งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

(Artificial insemination) สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "(Artificial insemination) สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 (Artificial insemination) สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์
ประโยชน์และความสำคัญการผสมเทียม (Artificial insemination) จัดทำโดย สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

2 (Artificial insemination)
การผสมเทียม (Artificial insemination) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง การผสมพันธุ์ด้วยวิธีฉีดน้ำอสุจิเข้าอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศเมีย โดยไม่ได้ร่วมสัมพันธ์ทางเพศกัน

3 การผสมเทียมยังหมายถึง การขยายพันธุ์สัตว์ ด้วยเทคนิคที่สามารถป้องกันการแพร่โรคทางการสืบพันธุ์

4 การผสมเทียมในประเทศไทย
ในปี พ.ศ ศาสตราจารย์นีลล์ ลาเกอร์ลอฟ ชาวสวีเดน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากเอฟ.เอ.โอ. ได้เดินทางมาสำรวจการเลี้ยงปศุสัตว์ในประเทศไทย

5 จากนั้นได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายโครงการผลิตโคนมลูกผสมด้วยวิธีการผสมเทียม

6 ปี พ.ศ. 2497 กรมปศุสัตว์ได้ส่งข้าราชการ 2 นายคือ นายสัตวแพทย์ทศพร สุทธิคำ และนายสัตวแพทย์อุทัย สาลิคุปต์ ไปศึกษา ณ ราชวิทยาลัยสัตวแพทย์ กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชา ชาติร่วมกับรัฐบาลสวีเดน ได้เปิดหลักสูตรฝึก อบรมวิชาการสืบพันธุ์ รวมทั้งการผสมเทียมขึ้นเป็นรุ่นแรก

7 นายสัตวแพทย์ทศพร สุทธิคำ ศึกษาวิชาการสืบพันธุ์และผสมเทียม ณ ประเทศสวีเดนสำเร็จ
จากนั้นท่านเริ่มต้นด้วยการพยายามก่อตั้งสถานีผสมเทียม เพื่อให้บริการผสมเทียมแก่ปศุสัตว์ของเกษตรกร

8

9 พยายามถ่ายทอดความรู้ด้านการผสมเทียมแก่นักวิชาการของกรมปศุสัตว์
ปี พ.ศ กรมปศุสัตว์จึง ได้เปิดสถานีผสมเทียมแห่งแรก ที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้มอบหมายให้นายสัตวแพทย์ทศพร สุทธิคำ ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าสถานีผสมเทียม

10 ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2499 นายสัตวแพทย์ทศพร ได้ผสมเทียมให้แม่โคตัวแรก ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแม่โคของนายนคร ผดุงกิจ โคดังกล่าวได้ตั้งท้องและต่อมาคลอดลูกเป็นลูกโคเพศเมีย ในวันที่ 9 กันยายน ของทุก ๆ ปี จึงถือเป็นวันกำเนิดงานผสมเทียมของประเทศไทย

11

12

13

14 การปฏิบัติงานผสมเทียมในสมัยแรก ๆ
ทำการรีดน้ำเชื้อพ่อพันธุ์โคนม ผสมด้วยน้ำยาละลายน้ำเชื้อประเภทไข่แดงซิเตรท (Egg Yolk Citrate) น้ำเชื้อที่ใช้เป็นน้ำเชื้อสด (Fresh Semen) พ่อพันธุ์โคนมที่ใช้รีดน้ำเชื้อระยะแรก ๆ คือ พ่อพันธุ์เรดเดน , บราวน์สวิส , เจอร์ซี่

15 ปีงบประมาณ 2546(ตุลาคม 2545) ได้มีการเปลี่ยนกรอบส่วนราชการทั้งประเทศ
กองผสมเทียม ได้ยกฐานะเป็น สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ ประกอบด้วย 1 ฝ่าย 4 กลุ่ม และ 14 ศูนย์ ซึ่งทั้งหมด ขึ้นตรงกับสำนัก

16 1 ฝ่าย ได้แก่ -ฝ่ายบริหารทั่วไป 4 กลุ่ม ได้แก่ -กลุ่มวิจัยและผลิตน้ำเชื้อ -กลุ่มพัฒนาระบบข้อมูล -กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปศุสัตว์ -กลุ่มวิจัยการผสมเทียมและความสมบูรณ์พันธุ์

