งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การรักษาดุลยภาพของร่างกาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การรักษาดุลยภาพของร่างกาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การรักษาดุลยภาพของร่างกาย

2 ทำไมสิ่งมีชีวิตต้องรักษาดุลยภาพ
สัตว์ทุกชนิดจะต้องรักษาระดับของสารภายในร่างกายให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เรียกว่า การรักษาดุลยภาพของร่างกาย(Homeostasis) ซึ่งรวมถึงการควบคุมความต้องการสาร เช่น กลูโคส และออกซิเจนในเลือด การกำจัดของเสีย หรือการขับถ่าย (Excretion) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การกำจัดของเสียเกิดขึ้นที่ปอด (ซึ่งขับคาร์บอนไดออกไซด์) ผิวหนัง (ซึ่งขับความร้อนส่วนเกินออก) ตับและไต ทั้งหมดนี้เรียกว่า อวัยวะขับถ่าย (Excretory organs)

3 ระบบหายใจกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย
เพราะเหตุใดสิ่งมีชีวิตจึงต้องหายใจ?? เพื่อนำออกซิเจนเข้าไปสลายอาหารเพื่อให้ได้พลังงานออกมา

4 โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
สิ่งมีชีวิเซลล์เดี่ยวเซลล์จะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นน้ำอยู่ตลอดเวลาการแลกเปลี่ยนก๊าซจึงแลกเปลี่ยนโดยตรงกับสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยกระบวนการแพร่ พารามีเซียม อะมีบา

5 การแพร่คืออะไร การเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีสารมากไปยังบริเวณที่มีสารน้อย

6

7 การแลกเปลี่ยนก๊าซของสัตว์
สัตว์บางชนิดจะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซโดยตรงกับสิ่งแวดล้อม เช่น ไฮดรา และ พลานาเรีย

8

9 พลานาเรียมีขนาดใหญ่ขึ้น มีจำนวนเซลล์มากขึ้น แต่การแลกเปลี่ยน แก๊สยังใช้ผิวหนัง พลานาเรียมีการปรับโครงสร้างโดยลำตัวแบน เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊ส และเนื้อเยื่อชั้นกลางของเซลล์จะเกาะกันหลวมๆ เพื่อให้การแพร่ของแก๊สผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อชั้นในได้เร็วขึ้น

10

11 การแลกเปลี่ยนก๊าซของไส้เดือนดิน
อาศัย 3 ส่วนสำคัญคือ ผิวหนัง เป็นบริเวณที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซจากภายนอกเข้าสู่ภายในโดยอาศัยกระบวนการแพร่ เส้นเลือด ได้แก่ เส้นเลือดขนาดใหญ่ด้านบน รับO2 จากผิวหนัง และกำจัด Co2 ออกทางผิวหนัง เส้นเลือดใหญ่ด้านล่างนำเลือดมาเลี้ยงเซลล์ด้านล่างแล้วส่งเลือดที่มี Co2ไปยังเส้นเลือดด้านบนแล้วกำจัด Co2 ออกทางผิวหนัง เส้นเลือดฝอย กระจายไปทั่วเพื่อนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงทุกเซลล์และรับ CO2 จากเซลล์ลำเลียงไปรวมกันที่เส้นเลือดใหญ่ด้านบนแล้วกำจัดออก หัวใจเทียม สูบฉีดเลือดจากเส้นเลือดด้านบนมาที่เส้นเลือดด้านล่าง

12

13 O2 CO2

14 นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดผิวหนังของไส้เดือนดินจึงสามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้

15 ผิวหนังของไส้เดือนดินจะบางและมีการขับสารเมือกออกมาเพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊ส และมีระบบไหลเวียนเลือดช่วยในการลำเลียงแก๊ส ลักษณะโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส 1. ผิวหนังบางและชุ่มชื้น 2. พื้นที่ผิวเพียงพอ 3. มีโครงสร้างในการลำเลียงแก๊ส 4. มีโครงสร้างป้องกันอันตรายให้กับโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส

16 ปลิงทะเล อวัยวะที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ยื่นเข้าไปในร่างกาย มีลักษณะเป็นท่อยาวแตกแขนงคล้ายกิ่งไม้มากมาย ท่อเหล่านี้เปิดติดต่อกับช่องเปิดของลำตัวด้านท้ายสุด เรียกว่า โคลเอกา (cloaca) เมื่อกล้ามเนื้อโคลเอกาหดตัวน้ำจะถูกฉีดเข้าไปตามท่อ เมื่อโคลเอกาคลายตัวน้ำจะถูกขับออกมา การแลกเปลี่ยนแก๊สจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเข้าออกของน้ำจากท่อ สัตว์ที่มีเรสไพราทอรี ทรี

17

18

19 การแลกเปลี่ยนก๊าซของแมลง
เนื่องจากแมลงมีโครงร่างแข็งภายนอกและผิวภายนอกค่อนข้างแห้งและแข็งจึงไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซที่ผิวหนังได้โดยโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนจะอยู่ภายในร่างกาย +++มาดูสิว่าทางเดินหายใจของแมลงมีอะไรบ้าง++++++

20 ทางเดินหายใจของแมลง

21 ช่องสไปราเคิล (Spiracle) ท่อลม (Trachea) ท่อลมฝอย(tracheole)
อากาศ ช่องสไปราเคิล (Spiracle) ท่อลม (Trachea) ท่อลมฝอย(tracheole) ซึ่งมีผนังบางจึงสามารถเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซได้

22

23

24

25 กล้ามเนื้อ ท่อลมฝอย ถุงลม ท่อลม รูหายใจ

26 ระบบท่อลมของแมลงเป็นโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ประกอบด้วย
รูหายใจ (spiracle) อากาศจะผ่านจากรูหายใจซึ่งอยู่ข้างลำตัวเข้าสู่ท่อลม (trachea) ซึ่งเป็นท่อขนาดเล็กแตกแขนงอยู่ภายในร่างกาย มีขนาดเล็กและผนังบางลงเรื่อยๆ เรียกว่า ท่อลมฝอย (tracheole) โดยจะแทรกไปตามเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย

27 โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของแมลงที่บินได้ จะแตกต่างจากแมลงโดยทั่วไปอย่างไร
แมลงที่บินได้มีถุงลมเพื่อช่วยในการบิน ดังนี้ รูหายใจ ท่อลม ถุงลม (air sac)  ท่อลมฝอย  เซลล์ แมลงที่บินไม่ได้ รูหายใจ (spiracle)  ท่อลม (trache) ท่อลมฝอย (trachole) เซลล์ (cell)

28 โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของแมลง จำเป็นต้องใช้ระบบไหลเวียนเลือดในการลำเลียงแก๊สหรือไม่ อย่างไร ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบไหลเวียนเลือด เพราะเซลล์ได้รับแก๊สออกซิเจนโดยตรงจากระบบท่อลม

29 แมงมุม แมงมุมใช้ ปอดแผง(Book lung) ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ

30 บุ๊คลัง (book lung) เป็นโครงสร้างที่ใช้ในการแลก-เปลี่ยนแก๊สที่พบในแมงมุมบางชนิดเท่านั้น
แมงมุมส่วนใหญ่จะใช้ท่อลมในการแลกเปลี่ยนแก๊ส บุ๊คลังมีลักษณะคล้ายเหงือกยื่นออกมาภายนอกร่างกาย ทำให้สูญเสียความชื้นได้ง่าย และต้องการของเหลวไหลเวียนในโครงสร้างนี้เพื่อลำเลียงแก๊สไปให้เนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย

31 ปลา

32

33 เหงือก (gill) สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น หอย ปู กุ้ง ปลา จะมีเหงือกเป็นโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส   เส้นเหงือก (gill filament) มีลักษณะเป็นซี่เส้นเล็กๆ งอกออกมาจากกระดูกค้ำเหงือก ช่องเหงือก (gill slit) คือ ช่องว่างระหว่างเส้นเหงือกแต่ละเส้น เมื่อปลาฮุบน้ำ ส่วนที่เป็นกระดูกแก้มจะเปิดออกเพื่อให้น้ำไหลผ่านเส้นเหงือก ซึ่งมีผนังบาง และมีหลอดเลือด ฝอยมาหล่อเลี้ยงมากมายเมื่อน้ำไหลผ่านแก๊สออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอย และลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

34 นก

35 ปอดของนกแตกต่างจากปอดของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อย่างไร ลักษณะดังกล่าวเหมาะสมต่อ การดำรงชีวิตอย่างไร
(ปอดของนกจะมีถุงลม (air sac) ซึ่งช่วยในการสำรองอากาศในการบินทำให้อากาศบริสุทธิ์ผ่านปอดทั้งเข้าและออก ทำให้ปอดแลกเปลี่ยนแก๊สได้ 2 ครั้ง ช่วยระบายความร้อน ช่วยในการบิน เพราะถุงลมจะแทรกตามอวัยวะต่างๆ ทำให้ตัวเบาบินขึ้นสู่ที่สูงได้)

36 การแลกเปลี่ยนก๊าซของนก
ปอดของนกมีขนาดเล็กแต่นกมีถุงลมซึ่งเจริญดีมากโดยแยกออกจากปอดเป็นคู่ๆ หลายคู่ ทั้งถุงลมด้านหน้า ถุงลมในช่องอกถุงลมในช่องท้องและในกระดูกในขณะหายใจเข้าอากาศจะผ่านเข้าสู่หลอดลมผ่านปอดแล้วเข้าสู่ถุงลมที่อยู่ตอนท้ายส่วนอากาศที่ใช้แล้วจะออกจากปอดเข้าสู่ถุงลมตอนหน้าอากาศจากปอดและอากาศจากถุงลมตอนหน้าถูกขับออกจากตัวนกทางลมหายใจออก

37

38 ถุงลมของนกทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ไม่ได้ เพราะผนังหนาและมีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงน้อย

39

40 การแลกเปลี่ยนแก๊สของกบ
กบ , คางคก มีเหงือกขณะเป็นตัวอ่อนว่ายอยู่ในน้ำ มีลักษณะเป็นแขนงยื่นออกมาภายนอกร่างกาย พอเจริญเติบโตใช้ปอดและผิวหนัง

41 โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีระบบหายใจดีมากโดยประกอบด้วยถุงลมเล็กๆ ที่เรียกว่า อัลวีโอลัส (alveolus) มีกล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อกระดูกซี่โครงช่วยในการหายใจ ทำให้อากาศเข้าและออกปอดได้เป็นอย่างดี ในที่นี้จะใช้คนเป็นตัวแทน

42 การแลกเปลี่ยนแก๊สของคน
ทางเดินอากาศของคน ประกอบด้วย 1. รูจมูก (Nostril) 2. ช่องจมูกหรือโพรงจมูก (nasal cavity) 3. คอหอย (pharynx) 4.กล่องเสียง(larynx) 5. หลอดลม (trachea) 6. หลอดลมคอหรือขั้วปอด (bronchus) 7.แขนงขั้วปอดหรือหลอดลมฝอย (bronchiole) 8. ถุงลมเล็ก ๆ ในปอด (alveolus หรือ air sac)

43

44 การแลกเปลี่ยนแก๊ส ถุงลมเล็ก ๆ ในปอด มีเส้นเลือดฝอย(capillaries) ล้อมรอบ (ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน O2 และ CO2 อย่างมีประสิทธิภาพ)

45 การลำเลียงแก๊สออกซิเจน

46 O2 เข้าไปในปอดเข้าสู่เส้นเลือดฝอยที่อยู่รอบ ๆ ถุงลม รวมกับ hemoglobin ในเซลล์เม็ดเลือดแดงกลายเป็น oxyhemoglobin แล้วลำเลียงไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ จากนั้น O2 ก็จะแพร่จากเส้นเลือดฝอยให้แก่เนื้อเยื่อ และถูกลำเลียงต่อไปเพื่อรับ O2 ที่ปอดใหม่

