งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 03760491 ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี
Research Methods in Accounting เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ สมบูรณ์ สาระพัด คณะวิทยาการจัดการ 1-2 : 19/21 26/28 ส.ค. 57

2 วิชาพื้นฐาน : 03757122 Business Statistics
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี หน่วยกิต Research Methods in Accounting วัน/เวลา/สถานที่ : หมู่ 800 วันพฤหัสบดี เวลา น. ห้อง 10209 หมู่ 850 วันอังคาร เวลา น. ห้อง 10209 วิชาพื้นฐาน : Business Statistics นิสิตเข้าพบและให้คำแนะนำนอกเวลาเรียน - วันจันทร์ เวลา น. - วันพุธ/วันพฤหัสบดี/วันอาทิตย์ เวลา น. วันหรือเวลาที่เหมาะสม โดยนัดหมายศูนย์การเรียน คณะวิทยาการจัดการ : : : Tel

3 วัตถุประสงค์ของวิชา (Objective of Subject) :
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี หน่วยกิต Research Methods in Accounting วัตถุประสงค์ของวิชา (Objective of Subject) : 1. เพื่อให้นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับบทบาท ความสำคัญของการวิจัยและแนวทาง การทำวิจัย รวมทั้งการใช้ประโยชน์งานวิจัยในการดำเนินงานทางธุรกิจ และการบัญชีบริหาร 2. เพื่อให้นิสิตมีความเข้าใจถึงหลักการ ระเบียบวิธีวิจัย ขั้นตอนและกระบวน การดำเนินงานวิจัยที่ถูกต้องตั้งแต่การกำหนดประเด็นปัญหาจนถึง การเขียนรายงานและเสนอผลงานการวิจัยทางธุรกิจและการบัญชีบริหาร 3. เพื่อให้นิสิตมีทักษะความชำนาญ ความสามารถเชิงการวิเคราะห์และการ ปฏิบัติทางการวิจัยทุกขั้นตอนตามหลักวิชาการ รวมทั้งการประยุกต์ใช้สถิติ เพื่อการวิจัย โปรแกรมสำเร็จรูปและนำงานวิจัยไปใช้ในการจัดการธุรกิจและ การบัญชีบริหาร

4 คำอธิบายรายวิชา (Course Description) :
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี หน่วยกิต Research Methods in Accounting คำอธิบายรายวิชา (Course Description) : หลักและระเบียบวิธีวิจัย การกำหนดปัญหาการวิจัยด้านการบัญชีบริหาร ตลอดจนการนำเสนอและรายงานการวิจัย Research principles and methods. Defining research problem of managerial accounting including research proposing and presenting.

5 วิธีการสอนและระบบสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ :
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี หน่วยกิต Research Methods in Accounting วิธีการสอนและระบบสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : - การบรรยาย ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง/กลุ่ม การฝึกปฏิบัติการ - การค้นคว้าผลงานวิจัย การรวบรวมผล การวิเคราะห์วิจารณ์ การอภิปรายแบบมีส่วนร่วม - การจัดทำโครงการวิจัย เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลและนำเสนอ โดยที่มีงานค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมความรู้ และการฝึกปฏิบัติการตาม การมอบหมายให้ค้นคว้าจัดทำการวิจัยและรายงานผลการวิจัยด้วยตนเอง

6 1. เอกสารประกอบการสอน อุปกรณ์สื่อการสอน : 2. ตำราและหนังสือ
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี หน่วยกิต Research Methods in Accounting อุปกรณ์สื่อการสอน : 1. เอกสารประกอบการสอน 2. ตำราและหนังสือ 3. เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องฉาย LCD และเครื่องฉายวัตถุ 3 มิติ 4. เครื่องคอมพิวเตอร์ฝึกปฏิบัติการ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และเครื่องพิมพ์ 5. แบบฝึกหัด คู่มือการลงรหัส กระดาษลงรหัสและสื่อบันทึกข้อมูล

7 การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน :
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี หน่วยกิต Research Methods in Accounting การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน : 1. การมีส่วนร่วมและความสนใจในการเรียน โดยการเข้าร่วม ร้อยละ รับฟังคำบรรยายอย่างสม่ำเสมอและอภิปราย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 2. การทดสอบ แบบฝึกหัดและงานที่มอบหมายในชั้นเรียน ร้อยละ การทำรายงานการวิจัย ร้อยละ การสอบกลางภาค ร้อยละ การสอบปลายภาค ร้อยละ 20 หมายเหตุ : การเปลี่ยนแปลงจะต้องตกลงร่วมกันระหว่างนิสิตและผู้สอน

