งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อาณาจักรสัตว์ Kingdom Animalia.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อาณาจักรสัตว์ Kingdom Animalia."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อาณาจักรสัตว์ Kingdom Animalia

2 ลักษณะสำคัญของสัตว์ ประกอบด้วยหลายเซลล์ และเซลล์เหล่านี้จะอยู่รวมกันเป็นเนื้อเยื่อทำหน้าที่เฉพาะ สร้างอาหารเองไม่ได้ เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์และจัดเป็นพวก Heterotrophic organism มีตัวอ่อนก่อนเจริญเป็นตัวเต็มวัย มักจะไม่มีวงจรชีวิตแบบสลับ เคลื่อนที่ได้ตลอดชีวิต สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว

3 เกณฑ์การจำแนกสัตว์ 1) เนื้อเยื่อ (Tissue) 1.1 กลุ่มที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง ได้แก่ ฟองน้ำ 1.2 กลุ่มที่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง ได้แก่ สัตว์ส่วนใหญ่ 2) ลักษณะสมมาตร (Symmetry) 2.1 สมมาตรตามรัศมี (Radial symmetry) คือ สามารถแบ่งได้มากกว่า4ซีก โดยต้องตัดผ่านจุดศูนย์กลางตามแนวรัศมี เช่น ไฮดรา 2.2 สมมาตรด้านข้าง (Bilateral symmetry) คือ สามารถแบ่งตามยาวของ ร่างกายได้ เช่น คน กุ้ง แมว

4

5 เกณฑ์การจำแนกสัตว์ 3) การเปลี่ยนแปลงของบลาสโทพอร์ (Blastopore) บลาสโทพอร์ เป็นช่องที่เกิดจากการม้วนตัวของเนื้อเยื่อชั้นใน (Endoderm) ซึ่ง พบในสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง มี 2 แบบคือ 3.1 โพรโทสโทเมีย (Protostomia) พวกที่บลาสโทพอร์เปลี่ยนเป็นช่องปากก่อน ทวารหนัก 3.2 ดิวเทอโรสโทเมีย (Deuterostomia) พวกที่บลาสโทพอร์เปลี่ยนเป็น ช่องทวารหนักก่อนปาก

6 เกณฑ์การจำแนกสัตว์ 4) การเจริญเป็นตัวอ่อน พบในสัตว์ที่มีช่องปากแบบโพรโทสโทเมีย 4.1 กลุ่มที่มีตัวอ่อนแบบโทรโคฟอร์ (Trochophore) 4.2 กลุ่มเอคไดโซซัว (Ecdysozoa) 5) จำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ (Germ layer) 5.1 เนื้อเยื่อชั้นนอก (Ectoderm) 5.2 เนื้อเยื่อชั้นกลาง (Mesoderm) 5.3 เนื้อเยื่อชั้นใน (Endoderm)

7 เกณฑ์การจำแนกสัตว์ 6) ช่องว่างภายในลำตัว (Coelom) 6.1 ไม่มีช่องว่างภายในลำตัว (Acoelom) : หนอนตัวแบน 6.2 มีช่องในลำตัวเทียม (Psudocoelom) : หนอนตัวกลม 6.3 มีช่องว่างแท้จริง (Eucoelom) : ไส้เดือนดิน 7) ระบบทางเดินอาหาร 7.1 สัตว์ที่มีระบบทางเดินอาหารแบบไม่แท้จริง 7.2 สัตว์ที่มีระบบทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete digestive tract) คือพวกที่มีช่องว่างกลางลำตัว เรียกว่าช่อง แกสโตวาสคิวลาร์ 7.3 สัตว์ที่มีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract) คือ พวกที่มีปาก ลำไส้ และทวารหนักสมบูรณ์

8 เกณฑ์การจำแนกสัตว์ 8) ระบบหมุนเวียนเลือด (Circulatory system) 8.1 สัตว์ที่ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด 8.2 สัตว์ที่มีระบบหมุนเวียนเลือด แบ่งเป็น 2 พวก คือ - ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด (Open circulatory system) : แมลง กุ้ง - ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด (Closed circulatory system) 9)ระบบประสาท (Nervous system) 9.1 สัตว์พวกแรกที่มีระบบประสาทส่วนกลาง คือไฟลัมซีเลนเทอราตา (ไนดาเรีย) เป็นแบบร่างแหประสาท (Nerve net ) แต่ยังไม่มีระบบประสาทส่วนกลาง 9.2 สัตว์พวกแรกที่มีระบบประสาทส่วนกลาง คือ สัตว์ตั้งแต่ไฟลัมแพลทีเฮลมินทีส จนถึงไฟลัมคอร์ดาตา

9 เกณฑ์การจำแนกสัตว์ 10) โครงสร้างพิเศษ ซึ่งเป็นโครงสร้างพิเศษที่มีเฉพาะไฟลัมนั้น ๆ เช่น 1.คอลลาร์ เซลล์ (Collar cell) ในฟองน้ำ 2.นีมาโตซิสต์ (Nematocyst) ในพวกไนดาเรียน 3.โนโตคอร์ด (Notocord) ในพวกคอร์เดต

10 ปัจจุบันได้จัดกลุ่มสัตว์ออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ คือ 1) ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) 2) ไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria) 3) ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส (Phylum Platyhelminthe) 4) ไฟลัมมอลลัสคา (Phylum Mollusca) 5) ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida) 6) ไฟลัมนีมาโทดา (Phylum Nematoda) 7) ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthopoda) 8) ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata) 9) ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)

11 Phylum Porifera Porus แปลว่า รู / ferre แปลว่า มี ซึ่ง Perifera หมายถึง สัตว์ที่มีรูพรุนทั้งตัว เรียกทั่วไปว่าฟองน้ำ (sponge) ลักษณะทั่วไปมีดังนี้ เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด และมีทั้งอาศัยน้ำจืดและน้ำเค็ม ไม่มีเนื้อเยื่อแท้จริง (parazoa) ประกอบด้วย - ทางน้ำเข้า (ostia) รูเล็กรอบๆตัว - ทางน้ำออก (osculum) รูใหญ่ด้านบน

