ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การวัดและทดสอบการทำงานของวงจรเครื่องส่งวิทยุ
หน่วยที่ 12 การวัดและทดสอบการทำงานของวงจรเครื่องส่งวิทยุ
3
เครื่องมือวัดและทดสอบ
สาระการเรียนรู้ เครื่องมือวัดและทดสอบ ที่ใช้ในเครื่องส่งวิทยุ
4
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายวิธีการใช้งานเครื่องมือวัดต่าง ๆ ได้ 2. เลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงานได้
5
เครื่องมือวัด มีความจำเป็น อย่างไร
6
เครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในเครื่องส่งวิทยุ
เอสดับเบิลยูอาร์มิเตอร์ ( SWR Meter ) ดิพ มิเตอร์ ( Dip Meter ) อิมพีแดนซ์ มิเตอร์ ( Impedance Meter )
7
เครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในเครื่องส่งวิทยุ
วัตต์ มิเตอร์ ( Watt Meter ) เครื่องวัดความเข้มสนามไฟฟ้า ( Field Strength Meter ) เครื่องวิเคราะห์สเปกตรัม ( Spectrum Analyzer )
8
ดัมมี่ โหลด ( Dummy Load )
เครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในเครื่องส่งวิทยุ ดัมมี่ โหลด ( Dummy Load )
9
เอสดับเบิลยูอาร์มิเตอร์ ( SWR Meter )
ใช้สำหรับการแมตซ์อิมพีแดนซ์ของ ระบบสายอากาศในระบบวิทยุรับส่ง
10
VSWR คือ อะไร VSWR คือ อัตราส่วนของแรงดันสูงสุดและแรงดันต่ำสุดของรูปคลื่นนิ่งบนสายนำสัญญาณ VSWR (Voltage Standing wave Ratio) อัตราส่วนนี้เป็นค่าวัดปริมาณที่โหลดผิดไปจากสภาวะที่โหลดแมตช์มากน้อยเท่าไร
11
VSWR หาได้จากสมการ หรือ
12
การต่อ VSWR มิเตอร์ ใช้งาน
การใช้ SWR Meter โดยต่ออนุกรม กับสายนำสัญญาณระหว่างเครื่องส่งกับสายอากาศ เริ่มแรกให้ปรับกำลังส่งของเครื่องส่งให้ออกมากที่สุดและปรับ Calibrateโดยปรับความไวของ SWR Meter ให้อ่านเต็มสเกลแล้วบิดสวิตช์อ่านค่า VSWR
13
ดิพ มิเตอร์ ( Dip Meter )
1. ใช้หาค่าความถี่เรโซแนนซ์ของคอยล์ และตัวเก็บประจุที่ต่อขนานกัน 2. ใช้หาค่าคอยล์และตัวเก็บประจุที่ไม่ทราบค่า 3. ใช้หาค่าความถี่ของวงจรออสซิลเลเตอร์ 4. ใช้เป็นตัวกำเนิดความถี่ในการปรับแต่งภาครับสัญญาณวิทยุ 5. ใช้วัดความถี่เรโซแนนซ์ของสายอากาศ
14
การใช้ดิพมิเตอร์หาค่าความถี่เรโซแนนซ์ของ LC ที่ต่อขนานกัน