47 การลำเลียงคาร์บอนไดออกไซด์
ที่เนื้อเยื่อ ในเซลล์เม็ดเลือดแดง CO2 + H2O   H2CO3             H+    +    HCO3- ที่ปอด

48

49 กลไกการควบคุมการหายใจ
กลไกการควบคุมการหายใจจะเกี่ยวข้องกับระบบประสาทโดยมีการควบคุม 2 ส่วน คือ 1. การควบคุมแบบอัตโนวัติ ซึ่งเป็นการหายใจที่ไม่สามารถบังคับได้ โดยมีสมองส่วนพอนด์และเมดัลลา ออบลองกาตา เป็นตัวสร้างและส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจทำให้การหายใจเข้าออก เกิดขึ้นได้เป็นจังหวะสม่ำเสมอทั้งในยามหลับและยามตื่น โดยไม่จำเป็นต้องรอการสั่งการให้มีการหายใจ

50 กลไกการควบคุมการหายใจ
2. การควบคุมภายใต้อำนาจจิตใจ ซึ่งเป็นการหายใจที่สามารถบังคับได้ โดยสมองส่วนหน้าที่เรียกว่า ซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ ไฮโพทาลามัส และสมองส่วนหลังที่เรียกว่า ซีรีเบลลัม ซึ่งจะทำให้เราสามารถควบคุม บังคับ หรือปรับการหายใจให้เหมาะสมกับพฤติกรรมต่างๆ ของร่างกาย เช่น การพูด การร้องเพลง การเล่นเครื่องดนตรีประเภทเป่า การว่ายน้ำ การดำน้ำหรือการกลั้นหายใจได้

51 การหายใจเข้าออก การหายใจเข้า (Inspiration)
1.กะบังลมหดตัว เป็นการช่วยเพิ่มปริมาตรของช่องอกในแนวดิ่ง 2. กระดูกซี่โครงยกตัวสูงขึ้น เป็นการช่วยเพิ่มปริมาตรของช่องอกในแนวรัศมี การหายใจออก (Expiration) 1. กะบังลมคลายตัว กลับเข้าตำแหน่งเดิม 2. กระดูกซี่โครงลดระดับต่ำลง

52 กล้ามเนื้อยึดกระดูกชี่โครงแถบในคลายตัว กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงแถบนอกหดตัว เกิดการยกตัวของกระดูกอกและกระดูกซี่โครง กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงแถบในหดตัว กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงแถบนอกหดตัว กระดูกอกและกระดุกซี่โครงลดต่ำลง

53

54 สรุปการแลกเปลี่ยนแก๊ส

55 คำสั่งให้นักเรียนสรุปเกี่ยวกับความผิดปกติของปอด

56 ระบบขับถ่ายกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย

57 ระบบขับถ่าย (Excretion)
การขับถ่ายช่วยรักษาปริมาณ ของเสียในร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล หากระบบขับถ่ายของร่างกายเสียสมดุลย์จะมีผลอย่างมากต่อการทำงานของร่างกาย

58 การขับถ่ายของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอาศัยอยู่ในน้ำส่วนใหญ่ของเสียที่เกิดจากเมทาบอลิซึมจะสามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ แต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่อยู่ในแหล่งน้ำจืดซึ่งมีสภาพเป็นไฮโพโทนิก(Hypotonic)น้ำจะแพร่เข้าสู่เซลล์ ดังนั้นจึงมีออร์กาแนลล์ที่ช่วยในการรักษาสมดุลของน้ำ คือ คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล ซึ่งทำหน้าที่กำจัดน้ำส่วนเกินออกนอกเซลล์โดยขอเสียก็จะปนออกมากับน้ำด้วย ****ไฮโพโทนิก(Hypotonic)คืออะไร***

59 สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic)
ความเข้มข้นน้อยกว่าเซลล์