12 Phylum Porifera

13 Phylum Porifera มีโครงสร้างแข็งค้ำจุน - spicule หินหรือแก้ว ( 𝐶𝑎𝐶𝑂 3 , 𝑆𝑖𝑂 2 ) - sponging เส้นใยโปรตีน มีAmebocyteเป็นเซลล์ในโครงสร้าง สร้าง Gemmuleเวลาสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เกาะนิ่งๆอยู่กับที่ จึงไม่มี nervous system และ sense organ ตัวอย่าง เช่น ฟองน้ำหินปูน(แคลคาเรีย) ฟองน้ำแก้ว ฟองน้ำถูตัว ฟองน้ำปะการัง การหมุนเวียนน้ำเป็นปัจจัยที่มีผลต่อโครงสร้างทางรูปร่างของฟองน้ำ ฟองน้ำที่มี โครงสร้างซับซ้อนน้อยที่สุด คือ รูปทรงกระบอกกลวง มีฐานในการเกาะ ด้านตรง ข้ามเป็นช่องเปิดขนาดใหญ่ คือ osculum

14 Phylum Porifera ผนังทรงกระบอกประกอบด้วย
Outer layer (epidermis) ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดียวคือ porocyte Inner layer (endoderm) เซลล์ที่บุในช่องกลางตัวคือ choanocyte จับอาหารที่มากับน้ำโดยใช้ flagellum Mesohyle ประกอบด้วยสารวุ้นคล้ายเจลาติน คือ gelatimous matrix ที่มี amoebocyte เคลื่อนที่อยู่ในชั้นวุ้นนี้

15 Phylum Porifera Phylum Porifera สามารถแบ่งได้เป็น 3 Class คือ
1) Class Calcaria มีลักษณะดังนี้ สารประกอบของ spicule เป็นพวกหินปูนเป็นรูเข็มหรือ 3 แฉกหรือ 4 แฉก ลำตัวเปราะหักง่าย มักอยู่ตามชายฝั่งตื้น ๆ ตัวอย่างเช่น ฟองน้ำหินปูน

16 Phylum Porifera 2) Class Hexactinellida มีลักษณะดังนี้
สารประกอบของspicule เป็นพวกซิลิการูปร่าง 6 แฉก สานกันเป็นตาข่าย พบเฉพาะในทะเล และมักพบบริเวณน้ำลึก รูปร่างคล้ายถ้วยหรือแจกัน สูงตั้งแต่ เซนติเมตร ตัวอย่างเช่น ฟองน้ำแก้ว

17 Phylum Porifera 3) Class Demospongiae มีลักษณะดังนี้
เป็นคลาสที่ใหญ่ที่สุด มีโปรตีนสานเป็นเส้นใยหรือมีทั้ง spicule ผสมกับเส้นใยโปรตีนหรือมี Spicule เป็นซิลิการูปเข็มหรือรูป 4 แฉก ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล มีสีต่าง ๆ กัน ตัวอย่างเช่น ฟองน้ำน้ำจืด ฟองน้ำ

18 Phylum Coeleterata ลักษณะทั่วไปมีดังนี้
มีเนื้อเยื่อสองชั้น คือ Ectoderm และ Endoderm โดยมีชั้น Mesoderm คั่นกลาง มี Gastrovascular cavity เสมือนระบบย่อยอาหารและระบบหมุนเวียนสาร มี2รูปแบบคือ - Medusa (คว่ำ) มีปากด้านล่าง เคลื่อนที่โดนใช้ปากพ่นน้ำ - Polyp (หงาย) มีปากด้านบน มักเกาะนิ่งกับที่ มีหนวด (Tentacle) รอบปากใช้สำหรับจับเหยื่อ

19 Phylum Coeleterata มีเข็มพิษ (Nematocyte) บน Tentacle สำหรับต่อย
มีวงจรชีพสลับ คือ แตกหน่อ และ อาศัยเพศ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ มีสองเพศในตัวเดียว ตัวอย่างเช่น ไฮดร้า แมงกะพรุน ปะกาลัง กัลปังหา ซีแอนีโมนี ดอกไม้ทะเล เป็นต้น

20 Phylum Coeleterata

21 Phylum Coeleterata Phylum Coelenterata สามารถแบ่งได้ เป็น 4 Class
1) Class Hydrozoa มีลักษณะดังนี้ รูปร่างเป็น polyp คล้ายกิ่งไม้ สำหรับพวก medusa จะมีขนาดเล็ก เป็นแพลงค์ตอนลอยอยู่ในน้ำใช้ tentacle ซี่งมีเข็มพิษจับเหยื่อ มีทั้งชนิดที่อย่างอิสระและชนิดที่อยู่เป็นกลุ่ม (colony) ตัวอย่างเช่น ไฮดรา แมงกะพรุน้ำจืด โอบีเลีย แมงกะพรุนไฟชนิดหมวกนักรบ

22 Phylum Coeleterata แมงกะพรุนน้ำจืด โอลีเบีย ไฮดรา

23 Phylum Coeleterata 2) Class Scyphozoa มีลักษณะดังนี้
มีรูปร่างสองแบบ คือ ตัวอ่อนมีรูปร่างแบบ polyp โตเต็มวัยมีรูปร่างแบบ medusa มีวุ้นหนาช่วยลอยตัวได้ดี ตรงกลางด้านล่างของกระดิ่งคว่ำ เป็นปากมี tentacle อยู่รอบ ๆ กระดิ่ง มักพบอยู่ตามชายฝั่งทะเล บางชนิดเข็มพิษอาจทำให้คนถึงตาย แต่ส่วนใหญ่ทำให้ระคายเคือง ตัวอย่างเช่น แมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนจาน แมงกะพรุนไฟ