17 15 ศูนย์ ได้แก่ -ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อ 4 ศูนย์ -ศูนย์ย้ายฝากตัวอ่อน 1 ศูนย์ -ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพ 10 ศูนย์

18 ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อ 4 ศูนย์ ได้แก่
-ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์ผสมเทียมลำพญากลาง -ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อโคพันธุ์โครงการหลวงอินทนนท์ -ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ -ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อสุกรราชบุรี

19 ศูนย์ฯ ET 1 ศูนย์ -ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อน

20 ศูนย์ผสมเทียม 10 ศูนย์ฯ -ศูนย์วิจัยการผสมเทียมฯ สระบุรี -ศูนย์วิจัยการผสมเทียมฯ ชลบุรี -ศูนย์วิจัยการผสมเทียมฯ นครราชสีมา -ศูนย์วิจัยการผสมเทียมฯ ขอนแก่น -ศูนย์วิจัยการผสมเทียมฯ อุบลราชธานี

21 -ศูนย์วิจัยการผสมเทียมฯ เชียงใหม่
-ศูนย์วิจัยการผสมเทียมฯ พิษณุโลก -ศูนย์วิจัยการผสมเทียมฯ ราชบุรี -ศูนย์วิจัยการผสมเทียมฯ สุราษฎร์ธานี -ศูนย์วิจัยการผสมเทียมฯ สงขลา

22 ลำดับรายนามผู้อำนวยการกองผสมเทียม
1.นายสัตวแพย์ทศพร สุทธิคำ พ.ศ พ.ศ.2522 2.นายสัตวแพทย์ภาษย์ สาริกะภูติ พ.ศ พ.ศ.2530 3.นายสัตวแพทย์ประเสริฐ ศงสะเสน พ.ศ พ.ศ.2537 4.สัตวแพทย์หญิงปาริฉัตร สุขโต พ.ศ พ.ศ.2541 5.นายสัตวแพทย์สุรจิต ทองสอดแสง พ.ศ พ.ศ.2544 6.นายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ พ.ศ พ.ศ.2545

23 ลำดับรายนามผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์
นายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ พ.ศ ปัจจุบัน

24 การผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ
ในธรรมชาติแม่โคที่พร้อมรับการผสมพันธุ์ จะแสดงอาการที่เรียกว่าเป็นสัด การเป็นสัดเป็นอาการที่โคยอมรับการผสมพันธุ์จากพ่อพันธุ์

25 ขณะที่แม่โคเริ่มแสดงอาการเป็นสัด แม่โคจะปล่อยสารเรียกว่า ฟีโรโมน(pheromone)
ฟีโรโมน เป็นตัวชักจูงให้พ่อพันธุ์สนใจแม่โค และคอยติดตามเพื่อหาโอกาสผสมพันธุ์

26 ระยะต้น ๆ ของการเป็นสัด แม่โคจะยังไม่ยอมให้พ่อพันธุ์ผสม ซึ่งเป็นไปตามกลไกตามธรรมชาติของฮอร์โมนในตัวแม่โคเอง ระยะต้น ๆ ฟอลลิเคิล(Follicle)บนรังไข่ของแม่โค ยังไม่สุกหรือแก่ ฮอร์โมน เอสโตรเจนยังมีน้อย แม่โคจึงยังไม่ยอมรับการผสม คือยังไม่ยืนนิ่งให้พ่อพันธุ์ขึ้นขี่

27 ผ่านไประยะหนึ่ง ฟอลลิเคิลบนรังไข่ของแม่โคสุกหรือแก่เต็มที่ ฮอร์โมน เอสโตรเจนที่สร้างจากฟอลลิเคิลมีปริมาณมาก แม่โคจะยืนนิ่งให้พ่อพันธุ์ขึ้นขี่

28 เมื่อแม่โคยืนนิ่ง พ่อพันธุ์จะขึ้นขี่ อวัยวะเพศของพ่อพันธุ์จะยื่นยาวออกมาจากถุงหุ้ม(prepuce) พร้อมทั้งสอดส่ายหารูเปิดของอวัยวะเพศแม่โค หลังจากพ่อพันธุ์สอดอวัยวะเพศเข้าไปในช่องคลอดของแม่โค พ่อพันธุ์จะกระแทกอย่างแรง(trust) และหลั่งน้ำเชื้อออกมาในช่องคลอด(Vagina) แม่โค

