ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNoppasin Kraiputra ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
การซ่อมถังน้ำมันใต้ดิน โดยวิธีเคลือบไฟเบอร์กลาสด้านใน
UNDER GROUND TANK REPAIR BY INTERNAL FIBER GLASS COATING
2
การกั้นขอบเขตการทำงาน
3
จอดรถต้องเอาหัวออก พร้อมที่จะหนีจากจุดเกิดเหตุได้ทุกเวลา
4
แผ่นป้ายแสดงเอกสารประกอบการทำงาน
5
การทำ BUMP TEST ที่หน้างาน
6
การประชุมหน้างานก่อนการทำงาน
ป้ายบันทึกเวลาลงปฏิบัติงาน การจัดเตรียมอุปกรณ์การทำงานและ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล
7
ดำเนินการ BALL VALVE LOCK OUT ก่อนการทำงาน
8
ดำเนินการ LOTO ก่อนการทำงาน
9
อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย
อุปกรณ์การทำ BUMP TEST
10
ถังขยะสำหรับใส่ขยะที่เหลือจากการทำงาน
ถังสำหรับการขนย้ายน้ำปนเปื้อนน้ำมันจากการทำความสะอาดถังน้ำมันใต้ดิน
11
สูบน้ำมันที่ค้างอยู่ในถังออกให้หมด
ดำเนินการวัดน้ำและวัดน้ำมันที่คงเหลืออยู่ในถัง แล้วแจ้งให้กับผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจของหน่วยงานนั้นๆ รับทราบก่อนทำการสูถ่ายทุกครั้ง สูบน้ำมันที่ค้างอยู่ในถังออกให้หมด
12
ระบายไอแก๊สออกจากถังด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดกันระเบิด
13
จะต้องแน่ใจว่าภายในถังมีอากาศอยู่เพียงพอสำหรับการดำรงชีพในขณะที่ลงไปทำงานในที่อับอากาศโดยการใช้เครื่องตรวจวัดแก็ส ตรวจวัดค่า LELต้องเป็น 0 และปริมาณออกซิเจนจะต้องไม่ต่ำกว่า 20.5% ทุกๆ 15 นาที
14
สภาพภายในหลุมแมนโฮล ก่อนทำความสะอาด
ทำความสะอาดหลุมแมนโฮล โดยการใช้น้ำและผงซักฟอก
15
ถอดอุปกรณ์บนฝาถัง แล้วยกฝาแมนโฮลด้วยอุปกรณ์รอกช่วยผ่อนแรง
16
ขั้นตอนการลงถังใต้ดิน
-ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ให้อยู่ในสถานที่ที่หยิบใช้ได้ง่าย ผู้ที่ต้องลงถังต้องสวมชุดอุปกรณ์ป้องกันภัยให้ครบทุกครั้ง ขณะลงทำงานในที่อับอากาศจะต้องมีเชือกช่วยชีวิตผูกติดตัวผู้ทำงานตลอดเวลา ผู้ที่ทำงานในที่อับอากาศอนุญาตให้ทำงานในที่อับอากาศได้ไม่เกิน 30 นาที และต้องออกมาพักไม่น้อยกว่า 15 นาที ถึงจะเข้าทำงานใหม่ได้
17
หน้าที่ของผู้เฝ้าระวัง
ผู้เฝ้าระวังปากทางเข้าออกคอยดูแลความปลอดภัยของผู้อยู่ภายในที่อับอากาศ จะต้องติดต่อกับผู้ที่กำลังทำงานอยู่ภายในที่อับอากาศ ทุกๆ 3-5 นาที และร้องขอความช่วยเหลือเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