24 Phylum Coeleterata แมงกะพรุนไฟ แมงกะพรุนไฟ แมงกะพรุนจาน

25 Phylum Coeleterata 3) Class Anthozoa มีลักษณะดังนี้
มีเฉพาะรูปร่างแบบ polyp ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็น medusa มีทั้งชนิดที่อย่างอิสระและชนิดที่อยู่เป็นกลุ่ม (colony) บางชนิดมีการสร้างเปลือกหุ้มลำตัว มีทั้งชนิดเปลือกนิ่มและเปลือกแข็ง ตัวอย่างเช่น ปะการังดอกเห็ด ปะการังเขากวาง ปะการังนิ่ม ดอกไม้ทะเล กัลปังหา ปากกาทะเล

26 Phylum Coeleterata ปะการังดอกเห็ด ปากกาทะเล กัลปังหา

27 Phylum Coeleterata 4) Class Cubozoa มีลักษณะดังนี้
รูปร่างเป็น medusa ที่มีลักษณะก่ำกิ่งระหว่าง Hydrozoa กับ Scyphozoa รูปทรงค่อนข้างเป็นถ้วยสี่เหลี่ยมจึงถูกเรียกว่า Box jelly fish มุมทั้งสี่จะมีหนวด มานูเบรียมสั้น เข็มพิษมีพิษร้ายแรงถึงขนาดทำให้คนตายได้ ตัวยอย่างเช่น Box jellyfish

28 Phylum Platyhelminthes
Platy แปลว่า แบน , helminthes แปลว่า หนอน ซึ่ง Platyhelminthes หมายถึง หนอนตัวแบน หรือ flat worm ลักษณะทั่วไปมีดังนี้ มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (Bilateral symmetry) ไม่มีช่องว่างในลำตัว (Acoelomate animal) เนื่องจากเนื้อเยื่อชั้นกลางมีเนื้อเยื่อหยุ่นๆบรรจุอยู่ ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต สารอาหารแพร่จากทางเดินอาหารสู่เซลล์โดยตรง มีระบบทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ (มีปากแต่ไม่มีทวาร) ในพวกพยาธิตัวตืดไม่มีทางเดินอาหาร

29 Phylum Platyhelminthes
มีระบบประสาทอยู่ทางด้านหน้าและแตกแขนงออกไปด้านข้างลำตัว มีสองเพศในตัวเดียวกัน ตัวอย่างเช่น พลานาเรีย พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ในตับ พลานาเรีย

30 Phylum Platyhelminthes
Phylum Platyhelminthes สามารถแบ่งได้เป็น 3 Class 1) Class Turbellaria มีลักษณะดังนี้ หากินอิสระ มี 2 เพศในตัวเดียวกัน แต่ผสมพันธุ์ข้ามตัว สัตว์ส่วนใหญ่จะคลานหรือว่ายน้ำอยู่ตามก้นทะเล ยกเว้นพลานาเรียที่อยู่ในน้ำจืด บางพวกมีลำตัวยาว ลำตัวนิ่ม ไม่มีอวัยวะแลกเปลี่ยนก๊าซ ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด

31 Phylum Platyhelminthes
2) Class Trematoda มีลักษณะดังนี้ ส่วนใหญ่เป็นปรสิต พยาธิใบไม้หลายชนิดมีที่ดูด (suckers) ลำตัวมีผนังหนาเพื่อป้องกันการถูกย่อย อวัยวะสืบพันธุ์อยู่เกือบเต็มพื้นที่ ตัวอย่างเช่น พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิใบไม้ในลำไส้ พยาธิใบไม้ในเลือด

32 Phylum Platyhelminthes
3) Class Cestoda มีลักษณะดังนี้ ลำตัวยาว มีลักษณะคล้ายเป็นปล้อง มีคิวติเคิลหนา ส่วนหัวเรียกว่า scolex ด้านท้ายของหัวเป็นลำตัวยาว แต่ละปล้องเรียกว่า proglottids ไม่มีทางเดินอาหาร ตัวอย่างเช่น พยาธิตัวตืด

33 Phylum Platyhelminthes
สัตว์ไฟลัมนี้เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า หนอนตัวกลม(round worm) หรือพวก nematode มีลักษณะสำคัญดังนี้ มีสมมาตรแบบผ่าซีก (Bilateral symmetry) มีช่องว่างลำตัวแบบเทียม (pseudocoelomate animal) โดยมีช่องว่างอยู่ระหว่างเนื้อเยื้อชั้นกลางและเนื้อเยื่อชั้นใน ไม่มีระบบหมุนเวียดเลือด ใช้ของเหลวในช่องว่างเทียมในการลำเลียงสาร ไม่มีอวัยวะหายใจเฉพาะ พวกแบบปรสิตจะหายใจแบบไม่ใช่ออกซิเจน แต่พวกที่อยู่แบบอิสระใช้ผิวหนังเป็นส่วนแลกเปลี่ยนก๊าซ

34 Phylum Platyhelminthes
ลำตัวกลมยาว หัวท้ายแหลม ไม่มีรยางค์ มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ทางเดินอาหารสมบูรณ์ ระบบประสาทประกอบด้วยปมประสาทรูปวงแหวน(nerve ring) อยู่รอบคอหอย และมีแขนงประสาทแยกออกมา มีระบบกล้ามเนื้อยาวตลอดลำตัว (longitudinal muscle) ระบบขับถ่ายประกอบด้วยเส้นข้างลำตัว (lateral line) ซึ่งภายในบรรจุท่อขับถ่าย (excretory canal) เป็นสัตว์แยกเพศ โดยตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้ ตัวอย่างเช่น พยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้าย พยาธิตัวจี๊ด หนอนในน้ำส้มสายชู

