ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKantayot Paithoonbuathong ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
การตรวจความปลอดภัย การสอบสวนอุบัติเหตุ
2
การตรวจความปลอดภัย
3
การตรวจความปลอดภัย วัตถุประสงค์การตรวจความปลอดภัย
การตรวจความปลอดภัยเป็นวิธีป้องกันอุบัติเหตุ โดยการเข้าไปตรวจค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุจาก สภาพการทำงานและวิธีการทำงานทีไม่ปลอดภัย แล้วหาวิธีการป้องกันแก้ไข วัตถุประสงค์การตรวจความปลอดภัย Uasafe Act การกระทำที่ไม่ปลอดภัย Unsafe Condition สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย Loss
4
การกระทำที่ไม่ปลอดภัยหรือต่ำกว่ามาตรฐาน
UNSAFE ACTON การกระทำที่ไม่ปลอดภัยหรือต่ำกว่ามาตรฐาน
5
สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยหรือต่ำกว่ามาตรฐาน
UNSAFECONDITION สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยหรือต่ำกว่ามาตรฐาน
6
หลักการตรวจความปลอดภัย
รู้อันตราย : สิ่งที่พบเห็นเป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัย หรือ สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย 2) ประเมินได้ : ต้องประเมินว่าสิ่งที่เห็นเป็นอันตรายจริงหรือไม่ ต้องแก้ไขหรือไม่ 3) ควบคุมเป็น : เป็นการให้คำแนะนำ แก้ไข บันทึก แจ้งผู้เกี่ยวข้อง เครื่องจักร,เครื่องมือ,เครื่องป้องกันอันตราย,สภาพการทำงาน
7
การจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะทำการตรวจ
โอกาสการเกิดอุบัติเหตุอันตราย ระยะเวลาที่พนักงานสัมผัสต่อสิ่งที่อาจเกิดอุบัติเหตุ ความร้ายแรงหรือผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ความยากง่ายในการตรวจหาสาเหตุ 5) เวลาและค่าใช้จ่าย 6) ความผิดพลาดของบุคคล 7) การเห็นคุณค่าหรือประโยชน์
8
แนวคิดในการตรวจการกระทำที่ไม่ปลอดภัย
ความประมาท เลินเล่อของคนงาน การชอบทำงานที่ชอบความเสี่ยง การทำงานที่ลัดขั้นตอน ความเมื่อยล้า ของร่างกาย ความไม่คุ้นเคยในการปฏิบัติงาน ของพนักงานใหม่
9
แนวคิดในการตรวจสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
ระดับของแสงสว่าง เสียง สารเคมี วัตถุไวไฟ ความไม่ปลอดภัยจากเครื่องจักร โครงสร้างและอาคาร ผังโรงงานที่อึดอัด และคับแคบเกินไป
10
แผนการตรวจและแบบตรวจ
การวางแผนการตรวจ จะตรวจที่ไหน จะตรวจดูอะไร ตรวจจากการวิเคราะห์อุบัติเหตุทั้งหมดที่มี จำนวนอุบัติเหตุ,แผนก,ชนิด สาเหตุของอุบัติเหตุ
11
ประเภทของการตรวจ การตรวจเป็นระยะ (Periodic Inspection)
เครน ลิฟท์ ไฟฟ้า เครื่องดับเพลิง การตรวจที่มิได้กำหนดเวลาแน่นอน (Intermittent Inspection) การตรวจอย่างต่อเนื่อง (Regular Inspection) 4) การตรวจพิเศษ (Special Inspection)
12
วิธีการตรวจความปลอดภัย
การสำรวจ: ทำตามแบบตรวจหรืออาจใช้เครื่องมือ บางอย่าง การสุ่มตัวอย่าง: การเลือกสำรวจจุดที่สงสัย เช่น การฟุ้งกระจายของสารเคมี หรือหาประสิทธิภาพเครื่อง ป้องกัน 3) การวิเคราะห์วิจัย: การวิจัยเชิงลึก เช่น เสียงดัง 4) การตรวจเยี่ยม (Safety tour) การตรวจแบบเยี่ยม เยียนหน่วยงานต่างๆ กระตุ้นความร่วมมือและรับทราบ ปัญหาข้อขัดข้อง