29 การหลั่งน้ำเชื้อครั้งแรก ๆ จะมีน้ำเชื้อประมาณ 6 ซีซี มีอสุจิประมาณ 7,000 ล้านตัว
พ่อพันธุ์จะใช้เวลาในการผสมต่อครั้งไม่ถึง 20 วินาที

30

31 พ่อพันธุ์จะพยายามหาโอกาสผสมพันธุ์เรื่อยไป ตามความแข็งแรงของพ่อพันธุ์ หรือจนกว่าแม่โคจะสิ้นสุดอาการเป็นสัด พ่อพันธุ์จะขึ้นขี่แม่โคและปล่อยน้ำเชื้อประมาณ 3-5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน นาที ความเข้มข้นของตัวอสุจิจากน้ำเชื้อที่หลั่งออกมาในการผสมครั้งหลัง ๆ จะลดน้อยลง

32 น้ำเชื้อของพ่อพันธุ์จะถูกปล่อยที่ช่องคลอด(Vagina)ของแม่โค
ตัวอสุจิจะเดินทางจากช่องคลอดเพื่อไปยังท่อนำไข่ ซึ่งหากน้ำเชื้อพบกับไข่บริเวณแอมพูล่า(Ampulla)ของท่อนำไข่ ตัวอสุจิจะเข้าผสมกับไข่เกิดการปฏิสนธิ

33

34 หากน้ำเชื้อเคลื่อนที่ถึงท่อนำไข่ แต่ไม่พบกับไข่ น้ำเชื้อจะเคลื่อนที่เลยไปถึงปากแตรและตกลงไปในช่องท้อง ในการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิไปที่ท่อนำไข่ เกิดจากการบีบตัวของมดลูก และแรงว่ายของตัวอสุจิเอง รวมถึงเมือกใสจากระบบสืบพันธุ์ของแม่โคที่สร้างออกมาขณะเป็นสัดด้วย

35 การเคลื่อนที่ของอสุจิไปที่ท่อนำไข่ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1.ลักษณะเร็ว(rapid phase) ตัวอสุจิจะเดินทางไปถึงท่อนำไข่โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที 2.ลักษณะช้า(prolong phase) ตัวอสุจิเดินทางไปถึงท่อนำไข่ใช้เวลาเป็นชั่วโมงหรือหลาย ๆ ชั่วโมง

36 -ลักษณะเร็ว พบอสุจิในท่อนำไข่ของแม่โค หลังจากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติหรือจากการผสมเทียม ในเวลาเพียงแค่ 2-3 นาที อสุจิเหล่านี้ ไม่สามารถทำการปฏิสนธิหรือเข้าผสมกับไข่ได้ อสุจิที่พบในท่อนำไข่จากการเคลื่อนที่ลักษณะเร็ว เป็นอสุจิที่ไม่เคลื่อนไหว ผนังเซลของอสุจิถูกทำลาย อสุจิชุดนี้จะถูกขับออกทางปากแตรของท่อนำไข่และตกลงไปในช่องท้อง

37 -ลักษณะช้า อสุจิส่วนใหญ่ จะเคลื่อนที่ลักษณะช้า กว่าจะเดินทางไปถึงท่อนำไข่ใช้เวลาเป็นชั่วโมง หรือหลายชั่วโมง เนื่องจากอสุจิจะถูกกักไว้ในบริเวณส่วน ต่าง ๆ ของระบบสืบพันธุ์โคเพศเมีย

38 บริเวณที่มักเป็นที่กักตัวอสุจิ ได้แก่
บริเวณคอมดลูก(Cervix) บริเวณรอยต่อระหว่างปีกมดลูกและท่อนำไข่ส่วนอีทมัส บริเวณรอยต่อระหว่างท่อนำไข่ส่วนอิทมัสและแอมพูลา

39

40 คอมดลูกมีลักษณะเป็นหลืบ จึงเป็นที่กักตัวอสุจิอย่างดี
อสุจิส่วนใหญ่ ถูกกักไว้ที่คอมดลูก ลักษณะความเป็นหลืบของคอมดลูก จะเป็นการกรองตัวอสุจิตามธรรมชาติ ตัวอสุจิที่ตายหรือเคลื่อนไหวผิดปกติ จะติดอยู่ตามหลืบในคอมดลูก