35 Phylum Platyhelminthes

36 Phylum Platyhelminthes
Phylum Nemathelminthes สามารถแบ่งได้เป็น 2 Class 1) Class Phasmida มีลักษณะดังนี้ มีอวัยวะรับรู้สึกเกี่ยวกับสารเคมี (phasmid) อยู่บริเวณหาง มีอวัยวะรับความรู้สึก (amphid) อยู่ทางหัว มีระบบขับถ่ายเป็นแบบท่อประกอบด้วยท่อขับถ่ายด้านข้าลำตัวข้างละ 1 ท่อ ตัวผู้มีเดือย (Spicule) อยู่ส่วนหาง 2 อัน มีทั้งดำรงชีพแบบอิสระและแบบปรสิต ตัวอย่างเช่น พยาธิปากข้อ พยาธิเข็มหมุด ไส้เดือนฝอย พยาธิไส้เดือน พยาธิโรคเท้าช้าง หนอนในน้ำส้มสายชู

37 Phylum Platyhelminthes

38 Phylum Platyhelminthes
2) Class Aphasmida มีลักษณะดังนี้ ไม่มีอวัยวะรับรู้สึกเกี่ยวกับสารเคมี (phasmid) มีอวัยวะรับความรู้สึก (amphid) อยู่ทางหัว ระบบบขับถ่ายไม่เจริญ ตัวผู้มีเดือย 1 อัน ดำรงชีวิตแบบอิสระและแบบปรสิต ตัวอย่างเช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิกล้ามเนื้อ

39 Phylum Annelida ลักษณะทั่วไปมีดังนี้
มีลำตัวกลมยาวเป็นปล้องๆ มองเห็นภายนอกเป็นวงเเละภายในมีเนื้อเยื่อกั้นระหว่างปล้องเรียกว่า septa เเต่ละปล้องมีอวัยวะ คือเดือย( saeta )4 คู่ เนฟริเดีย(อวัยวะขับถ่าย) 1คู่ เส้นประสาท3คู่ ทางเดินอาหารเเละช่องลำตัวส่วนหนึ่ง ยกเว้นปล้อง ที่มีหัวที่ซึ่งมีอวัยวะสำคัญ ( สมอง คอหอย หัวใจ ) ร่างกายมีสมมาตรครึ่งซีก

40 Phylum Annelida มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
มีช่องลำตัวเเท้จริง ( coelom ) ซึ่งเป็นช่องลำตัวในเนื้อเยื่อมีโซเดิร์ม ระบบประสาทประกอบด้วย ปมสมองที่หัว 1 คู่ และ เส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง ตัวอย่าง ได้แก่ ไส้เดือนดิน เเม่เพรียง ( ไส้เดือนทะเล ) ปลิงน้ำจืด

41 Phylum Annelida Phylum Annelida สามารถแบ่งได้เป็น 3 Class
1) Class Oligochaeta มีลักษณะดังนี้ ไม่มีรยางค์ยื่นออกมาชัดเจน มีแต่ขนแข็ง ๆ ขนาดสั้น ๆ ช่วยในการเคลื่อนที่ ผิวหนังบาง สามารถหายใจผ่านผนังลำตัวได้ มีต่อมสร้างเมือกสำหรับหุ้มไข้ (cocoon) มีสองเพศในตัวเดียวกัน ผสมพันธุ์ข้ามตัว ผสมพันธ์กลับหัวกลับหาง ต่างฝ่ายต่างรับสเปิร์ม ตัวอย่างเช่น ไส้เดือนดิน หนอนแดงที่อยู่ในน้ำ

42 Phylum Annelida หนอนแดง ไส้เดือน

43 Phylum Annelida 2) Class Polychaeta มีลักษณะดังนี้
แต่ละปล้องมีรยางค์ยื่นออกมา 1 คู่ เรียกว่า parapodia ใช้พัดโบกและแลกเปลี่ยนก๊าซ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ทะเล มีทั้งว่ายน้ำ ขุดรูอยู่ในโคลนทรายก้นทะเล คลานอยู่ก้นทะเล มีตา 1 คู่ ผสมพันธุ์นอกตัวแต่ละตัวแยกเพศ ตัวอย่างเช่น ตัวสงกรานต์หรือแม่เพรียง หนอนพัด ไส้เดือนทะเล บุ้งทะเล

44 Phylum Annelida บุ้งทะเล แม่เพรียงทะเล

45 Phylum Annelida 3) Class Hirudinea มีลักษณะดังนี้
ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตแบบปรสิต ลำตัวแบนตอนบน-ล่าง หัวแหลมท้ายแหลม ส่วนหัวเปลี่ยนเป็นที่ดูดสำหรับเกาะติดเหยื่อ ไม่มีรยางค์ ไม่มีขนเล็ก ๆ มีสองเพศในตัวเดียวกัน ดูดเลือดสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร ตัวอย่างเช่น ปลิงน้ำจืด ทากดูดเลือด

46 Phylum Annelida ปลิงน้ำจืด ทากดูดเลือด

47 Phylum Mollusca Mollusca เป็นภาษาลาตินแปลว่าอ่อนนุ่ม สัตว์ในไฟลัมนี้มีลำตัวอ่อนนุ่มและมีเมือกลื่น ประกอบด้วย หอย ปลาหมึก ลิ่นทะเล ฯลฯ มีประมาณ 100,000 ชนิด เป็น fossil ประมาณ 35,000 ชนิด ลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ร่างกายจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก - head and foot เป็นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนที่ - visceral mass อวัยวะภายในต่างๆ - mantle ยึดกับเปลือก, paliumเกิด mantle cavity มีเหงือกภายใน มีลำตัวอ่อนนุ่ม บางชนิดอาจมีเปลือกแข็งหุ้มลำตัวเป็น 𝐶𝑎𝐶𝑂 3 แยกเพศผู้-เมีย