13
ใครมีหน้าที่ตรวจความปลอดภัย
1) ผู้บริหารโรงงานหรือผู้บริหารบริษัท 2) ผู้บังคับบัญชาระดับต้น หรือหัวหน้างาน หัวหน้างานจะตรวจความปลอดภัยใน 3 ลักษณะคือ - การตรวจอย่างต่อเนื่อง - การตรวจทั่วไป - การตรวจเป็นระยะ 3) วิศวกรและงานซ่อมบำรุง 4) พนักงาน 5) คณะกรรมการความปลอดภัย 6) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย 7) ผู้ชำนาญการพิเศษ
14
การตรวจโดยผู้ชำนาญการ
15
กระบวนการตรวจ ขั้นตอนและกระบวนการตรวจอาจแตกต่างกันบ้างในแต่ละโรงงาน
พนักงานตรวจต้องทราบนโยบาย,กฎหมาย,กฎกระทรวง ต่าง ๆ ควรตรวจเพื่อยกระดับความปลอดภัยให้มีมาตรฐานสูงขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุจะเป็นข้อมูลที่ดี การตรวจควรมี แบบตรวจ จะระบุหัวข้อที่ต้องการตรวจ โดยแต่ละแห่งก็พัฒนาขึ้นเอง แบบรายงานการตรวจ เป็นแบบที่ใช้สรุปรายงานในขั้นสุดท้าย(3 ชนิด) บัตรวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย เป็นบัตรรายงานวิเคราะห์งานโดยละเอียด ที่เจาะจง สาเหตุการเกิดได้
16
ขั้นตอนการตรวจ 1) แจ้งหัวหน้าแผนก : เดินตรวจไปพร้อมกัน
เพื่อขอความร่วมมือ,การตรวจพบทำได้ง่ายขึ้น 2) ดำเนินการตรวจโดยใช้แบบตรวจ ตรวจตามการ Flow ของวัสดุ ตรวจตามการ Flow ของผลิตภัณฑ์ ตรวจแบบสวน Flow ของวัสดุ 3) การบันทึกสภาพการปฏิบัติงานนั้นทันที (ไม่ควรจำมานั่งเขียน)
17
วิธีการใช้แบบตรวจที่มีประสิทธิภาพ
1. มาตรฐานแต่ละข้อของสิ่งที่ตรวจต้องชัดเจน ผู้ตรวจใช้ดุลพินิจน้อย 2. ผู้ตรวจต้องเป็นผู้ควบคุมพื้นที่หรือสิ่งที่จะตรวจ 3. ผลการตรวจต้องเป็นเลขคะแนน 4. วิธีแก้ไข พิจารณาได้จากรายงานมาตรฐานแต่ละ ข้อของแบบตรวจ
18
วิธีการคิดคะแนนในแบบการตรวจ
สูตร คะแนนตรวจ = ( C - S ) x VF C C = Count จำนวนรวมของสิ่งที่ตรวจ S = Substandard จำนวนรวมของสิ่งที่บกพร่อง VF = Value Factor น้ำหนักคะแนน
19
C หมายถึง จำนวนนับรวมของสิ่งที่จะตรวจที่ถูกแบ่ง ออกเป็นส่วนย่อย
ก. สิ่งที่ตรวจมีความยาว เช่น ทางเดิน ถนน สายไฟท่อน้ำ : จะถูกแบ่งให้สั้นลง ข. สิ่งที่ตรวจมีลักษณะเป็นพื้นที่ เช่น พื้นห้องจำนวนนับรวม พื้นที่ถูกแข่งเป็นพื้นที่ขนาดเล็กลง เช่น 2 x 2 เมตร ค. สิ่งที่ตรวจมีลักษณะเป็นจำนวน เช่น คน เครื่องจักร ถังดับเพลิง
20
C คือ จำนวนนับรวมของสิ่งที่จะตรวจ
VF หมายถึง น้ำหนักคะแนน หรือคะแนนเต็มใน แต่ละข้อ ในที่นี้ ให้ VF = 100 ง. นำคะแนนร้อยละที่ได้แต่ละข้อมาบวกกันแล้วหารด้วยจำนวน ข้อในแบบตรวจ ผลที่ได้จะเป็นคะแนนร้อยละรวมของแบบ ตรวจนั้นๆ
21
ตัวอย่างการตรวจพื้นที่
30
การจัดทำรายงาน • รายงานการตรวจควรมีลักษณะดังนี้
มีรายละเอียดสภาพการปฏิบัติงานจริงที่สมบูรณ์ รายละเอียดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข • รายงานการตรวจมี 3 ประเภทคือ รายงานฉุกเฉิน : ต้องมีการสั่งการให้แก้ไขทันที : รายงานปกติ : รายงานการตรวจพบสภาพที่ไม่พึงประสงค์ รายงานเป็นระยะ : สรุปการดำเนินกิจกรรมความปลอดภัย ผลการดำเนินงานเป็นระยะ (ช่วง ๆ) พร้อมแนบรายงานแบบปกติไว้ด้วย