60 ไฮเพอร์โทนิก(Hypertonic)
สารละลายมีความเข้มข้นมากกว่าเซลล์

61 ไอโซโทนิก(Isotonic) มีความเข้มข้นเท่าเซลล์

62

63 คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล

64 การขับถ่ายของสัตว์

65 การกำจัดของเสียของไฮดรา, ฟองน้ำ
ฟองน้ำและไฮดรา แต่ละเซลล์สามารถสัมผัสกับน้ำได้โดยตรง ของพวกก๊าซ และ แอมโมเนีย จึงถูกขับออกโดยการแพร่ออกสู่สิ่งแวดล้อม

66

67 การขับถ่ายของหนอนตัวแบน
ได้แก่ พลานาเรีย โดยใช้เฟลมเซลล์ (Flame cell) ซึ่งอยู่2ด้านของร่างกาย มีท่อต่อกับผนังของลำตัว

68

69 การขับถ่ายของไส้เดือนดิน
มีอวัยวะขับถ่ายของเสียเรียกว่า เนฟริเดียม ( Nephridium) ซึ่งมีปล้องละ 1 คู่ ภาพที่ 5.7 แสดงลักษณะโครงสร้างเนฟริเดียมของไส้เดือนดิน

70

71 เนโฟรสโตม

72 เนโฟรสโตม (Nephrostome)
ปลายหนึ่งรับของเหลวทางช่องภายในลำตัว ส่วนอีกปลายหนึ่งเปิดออก อยู่ภายนอกทางผิวหนัง ทำหน้าที่ขับของเสียพวกแอมโมเนีย และยูเรีย ส่วนน้ำและแร่ธาตุที่จำเป็นจะถูดกดูดกลับเข้าสู่กระแสเลือด **ดังนั้นเนฟริเดรียม จึงทำหน้าที่กรองและดูดกลับสาร***

73 แมลง อวัยวะขับถ่ายของแมลง คือ ท่อมัลพิเกียน (Malpighian tubule)
ท่อมัลพิเกียนจะล่องลอยอยู่ในของเหลวในช่องภายในลำตัวของเสียจะลำเลียงเข้าสู่ท่อมัลพิเกียนแล้วกำจัดออกทางทวารหนัก

74 ภาพที่ 5.8 แสดงตำแหน่งและกระบวนการขับถ่ายสารของท่อมัลพิเกียน

75 กุ้ง อวัยวะขับถ่าย เรียกว่า ต่อมแอนเทนนัล (Antennal gland) ต่อมเขียว( Green gland ) ภาพที่ 5.9 แสดงต่อมแอนเทนนัล (Antennal gland) หรือต่อมเขียว ( Green gland ) ของกุ้ง Antennal gland

76 หน้าที่กรองของเสียสารประกอบพวกไนโตรเจน โดยของเหลวจากฮีโมลิมฟ์ถูกกรองเข้าสู่ถุงในช่องลำตัว (Coelomic sac) ของเสียผ่านไปตามท่อ ตอนปลายของท่อพองออกเป็นถุง (Bladder)เพื่อพักของเหลวก่อนปล่อยออกนอกร่างกายทางรูขับถ่าย (Excretory pore)

77 ปลา มีอวัยวะขับถ่ายประกอบด้วย ไต 1 คู่ อยู่ภายในช่องท้องติดกับกระดูกสันหลัง ไตทำหน้าที่กำจัด ของเสียยูเรียและของเสียอื่น ๆ ออกจากเลือด ของเสียจะผ่านท่อไต (Ureter) ไปยังกระเพาะปัสสาวะ (Uninary bladder)และเปิดออกทาง Urogenital opening

78 ไตปลา

79

80 กบ อวัยวะขับถ่ายประกอบด้วย ไต 1 คู่ ไตแต่ละข้างจะมีท่อไต (Urinary duct หรือ Ureter) นำน้ำปัสสาวะไปเปิดเข้าโคลเอกา (Cloaca)ทางด้านหลัง ทางด้านท้องของโคลเอกามีถุงผนังบางปลายหยักติดอยู่ คือ กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) ของเสียที่เข้าสู่โคลเอกาจะถูกขับออกทันทีหรือนำมาเก็บที่กระเพาะปัสสาวะ

