ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKanya Meesang ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
การพัฒนาคุณภาพ ศูนย์องค์รวมกลุ่มไทรงามปฐมบท เรื่องเล่าศรีทนได้ โรงพยาบาลพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
2
เรื่องเล่า ศรีทนได้ เมื่อปี 2549 เริ่มแรก ยังไม่ได้จัดตั้งศูนย์องค์รวมเริ่มมีคลินิกยาต้านไวรัส ข้าพเจ้าได้เริ่มมารับงานเอดส์ ผู้ติดเชื้อถูกรังเกียจจากญาติและชุมชนเสียชีวิตญาติไม่ยอมนำไปเผา ไปบวชถูกเผากุฏิไล่ รู้จักกับผู้ติดเชื้อคนหนึ่งชื่อป้าศรี ญาติพี่น้องเห็นว่าอายุมากแต่ยังไม่มีครอบครัว จึงชักนำให้แต่งงานกับผู้ชายคนหนึ่ง หลังจากนั้น ป้าศรีตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์พบตัวเองติดเชื้อเอชไอวี ลูกเสียชีวิตหลังคลอด ต่อมาสามีเสียชีวิต ถามป้าศรีโกรธสามีไหมที่ติดเชื้อ ป้าศรีบอกว่าไม่โกรธ เพราะคิดว่าสามีคงไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ ไม่โกรธหรือโทษญาติ เพราะเข้าใจว่าเขาหวังดีป้าศรี
3
เรื่องเล่า ศรีทนได้(ต่อ)
ป้าศรีถูกรังเกียจจากชุมชน ป้าศรีก็อดทน หันหน้าไปพึ่งธรรมมะเข้าวัดถูกญาติธรรมที่วัดรังเกียจป้าศรีก็อดทน มาพบแพทย์รักษาตัว กินยาที่โรงพยาบาลพิมาย เข้ามาเป็นแกนนำ และเรียนรู้เกี่ยวโรคเอชไอวี การดูแลและการปฏิบัติตัว หลังจากมีความรู้ พร้อมมาทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเพื่อนผู้ติดเชื้อ
4
เรื่องเล่า ศรีทนได้(ต่อ)
ป้าศรีพบกับผู้ป่วยชายอายุ 46 ปีรายหนึ่งป่วยด้วยเอชไอวีเต็มขั้นป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนเป็นวัณโรคที่ลำไส้ มีอาการท้องเสีย ตลอดมานอนโรงพยาบาลและกับไปอยู่บ้านเป็นพักๆ อาการทรุดลงเรื่อยๆ จากการไปเยี่ยม ที่ตึกผู้ป่วยชายกับป้าศรีพบว่าผู้ป่วยเป็นคนจังหวัดนนทบุรี มีพี่ชายรับราชการ ทำงานที่กรุงเทพ กับภรรยา เป็นคน พิมาย มีบุตรด้วยกัน 2 คน เมื่อป่วยพี่ชายก็นำมารักษาที่โรงพยาบาลพิมายและให้เหตุผลว่าไม่สะดวกในการดูแลซึ่งทราบมาว่าผู้ป่วยถูกรังเกียจจากญาติ
5
เรื่องเล่า ศรีทนได้(ต่อ)
ผู้ป่วยจึงถูกส่งให้มาอยู่กับแม่ของภรรยาเนื่องจากภรรยาต้องทำงาน ตอนแรกแม่ภรรยาก็ดูแลดี แต่พอคิดว่าผู้ป่วยคงเป็นโรคนี้ก็เริ่มกลัวและไม่กล้าดูแล จากการไปเยี่ยมบ้าน พบว่า ผู้ป่วยถูกให้นอนอยู่ในห้องปิดประตูห้องไว้เอาข้าวเอาน้ำไปหย่อนให้ทาน ผู้ป่วยถ่ายเลอะเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอนเต็มไปหมด มีแผลที่ก้น เห็นแล้วรู้สึกแย่มากทั้งสภาพผู้ป่วยและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ป้าศรีและข้าพเจ้าจึงมาปรึกษากัน ตั้งคำถามว่า จะดูแลผู้ป่วยรายนี้อย่างไร
6
เรื่องเล่า ศรีทนได้(ต่อ)
ในสถานการณ์ที่ญาติ รังเกียจไม่เข้าใจ ญาติถามว่ามีวิธีไหนที่ทำให้ผู้ป่วยไปอย่างสงบหรือไม่ ฟังแล้วเศร้าใจจริงๆไม่ใช่เฉพาะคนในครอบครัว เพื่อนบ้านก็เช่นกันที่รังเกียจ จึงได้ร่วมวางแผนกับแพทย์ แกนนำ พยาบาลในตึกผู้ป่วยใน เพื่อวางแผนการดูแล เริ่มจากการแก้ปัญหาเรื่องความกลัวของญาติ ทำความเข้าใจว่าไม่ได้ติดกันง่ายๆทำให้ดูเป็นตัวอย่าง โดยเริ่มจากทำความสะอาดของผู้ป่วยโดยการอุ้มไปอาบน้ำสระผมร่วมกับแกนนำ ให้ญาติเห็นว่าเราไม่กลัวติดและป้องกันอย่างไรถึงจะไม่ติด ช่วยกันทำความสะอาดบ้านที่เต็มไปด้วยอุจจาระ