31
การเสนอแนะ พนักงานตรวจหากมีข้อเสนอแนะ ควรจัดลำดับไว้ เช่น เร่งด่วน
สำคัญมาก เป็นต้น ข้อเสนอแนะเมื่อได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบริหารก็บรรจุไว้ใน โครงการปรับปรุงโรงงาน พนักงานตรวจควรเฝ้าติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะอีกทางด้วย ควรรายงานข้อเสนอแนะที่ปฏิบัติแล้วให้คณะกรรมการ ความปลอดภัยได้ทราบเป็นระยะ
32
การสอบสวนอุบัติเหตุ
33
การสอบสวนอุบัติเหตุ วัตถุประสงค์ของการสวบสวนอุบัติเหตุ
เพื่อค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ แล้วหาทางป้องกันมิให้อุบัติเหตุทำนองนี้เกิดขึ้นอีก ค้นหาวิธีการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดความผิดพลาด เป็นการค้นหาข้อเท็จจริง มิใช่หาตัวผู้กระทำผิด โดยอาศัย บรรทัดฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายจัดการต้องทำความเข้าใจ เพราะอาจมีบางคนกลัวถูกลงโทษ ถ้าพนักงานไม่ให้ความร่วมมือ ความล้มเหลวในการสอบสวนจะเกิด ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ อุบัติเหตุก็ไม่หมดไปได้
34
อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บถึงขั้นพิการทุพพลภาพ หรือตาย
ลักษณะของอุบัติเหตุที่ควรทำการสอบสวน อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บถึงขั้นพิการทุพพลภาพ หรือตาย อุบัติเหตุที่มีการเจ็บเล็กน้อยต้องการเพียงการปฐมพยาบาล เช่น ลื่นหกล้มและหัวเข่าข้างซ้ายแตกต้องห้ามเลือดและทำแผล อุบัติเหตุที่อุปกรณ์เครื่องจักร วัตถุดิบหรือทรัพย์สินเสียหาย เช่น ลื่นล้มชนเก้าอี้ไปกระแทกกระจกแตก อุบัติเหตุที่เกือบจะเกิดการบาดเจ็บ (Near Injury Accident) เช่นลื่นไม่ล้มและไม่มีการบาดเจ็บที่อวัยวะส่วนใดของร่างกาย
35
ขั้นตอนการสอบสวน หัวหน้างานหรือผู้ควบคุมรับแจ้ง
แจ้ง จป. /ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการโรงงาน และคณะกรรมการฯ หัวหน้างานไปยังที่เกิดเหตุเพื่อสอบสวน หัวหน้างานบันทึกคำสัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์ ตรวจสอบความถูกต้องและส่งสำเนา จป. พิจารณา และแจ้งผล
36
เทคนิคในการสอบสวนอุบัติเหตุ
เทคนิคทั่วไป ไป : สถานที่เกิดเหตุในทันทีที่ได้รับแจ้ง พูด : สอบถามผู้บาดเจ็บและพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ฟัง : ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สนทนาหรือวิจารณ์ ส่งเสริม : ผู้อยู่ในเหตุการณ์ออกความเห็นเสนอแนะ ศึกษา : สาเหตุอุบัติเหตุ ประชุม : ปรึกษาผู้เกี่ยวข้องกับวิธีการแก้ไขปัญหา เขียน : รายงานอุบัติเหตุ/บันทึกอุบัติเหตุ ติดตามผล : ยืนยันการแก้ไขปัญหา ประชาสัมพันธ์ : เพื่อผลในการป้องกันอุบัติเหตุ
37
เทคนิคในการสอบสวนอุบัติเหตุ