8 การประเมินผลการเรียน :
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี หน่วยกิต Research Methods in Accounting การประเมินผลการเรียน : สูงกว่า คะแนน ระดับคะแนน A หรือ คะแนน ระดับคะแนน B+ หรือ คะแนน ระดับคะแนน B หรือ คะแนน ระดับคะแนน C+ หรือ คะแนน ระดับคะแนน C หรือ คะแนน ระดับคะแนน D+ หรือ คะแนน ระดับคะแนน D หรือ ต่ำกว่า คะแนน ระดับคะแนน F หรือ 0.0

9 1. นิสิตจะต้องเข้าเรียนไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี หน่วยกิต Research Methods in Accounting ข้อกำหนดในการเรียน : 1. นิสิตจะต้องเข้าเรียนไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง 2. นิสิตที่แต่งกายไม่เรียบร้อยจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าชั้นเรียน 3. นิสิตต้องไม่ส่งเสียงรบกวนในขณะสอนอันจะมีผลทำให้การเรียน การสอนขาดคุณภาพ 4. นิสิตต้องเข้าร่วมการฝึกปฏิบัติการและการจัดทำรายงานการวิจัยกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ 5. นิสิตเข้าเรียนสายหรือลากิจ 2 ครั้ง เท่ากับขาดเรียน 1 ครั้ง

10 เหตุผลการวิจัยธุรกิจ
การวิจัยทำให้เกิดความรู้และความชำนาญที่ต้องการสำหรับการ ตัดสินใจที่รวดเร็วภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ถูกกำหนด : 1. ปัจจัยในการพิจารณาสภาพแวดล้อมและตัดสินใจดำเนินงาน ทางธุรกิจขององค์กรต่างๆ มีปริมาณมากขึ้น 2. การแข่งขันของธุรกิจมีมาก และรุนแรงขึ้นทั้งระดับภายใน ประเทศและระดับโลก องค์กรจำเป็นต้องปรับตัว 3. องค์ความรู้ต่างๆ ทางธุรกิจเจริญก้าวหน้ามากขึ้น : ระดับ คุณภาพทฤษฎีและแบบจำลอง 4. สารสนเทศต่างๆ มีอยู่มากมายบนเครือข่ายโลก (World Wide Web, WWW)

11 เหตุผลการวิจัยธุรกิจ
5. องค์กรต่างๆ นิยมทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากเพื่อหากฎเกณฑ์ การเรียนรู้และหาความรู้ที่ มีอยู่ในระบบฐานข้อมูลสารสนเทศในองค์กร (Internal Databases) 6. ความก้าวหน้าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยให้ภาคธุรกิจสร้าง คลังข้อมูล (Data Warehousing) 7. บุคลากร พนักงาน/เจ้าหน้าที่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้าและสาธารณชน ทั่วไปสามารถแสวงหาสารสนเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 8. เทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณช่วยการคำนวณได้รวดเร็วขึ้น ในการแก้ไขปัญหาองค์กร 9. จำนวนและขีดความสามารถเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการวิจัย เพิ่มขึ้น เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบ สารสนเทศและการพัฒนาเทคนิค

12 เหตุผลการวิจัยธุรกิจ
10. พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตาม สถานการณ์และความต้องการ 11. ความต้องการลดความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมที่มีความ ซับซ้อน ขึ้นและทรัพยากรมีจำกัด แต่ความต้องการบริโภคหรือใช้ บริการมากขึ้น 12. ภาคธุรกิจมีการพัฒนาองค์กรอย่างมาก และเกิดความทันสมัย ประกอบกับภาวะโลกาภิวัตน์ทำให้สามารถเชื่อมโยงของภาคการผลิต การค้า และพาณิชยกรรมทั่วทุกพื้นที่และทั่วโลกใกล้ชิดกันมากขึ้น