81 ภาพที่ 5.11 แสดงโครงสร้างภายในของกบ

82 สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก
ภาพที่ 5.12 แสดงโครงสร้างภายในและเอ็มบริโอของไก่ ของสัตว์เลื้อยคลานและไก่ Kidney

83 ระบบขับถ่ายของคน

84 ของเสียในร่างกายมีอะไรบ้าง
ของเสียในรูปแก๊ส คือ ลมหายใจ  ของเสียในรูปของแข็ง คือ อุจจาระ ของเหลว คือ เหงื่อและปัสสาวะ 

85 การขับถ่ายของเสียทางปอด
    โดย CO2 ในเส้นเลือดจะแพร่เข้าสู่ปอด บริเวณถุงลม จากนั้นจะถูกปลดปล่อยออกสู่ภายนอกโดยอาศัยการหายใจออก

86 การขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง
  ในผิวหนังของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อโดยเหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ              

87 ในเหงื่อประกอบด้วย น้ำประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์
  ในเหงื่อประกอบด้วย น้ำประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ สารอื่น ๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวก เกลือโซเดียมคลอไรด์ สารอินทรีย์ พวกยูเรีย และมีน้ำตาล  แอมโมเนีย กรดแลคตริก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย

88 ประโยชน์ของการระเหยของเหงื่อ
เป็นการปรับระดับอุณหภูมิของร่างกาย  โดยระบายความร้อนไปกับเหงื่อที่ระเหย  ปริมาณเหงื่อที่ถูกขับออกมาจะเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียส

89 การขับถ่ายผ่านลำไส้ โดยกากอาหารที่เคลื่อนเข้าสู่ลำไส้ใหญ่จะถูกดูดซึม น้ำ และ วิตามิน ออกไปหากกากอาหารอยู่ในลำไส้นานอาจเป็นสาเหตุของหลายโรค เช่น มะเร็ง ผิวหน้าไม่ผ่องใส และ เป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้

90 การขับของเสียออกทางไต
ไตของคนมี 1 คู่ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังบริเวณเอว ยาวประมาณ เซนตริเมตร กว้าง 6 เซนตริเมตร และหนา 3 เซนตริเมตร ไตแต่ละข้างหนักประมาณ 150 กรัม

91 กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder)
ต่อจากไตทั้งสองข้างมี ไต (Kidney) ท่อไต (ureter) กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) ท่อปัสสาวะ (urethra)

92

93 โครงสร้างภายในของไต ถ้าผ่าตามยาวไตจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
รีนัลแคปซูล (Renal capsule) เนื้อไต ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เนื้อไตชั้นนอก หรือรีนัลคอร์เทกซ์ (Renal Cortex) เนื้อไตชั้นใน หรือรีนัลเมดัลลา ( Renal medulla ) กรวยไต (Renal pelvis)

94

95 รีนัลแคปซูล (Renal capsule)
เป็นส่วนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ด้านนอกสุดหุ้มรอบไต

96 เนื้อไต เนื้อไตชั้นนอก หรือรีนัลคอร์เทกซ์ (Renal Cortex)
เนื้อไตชั้นใน หรือรีนัลเมดัลลา ( Renal medulla )

97 เนื้อไตชั้นนอก หรือรีนัลคอร์เทกซ์ (Renal Cortex)
ลักษณะ:: มีสีแดง ลักษณะเป็นจุดๆ จุดเหล่านี้คืออะไร??? เรียกว่า โกลเมอรูลัส (Glomerulus) ถุงโบว์แมนส์แคบซูล (Bowman's Capsule) ท่อหน่วยไตส่วนต้น ( Proximal tubule) ท่อหน่วยไตส่วนปลาย(Distal tubule)

