งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 7 การวิเคราะห์งานและการโปรแกรม แบบมีโครงสร้าง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 7 การวิเคราะห์งานและการโปรแกรม แบบมีโครงสร้าง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 7 การวิเคราะห์งานและการโปรแกรม แบบมีโครงสร้าง
บทที่ 7 การวิเคราะห์งานและการโปรแกรม แบบมีโครงสร้าง

2 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องวิเคราะห์ปัญหา เพื่อกำหนดรายละเอียดของ ปัญหาให้ชัดเจน ซึ่งได้แก่ ข้อมูลนำเข้า การประมวลผล ข้อมูลนำออก

3 การวิเคราะห์ปัญหา ข้อมูลนำเข้า (input data) คือ ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ แก้ปัญหา อาจเป็นข้อมูลที่กำหนดให้หรือข้อมูลที่รับเข้ามา การประมวลผล (data processing) คือ ลำดับ ขั้นตอนของกระบวนความการทำงาน ข้อมูลนำออก (output data) คือ ข้อมูลซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ ได้จากการแก้ปัญหา

4 ตัวอย่าง ปัญหาการคำนวณจำนวนแปลงปลูกผัก
มาริโอมีพื้นที่ปลูกกะหล่ำปลีขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 65 เมตร โดย ขุดร่องน้ำให้กว้าง 1.5 เมตร รอบแปลงปลูกผัก ดังรูป 1.5 ม. 1.5 ม. จงหาว่ามาริโอมีพื้นที่ที่ใช้ปลูกกะหล่ำปลีกี่ตารางเมตร

5 การวิเคราะห์ปัญหา ข้อมูลนำเข้า : ความกว้างและความยาวของพื้นที่ทั้งหมด ความกว้างและความยาวของร่องน้ำ การประมวลผล : พื้นที่ที่ใช้ปลูกกะหล่ำปลี = พื้นที่ทั้งหมด – พื้นที่ร่องน้ำ ข้อมูลนำออก : พื้นที่ที่ใช้ปลูกกะหล่ำปลี

6 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม
มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม เครื่องมือที่นิยมใช้ออกแบบโปรแกรม คือ ผังงาน (flow chart) การลงรหัสโปรแกรม/การเขียนโปรแกรม การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม การทำเอกสารประกอบโปรแกรม

7 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน
สัญลักษณ์จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของผังงาน ตัวอย่าง เริ่มต้น จบ

8 พื้นที่สี่เหลี่ยม = กว้าง X ยาว
สัญลักษณ์การกำหนดค่า การคำนวณและการประมวลผล ตัวอย่าง พื้นที่สี่เหลี่ยม = กว้าง X ยาว

9 นำเข้า ความกว้าง,ความยาว
สัญลักษณ์การนำเข้าข้อมูล และนำออกข้อมูล ตัวอย่าง นำเข้า ความกว้าง,ความยาว

10 การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหาพื้นที่ที่ใช้ปลูกกะหล่ำปลี
เริ่มต้น นำเข้า ความกว้าง,ความยาวของพื้นที่ทั้งหมดและร่องน้ำ หาพื้นที่ทั้งหมด=กว้างxยาว หาพื้นที่ร่องน้ำ=กว้างxยาว พื้นที่ที่ใช้ปลูกกะหล่ำปลี = พื้นที่ทั้งหมด – พื้นที่ร่องน้ำ นำออกพื้นที่ปลูกผัก จบ

11 ลักษณะโปรแกรมที่ดี ได้ผลลัพธ์ถูกต้องตามความต้องการ
ตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบข้อมูลได้ง่าย มีรูปแบบของโปรแกรมที่ทำความเข้าใจได้ง่าย ง่ายต่อการปรับปรุงแก้ไขในอนาคต

12 กฎเกณฑ์ของโปรแกรมโครงสร้าง
โปรแกรมโครงสร้าง มีรูปแบบลำดับขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 3 รูปแบบ คือ แบบลำดับ แบบเลือก แบบทำซ้ำ รูปแบบของโครงสร้างหนึ่งจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างภายในของอีก รูปแบบหนึ่ง เรียกว่า การซ้อนใน (nest) รูปแบบโครงสร้างหนึ่งจะมีทางเข้าทางเดียวและออกทางเดียว

13 ให้ลอกโจทย์และทำลงสมุด (ส่งในคาบ)
กิจกรรมที่ 7.1 กิจกรรมที่ 7.2 กิจกรรมที่ 7.3 แบบฝึกหัดบทที่ 7 (ทำเฉพาะข้อ 1)


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 7 การวิเคราะห์งานและการโปรแกรม แบบมีโครงสร้าง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google