ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การเตรียมชุมชน ก่อนพ่นสารเคมี
ดอกรัก ฤทธิ์จีน กลุ่มโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา
2
ส่วนประกอบของชุมชน
4
ทำไมต้องเตรียมชุมชนก่อนพ่นสารเคมี
1. เพื่อให้ทุกคนในชุมชนได้รับทราบปัญหาการเกิด โรคไข้เลือดออก 2. เมื่อทราบแล้วจะทำให้เกิดความกลัว ความตระหนัก ให้ความร่วมมือ 3. เป็นการให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่าง จริงจัง ต่อเนื่อง
5
วิธีการเตรียมชุมชน 1. การประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว
เหมาะกับชุมชน/หมู่บ้านที่ไม่ใหญ่มาก สามารถประชาสัมพันธ์ได้ยินทั่วถึง
6
2. ใช้หอกระจายข่าว และรถยนต์ประชาสัมพันธ์
วิ่งให้ทั่วชุมชน กรณีที่ชุมชนใหญ่ หรือมีพื้นที่กว้างมาก ประชาชนอาจไม่ทราบกันทั่วถึง
7
3. ใช้วิธีการเชิญประชุม เป็นวิธีที่ดีที่สุด
- ได้พูดคุยกันใกล้ชิด - ได้มีการชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้น - ให้โอกาสในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสีย - ต้องใช้เวลาในการเตรียม ทั้งสถานที่ การนัดหมายเวลา - ต้องมีผู้นำการประชุม วัสดุอุปกรณ์ - ชาวบ้านอาจมาประชุมน้อย โดยเฉพาะชุมชนในเขตเมือง ต้องดูเวลาให้เหมาะสม
9
สิ่งที่ต้องประชาสัมพันธ์
1.ต้องแจ้งข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก มีผู้ป่วยเกิดขึ้นกี่คน ชื่ออะไรบ้าง เป็นลูกของใคร (บอกชื่อพ่อแม่) อายุผู้ป่วย บ้านเลขที่ อยู่คุ้มไหน เริ่มป่วยเมื่อไหร่ เข้ารักษาที่ไหน ปัจจุบันรักษาอยู่ที่ไหน
10
สิ่งที่ต้องประชาสัมพันธ์
2. วัน เวลา ที่จะทำการพ่นสารเคมี ควรแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 12 ชั่วโมง 3. พ่นโดยวิธีไหน แบบหมอกควัน แบบฝอยละออง 4. พ่นโดยใคร / หน่วยงานไหน
12
การขอความร่วมมือจากชาวบ้าน
ในวันพ่นสารเคมี ก่อนพ่นสารเคมี ขอให้ทุกครัวเรือน กำจัดลูกน้ำยุงลายพร้อมกัน กำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ต่างๆ โดยเฉพาะ ภาชนะที่ไม่ได้ประโยชน์ ภาชนะที่เหลือทิ้งรอบๆ บ้าน
13
การขอความร่วมมือจากชาวบ้าน
ทำความสะอาดใหญ่ ทั้งหมู่บ้าน พร้อมกัน กำจัดขยะมูลฝอยต่างๆ ถางหญ้า ต้นไม้ ที่รกรุงรังอาจเป็นแหล่งเกาะพักของยุงได้ กำจัดลูกน้ำ และกำจัดภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายที่ โรงเรียน วัด อาคารสถานที่สาธารณะต่าง ๆ
16
การทำความสะอาดหมู่บ้าน / ชุมชน
ให้ผู้นำชุมชน เป็นแกนนำ อสม. ดูแลการดำเนินงานของครัวเรือนที่รับผิดชอบ ครู นักเรียน ร่วมรณรงค์ทั้งในโรงเรียน วัด หมู่บ้าน ศูนย์เด็กเล็ก ศาลากลางบ้าน อสม. ต้องสำรวจลูกน้ำ และภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทุกหลังคาเรือน ต้องไม่มีลูกน้ำหลงเหลือ และมั่นใจว่าปลอดภัย ถ้ายังพบลูกน้ำในคุ้มใด ให้ดำเนินการใหม่ จนกว่าจะไม่พบลูกน้ำ
18
สิ่งที่ต้องแจ้งเตือนประชาชน
การพ่นเคมีอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงต่างๆ 1. เด็กทารก เด็กเล็กที่ช่วยตัวเองไม่ได้ รวมทั้งผู้ป่วย คนชรา และประชาชนทั่วไป 2. สัตว์เลี้ยงต่างๆ ได้แก่ นกเขา นกหงส์หยก นกขุนทอง นกอื่นๆ ไก่ชน 3. สัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่ การเลี้ยงไหม จิ้งหรีด
20
สิ่งที่ประชาชนต้องปฏิบัติ
ในวันพ่นสารเคมี การเตรียมอาคารบ้านเรือนให้พร้อม ให้ขนย้ายสัตว์เลี้ยงต่างๆ ออกนอกบริเวณที่จะพ่นสารเคมีชั่วคราว หลังจากพ่นสารเคมีแล้วประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมงสามารถขนย้ายกลับได้ ชาวบ้าน เด็กทารก ผู้ป่วย คนชรา ให้ออกห่างบริเวณที่พ่นสารเคมี อย่างน้อย นาที
22
ปัญหาที่พบบ่อย รีบร้อน เข้าไปพ่นสารเคมีโดยไม่ประชาสัมพันธ์
บ้านผู้ป่วย เจ้าของบ้านไม่ทราบว่าจะมีการพ่น และต้องทำอย่างไร ไม่นัดหมายเวลาชัดเจน ทำให้ขาดความร่วมมือ บางครอบครัวไม่ให้ความร่วมมือ ต้องอาศัยผู้นำเข้าไปพูดคุย ขนย้ายสัตว์เศรษฐกิจไม่ทัน (ต้องแจ้งล่วงหน้า) พ่นสารเคมีอย่างเดียว โดยไม่ได้รณรงค์กำจัดลูกน้ำ ไม่กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายพร้อมกัน ทำให้ได้ผลไม่เต็มที่ ขาดการประเมินผลก่อนและหลังการพ่นและกำจัดลูกน้ำ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.