98

99 เนื้อไตชั้นใน หรือรีนัลเมดัลลา ( Renal medulla )
ลักษณะ :: เป็นชั้นที่มีสีจางกว่าเนื้อไตชั้นนอก มีลักษณะเป็นเส้น ๆ หรือหลอดเล็ก ๆ รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ คล้ายสามเหลี่ยมคล้ายพีระมิดเรียกว่า รีนัลพีระมิด (Renal pyramid) ซึ่งเกิดจาก ท่อรวม (Collecting tubule)

100

101 กรวยไต (Renal pelvis) ทำหน้าที่รองรับน้ำปัสสาวะที่มาจากแคลิกซ์ และส่งต่อไปสู่ท่อไต (Ureter) นำเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะและนำน้ำปัสสาวะออกทางท่อปัสสวะ

102 หน่วยไต (nephron)คืออะไร
คือ หน่วยย่อยของไตที่ทำหน้าที่ในการสร้างน้ำปัสสาวะ พบทั้งชั้นคอร์เทกซ์และเมดัลลา

103 ไตแต่ละข้างจะประกอบด้วยหน่วยไต หรือเนฟรอน (Nephron) ประมาณ 1 ล้านหน่วย เป็นหน่วยย่อยที่ทำหน้าที่สร้างน้ำปัสสาวะ (Functional unit) ของไต

104

105 ส่วนประกอบของหน่วยไต
ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆคือ รีนัลคอร์พัสเคิล (Renal corpuscle) ส่วนของท่อหน่วยไต (Renal tubule)

106 1. รีนัลคอร์พัสเคิล (Renal corpuscle)
เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกรอง ประกอบด้วย โกลเมอรูลัส (Glomerulus) โบว์แมนส์แคปซูล (Bowman’s capsule)

107 โกลเมอรูลัส (Glomerulus)

108

109 ลักษณะ และ หน้าที่ เป็นกลุ่มหลอดเลือดฝอยที่ขดรวมกันอยู่ใน โบว์แมนส์แคปซูล ทำหน้าที่ :: กรองน้ำและสารบางชนิดออกจากพลาสมาให้เข้ามาในท่อหน่วยไต

110 โบว์แมนส์แคปซูล (Bowman’s capsule)

111 ลักษณะและหน้าที่ มีลักษณะ :: คล้ายถ้วยมีผนังบางๆ2 ชั้น ภายในมีกระจุกเส้นเลือดฝอยโกลเมอรูลัส หน้าที่ :: เป็นทางผ่านของของเหลวที่กรองได้จากโกลเมอรูลัสเพื่อเข้าสู่ท่อหน่วยไต

112 2.ส่วนของท่อหน่วยไต

113 ท่อหน่วยไตประกอบด้วย
ท่อส่วนต้น (Proximal tubule) ท่อหน่วยไตภาพตัวยู หรือห่วงเฮนเล (Henle’s Loop) ท่อขดส่วนปลาย (Distal tubule) ท่อรวม (Collecting tubule)

114

115 หน้าที่ของหน่วยไต กรองสารที่โกลเมอรูลัส ดูดกลับสารที่ท่อหน่วยไต
การหลั่งสารโดยท่อหน่วยไต **หน่วยไตทำหน้าที่ดูดกลับสารที่จำเป็นกลับคืนเข้าสู่กระแสเลือด***

116 การกรองสารที่โกลเมอรูลัส
การกรองอาศัยแรงดันของของเหลวในเส้นเลือดฝอยโกลเมอรูลัส

117 เส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่โกลเมอรูลัส
เส้นเลือดที่นำเลือดเข้าไต คือ เส้นเลือดรีนัลอาร์เตอรี(Renal artery) เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากไต คือ เส้นเลือดรีนัลเวน(Renal vein) เส้นเลือดรีนัลจะแตกแขนงเล็กลงเรื่อยๆจนเป็นเส้นเลือดฝอยที่ที่แยกเข้าสู่หน่วยไตบริเวณโกลเมอรูลัส - เส้นเลื่อดฝอยที่แยกเข้าสู่หน่วยไต เรียก Afferent arteriole - เส้นเลือดฝอยที่ออกจากโกลเมอรูลัส เรียก Efferent arteriole