13 ภาระหน้าที่/บทบาทของผู้บริหาร
การแก้ไขปัญหาทางการจัดการที่เกิดขึ้น โดยนักบริหารนักบริหาร การเงิน-บัญชี จะเสนอข้อมูลหรือต้องตัดสินใจเกี่ยวกับ: - การตัดสินใจลงทุน (Investment Decision) - การตัดสินใจแสวงหาเงินทุน (Financial Decision) - การตัดสินใจการจ่ายเงินปันผล (Dividend Decision) การวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการบรรลุตาม เป้าหมายองค์กร 3. การให้สารสนเทศประกอบการตัดสินใจขององค์กร 4. การควบคุม และตรวจสอบระบบการเงิน-บัญชีให้มีเสถียรภาพและมั่นคงอย่างถูกต้อง สร้างความต้องการเสนอให้กับลูกค้า ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ แทนที่จะให้ลูกค้าเรียกร้องก่อน

14 ภาระหน้าที่/บทบาทของผู้บริหาร
ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือ แผนงาน ที่กำลังพัฒนา การแก้ปัญหา/งาน พัฒนาของผู้บริหาร ข้อมูลที่ถูกต้อง และเชื่อถือได้ ทางเลือก ที่เกิดขึ้น - Primary Data - Secondary Data ทางเลือก ที่เลือก

15 ภาระหน้าที่/บทบาทของผู้บริหาร
สภาพแวดล้อม แนวทางและ ทางเลือกทาง การตลาด แนวทางหรือ ทางเลือก ที่ดีที่สุด ปัญหาและ เหตุการณ์ ทางการตลาด ข้อมูล ความต้องการ ของผู้บริโภค ความพอใจ แผนการทาง การตลาด

16 ภาระหน้าที่/บทบาทของผู้บริหาร
สร้างความต้องการ ให้กับลูกค้า 4 Ps Product Price Place Promotion การตอบสนอง ความต้องการ ของผู้บริโภค ให้ได้รับความ พึงพอใจสูงสุด การตลาด พฤติกรรม ลูกค้า

17 ภาระหน้าที่/บทบาทของผู้บริหาร
คุณสมบัติของข้อมูลที่ใช้ในการวางแผน มีความเกี่ยวข้อง (Relevance) มีคุณภาพ (Quality) มีความทันสมัย (Timeless) มีความสมบูรณ์ (Completeness)

18 ประโยชน์การวางแผนทางธุรกิจ
1. รับรู้แนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ 2. ง่ายต่อการควบคุมและประเมินผล 3. สามารถกำหนดกิจกรรมทางธุรกิจช่วงเวลาต่างๆ อย่างเหมาะสม 4. สามารถคาดการณ์หรือพยากรณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้าในอนาคต 5. ดำเนินการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ

19 คุณค่าของการมีทักษะการวิจัย
เพื่อเป็นการรวบรวมสารสนเทศต่างๆ ก่อนลงมือในการปฏิบัติงาน ซึ่ง สามารถป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อสามารถใช้ในการศึกษาวิจัยและแสวงหาความรู้ระดับสูงที่มีความลึกซึ้ง ต่อไป เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในการออกแบบวิจัย ขั้นตอนและกระบวน การวิจัย เพื่อสามารถประเมินและแก้ปัญหาทางการบริหารในองค์กรอย่าง ถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อสร้างอาชีพเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการวิจัยทางการตลาดและธุรกิจ หรือการวิจัยด้านต่างๆ

20 ความสำคัญของการวิจัยกับการบัญชี
ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (6 กลุ่มตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการบัญชี พ.ศ. 2547) มีภาระหน้าที่ตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย ในทุกหน่วยงานจะต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีอย่างน้อยหนึ่งด้านเพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการบริหารจัดการด้านการจัดทำงบการเงินเพื่อใช้ในการบริหารงานรวมทั้งนำเสนองบการเงินต่อบุคคลภายนอก งานบัญชีจึงเป็นเสมือนจุดศูนย์กลางของทุกหน้าที่งานเพราะจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากทุกหน่วยงานในองค์การ สารสนเทศที่ได้จากระบบงานด้านบัญชีใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน ผลลัพธ์ของการตัดสินใจที่ดีส่วนหนึ่งจึงเป็นผลมาจากการมีสารสนเทศทางการบัญชีที่รวดเร็ว ถูกต้อง น่าเชื่อถือ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ

21 ความสำคัญของการวิจัยกับการบัญชี
คุณภาพของสารสนเทศด้านบัญชีการเงินและบัญชีบริหารเป็นผลมาจากทั้งปัจจัยภายในเช่น ความสามารถของกิจการในการบริหารจัดการ ทั้งทางด้านงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร วัฒนธรรมองค์การ ตลอดจนปัจจัยภายนอกเช่น ความซับซ้อนของธุรกรรมต่างๆ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เป็นต้น ในทางปฏิบัติ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกลุ่มต่างๆ ย่อมเผชิญกับปัญหาต่างๆ ทำให้จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า อย่างเป็นระบบ หรือที่เรียกว่าการวิจัย เพื่อเป็นข้อสนเทศที่สำคัญในการพัฒนาวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้า เป็นผลดีต่อตนเอง องค์การ และสังคมโดยรวม

22 ความสำคัญของการวิจัยกับการบัญชี
การวิจัยเป็นกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามโจทย์การวิจัยและวัตถุประสงค์รวมถึงสมมติฐานการวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ โดยใช้กระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์ รวมทั้งกระบวนการที่เรียกว่าศิลป์เพื่อค้นหาข้อมูลเพื่อสนับสนุนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ น้ำหนักการให้ความสำคัญของกระบวนการทั้งสองขึ้นอยู่กับการออกแบบงานวิจัย การวิจัยทางการบัญชีทำให้ได้ข้อสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ อาทิ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีโดยตรงใช้ในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ผู้กำหนดนโยบายเพื่อกำกับดูแลงานของผู้ประกอบวิชาชีพ ใช้ในการพัฒนามาตรฐานการรายงานทางการเงิน หน่วยงานหรือบุคคลที่ใช้ข้อมูลใช้เป็นแนวทางในการเลือกใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ สถาบันการศึกษาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรเก่าหรือพัฒนาหลักสูตรใหม่ให้ทันกระแสของสังคมโลกที่พลวัตร

23 การใช้ประโยชน์งานวิจัยในการดำเนินงาน ทางธุรกิจและการบัญชีบริหาร
ผลการวิจัยทางด้านการบัญชีบริหารทำให้เกิดประโยชน์ความก้าวหน้าต่อวงวิชาการและเป็นข้อสนเทศแก่หน่วยงานและผู้ประกอบวิชาชีพด้านการบัญชีบริหารโดยตรง เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับการลดต้นทุน ทำให้เราทราบว่าเทคนิคการลดต้นทุนใดมีความสำคัญที่สุด เทคนิคการลดต้นทุนที่ดีที่สุดนอกจากทำให้ต้นทุนลดลงแล้ว ต้องไม่มีผลเสียหายต่อคุณภาพของสินค้าหรือบริการและทำให้กำไรเพิ่มขึ้น งานวิจัยเกี่ยวกับตัวผลักดันต้นทุนในระบบต้นทุนกิจกรรมทำให้กิจการทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุของการเกิดต้นทุน เช่น จำนวนครั้งในการเคลื่อนย้ายสินค้าทำให้ต้นทุนแรงงานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นกิจการอาจลดการเคลื่อนย้ายโดยใช้สายพานแทนการใช้คน เป็นต้น

24 การใช้ประโยชน์งานวิจัยในการดำเนินงาน ทางธุรกิจและการบัญชีบริหาร
3. งานวิจัยเกี่ยวกับการวัดผลการปฏิบัติงานเช่น Balanced Scorecard ทำให้เราทราบว่าตัวชี้วัดผลการดำเนินงานใดเป็นสาเหตุ ตัวชี้วัดผล การดำเนินงานใดเป็นผลลัพธ์ ส่งผลให้กิจการนำข้อมูลไปออกแบบ ระบบวัดผลการปฏิบัติงานเพื่อทำให้ผลงานแต่ละด้านสอดคล้องกัน 4. งานวิจัยเกี่ยวกับงบประมาณทำให้ทราบว่าคุณลักษณะงบประมาณที่ดี มีอะไรบ้าง เช่น ระบบงบประมาณที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรมี ส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดเป้าหมายร่วมกัน จะต้องกำหนด เป้าหมายให้ชัดเจน ไม่ยากหรือง่ายเกินไป ต้องนำเป้าหมายมาวัดผล การปฏิบัติงานในรูปของการวิเคราะห์ผลต่าง มีระบบการให้ข้อมูลป้อน กับแก่ผู้ปฏิบัติงานที่รวดเร็ว เป็นต้น