48 Phylum Mollusca ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล มีอาศัยอยู่บนบกบ้าง เช่น หายทาก (snail) ทากเปลือย (slug) อวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊สประกอบ - เหงือก (gill) อยู่ภายในช่องแมนเทิล พบใรmollusทั่วไป - ผิวตัว ในทากทะเล (sea slug, nudibranch) ผิวตัวจะเปลี่ยนรูปไปเป็น แขนงอยู่บนลำตัว เรียกว่า cerata หรือ บางชนิดมีอยู่รอบทวารหนัก (anal gill) - ช่องแมนเทิลหรือปอดของหอยฝาเดียวที่ขึ้นมาอยู่บนบก จะมีช่องแมนเทิลที่มีผนัง ยื่นลงมากั้นเป็นห้อง มีของเหลวหล่อเลี้ยงในช่องนี้ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้

49 Phylum Mollusca

50 Phylum Mollusca Phylum Mollusca สามารถแบ่งได้เป็น 3 Class คือ
1) Class Monoplacophora มีลักษณะดังนี้ มีเปลือกเพียงอันเดียว เป็นรูปคล้ายฝาชีแต่ปลายยอดของฝาชีค่อนมาอยู่ข้างหน้า ไม่อยู่ตรงกลาง เท้าเป็นแผ่นกลมแบอยู่ด้านท้อง หัวไม่เจริญ ไม่มีหนวด ไม่มีตา ปากมีเยื่อ velum เป็นแผ่นโค้งอยู่2ข้างปาก มีเหงือก 5-6 คู่อยู่ในช่องแมนเทิล มีเหงือก ไต อวัยวะสืบพันธุ์มีหลายคู่ ตัวอย่าง ได้แก่ Neopilina galatheae

51 Phylum Mollusca แต่เดิมเข้าใจว่าสูญพันธุ์ไปหมดแล้วเพราะพบแต่ซากดึกดำบรรพ์แต่ต่อมาในปีค.ศ เรือของเดนมาร์คชื่อ Galatheaได้สำรวจพบจากดินที่ตักมาจากทะเลลึกระดับ 3,600 mบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคทางตะวันตกของคอสตาริกา จึงตั้งชื่อว่า Neopilina galatheae หลังจากนั้นก็มีผู้พบสัตว์ชนิดนี้อีกหลายครั้ง

52 Phylum Mollusca 2) Class Gastropoda มีลักษณะดังนี้
ลำตัวไม่มีสมมาตร มีลักษณะขดเป็นก้นหอย แต่ละวงเรียกว่า whorl มีส่วนหัวที่เจริญดี หัวมีหนวด 1-2 คู่ มีตา 1 คู่ ส่วนหัวติดกับส่วนเท้า ดังนั้นส่วนหัวและเท้าจะปรากฏให้เห็นพร้อม ๆ กันเมื่อโผล่พ้นออกนอกเปลือก มีของหอยฝาเดียวเป็นแผ่นแบน เซลล์ผิวมีซีเลียและต่อมเมือกจำนวนมาก เป็นหอยฝาเดียวที่กินพืชขนาดเล็ก มีฟันบด (radula) อยู่ในอุ้งปาก ทำหน้าที่ขูดอาหารเป็นชิ้นเข้าปาก มี odontophore เป็นแท่งกระดูกอ่อนค้ำจุนอยู่ตอนล่างและมีกล้ามเนื้อยึดไว้กับอุ้งปาก ตัวอย่าง ได้แก่ หอยฝาเดียวชนิดต่างๆ เช่น หอยเป๋าฮื้อ (abalone) และหอยที่ไม่มีเปลือกหรือเปลือกขนาดเล็กมากที่เรียกว่าทาก

53 Phylum Mollusca หอยทาก หอยเป่าฮื้อ

54 Phylum Mollusca 3) Class cephalopoda มีลักษณะดังนี้
เป็นกลุ่มสัตว์ที่ว่องไว ว่ายน้ำได้ดี มีหนวดรอบปาก และ มีท่อน้ำ ระบบประสาทเจริญดีมาก มีตาขนาดใหญ่รับภาพได้ เท้าปรับเปลี่ยนไปเป็น ท่อน้ำ และ หนวดหลายเส้นล้อมรอบปาก มีเปลือกทั้งภายในและภายนอก หรือไม่มีเลยก็ได้เคลื่อนที่โดยใช้ siphon ซึ่งพัฒนามาจาก mantle สีของผิวตัวจะเปลี่ยนแปลงขณะที่ปลาหมึกตกใจ ตื่นกลัวหรือขณะเกี้ยวพาราสีก่อนจะสืบพันธุ์ หรือขณะต่อสู้ป้องกันตัว กระบวนการเปลี่ยนแปลงสีของผิวตัวนี้ควบคุมโดยระบบประสาทและฮอร์โมน

55 Phylum Mollusca หมึกชนิดต่าง ๆ หอยงวงช้าง

56 Phylum Mollusca 4) Class bivalvia มีลักษณะดังนี้
เป็นหอยสองฝา ฝาแต่ละข้าง (valve) เชื่อมต่อกันด้วยบานพับ (hinge ligament) มีกล้ามเนื้อยึดฝา (adductor muscle) ทำหน้าที่ในการปิดฝา ส่วนของเปลือกหอยด้านใต้บานพับจะดัดแปลงไปเป็นฟัน( teeth) ช่วยล็อคเปลือกไว้ด้วยกัน เปลือกส่วนที่อยู่ด้านหน้าจะนูน เรียกว่า umbo การเคลื่อนที่จะอาศัยกล้ามเนื้อที่เท้าที่แข็งแรง หอยสองฝาไม่มี radula จึงกินอาหารโดยการกรองผ่านเหงือก ตัวอย่าง ได้แก่ หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยมือเสือ หอยแมงภู่

