ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
2
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
มากาเร็ต ดับบลิว. แมทลิน(Matlin 1992:262) ได้ให้ความหมายว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นการแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาแบบปลายเปิด โดยใช้วิธีการที่ผิดแผกออกไปจากวิธีการปกติ และก่อให้เกิดประโยชน์ด้วย เอ็ดเวิร์ด ดี. โบโน (Bono 1982) ได้ให้ความหมายว่า ความสามารถในการคิดนอกกรอบ (lateral thinking) เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาได้หลายๆแนวคิด และนำแนวคิดเหล่านี้ไปพัฒนาต่อเพื่อให้สามารถใช้แก้ปัญหาที่ต้องการได้
3
นโปเลียน ฮิลล์ (Hill) ให้ความหมายว่า เป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากจิตนาการ เกิดขึ้นจากการที่บุคคลจัดความรู้หรือความคิดเข้าเป็นระบบใหม่ มีเอกลักษณ์ มีเหตุผล โดยแสดงออกมาในลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ วรรณคดี ศิลปกรรม ปรัชญา วิทยาศาสตร์ จริยธรรม สุวิทย์ (2547) คือ กระบวนการทางปัญญาที่สามารถขยายขอบเขตความคิด ที่มีอยู่เดิมสู่ความคิดที่แปลกใหม่ แตกต่างไปจากความคิดเดิมและเป็นความคิดที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม
4
คุณลักษณะที่สำคัญของความคิดสร้างสรรค์
ต้องเป็นสิ่งใหม่ เป็นความคิดที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกับใคร ไม่เคยมีมาก่อน ต้องใช้การได้ เป็นความคิดที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและดีกว่าความคิดเดิม ต้องมีความเหมาะสม เป็นความคิดที่มีเหตุผลมีความเหมาะสมและมีคุณค่าคนทั่วไปยอมรับร่วมกันได้
5
ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
“การคิดนั้นอาจได้หลายอย่าง จะคิดให้วัฒนะ คือ คิดแล้วทำให้เจริญงอกงามก็ได้ จะคิดให้หายนะ คือ คิดแล้วทำให้พินาศฉิบหายก็ได้ การคิดให้เจริญจึงต้องมี หลักอาศัย หมายความว่าเมื่อคิดเรื่องใด สิ่งใด ต้องตั้งใจให้มั่นคงในความเป็นกลางไม่ปล่อยให้อคติอย่างหนึ่งอย่างใดครอบงำ ให้มีแต่ความจริงใจตรงตามเหตุที่ถูกแท้และเป็นธรรม”พระบรมราโชวาทของสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวในวันพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2512
6
ความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ ความสำคัญต่อประเทศชาติ ความสำคัญต่อองค์กร
เราอาจแบ่งประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ออกได้ 4 ระดับ ดังนี้ ความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ ความสำคัญต่อประเทศชาติ ความสำคัญต่อองค์กร ความสำคัญต่อปัจเจกบุคคล
7
องค์ประกอบที่สำคัญของความคิดสร้างสรรค์
จากทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford) ซึ่งได้อธิบายว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้กว้างไกลหลายทิศทาง หรือเรียกว่าลักษณะการคิดอเนกนัย หรือ การคิดแบบกระจาย
8
ทฤษฎีเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด
10
การคิดแบบเอกนัย มีลักษณะการคิด 4 แบบคือ 1
การคิดแบบเอกนัย มีลักษณะการคิด 4 แบบคือ 1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) 2. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) 3. ความคิดริเริ่ม (Originalit) 4. ความคิดละเอียดลออ(Elaboration)
11
ประเภทของความคิดสร้างสรรค์
1. ความคิดสร้างสรรค์ประเภทการเปลี่ยนแปลง (Innovation) 2. ความคิดสร้างสรรค์ประเภทการสังเคราะห์ (Synyhesis) 3. ความคิดสร้างสรรค์ประเภทต่อเนื่อง (Extension) 4. ความคิดสร้างสรรค์ประเภทการลอกเลียน (Duplication)
12
กระบวนการคิดสร้างสรรค์
จากแนวคิดของนักการศึกษา เราสามารถสรุปกระบวนการคิดสร้างสรรค์ได้ 6 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. ค้นพบปัญหา 2. เตรียมการและรวบรวมข้อมูล 3. วิเคราะห์ 4. ฟูมฟักความคิด 5. ความคิดกระจ่างชัด 6. ทดสอบความคิด
13
อุปสรรคของความคิดสร้างสรรค์
การไม่ชอบให้ซักถาม การเอาอย่างกันหรือทำตามอย่างกัน การเน้นบทบาทและความแตกต่างระหว่างเพศ วัฒนธรรมที่ยกย่องความสำเร็จ บรรยากาศที่เคร่งเครียดและเอาจริงเอาจังเกินไป ความกลัว ความเคยชิน
14
วันสอบกลางภาค 23 ธันวาคม 2551
วันออกมารายงาน 6 มกราคม 2552
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.