัชกรในสถานพยาบาล สถานบริการเภสัชกรรม หรือหน่วยงาน
พึงคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับเป็นสำคัญ ไม่มุ่งหวังเพื่อเป็นการส่งเสริมการขายยาหรือประโยชน์ส่วนตน และพึงจัดให้มีระบบกำกับดูแลการรับและการจ่ายตัวอย่างยาของสถานพยาบาลหรือหน่วยงาน ซึง ควรเป็นระบบที่ตรวจสอบได้
37
7.1 สถานศึกษา ไม่พึงอนุญาตให้ผู้แทนยาเข้าพบนักศึกษา เพื่อการโฆษณายาหรือการส่งเสริมการขายยา
7.2 สถานศึกษา ไม่พึงอนุญาตให้มีการจัดกิจกรรมให้ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับยาแก่นักศึกษา ที่เชื่อมโยงถึงชื่อทางการค้าของยา หรือบริษัทยา เพื่อป้องกันการโฆษณาแอบแฝง 7.3 สถานศึกษา ไม่พึงอนุญาตให้นักศึกษารับเงิน สิ่งของ หรือการสนับสนุนอื่นๆ จากบริษัทยาโดยตรง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.