ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความหมายของการวิจารณ์
2
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ ให้ความหมายของคำว่า วิจาน , วิจาระนะ ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็น ศิลปกรรม หรือ วรรณกรรม เป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาด ตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่นเขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมใน ปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ .
3
การวิจารณ์ หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้น ให้เห็นว่าน่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา องค์ประกอบใดมีคุณค่าน่าชมเชย องค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์ สิ่งใดก็ตามจึงต้องใช้ความรู้ มีเหตุมี ผล มีหลักเกณฑ์และมีความรอบคอบด้วย ตามปกติแล้ว เมื่อจะวิจารณ์สิ่งใด จะต้องผ่านขั้นตอน และกระบวนการของการวิเคราะห์สาร วินิจสาร และประเมินค่าสาร ให้ชัดเจนเสียก่อนแล้ว จึงวิจารณ์แสดงความเห็นออกมาอย่างมีเหตุมีผลให้น่าคิด น่าฟังและเป็นคำวิจารณ์ที่เชื่อถือได้ สารที่ได้รับจากการฟังมีมากมาย แต่ก็ได้รับเป็นประจำในชีวิตประจำวัน
4
ความหมายของการเขียนวิจารณ์
การเขียนวิจารณ์ คือ การค้นหาข้อดีและข้อไม่ดีของเรื่องที่จะวิจารณ์ ชี้ให้เห็นข้อบกพร่อง พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไข ให้ดีขึ้น เป็นการวิจารณ์เพื่อสร้างสรรค์ลักษณะของการวิจารณ์ 1. การวิจารณ์เป็นการถ่ายทอดความคิดเห็น ชี้จุดเด่น จุดด้อยตลอดจนความรู้สึก เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น ผลงานด้านศิลปกรรม งานวรรณกรรม ข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์ใน สังคม เรื่องราวของบุคคล เป็นต้น อย่างสมเหตุสมผล มีข้อมูลสนับสนุนความคิดเห็นอย่าง ตรงไปตรงมาไม่มีอคติต่อสิ่งที่วิจารณ์ เช่น หนังสือที่เราจะวิจารณ์นั้นมีอะไรให้เนื้อหาสาระ แก่ผู้อ่านมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
5
2. เป็นข้อเขียนที่ชัดเจนในการบอกให้ผู้อ่านทราบถึงรายละเอียดของ สิ่งนั้น ดังนั้นผู้วิจารณ์ต้องมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับเรื่องที่วิจารณ์เป็นอย่าง ดีเช่น การวิจารณ์วรรณกรรม จะต้องรู้ว่าเป็นหนังสือประเภทใด ใครเป็นผู้แต่ง มี เนื้อเรื่อง วิธีการแต่ง การใช้ภาษาเป็นอย่างไร เป็นต้น แล้วจึงสามารถวินิจฉัย คุณค่าของสิ่งที่จะวิจารณ์ได้ว่าดีหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านใน การตัดสินใจ เลือกชม เลือกซื้อ เลือกอ่านสิ่งนั้น 3. เป็นข้อเขียนที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย น่าอ่าน ทำให้ผู้อ่านติดตามอ่านจน จบ ใช้ถ้อยคำอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช้ถ้อยคำในเชิงประจาน หรือโจมตีผู้เขียน อย่างรุนแรง นอกจากนี้ บทวิจารณ์ที่ดีจะต้องให้ความรู้ความคิด ข้อเสนอแนะ แก่ ผู้อ่าน ชี้ให้เห็นคุณค่าพิเศษที่อยู่ในงานเขียนเรื่องนั้น
6
การพูดแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์
การพูดแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์ เป็นการพูดสนับสนุนหรือโต้แย้งเรื่องที่อ่าน หรือฟัง ด้วยหารพูดแสดงความคิดเห็นโดยปราศจากอคติ ผู้พูดจะต้องบอกเหตุผลสนับสนุน หรือโต้แย้งในเรื่องที่ฟังได้
7
การแยกแยะเพื่อพิจารณาไตร่ตรอง หาข้อดีข้อเสีย หาจุดเด่นจุดด้อย หา เหตุผล ในการจะนำไปสู่การวินิจฉัยตัดสินใจ เพื่อประเมินคุณค่าของหนังสือใน ด้านต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง เช่น เพื่อความซาบซึ้ง เพื่อการ นำไปประยุกต์ใช้ เพื่อแนะนำหนังสือ เป็นต้น
8
ที่มา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.