1. เลือกคอยล์ตามย่านความถี่ที่ต้องการ แล้วเสียบคอยล์ลงในช่องเสียบบนตัวดิพมิเตอร์ 2. ตั้งฟังก์ชันสวิตซ์ให้อยู่ในตำแหน่ง OSC ( ออสซิลเลต ) 3. ปรับปุ่มความไว ( Sensitivity ) จนเข็มของดิพมิเตอร์ขึ้นสูงสุด 4. วางตำแหน่งคอยล์ของมิเตอร์ไว้ใกล้ ๆ กับ LC ที่ต้องการวัดหาค่าความถี่เรโซแนนซ์หระยะห่างประมาณ 1 เซนติเมตร 5. หมุนปรับความถี่ของดิพมิเตอร์ให้ความถี่ของออสซิลเลเตอร์เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ สังเกตที่เข็มมิเตอร์ เมื่อใดก็ตามที่ความถี่ออสซิลเลเตอร์ของดิพมิเตอร์ตรงกับความถี่เรโซแนนซ์ของ LC เข็มของมิเตอร์จะตกลงจากค่าเดิมจนเห็นได้ชัด ให้ปรับจนกระทั่งเข็มลดลงต่ำสุด 6. อ่านค่าความถี่เรโซแนนซ์ของ LC ได้จากดิพมิเตอร์
15
อิมพีแดนซ์ มิเตอร์ ( Impedance Meter )
16
การใช้งานอิมพีแดนซ์ มิเตอร์
ต่ออิมพีแดนซ์ที่ไม่ทราบค่า เข้าที่จุดต่อทางด้านขวามือ แล้วทำการป้อนแหล่งกำเนิดสัญญาณความถี่ที่ต้องการเข้าที่จุดต่อด้านซ้ายมือของอิมพีแดนซ์มิเตอร์ เสร็จแล้วปรับค่าความจุที่ปุ่มปรับ จนกระทั่งเข็มมิเตอร์แสดงค่าเป็นศูนย์ แล้วค่อยอ่านค่าอิมพีแดนซ์ของสายอากาศที่หน้าปัทม์
17
วัตต์ มิเตอร์ ( Watt Meter )
ใช้วัดกำลังงานไฟฟ้าของเครื่องส่งวิทยุ จากเครื่องส่งวิทยุ ผ่านสายส่งไปยังสายอากาศ
18
เครื่องวัดความเข้มสนามไฟฟ้า ( Field Strength Meter )
ใช้สำหรับวัดและทดสอบความเข้มของสนามไฟฟ้าที่แพร่กระจายคลื่นออกจากสายอากาศ ณ ที่ตำแหน่งใด ๆ หรือบริเวณที่ต้องการทราบความเข้มของสนามไฟฟ้า จากสายอากาศที่ต้องการทดสอบ
19
เครื่องวิเคราะห์สเปกตรัม
( Spectrum Analyzer ) นำไปใช้วัดแถบความถี่ของสัญญาณได้ ซึ่งออสซิลโลสโคปที่ใช้งานโดยทั่วไปไม่สามารถวัดและแสดงผลออกมาได้
20
ดัมมี่ โหลด ( Dummy Load )
21
ดัมมี่ โหลด ( Dummy Load )
22
ดัมมี่โหลด เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แทนสายอากาศในขณะที่ทำการปรับแต่งเครื่องส่งวิทยุ หรือต้องการตรวจสอบกำลังส่ง จุดประสงค์ของการใช้งาน ดัมมี่โหลด คือ เพื่อไม่ให้คลื่นวิทยุแพร่กระจายออกไปรบกวนสถานีอื่น หรือ ไม่ให้คลื่นวิทยุซึ่งประกอบด้วย เสียงพูด หรือ เสียงดนตรีที่ไม่พึงประสงค์ ขณะทำการปรับแต่งไม่ให้แพร่กระจายคลื่นออกไปให้เครื่องรับ
23
การใช้ดัมมี่โหลด จะต้องพิจารณาคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. ย่านความถี่ใช้งาน จะต้องมีความเหมาะสมกับความถี่ของเครื่องส่ง 2. อิมพีแดนซ์ของดัมมี่โหลด ปกติจะต้องเท่ากับอิมพีแดนซ์ขาออกของเครื่องส่ง 3. กำลังสูงสุดที่ทนได้ของดัมมี่โหลด จะต้องไม่น้อยกว่ากำลังของเครื่องส่ง
24
ครูและนักเรียนช่วยกันสรุป
25
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.