7
เรื่องเล่า ศรีทนได้(ต่อ)
ป้าศรีและเพื่อนแกนนำผลัดเวรไปช่วยดูแลที่บ้าน ทำแผลที่บ้าน บางช่วงที่ผู้ป่วยแย่ลงประสานงานกับแพทย์ นำมานอนรพ.เพื่อให้สารนน้ำดีขึ้นก็กลับไปดูแลต่อที่บ้านผู้ป่วยก็ยังท้องเสีย ช่วยจัดซื้อผ้าอ้อม พบว่าญาติมีปัญหาเรื่องการเงินจึงติดต่อญาติที่นนทบุรี มาร่วมวางแผนการดูแลโดยให้คำปรึกษา และ สร้างความเข้าใจ กับญาติเรื่องการ การดูแลและข้อจำกัดด้านการเงินของญาติที่ดูแลผู้ป่วย ญาติที่นนทบุรีเข้ามาร่วมในการดูแลส่งค่าใช้จ่ายมาให้ เป็นค่าซื้อผ้าอ้อมค่าอาหาร
8
เรื่องเล่า ศรีทนได้(ต่อ)
ญาติที่ดูแลผู้ป่วยยอมเข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยมากขึ้น และ เริ่มไม่รังเกียจ ผู้ป่วยอาการทรุดลงเรื่อยได้มีการพูดคุยเรื่องแผนการรักษาของแพทย์และผลการรักษา ผู้ป่วยขอกลับไปรักษาที่บ้าน มีการประสานรถโรงพยาบาลไปส่งกลับบ้าน และได้มีการติดตามเยี่ยมบ้าน 2 วันต่อครั้งพบว่าผู้ป่วยยังท้องเสีย ทานได้น้อยลง แต่มีกำลังใจที่ดีมีความสุขมากขึ้นเพราะญาติ ภรรยา บุตรมาอยู่ใกล้ๆดูแลด้วยความเข้าใจ ญาติทางนนทบุรีเป็นกำลังสำคัญเรื่องค่าดูแล มีการทำบุญต่ออายุบังสุกุลเป็นตามความเชื่อ และเพื่อนบ้านเห็น การดูแลของป้าศรีและเพื่อน ก็เริ่มไม่รังเกียจเข้ามาเยี่ยม และมาร่วมทำบังสุกุลเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยมีกำลังใจ ที่ดีและจากไปอย่างสงบพวกเราร่วมทำพิธีส่งดวงวิญญาณผู้ป่วยสู่สุขคติ
9
เรื่องเล่า ศรีทนได้(ต่อ)
ป้าศรี ได้นำมาสู่แรงบันดาลใจในการดูแลให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีการประสานงานทีมสหสาขาวิชาชีพ ญาติ ศูนย์เฉลิมพระเกียติ ร่วม ในการดูแล เป็นต้นแบบในการดำเนินงานศูนย์องค์รวมกลุ่มไทรงามเพื่อนพิมาย เพื่อจะดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจและ บอกว่าทำทุกวิถีทางให้ผู้ป่วยเอช ไอวี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ถึงแม้ระยะสุดท้ายของชีวิต ป้าศรีดูแลสุขภาพตนเอง ไม่เคยป่วยด้วยโรคแทรกซ้อน กินยาสม่ำเสมอ ปฏิบัติธรรม เป็นตัวอย่างที่ดีกับเพื่อน เป็นกัลยาณมิตรที่ดีของเจ้าหน้าที่ ป้าศรีมีสุขภาพดีมาตลอด หลังการดูแลเพื่อนในกลุ่ม ป้าศรีได้ทำงานให้ปรึกษาเพื่อน เยี่ยมบ้านเพื่อน จัดประชุมให้ความรู้เพื่อน หลังการดำเนินงานศูนย์องค์รวม ลดอัตราการเสียชีวิต ของเพื่อนผู้ติดเชื้อ ปี 2553 เหลือร้อยละ 2.43 ปี 2554 ร้อยละ 0.66 ปี 2555 ร้อยละ 0.22
10
เรื่องเล่า ศรีทนได้(ต่อ)
ชุมชนที่เคยรังเกียจ กลับมาเป็นทีม ช่วยให้งบสนับสนุนในการให้ป้าศรี ให้ความรู้ประชาชนในชุมชน ญาติธรรมที่วัดที่เคยรังเกียจ กลับมาเป็นผู้ช่วยดูแลป้าศรี เมื่อไปวัดและเป็นห่วงเสมอเมื่อป้าศรีหายไปไม่ได้ไปวัด ไม่มีผู้ป่วยที่ญาติทอดทิ้งไม่ดูแล สามารถบวชได้ เพื่อนผู้ติดเชื้อบอกว่าป้าศรีเป็นหมอใจที่ช่วยดึงเขาขึ้นมาหลังกำลังจะจมน้ำ สำหรับข้าพเจ้าป้าศรีเป็นเหมือนหมอที่คอยเยียวยาด้านจิตใจ เวลาที่เหนื่อยท้อ กลับมามองป้าศรียังพบว่าป้าศรียังคงมาทำงานทุกวัน ไม่มีวันหยุดราชการ
11
เรื่องเล่า ศรีทนได้(ต่อ)
