งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ OXYGEN FUEL HEAT องค์ประกอบของไฟมี  3 อย่าง คือ ประเภทของไฟ ไฟประเภท เอ  (A) ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงเป็นของแข็งเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ฟืน ฟาง ยาง ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก หนังสัตว์ ปอ นุ่น ด้าย วิธีดับไฟประเภท A คือ การลดความร้อนโดยใช้น้ำ ไฟประเภท บี (B) ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวและก๊าซ เช่น น้ำมันทุกชนิด แอลกอฮอล์ ทินเนอร์ ยางมะต่อย จารบี และ ก๊าซติดไฟทุกชนิด วิธีดับไฟประเภท B คือ กำจัดออกซิเจน ทำให้อับอากาศ โดยคลุมดับ ใช้ผงเคมีแห้ง ใช้ฟองโฟมคลุม ไฟประเภท ซี (C) ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด การอาร์ค การสปาร์ค วิธีดับไฟประเภท C คือ ตัดกระแสไฟฟ้าแล้วใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือน้ำยาเหลวระเหยที่ไม่มี CFC ไล่ออกซิเจนออกไป ไฟประเภท ดี (D) ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นโลหะและสารเคมีติดไฟ เช่น วัตถุระเบิด ปุ๋ยยูเรีย (แอมโมเนียไนเตรด) ผงแมกนีเซียม ฯลฯ วิธีดับไฟประเภท D คือ การทำให้อับอากาศ หรือใช้สารเคมีเฉพาะ (ห้ามใช้น้ำเป็นอันขาด)  

2 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ (Portable Fire Extinguisher) 1. เครื่องดับเพลิงชนิดกรดโซดา (Soda Acid) (นิยมบรรจุในถังสีแดงไม่มีสายไม่มีคันบีบ ) เวลาใช้ต้องทุบ ปุ่มเหนือถังให้ถือถังคว่ำลง แล้วน้ำจะพุ่งผ่านหัวฉีดเข้าดับไฟ ปัจจุบันไม่นิยมใช้ในเมืองไทย แต่ในต่างประเทศยังมีใช้อยู่ ใช้ดับไฟประเภท A อย่างเดียว 2. เครื่องดับเพลิงชนิดฟองโฟม (Foam) (นิยมบรรจุในถังอลูมิเนียมสีครีมหรือถังสแตนเลสมีหัวฉีดเป็นหัวฝักบัว) ในถังมีน้ำยาโฟมผสมกับน้ำและอัดแรงดันไว้ เวลาใช้ถอดสลักและบีบคันบีบ พ่นออกมาเป็นฟองกระจายไปปกคลุมบริเวณที่เกิดไฟไหม้ ทำให้อับอากาศขาดออกซิเจน และลดความร้อน ใช้ดับไฟประเภท B และ A 3. เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำสะสมแรงดัน ( Water Pressure ) (นิยมบรรจุถังสเตนเลส ต่างประเทศบรรจุถังกันสนิมสีแดง) บรรจุน้ำอยู่ในถัง แล้วอัดแรงดันน้ำเข้าไว้ จึงเรียกว่า น้ำสะสมแรงดัน ใช้ดับไฟประเภท A

3 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ (Portable Fire Extinguisher) 4. เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือซีโอทู (Carbondioxide) (นิยมบรรจุถังสีแดงต่างประเทศบรรจุถังสีดำ) บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในถัง ที่ปลายสายฉีดมีลักษณะเป็นกระบอกหรือกรวย เวลาฉีดจะมีเสียงดัง พร้อมกับพ่นหมอกหิมะออกมาไล่ความร้อน และออกซิเจนออกไป เมื่อใช้งานแล้วจะไม่มีสิ่งสกปรกหลงเหลือ ใช้ดับไฟประเภท C และ B 5. เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Powder) (นิยมบรรจุถังสีแดง ต่างประเทศบรรจุถังสีฟ้า) บรรจุผงเคมีหลายชนิดไว้ในถัง แล้วอัดแรงดันเข้าไป เวลาใช้ ผงเคมีจะถูกดันออกไปคลุมไฟทำให้อับอากาศควรใช้ภายนอกอาคาร เพราะผงเคมีเป็นฝุ่นละอองฟุ้งกระจายทำให้เกิดความสกปรก ใช้ดับไฟประเภท B และ C (แต่อุปกรณ์ไฟฟ้าอาจเสียหาย) 6. เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย ฮาโลตรอน (Halotron) (นิยมบรรจุถังสีเขียว) บรรจุน้ำยาเหลวระเหย ชนิดโบรโมคลอโรไดฟลูออโร ซึ่งเป็นสาร CFC ใช้ดับไฟได้ดีแต่มี สารพิษ ปัจจุบันองค์กรสหประชาชาติประกาศให้เลิกผลิตพร้อมทั้งให้ ทุกประเทศลดการใช้จนหมดสิ้น เพราะเป็นสารที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้ดับไฟประเภท C และ B ส่วนไฟประเภท A ต้องมีความชำนาญ

4 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ การติดตั้งเครื่องดับเพลิง ให้ติดตั้งสูงจากพื้น โดยวัดถึงส่วนที่สูงที่สุดของเครื่องดับเพลิงต้องไม่เกิน 140 ซม. สำหรับถังดับเพลิงขนาดเบาที่มีน้ำหนักรวมไม่เกิน 10 กก. เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบใช้ได้สะดวก   ติดตั้งสูงไม่เกิน 90 ซม. สำหรับถังขนาดหนัก    มีการติดตั้งป้ายชี้ตำแหน่งไว้เหนือเครื่องดับเพลิงเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนในระยะไกล จากทุกมุมมอง และทั้งกลางวันและกลางคืน เครื่องดับเพลิงทุกเครื่องที่ติดตั้งในประเทศไทย ต้องมีรายละเอียดเป็นภาษาไทยด้วย   จะต้องมีป้ายระบุระยะเวลาการตรวจสอบบำรุงรักษา (Maintenance Tag) ที่เครื่องดับเพลิงทุกๆ เครื่องด้วย (ซึ่งกำหนดให้ตรวจสอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง)

5 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 4 ขั้นตอนเมื่อมีไฟไหม้ 1. พบเหตุ (FIRE) เมื่อพบเหตุเพลิงไหม้ ให้แจ้งเหตุพร้อม ช่วยคนที่อยู่ในอันตราย 2. แจ้งเหตุ (ALARM) แจ้งให้ผู้อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุรู้ และไปกด สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm) และดับไฟ 3. ระงับเหตุ (EXTINGUISH) ผู้ที่รู้ว่ามีเหตุเพลิงไหม้ ต้องเข้าช่วยกันดับไฟ (ควรฝึกใช้เครื่องดับเพลิงให้เป็นทุกคน) และปฏิบัติตามแผนฉุกเฉิน 4. หนีเหตุ (ESCAPE) ผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดับไฟให้รีบหนี ทางช่องหนีไฟที่ปลอดภัยซึ่งต้องเตรียมไว้ อย่างน้อย 2 ทาง ให้หนีลง อย่าหนีขึ้นหากมี กลุ่มควันให้คลานต่ำ แล้วไปรวมตัวที่จุดรวมพล เพื่อตรวจสอบจำนวนคนว่าออกมาครบ หรือ ติดค้างในอาคาร

6 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ป้ายเครื่องหมายป้องกันอัคคีภัย (FIRE EQUIPMENT SIGNS)


ดาวน์โหลด ppt มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google