118 ของเหลวที่ได้จากการกรอง
แรงดันในโกลเมอรูลัส จะทำให้ น้ำ และสารโมเลกุลเล็กกว่ารู เช่น ยูเรีย โซเดียม กลูโคส ผ่านออกมาได้ แต่ไม่ยอมให้สารขนาดใหญ่ผ่าน เช่น เซลล์เม็ดเลือด โปรตีน ไขมัน

119 สังเกตุว่าของเหลวที่กรองได้จากโกลเมอรูลัสยังมีสารที่จำเป็นกับร่างกายหรือไม่

120 ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้สิ่งที่ร่างกายต้องการสูญเสียไปกับการกำจัดของเสีย

121 การดูดสารกลับที่ท่อหน่วยไต

122 การดูดสารกลับที่ท่อหน่วยไตส่วนต้น
มีการดูดกลับสารมากที่สุด การดูดกลับแบบใช้พลังงาน ได้แก่ กลูโคส โปรตีนโมเลกุลเล็ก กรดอะมิโน วิตามิน Na+ K+ การดูดแบบไม่ใช้พลังงาน ได้แก่ ยูเรีย น้ำ Cl- , HCo3-

123 การดูดสารกลับที่ห่วงเฮนเล
ห่วงเฮนเลแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ท่อขาลง (Discending): มีการเคลื่อนย้ายสารออกจากห่วงเฮนเลโดยกระบวนการออสโมซีส ท่อขาขึ้น (Ascending) : มีการดูด NaCl กลับทั้งแบบใช้พลังงานและ แบบไม่ใช้พลังงาน ส่วนน้ำเคลื่อนออกไม่ได้ เนื่องจากเยื่อไม่ยอมให้น้ำผ่าน

124 การดูดสารกลับที่ท่อหน่วยไตส่วนปลาย
แบบไม่ใช้พลังงาน ได้แก่ น้ำ แบบใช้พลังงาน ได้แก่ ดูดกลับโซเดียมคลอไรด์ และ โซเดียมคาร์บอเนตไออน ** การดูดกลับน้ำบริเวณนี้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก(ADH) ** การดูดกลับ Na+ ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนอัลโดสเตอดรน (Aldosterone)

125 การดูดสารกลับที่ท่อรวม
แบบใช้พลังงาน :Na+ แบบไม่ใช้พลังงาน : เช่นดูดกลับน้ำ ยอมให้ยูเรียแพร่ออก **การดูดกลับน้ำขึ้นกับอิทธิพลของฮอร์โมน ADH

126 การหลั่งสารโดยท่อหน่วยไต
ท่อขดส่วนต้น : มีการหลั่งสารเช่น H+, K+, NH3+ ท่อขดส่วนท้าย : หลั่ง H+ , K+ ยาและสารพิษบางชนิด

127 ไตกับการรักษาสมดุลของน้ำและสารต่างๆ
ไตควบคุมน้ำในสภาพการขับปัสสาวะโดยมีกลไกดังนี้ **

128 แรงดันออสโมติกในเลือดสูงน้ำในเลือดน้อย สมองส่วนไฮโพทาลามัส
กระหายน้ำ กระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนท้าย ยับยั้ง ดื่มน้ำ หลั่ง ADH ทำให้มีการดูดกลับน้ำที่ท่อหน่วยไตเข้าสู่เส้นเลือด แรงดันออสโมติกในเลือดปกติน้ำในเลือดสมดุล

129

130 การรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุ
โดยอาศัยการทำงานของฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (Aldosterone) โดยทำหน้าที่ ควบคุมสมดุลของโซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส กระตุ้นการดูดกลับสารดังกล่าวเข้าสู่กระแสเลือด ช่วยรักษาสมดุลความเป็นกรด เบสในร่างกายโดยกระตุ้นการขับ H+ และดูดกลับ HCO3- จากท่อไตส่วนต้นและส่วนปลาย

131 ความผิดปกติของไตให้นักเรียนอ่านเอง


ดาวน์โหลด ppt การรักษาดุลยภาพของร่างกาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google