ปัจจุบันป้าศรียังคงดำเนินกิจกรรม เหล่านี้ถึงแม้ว่าจะพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งเต้านม ไปให้ยาเคมีบำบัด ป้าศรีได้ใช้วิกฤตินี้มาทำกิจกรรมอาสาสมัครมิตรภาพบำบัดดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ร่วมกับพระและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพิมาย วันหยุดราชการ ป้าศรีบอกว่าเป็นหน้าที่อยากทำให้เพื่อนในศูนย์องค์รวม มีสุขภาพแข็งแรง อยากทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเป็นมิตรกับความตายและเข้าสู่ระยะสุดท้ายอย่างสงบ จะทำจนกว่าจะหมดลมหายใจ เรื่องเล่า ศรีทนได้(ต่อ) ปัจจุบันป้าศรียังคงดำเนินกิจกรรม เหล่านี้ถึงแม้ว่าจะพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งเต้านม ไปให้ยาเคมีบำบัด ป้าศรีได้ใช้วิกฤตินี้มาทำกิจกรรมอาสาสมัครมิตรภาพบำบัดดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ร่วมกับพระและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพิมาย ป้าศรีบอกว่าเป็นหน้าที่อยากทำให้เพื่อนในศูนย์องค์รวม มีสุขภาพแข็งแรง อยากทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเป็นมิตรกับความตายและเข้าสู่ระยะสุดท้ายอย่างสงบ จะทำจนกว่าจะหมดลมหายใจนี่แหละแกนนำในดวงใจของข้าพเจ้า “ศรีทนได้”
12
ยุทธศาสตร์ฯเอดส์ชาติ พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙
วิสัยทัศน์สู่เป้าหมายไม่มีผู้ติดเชื้อฯรายใหม่ เป้าหมาย พ.ศ. ๒๕๕๙ จำนวน ผู้ติดเชื้อฯรายใหม่ลดลง ๒ ใน ๓ จากที่คาดประมาณ อัตราการติดเชื้อฯ เมื่อแรกเกิด น้อยกว่า ร้อยละ ๒ วิสัยทัศน์สู่เป้าหมายไม่มีการตายเนื่องจากเอดส์ เป้าหมาย พ.ศ. ๒๕๕๙ ผู้ติดเชื้อฯ ทุกคนในแผ่นดินไทย เข้าถึงการดูแลรักษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน จำนวนผู้ติดเชื้อฯเสียชีวิต ลดลงมากกว่าร้อยละ ๕๐ จำนวนผู้ติดเชื้อฯเสียชีวิตเนื่องจาก วัณโรค ลดลงมากกว่าร้อยละ ๕๐ วิสัยทัศน์สู่เป้าหมายไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติ เป้าหมาย พ.ศ. ๒๕๕๙ กฎหมายและนโยบาย ที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการป้องกันดูแลรักษาและบริการรัฐ ได้รับการแก้ไข การทำงานเอดส์ทุกด้านมีประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการเคารพสิทธิมนุษยชน และสนองตอบต่อความจำเพาะกับเพศสภาวะ จำนวนการถูกเลือกปฏิบัติหรือการละเมิดสิทธิของผู้ติดเชื้อฯและกลุ่มประชากรเป้าหมายหลัก ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ 12
13
สรุปภาพรวมสถานการณ์โรคเอดส์อำเภอพิมาย
จำนวน ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ (สะสม ธ.ค.55) 433 ผู้เสียชีวิต( สะสม ธ.ค.55) 43 ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ อายุ < 15ปี(สะสม ธ.ค. 55) 7 ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์อายุ <15 ปี เสียชีวิต(สะสม ธ.ค. 55 ) 2 อัตราการถ่ายทอดเชื้อ เอช ไอ วี จากแม่สู่ลูก (ปี 18 ธ.ค. 55 ) 0% การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ (ข้อมูล 18 ธ.ค. 55 ) 267 การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์อายุ < 15 ปี 2554 4 เด็กที่เกิดมีชีพจากแม่ติดเชื้อ เอช ไอ วี(สะสม ปี เมย.2555 ) 69
14
สถานการณ์การผู้ป่วย HIV+TB
ปี ป่วย(คน) ตาย(คน) ปี 2552 8 3 ปี 2553 6 2 ปี 2554 1 ปี 2555 5
15
รูปกิจกรรมการดำเนินงานของป้าศรีและเพื่อน
16
ทีมสหสาขาวิชาชีพ พี่เลี้ยงป้าศรี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.