57 Phylum Mollusca 5) Class polyplacophora มีลักษณะดังนี้
สัตว์คลาสเป็นลิ่นทะเล ลำตัวของลิ่นทะเลเป็นรูปไข่ ด้านหลังโค้งนูน มีเปลือก 8 แผ่นเรียงเกยกันจากหัวไปท้าย เปลือกจะฝังอยู่ในแมนเทิล ขอบของแมนเทิลที่ล้อมรอบเปลือก เป็นส่วนที่หนาแข็งเรียกว่า girdle  ส่วนหัวมีหนวด1คู่อยู่ด้านหน้าของเท้า ไม่มีตา มีเหงือกอยู่หลายคู่ด้านใน pallial groove Chition (ลิ่นทะเล) มีหลายร้อยชนิด อาศัยเกาะตามก้อนหินบริเวณเขต น้ำขึ้น-น้ำลง

58 Phylum Arhtopoda Arthorn แปลว่า ข้อต่อ prodos แปลว่า เท้า เรียกสัตว์ไฟลัมนี้เรียกว่า arthropod โดยสัตว์ไฟลัมนี้มีความสัมพันธ์กับพวก annelid มากโดยอาจจะเจริญมากจากพวก annelid หรือ อาจมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน และสัตว์ไฟลัมนี้มีจำนวนมากที่สุดในอาณาจักรสัตว์

59 Phylum Arhtopoda มีลักษณะสำคัญดังนี้
มีสมมาตรแบบผ่าซีก (Bilateral symmetry) มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น และมีช่องลำตัวแบบแท้จริง ลักษณะลำตัวเป็นข้อเป็นปล้องและแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนหัว (head) ส่วนอก (thorax) ส่วนท้อง(abdomen) เช่นพวกแมลง แต่บางชนิด ส่วนหัวกับส่วนอกรวมกันเรียกว่า cephalothorax เช่น กุ้ง ปู มีรยางค์เป็นข้อ ๆ ต่อกัน ยื่นออกจากลำตัวเป็นคู่ ๆ เช่น ขาเดิน ขาว่ายน้ำ

60 Phylum Arhtopoda มีโครงร่างภายนอก (exoskeleton) เป็นสารจำพวกไคทิน (chitin) แข็งหุ้มรอบตัว ดังนั้นในการเจริญเติบโตส่วนหลายชนิดต้องลอกคราบ ทางเดินอาหารสมบูรณ์ ระบบหมุนเวียนโลหิตแบบปิด โดยมีเลือดเป็นสีฟ้าเนื่องจากสาร hemocyanin มีระบบขับถ่ายเฉพาะกลุ่ม เช่น แมลงมี malpighain tubule กุ้งมี green gland มีอวัยวะที่ใช้ในการหายใจเฉพาะ ถ้าสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก (gill) ถ้าบกอาจใช้ท่อลม (trachea) เช่น แมลง หรือ แผงปอด (book lung) เช่น แมงมุม

61 Phylum Arhtopoda Phylum Arhtopoda สามารถแบ่งได้เป็น 6 Class คือ
1) Class Crustacea มีลักษณะดังนี้ มีหัวแอกเชื่อมติดกัน (Cepalothorax) ตาประกอบติดอยู่บนบริเวณหัว มีหนวด 1 ถึง 2 คู่ ลำตัวแบ่งเป็นปล้อง ตัวผู้ตัวเมียแยกเพศ ตัวอย่าง กุ้ง ปู ไรน้ำ จักจั่นทะเล เพรียงหิน กั้ง ตั๊กแตน เพรียงหิน

62 Phylum Arhtopoda 2) Class Arachnida มีลักษณะดังนี้
ไม่มีขากรรไกร ไม่มีหนวด มีหัวแอกเชื่อมติดกัน (Cepalothorax) มีรยางค์ 2 คู่ ทำหน้าที่เป็นขาเดิน 4 คู่ ที่จับอาหาร รับความรู้สึกอยู่ต่างหาก ตัวอย่างเช่น เห็บ แมงมุม แมงป่อง แมงดาทะเล แมงดาทะเล แมงมุม แมงป่อง

63 Phylum Arhtopoda 3) Class Diplopoda มีลักษณะดังนี้
หรือเรียกว่า พวก Millipede ขากรรไกรเจริญดี มีหนวด 1 คู่ ลำตัวมีตั้งแต่ขนาด 10 ถึง 100 ปล้อง ทุกปล้องมีขา 2 คู่ หายใจด้วย trachea ตัวผู้ตัวเมียแยกเพศ ตัวอย่างเช่น กิ้งกือบ้าน กิ้งกือเหล็ก กิ้งกือกระสุน

64 Phylum Arhtopoda 4) Class Chilopoda มีลักษณะดังนี้
หรือเรียกว่าพวก Centipede มีหัวแยกชัดเจน มีหนวด 1 คู่ มีรยางค์ลักษณะเหมือนเขี้ยว มีต่อมพิษ แต่ละปล้องมีขาเดิน 1 คู่ ยกเว้นปล้องสุดท้ายไม่มีขาเดิน ตาอาจเป็นตาประกอบหรือตาเดี่ยวก็ได้ หายใจด้วย trachea ตัวผู้ตัวเมียแยกเพศ ตัวอย่างเช่น ตะขาบ

65 Phylum Arhtopoda 5) Class Insecta มีลักษณะดังนี้
ลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว (head) ส่วนอก (thoax) และส่วนท้อง (abdomen) มีหนวด 1 คู่ ขาออกมาบริเวณส่วนอก มีขาทั้งหมด 3 คู่ อาจมีปีกหรือไม่ก็ได้ หากมีปีก อาจมี 1 หรือ 2 คู่ ตาส่วนใหญ่เป็นตาประกอบ หายใจทางรู spiracle ซึ่งอยู่ข้างลำตัว ต่อกับ trachea ตัวอย่างเช่น แมลง