41 พบอสุจิบางส่วนผ่านคอมดลูกไปถึงตัวมดลูกประมาณชั่วโมงที่ 2 หลังจากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ

42 ตัวอสุจิที่สามารถผ่านคอมดลูก จะเคลื่อนที่ต่อไปที่ไปปีกมดลูก
เมื่อไปถึงรอยแยกของปีกมดลูก ตัวอสุจิจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนตามธรรมชาติ เพื่อไปปีกมดลูกข้างซ้ายและข้างขวา

43 เมื่อไปถึงรอยต่อระหว่างปีกมดลูกกับท่อนำไข่ส่วนอิทมัส บริเวณรอยต่อนี้จะมีลักษณะเป็นลิ้นหรือกล้ามเนื้อหูรูด บริเวณรอยต่อจะเป็นจุดกักตัวอสุจิอีกจุดหนึ่ง จะพบอสุจิจำนวนมากบริเวณบริเวณรอยต่อระหว่างปีกมดลูกและท่อนำไข่ส่วนอิทมัส ประมาณชั่วโมงที่ 8 หลังการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ

44 หรือ ประมาณชั่วโมงที่ 6 หลังจากตัวอสุจิผ่านคอมดลูกมาแล้ว
สรุปเบื้องต้น ตัวอสุจิจะให้เวลาในการเดินทางผ่านคอมดลูกประมาณ 2 ชั่วโมง ตัวอสุจิจะให้เวลาในการเดินทางจากตัวมดลูกถึงสุดปีกมดลูกประมาณ 6 ชั่วโมง

45 เมื่ออสุจิเดินทางมาถึงรอยต่อระหว่างปีกมดลูกและท่อนำไข่ส่วนอิทมัส
ตัวอสุจิส่วนใหญ่จะถูกกักไว้บริเวณนี้ บริเวณรอยต่อ จะเป็นส่วนที่ทำการคัดเลือกตัวอสุจิให้เดินทางผ่านไปในได้ในปริมาณที่พอเหมาะ เมื่ออสุจิผ่านส่วนนี้ไปได้แล้ว จะเดินทางต่อไปที่ท่อนำไข่ส่วนแอมพูล่า

46 ช่วงต่อระหว่างท่อนำไข่ส่วนอิทมัสและแอมพูล่า จะเป็นตัวกรองอสุจิอีกชั้นหนึ่ง เพื่อลดปริมาณอสุจิที่จะเคลื่อนที่มาถึงท่อนำไข่ส่วนแอมพูล่า ปกติจะสามารถพบอสุจิในท่อนำไข่ส่วนแอมพูล่าบริเวณที่จะมีการปฏิสนธิเพียงไม่กี่ร้อยตัวเท่านั้น

47

48 ตัวอสุจิหลังการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติจะเริ่มพบที่ท่อนำไข่ส่วนแอมพูล่าประมาณชั่วโมงที่ 12
พบเป็นจำนวนมากประมาณชั่วโมงที่ หลังการผสมพันธุ์

49 ในการเคลื่อนที่ของอสุจิไปที่ท่อนำไข่ ตลอดระยะทางการเคลื่อนที่ ตัวอสุจิบางส่วนจะถูกทำลายโดยเม็ดเลือดขาวของแม่โค บางส่วนจะติดตามหลืบหรือรอยต่อหรือกล้ามเนื้อหูรูดต่าง ๆ เป็นการควบคุมจำนวนอสุจิไม่ให้เข้าถึงไข่มากเกินไป ป้องกันการผสมจากอสุจิมากกว่า 1 ตัว

50 ขณะที่อสุจิเคลื่อนที่ผ่านระบบสืบพันธุ์ของแม่โค ตัวอสุจิจะเกิดปฏิกริยาที่ชื่อว่าคาร์ปาซิเตชั่น(Capacitation) เพื่ออสุจิจะสามารถปฏิสนธิกับไข่ได้