25 การใช้ประโยชน์งานวิจัยในการดำเนินงาน ทางธุรกิจและการบัญชีบริหาร
5. งานวิจัยเกี่ยวกับการเลือกเทคนิคทางการบัญชีบริหารทำให้ทราบว่า เทคนิคใดทำให้ผลการดำเนินงานดีขึ้นบ้าง ดังนั้นธุรกิจจะใช้ข้อมูล ดังกล่าวเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบัญชีบริหารเพื่อให้ผลการ ดำเนินงานในแต่ละด้านดีขึ้น 6. งานวิจัยด้านบัญชีบริหารที่นำมิติด้านวัฒนธรรมมาวิเคราะห์ร่วมด้วย ทำให้กิจการออกแบบเครื่องมือทางการบัญชีบริหารให้สอดคล้องกับ วัฒนธรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น กิจการชาวญี่ปุ่นเป็น สังคมที่เคารพผู้อาวุโส ไม่นิยมการเผชิญหน้า ไม่นิยมการแสดง ความเห็นต่อหน้าผู้บังคับบัญชา การกำหนดเป้าหมายในงบประมาณ จึงเป็นแบบ Top-down มากกว่า ในทางตรงข้ามระบบของอเมริกันจะ นิยมแสดงความเห็น ต้องการการมีส่วนร่วมมากเนื่องจากวัฒนธรรม ของคนกลุ่มนี้เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง

26 การใช้ประโยชน์งานวิจัยในการดำเนินงาน ทางธุรกิจและการบัญชีบริหาร
7. ผลงานวิจัยด้านบัญชีสามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรการ เรียนการสอนให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของสังคม เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักบัญชีบริหารที่สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า ผล การวิจัยอาจพบว่า ผู้ประกอบการต้องการให้บัณฑิตบัญชีมีความ สามารถด้านไอทีและด้านภาษามากขึ้น มหาวิทยาลัยอาจเพิ่มการ เรียนการสอนด้านดังกล่าวมากขึ้น เป็นต้น 8. ผลการวิจัยด้านระบบบัญชีทำให้ได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการ ทำงานของระบบในแง่มุมต่างๆ เช่น ผลการวิจัยเกี่ยวกับระบบบัญชีใน หน่วยงานหนึ่งอาจทำให้ทราบว่าผู้ใช้ระบบมีความพึงพอใจในการ ทำงานน้อยเนื่องจากระบบใช้งานค่อนข้างยาก ดังนั้นผู้ออกแบบระบบ ต้องนำข้อมูลดังกล่าวมาทบทวน ปรับปรุง แก้ไขระบบบัญชีให้ดีขึ้น

27 การใช้ประโยชน์งานวิจัยในการดำเนินงาน ทางธุรกิจและการบัญชีบริหาร
9. ผลการวิจัยด้านการสอบบัญชีทำให้เราสามารถค้นหาปัจจัยที่ทำให้ การทำงานของผู้สอบบัญชีมีคุณภาพ เช่น ผลการวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า เพื่อไม่ให้ผู้สอบบัญชีสนิทสนมกับลูกค้ามากเกินไป ควรเปลี่ยนผู้สอบ บัญชีทุกห้าปี ข้อเสนอนี้ทำให้ ก.ล.ต. เมืองไทยต้องแก้ไขกฎหมายให้ เป็นไปตามนี้ 10. งานวิจัยด้านการสอบบัญชีเกี่ยวกับหน้ารายงานของผู้สอบบัญชี ทำให้พยากรณ์แนวโน้มของการอออกรายงานของผู้สอบแต่ละ ประเภทว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูล 11. ผลการวิจัยเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีทำให้ทราบว่ามาตรฐานต่างๆ ที่กำหนดมานั้นมีประโยชน์หรือไม่ เช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าการ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกำไรตามส่วนงานมีผลกระทบทางบวกต่อ ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน ดังนั้นแสดงว่าการเปิดเผยข้อมูลนี้มี ประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูลในงบการเงิน เป็นต้น


ดาวน์โหลด ppt ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google