66 Phylum Echinodermata มีลักษณะสำคัญดังนี้
สมมาตรร่างกาย ตัวอ่อนเป็นเเบบครึ่งซีก ตัวเต็มวัยมีเมเเทมอร์โฟซิสกลายเป็นสมมาตรเเบบรัศมี ลำตัวเเบ่งเป็น 5 ส่วนหรือ ทวีคูณของ 5 ยื่นออกมาจากเเผ่นกลมที่เป็นศูนย์กลาง มีโครงร่างเเข็งภายใน มีเเผ่นหินปูนเล็กๆ ที่ยึดติดกันด้วยกล้ามเนื้อหรือผิวหนังที่ปกคลุมอยู่บางชนิด มีเส้นประสาทเป็นวงเเหวนรอบปาก เเละเเยกเเขนงไปตามเเขน

67 Phylum Echinodermata การเคลื่อนไหวใช้ระบบท่อน้ำ ( water vascula system ) ภายในร่างกาย การสืบพันธุ์ แบ่งเป็นเเบบอาศัยเพศโดยมีการปฎิสนธิภายนอก และ เเบบไม่อาศัยเพศบางชนิด เช่น การขาดของเเขนใดเเขนหนึ่ง ส่วนที่ขาดก็จะเจริญไปเป็นตัวเต็มอีกทีหนึ่ง

68 Phylum Echinodermata Phylum Echinodermata สามารถแบ่งได้เป็น 5 Class
1) Class Asteroidea มีลักษณะดังนี้ มี 5 แขนหรือมากกว่า แยกมาจาก เซนตรัลดิสก์ ด้านล่างแขนมีทิวป์ฟีต ซึ่งต่อออกมาจากแอมพูลลา ใช้ทิว์ฟีตสำหรับคลานและใช้จับเหยื่อ ตัวอย่างเช่น ปลาดาว

69 Phylum Echinodermata 2) Class Ophiuroidea มีลักษณะดังนี้
มีเซนตรัลดิสก์ขนาดเล็กกว่าปลาดาว แขนมีขนาดเล็กแต่ยาวและเปราะง่าย ไม่มีทิวป์ฟีต เคลื่อนที่โดยการเลื้อย ตัวอย่างเช่น ดาวเปราะ

70 Phylum Chordata สัตว์ไฟลัมคอร์ดาตา เรียกว่า พวกคอร์เดต (chordate) สัตว์ในไฟลัมนี้ถึอว่ามี ความสำคัญที่สุด และมีวิวัฒนาการสูงสุด มีการปรับตัวทั้งโครงสร้างภายนอก โครงสร้างทางกายวิภาค สรีรวิทยา พฤติกรรมมากกว่าสัตว์ กลุ่มอื่นๆ มีลักษณะสำคัญดังนี้ มีโนโตคอร์ด (Notochord) ซึ่งเป็นแกนค้ำจุนหรือพยุงกายเกิดขึ้นในระยะใดระยะ หนึ่งของชีวิต หรือตลอดชีวิต ในพวกสัตว์ชั้นสูงมีกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งแทน โนโตคอร์ด มีไขสันหลังเป็นหลอดยาวกลวงอยู่ทางด้านหลัง (Dorsal hollow nerve tube) เหลือทางเดินอาหารซึ่งแตกต่างจากสัตว์พวกไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีระบบประสาทอยู่ ทางด้านท้อง(Ventral nerve cord) ใต้ทางเดินอาหารและเป็นเส้นตัน

71 Phylum Chordata • มีช่องเหงือก (Gill slit) ในระยะใดระยะหนึ่งของชีวิต หรือตลอดชีวิตในพวกสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เช่น สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะมีช่องเหงือกตอนเป็น ตัวอ่อนเท่านั้น เมื่อโตขึ้นช่องเหงือกจะปิดส่วนปลามีช่องเหงือกตลอดชีวิต • มีหางเป็นกล้ามเนื้อ (Muscular post anal tail)

72 Phylum Chordata Phylum Chordata สามารถแบ่งได้เป็น 7 Class
1)Class Chondricthyes มีลักษณะดังนี้ (Chondro แปลว่า กระดูกอ่อน , Icthyes แปลว่า ปลา) สัตว์ในคลาสนี้มีโครงสร้างเป็นกระดูกอ่อนทั้งหมด มีทั้งครีบคู่และครีบเดี่ยว หนังหนามีเกล็ดขนาดเล็กและขนาดใหญ่

73 Phylum Chordata ปากอยู่ด้านล่าง ภายในปากมีฟันคม เป็นซี่เล็กๆ
ปากอยู่ด้านล่าง ภายในปากมีฟันคม เป็นซี่เล็กๆ มีการปฎิสนธิภายใน ปลาพวกนี้ไม่มีแผ่นปิดช่องเหงือก จึงเห็นช่องเหงือกได้ชัดเจน มีเกล็ดขนาดเล็ก บางชนิดออกลูกเป็นตัว เช่น ฉลาม

74 Phylum Chordata 2)Class Osteichthyes มีลักษณะดังนี้
(Osteo แปลว่า กระดูกแข็ง , Icthyes แปลว่า ปลา) สัตว์ในคลาสนี้เป็นปลากระดูกแข็งต่างๆ อาศัยอยู่ในนํ้าจืดและนํ้าเค็ม ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Class Osteichthyes ผิวหนังมีเกล็ดซ้อน (บางพวกไม่มีเกล็ด) มีครีบ 2 คู่ใช้ในการเคลื่อนที่และทรงตัว หายใจด้วยเหงือก มีเส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีอวัยวะสั่นสะเทือนอยู่ข้างลำตัว ลักษณะเป็นเส้น เรียกว่า เส้นข้างลำตัว (lateral line)

75 Phylum Chordata • มีรูจมูกเล็ก 1 คู่ ทำหน้าที่ดมกลิ่น
• มีรูจมูกเล็ก 1 คู่ ทำหน้าที่ดมกลิ่น • มีกระเพาะลม หรือที่เรียกว่า กระเพาะปลา ใช้ในการทรงตัว (Swim bladder) • มีแผ่นปิดช่องเหงือก เรียกว่า โอเพอคิวลัม (operchlum) ชึ่งจะปิดช่องเหงือกทำให้มองไม่เห็นช่องเหงือก

