งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ชนิดของคำในภาษาไทย วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ชนิดของคำในภาษาไทย วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ชนิดของคำในภาษาไทย วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
ชนิดของคำในภาษาไทย วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ผู้จัดทำ ครูวีรพงศ์ วิเศษสวัสดิ์

2 ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานที่ ๔.๑ ผลการเรียนรู้ที่ ๕ เข้าใจในชนิดของคำ และหน้าที่ของคำในภาษาไทย

3 ชนิดของคำในภาษาไทย ชนิดของคำแบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ดังนี้ ๑. คำนาม
ชนิดของคำแบ่งออกเป็น  ๗  ชนิด    ดังนี้            ๑.  คำนาม           ๒.  คำสรรพนาม            ๓.  คำกริยา          ๔.  คำวิเศษณ์             ๕.  คำบุพบท           ๖.  คำสันธาน           ๗.  คำอุทาน

4 คำนาม  หมายถึง  คำที่ใช้เรียก คนสัตว์  สิ่งของ  สถานที่  อาการ  ลักษณะ  ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม  เป็นต้น ตัวอย่าง ฉันอยากไปเที่ยวประเทศฝรั่งเศส

5 อนุธิดาเป็นคนสวยเธอจึงเป็นที่รักของทุกคน
  คำสรรพนาม หมายถึง   คำที่ใช้แทนนามหรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวข้อความนั้นซ้ำอีก     เช่น  ฉัน  เรา  ดิฉัน  กระผม  กู  คุณ   ท่าน  ใต้เท้า  เขา  มัน    ตัวอย่าง อนุธิดาเป็นคนสวยเธอจึงเป็นที่รักของทุกคน

6 อาจารย์คนนี้พูดมากจนนักศึกษาหลับทั้งห้อง
  คำกริยา หมายถึง  คำแสดงอาการ  การกระทำ  หรือบอกสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม  เพื่อให้ได้ความ   เช่น วิ่ง   บิน   ตาย อ่าน  หัวเราะ  เป็นต้น ตัวอย่าง อาจารย์คนนี้พูดมากจนนักศึกษาหลับทั้งห้อง

7 ฉันมีเพื่อนอยู่หนึ่งคนที่กินจุ
  คำวิเศษณ์ หมายถึง  คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม  สรรพนาม  คำกริยา  หรือคำวิเศษณ์  เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น    ตัวอย่าง  ฉันมีเพื่อนอยู่หนึ่งคนที่กินจุ

8 บ้านของฉันอยู่ที่อำเภอทุ่งสง
  คำบุพบท หมายถึง  คำที่ใช้นำหน้านาม  คำสรรพนาม  คำกริยา  หรือคำวิเศษณ์  เพื่อบอกตำแหน่งของคำ เหล่านั้นและแสดงความสัมพันธ์กันระหว่างคำหรือประโยค ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร     ตัวอย่าง บ้านของฉันอยู่ที่อำเภอทุ่งสง

9 เพราะว่าอากาศหนาวพวกเราจึงไม่สบาย
คำสันธาน หมายถึง  คำที่ใช้เชื่อมประโยค  หรือข้อความกับข้อความ เพื่อทำให้ประโยคนั้นรัดกุม กระชับและสละสลวย  เช่น คำว่า  และ   แล้ว  จึง  แต่  หรือ  เพราะ  เหตุเพราะ  เป็นต้น   ตัวอย่าง เพราะว่าอากาศหนาวพวกเราจึงไม่สบาย

10 ตัวอย่าง ว้าย ! ใครทำแก้วแตก
  คำอุทาน หมายถึง  คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ  ดีใจ  เสียใจ  ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด  เช่น  อุ๊ย  เอ๊ะ  ว้าย  โธ่  อนิจจา  อ๋อ  เป็นต้น  ตัวอย่าง ว้าย !   ใครทำแก้วแตก

11 โชคดีครับ


ดาวน์โหลด ppt ชนิดของคำในภาษาไทย วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google