51 ในขณะที่แม่โคเป็นสัด ท่อนำไข่ส่วนฟิมเบียร์หรือปากแตร จะยื่นไปหุ้มรับรังไข่ไว้
เมื่อฟอลลิเคิลบนรังไข่แตก ไข่จะตกมาสู่ปากแตร ไข่จะเคลื่อนที่มาตามท่อนำไข่ส่วนแอมพูล่า โดยการโบกพัดของขนเล็ก ๆ (cilia)ในท่อนำไข่ และการบีบตัวของท่อนำไข่รวมถึงการเคลื่อนไหวของของเหลวในท่อนำไข่ร่วมกัน

52

53

54

55 การเข้าผสมกับไข่ของอสุจิ
เริ่มจากตัวอสุจิหลาย ๆ ตัว ที่อยู่รอบ ๆ ไข่ จะปล่อยเอ็นไซม์จากอโครโซม(Acrosome) ชื่อไฮยาลูโรนิเดส(Hyaluronidase)ที่ส่วนหัวของตัวอสุจิเพื่อสลายเซลคิวมูลัส โอโอฟอรัส(cumulus oophorus) ที่หุ้มรอบไข่

56 ฮอร์โมนแอลเอชจากแม่โคจะช่วยให้เซลคิวมูลัส โอโอฟอรัส กระจายตัวมากขึ้น
ตัวอสุจิบางส่วนจึงเจาะผ่านเซลคิวมูลัส โอโอฟอรัสไปได้

57 หลังจากตัวอสุจิบางส่วนเจาะทะลุผ่านคิวมูลัส โอโอฟอรัสที่ล้อมรอบไข่แล้ว
อสุจิจะพบบางส่วนของชั้น โคโรนา เรดิเอต้า

58 ตัวอสุจิจะพยายามเจาะทะลุชั้นโคโรนา เรดิเอต้า โดยการสลายเปลือกอะโครโซมชั้นนอกบริเวณส่วนหัวของตัวอสุจิ
การสลายเปลือก อโครโซมชั้นนอกจะเกิดเอ็นไซม์โคโรนา เพนิเตรชัน(Corona penetration enzyme) ใช้เจาะทะลุเซลชั้นโคโรนา เรดิเอต้า

59 หลังจากอสุจิเจาะทะลุเซลชั้นโคโรนา เรดิเอต้าได้แล้ว
อสุจิจะพบเปลือกไข่หรือโซนา เพลลูซิด้า(zona pellucida)

60 เปลือกไข่ชั้นนี้ จะจำเพาะชนิดสัตว์ เปลือกไข่โซนา เพลลูซิด้าของสัตว์ต่างชนิดกันกับตัวอสุจิ ตัวอสุจิจะไม่สามารถเจาะทะลุได้

61 ตัวอสุจิเมื่อพบกับเปลือกโซนา เพลลูซิด้า จะพยายามเจาะทะลุโดยการ
เคลื่อนไหวของตัวอสุจิเอง เอ็นไซม์ไฮยาลูโรนิเดส เอ็นไซม์อะโครซิน ซึ่งสร้างจากอะโครโซมของอสุจิ

62 ตัวอสุจิจำนวนหลายตัว จะสามารถเจาะทะลุผ่านเปลือกไข่ชั้นโซนา เพลลูซิด้า
หลังจากเจาะทะลุเปลือกไข่แล้ว จะพบกับไซโตพลาสซึมของไข่

63 ตัวอสุจิตัวแรกที่สัมผัสกับไซโตร พลาสซึมของไข่ จะเป็นเพียงอสุจิตัวเดียวเท่านั้นที่มีโอกาสเข้าผสมกับไข่ เนื่องจากเมื่อตัวอสุจิตัวใดตัวหนึ่งสัมผัสกับไซโตพลาสซึมของไข่ ไซโต พลาสซึมจะปล่อยคอร์ติคัล แกรนูล มาคลุมผิวไซโตพลาสซึมทั้งหมด ทำให้อสุจิตัวอื่น ๆ เกาะไซโตรพลาสซึมไม่ได้

64 ส่วนหัวของอสุจิจะแทรกเข้าไปในไข่และสลัดหางหิ้ง เกิดการรวมนิวเคลียสระหว่างอสุจิกับไข่ เรียกว่าเกิดปฏิสนธิ(fertilization) หลังเกิดการปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะมีการแบ่งตัว และขณะเดียวกันก็เคลื่อนที่มาที่ปีกมดลูก