76 Phylum Chordata 3)Class Amphibian มีลักษณะดังนี้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
สัตว์ในคลาสนี้เป็นพวกแรกที่ปรับตัวจากการดำรงชีวิตในนํ้า และหายใจด้วยเหงือก มาเป็นสัตว์บกและหายใจด้วยปอด ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Class Amphibian • ไม่มีเกล็ด • ผิวหนังเปียกชื้นอยู่เสมอ เพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สในการหายใจ

77 Phylum Chordata มีขา 2 คู่ ผสมพันธุ์และว่างไข่ในนํ้า ไข่มีวุ้นหุ้มโดยรอบ ระยะที่เป็นตัวอ่อน อาศัยอยู่ในนํ้าหายใจด้วยเหงือก เช่น ลูกอ๊อด • มี Metamorphosis • อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนตามสิ่งแวดล้อม

78 Phylum Chordata 4)Class Reptil มีลักษณะดังนี้
สัตว์ในคลาสนี้เรียกว่า "สัตว์เลื้อยคลาน" เป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังที่ดำรงชีวิตได้ดีบนพื้นดิน วางไข่บนบก ไข่มีเปลือกแข็งหรือเหนียวเพื่อป้องกันอัตรายให้แก่ตัวอ่อน ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Class Reptile • มีขา 2 คู่ (สำหรับงูจะไม่เห็นขา แต่มีโครงที่แสดงว่าเคยมีขา) • ผิวหนังมีเกล็ดตัวแห้ง (Scale) • หายใจด้วยปอด

79 Phylum Chordata

80 Phylum Chordata 5)Class Avian มีลักษณะดังนี้
สัตว์ในคลาสนี้เป็นพวก "สัตว์ปีก" ได้แก่ นกต่างๆ ซึ่งมีรูปร่างที่เหมาะสมใน การเคลื่อนที่ไปในอากาศ ลักษณะสำคัญของ Class Avian • มีขา 1 คู่ • รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นส่วนปีกสำหรับบินร่างกายปกคลุมด้วยขนที่มีลักษณะ เป็นแผง • ปากเป็นงอยแข็ง และมีรูปแบบต่างกัน • ปอดมีถุงลม (air sac) หลายถุงติดต่อกับปอด เพื่อช่วยในการหายใจและ ระบายความร้อน

81 Phylum Chordata สัตว์ปีกที่บินไม่ได้มักมีขนาดใหญ่ วิ่งเร็ว บินได้ระยะสั้นๆ เช่น นกกระจอกเทศ นกกีวี นกอีมู • บางชนิดมีระยางค์คู่หลังคลายใบพาย (flipper) ใช้สำหรับว่ายนํ้า ขนตามลำตัวหนาแน่น ไม่มีถุงลม เช่น นกเพนกวิน • สำหรับนกที่บินไม่ได้ทั่วๆไปมีขนาดตั้งแต่เล็กมากจนถึงขนาดใหญ่ ปากและขาเปลี่ยนแปลงไปมากเพื่อการเหมาะสมในการดำรงชีวิต ตัวอย่างเช่น นกกระจอกเทศ นกกีวี นกอีมู นกเพนกวิน นกยุง ไก่ฟ้า นกกระสา ห่าน ไก่ป่า

82 Phylum Chordata

83 Phylum Chordata 6) Class mammal มีลักษณะดังนี้
มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานเช่นเดียวกับนก สัตว์ในกลุ่มนี้เป็นสัตว์เลือดอุ่น สามารถปรับตัวได้ดี มีความเฉลียวฉลาด สมองเจริญดี สามารถอยู่รอดได้ดีในสิ่งแวดล้อมต่างๆ จึงแพร่กระจายไปอย่างทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว

84 Phylum Chordata • มีนํ้านม (Millk) ที่ผลิตจากต่อมนํ้านมเลี้ยงลูก
• มีขนชนิดเป็นเส้น (Hair) ปกคลุมผิวลำตัว • มีกระบังลม (Diaphragm) • มีต่อมเหงื่อ (Sweat gland) • มีฟัน 2 ชุด คือ ฟันนํ้านม และฟันแท้

85 Phylum Chordata สัตว์ในคลาสนี้ แบ่งเป็นหลายพวก ได้แก่
สัตว์ในคลาสนี้ แบ่งเป็นหลายพวก ได้แก่ Monotremes พวกที่ออกลูกเป็นไข่ ไม่มีรก ไม่มีต่อมน้ำนม(น้ำนมหลั่งจากต่อมที่ด้านข้างลำตัว) มีหนังรวมเป็นกระจุก เมื่อตัวอ่อนฟักออกมาจากไข่แล้วจะอาศัยเลียนํ้านมกิน ได้แก่ ตุ่นปากเป็ด(Platypus) และ (Echidna) ตัวกินมดขนเม่น ตุ่นปากเป็ด

86 Phylum Chordata Marsupial พวกที่ออกลูกเป็นตัว มีมดลูกแต่ไม่มีรก และ มีถุงหน้าท้องใช้เลี้ยงลูกเมื่อลูกอ่อนคลาน ออกมาจากท้องแม่จะเข้าสู่ถุงหน้าท้องของแม่ เช่น จิงโจ้ (kangaroo) วอมแบต (wombat) หมีโคอาลา (koala bear) หมีโคอาลา วอมแบต จิงโจ้

87 Phylum Chordata Euutherian พวกที่ออกลูกเป็นตัวอีกกลุ่มหนึ่ง มีรกติดต่อระหว่างแม่และลูก ตัวอ่อนเจริยในมดลูกของแม่ เช่น ค้างคาวกิตติ เป็นสัตว์ปีกที่มีขนาดเล็กที่สุด , ช้าง เป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด , วาฬ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัย อยู่ในนํ้าที่ใหญ่ที่สุด

88 THE END…


ดาวน์โหลด ppt อาณาจักรสัตว์ Kingdom Animalia.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google