18
ทำการล้างถังให้สะอาดไม่มีคราบน้ำมันหลงเหลืออยู่โดยการใช้ผงซักฟอก หรือน้ำยา BIO-3MAX ฉีดน้ำแรงให้ปรับน้ำที่ปลายหัวฉีดเป็นฝอยละอองเพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตและใช้แรงดันประมาณ 150 spi จนกว่าถังจะสะอาดหลังจากนั้นให้สูบน้ำขึ้นให้หมดด้วยไดอะแฟรมปั้ม
19
หลังจากการล้างให้ทำการเช็ดภายในถังให้แห้งด้วยฟองน้ำ และตรวจสภาพภายในถังทั้งหมด
20
- ตรวจสอบรอยรั่วจากน้ำที่ไหลซึมเข้ามาในถังและตามจุดที่มีสนิมขลุมโผล่นูนขึ้นมา
- ใช้กระดาษทรายหรือแปลงลวดทองเหลือง ขัดบริเวณที่สงสัยว่าใกล้จะรั่วเพื่อที่จะได้ซ่อมไปพร้อมกัน
21
ทำการอุดรูรั่วด้วยวิธีตอกลิ่มไม้เนื้อแข็ง เพื่อไม่ให้น้ำไหลเข้าถังได้โดยตอกลิ่มให้อยู่เหนือผิวถังประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
22
- เมื่อแรงดันน้ำลดลงแล้ว ทำการอุดทับด้วย BOSNY Water Stop
- เมื่อรูรั่วอุดสนิทแล้วใช้อีพอกซี่ (กาวแปะเหล็กชนิดแห้งเร็ว) โป๊วเคลือบทับจุดที่ทำการอุดรูรั่ว
23
ใช้เรซิ่นผสมตัวเร่งแข็งและแผ่นใยแก้วเคลือบทับขนาด 12 x 12 นิ้ว จำนวน 1 ชั้น
24
ทำการเครือบไฟเบอร์กล๊าสชั้นที่ 1
- ใช้เรซิน ชนิด ISOPHTHALATE-TYPE 774 ESTAR-TOA ผสมตัวเร่งแข็ง BUTANOX M60 ในอัตราส่วน 99% เรซิ่นต่อตัวแร่งแข็ง 1% ผสมให้เข้ากันแล้วทาลงบนพื้นผิวที่เตรียมไว้ด้วยลูกกลิ้งสักกาลาดสีเขียว - นำแผ่นใยแก้ว FIBER GLASS 450JA-104 ขนาด 12 x 12 นิ้วปูลงบนเรซินที่ทาไว้ขณะยังไม่แห้ง - ใช้ลูกกลิ้งชุบเรซินที่ผสมแล้วทาทับลงบนใยแก้วที่ปูชั้นที่ 1 อีกครั้งและทิ้งไว้จนเรซินแห้งโดยใช้ AIR BLOWER เป่าตลอดเวลา
25
ทำการเครือบไฟเบอร์กล๊าสชั้นที่ 2
สำหรับถังที่บรรจุน้ำมันเบนซิน และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ใช้ EPOXY VINYL ESTER RESIN DERAKANE MOMENTUM ผสมตัวเร่งปฏิกิริยา COBALT OCTOATE OPT Co 1263 ในอัตราส่วน 98% เรซิ่นต่อตัวแร่งปฏิกิริยา 1% และผสมตัวทำปฏิกิริยา BUTANOX M60 1% เคลือบทับหน้าอีก 1 ชั้นเพื่อป้องกันการกัดกร่อนจากความเป็นกรด - ทิ้งไว้ให้น้ำยาเรซินแห้งสนิทอย่างน้อย 5 วันก่อนการใช้งาน
26
ขั้นตอนการปิดถัง - ทำความสะอาดฝาแมนโฮลและหน้าแปลนทุกตัว
- จัดเตรียมประเก็นฝาแมนโฮลและหน้าแปลนทุกตัว - เปลี่ยนประเก็นและประกอบฝาแมนโฮลปิดฝาถัง - เปลี่ยนประเก็นและประกอบหน้าแปลนทุกตัว - ประกอบอุปกรณ์บนฝาถังทั้งหมด
27
THE END
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.