เทคนิคในการสัมภาษณ์ ใครคือผู้บาดเจ็บ (บุคคล) อุบัติเหตุเกิดขึ้นที่ไหน (สถานที่ แผนก) อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อไร (เวลา) ทำไม จึงเกิดอุบัติเหตุขึ้น (สาเหตุ) มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น (ลำดับเหตุการณ์) จะสามารถป้องกันอุบัติเหตุคล้ายๆ กันมิให้เกิดได้อย่างไร (วิธีการป้องกัน)
38
ปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการสอบสวนอุบัติเหตุ
1) เวลา : การสอบสวนอุบัติเหตุควรดำเนินการทันทีโดยไม่ชักช้า 2) สถานที่ : ควรตรวจดูสถานที่ประกอบการสอบสวนปากคำพยาน 3) การจัดอันดับความสำคัญในการสอบสวน : ปัญหาที่พบคือ อุบัติเหตุรายใดจึงจะทำการสอบสวน โดยหลักการแล้ว สอบสวนทุกราย ในทางปฏิบัติขึ้นกับสถานการณ์ของ สถานประกอบการ
39
ปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการสอบสวนอุบัติเหตุ
4) ผู้ทำการสอบสวน : หัวหน้างานควรเป็นผู้สอบสวนอุบัติเหตุนั้น และมีนักวิชาการด้านความปลอดภัยคอยตรวจผลการ สอบสวนเป็นระยะ ในสถานประกอบการที่มีจป.วิชาชีพ ประจำโรงงาน ร่วมกับหัวหน้างาน 5) กระบวนการดำเนินงาน : ฝ่ายจัดการต้องกำหนด หลักการเกี่ยว การสอบสวนอุบัติเหตุให้เป็นรูปธรรม
40
การรายงานอุบัติเหตุ •การรายงานอุบัติเหตุ
เป็นการรวบรวมข้อมูลการประสบอุบัติเหตุที่มีประสิทธิภาพ การรายงานจะทำโดยผ่านใบรายงานที่รายละเอียดบ่งชัด ทราบถึงสาเหตุอุบัติเหตุ และหาทางแก้ไขที่ต้นเหตุได้ การกระทำที่ไม่ปลอดภัย,สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เป็นข้อมูลสนับสนุนให้มีระบบควบคุมการเกิดอุบัติเหตุ การจัดระบบขจัด,ป้องกัน อุบัติเหตุ เช่น ระบบ JSA,KYT เพราะในแบบ รายงานจะเสนอแนะวิธีการที่เป็นไปได้มาด้วย เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินทดแทน ในรายงานจะมีการประเมินความเสียหายจากการประสบอุบัติ ทำให้ องค์กรสามารถทราบได้ว่า ต้นทุนจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นคิดเป็นกี่ส่วน
41
ลักษณะการรายงานอุบัติเหตุ
1) จัดระเบียบและวิธีการบันทึกและสอบสวนอย่างมีระบบ 2) มีแบบฟอร์มการบันทึกและวิธีการใช้แบบฟอร์ม 3) ให้มีการรายงานอุบัติเหตุทุกรายไม่ว่าจะทำให้เกิดความ เสียหายหรือบาดเจ็บหรือไม่ก็ตาม 4) ดำเนินการสอบสวนอุบัติเหตุทุกครั้ง 5) จัดส่งรายงานอุบัติเหตุให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการทุกระดับได้ทราบ 6) นำรายงานอุบัติเหตุและมาตรการแก้ไขเข้าสู่การประชุม ระดับคณะกรรมการความปลอดภัยโรงงาน
42
ข้อมูลที่ควรจะได้จากการสอบสวนอุบัติเหตุ
ลักษณะการบาดเจ็บ อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร อุบัติเหตุมีสาเหตุอย่างไร มีความบกพร่องจากการสื่อสารจนเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ มีปัจจัยที่พร้อมจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือไม่ การกำหนดวิธีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา การแยกประเภทอุบัติเหตุ ค่าความสูญเสีย
45
SAWASDEE
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.