65 หลังจากตัวอสุจิผสมกับไข่แล้ว จะมีการพัฒนาเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนเริ่มแรกจะเป็นตัวอ่อนระยะ 1 เซล เรียกว่าไซโกต (Zygote)

66 ตัวอ่อนจะแบ่งตัวเพิ่มขั้นเรื่อย ๆ
จาก 1 เซล เป็น 2 เซล จาก 2 เซล เป็น 4 เซล จาก 4 เซล เป็น 8 เซล จาก 8 เซล เป็น 16 เซล

67 ตัวอ่อนระยะ 16 เซล จะนับได้ยาก และอัตราการแบ่งตัวของแต่ละเซลก็ไม่พร้อมกัน ทำให้จำนวนเซลหลังจาก 16 เซลแล้วการแบ่งตัวอาจเป็นเลขคี่ไม่เป็นทวีคูณได้ จาก 16 เซล เป็น 32 เซล ตัวอ่อนระยะนี้จะอัดแน่นจนมองเห็นคล้ายน้อยหน่าเรียกระยะที่เห็นตัวอ่อนมีเซลอัดแน่นจนมองเห็นคล้ายน้อยหน่าว่ามอรูล่า(morula)

68 จากนั้น ตัวอ่อนจะมีการพัฒนาจนมีช่องว่างภายในเรียกว่าบลาสโตซีส

69 ตัวอ่อนตั้งแต่ระยะ 1 เซล ถึง 32 เซล ยังอยู่ภายในท่อนำไข่
ทุกขณะที่ตัวอ่อนมีการแบ่งตัว จะค่อย ๆ เคลื่อนที่มาที่ปีกมดลูกด้วย ตัวอ่อนจะเคลื่อนที่ถึงปีกมดลูก ประมาณวันที่ 7 เป็นระยะที่เรียกว่า บลาสโตซีส

70 ตัวอ่อนจะค่อย ๆ เจริญมากขึ้น และจะเริ่มเกาะผนังมดลูกประมาณวันที่ 23
ประมาณวันที่ 35 ตัวอ่อนจะฝังตัวที่ปีกมดลูก เรียกว่าเกิดการตั้งท้อง

71 การผสมเทียมโค การผสมเทียม เป็นการปฏิบัติงานที่คล้ายการทำหน้าที่ของพ่อพันธุ์ตามธรรมชาติ

72 ที่ต่างกันคือ 1.ปริมาณน้ำเชื้อที่ใช้ผสมเทียม น้อยกว่าปริมาณน้ำเชื้อจากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติมาก 2.ตำแหน่งที่ปล่อยน้ำเชื้อ พ่อพันธุ์จะปล่อยน้ำเชื้อที่ช่องคลอด(Vagina) การผสมเทียมจะปล่อยน้ำเชื้อที่ตำแหน่งตัวมดลูกเป็นส่วนใหญ่ 3.น้ำเชื้อที่ใช้ผสมเทียม ผสมด้วยยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการติดเชื้ออันเกิดจากการสืบพันธุ์

73 ประโยชน์ของการผสมเทียม
1.สามารถปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว 2.ย่นระยะเวลาในการพิสูจน์พ่อพันธุ์ 3.สามารถทำให้สัตว์คลอดลูกได้ตามฤดูกาล 4.ตัดปัญหาในการเลี้ยงดูสัตว์พ่อพันธุ์

74 5.ตัดปัญหาในการขนส่งสัตว์ไปผสมพันธุ์กัน
6.สามารถผสมพันธุ์สัตว์ต่างขนาดกันได้ 7.ป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากการผสมพันธุ์กัน 8.ป้องกันโรคระบาดที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายสัตว์ไปผสมพันธุ์กัน

75 ข้อเสียของการผสมเทียม
1.ถ้าพ่อพันธุ์ที่ใช้ผลิตน้ำเชื้อ มีลักษณะที่ไม่ดี ลักษณะที่ไม่ดีนี้ จะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว 2.ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้ทำการผสมเทียม ขาดความรู้และความชำนาญ หรือทำการผสมเทียมด้วยความสกปรก อวัยวะสืบพันธุ์ของแม่โคอาจเกิดการติดเชื้อหรือบาดเจ็บได้

76 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ขอขอบคุณ สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


ดาวน์โหลด ppt (Artificial insemination) สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google