งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ หน่วยงานภายในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ หน่วยงานภายในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ หน่วยงานภายในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ตัวชี้วัดที่ 8 : ร้อยละของข้าราชการที่ได้รับการพัฒนา สมรรถนะหลักอย่างเป็นทางการและ/หรือไม่เป็น ทางการ ตัวชี้วัดที่ 10 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการ จัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทีมงาน กองการเจ้าหน้าที่

2 คำรับรองการปฏิบัติราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปีงบประมาณ 2556
คำรับรองการปฏิบัติราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปีงบประมาณ 2556 คำรับรองการปฏิบัติราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กองการเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ • ตัวชี้วัดที่ กพร_8 ระดับความสำเร็จของการพัฒนา บุคลากร 8.1 ระดับความสำเร็จของการจัดทำรายงานลักษณะสำคัญขององค์การ 8.2 ส่วนต่างระหว่างความเห็นและความสำคัญต่อความพึงพอใจในการ พัฒนาบุคลากร * 8.3 ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร • ตัวชี้วัดที่ กพร_10 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรม องค์การ 10.1 ส่วนต่างระหว่างความเห็นและความสำคัญต่อความพึงพอใจ ในการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ * 10.2 ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ * มาจากการตอบแบบสำรวจการพัฒนาองค์การ (Organization Development Survey) *

3 คำรับรองการปฏิบัติราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปีงบประมาณ 2556
คำรับรองการปฏิบัติราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปีงบประมาณ 2556 คะแนนการประเมินผล ครั้งที่ 1 • ตัวชี้วัดที่ 8.2 ส่วนต่างระหว่างความเห็นและความสำคัญต่อความพึงพอใจในการ พัฒนาบุคลากร ผลคะแนนส่วนต่าง (Gap) จากการประเมินความพึงพอในการ พัฒนาบุคลากร ครั้งที่ 1 มีดังนี้ ด้าน HRM = 2.0 ด้าน HRD = 1.3 รวม = 1.6 • ตัวชี้วัดที่ 10.1 ส่วนต่างระหว่างความเห็นและความสำคัญต่อความพึงพอใจ ในการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ ผลคะแนนส่วนต่าง (Gap) จากการประเมิน ความพึงพอใจในการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ ครั้งที่ 1 = 1.1 * หมายเหตุ - หากส่วนต่าง (Gap) มีค่าสูงแสดงว่าสิ่งที่บุคลากรในองค์การมีความเห็น กับความสำคัญที่องค์การมุ่งเน้นมีความแตกต่างกันมาก ดังนั้น หน่วยงานควร ดำเนินการพัฒนาองค์การโดยการหาสาเหตุของปัญหาและดำเนินการแก้ไข *

4 คำรับรองการปฏิบัติราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปีงบประมาณ 2556
คำรับรองการปฏิบัติราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปีงบประมาณ 2556 คะแนนการประเมินผล ครั้งที่ 1 มีส่วนต่าง GAP การประเมินผลบุคลากรของการพัฒนาสมรรถนะอยู่ ที่1.4 สูงกว่าค่าเฉลี่ยด้าน HRD ที่ 1.3 มีส่วนต่าง GAP การประเมินผลของการทำงานเป็นทีมอยู่ที่ 1.2 สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 1.1 ตัวชี้วัดที่ 8.2 ตัวชี้วัดที่ 10.2

5 คำรับรองการปฏิบัติราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปีงบประมาณ 2556
คำรับรองการปฏิบัติราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปีงบประมาณ 2556 กพร_8 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากร กพร_10 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ ระดับกรม ระดับหน่วยงานภายใน ตัวชี้วัดที่ 8 : ร้อยละของข้าราชการที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักอย่างเป็นทางการและ/หรือไม่เป็นทางการ ตัวชี้วัดที่ 10 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทีมงาน

6 ตัวชี้วัดที่ 8 : ร้อยละของข้าราชการที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักอย่างเป็นทางการและ/หรือไม่เป็นทางการ
น้ำหนัก : ร้อยละ 5 (ทุกหน่วยงาน) คำอธิบาย : • ร้อยละของข้าราชการที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ ตามที่ สำนักงาน ก.พ. กำหนดอย่างเป็นทางการและ/หรือไม่เป็นทางการ เป็นการ ดำเนินการ เพื่อให้บุคลากรกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้รับการพัฒนาสมรรถนะ หลักตามแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ – 2556 • ข้าราชการ หมายถึง ข้าราชการในหน่วยงาน ตามจำนวนที่ปฏิบัติงานอยู่จริง ในปีงบประมาณ พ.ศ • สมรรถนะหลัก (Core competency) หมายถึง สมรรถนะหลักที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด 5 ด้าน คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การสั่งสมความ เชี่ยวชาญในอาชีพ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม และ การทำงานเป็นทีม

7 ตัวชี้วัดที่ 8 : ร้อยละของข้าราชการที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักอย่างเป็นทางการและ/หรือไม่เป็นทางการ
• สำนักงาน ก.พ. กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนทุกคนจะต้องได้รับการพัฒนา ทั้งอย่างที่เป็นทางการและ/หรือไม่เป็นทางการไม่ต่ำกว่า 10 วันต่อปี • การพัฒนาบุคลากร หมายถึง วิธีการหรือกระบวนการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ นำมาพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ ทักษะใน การทำงาน ตลอดจนปรับเปลี่ยนทัศนคติในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุก ระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้งานที่ปฏิบัติอยู่บรรลุเป้าหมายที่ วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรสามารถนำได้ด้วยวิธีการ ฝึกอบรม สัมมนา การไปศึกษาต่อเพิ่มเติมคุณวุฒิทางการศึกษา เป็นต้น • การพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นทางการ หมายถึง การบรรยาย การฝึกอบรม สัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน การไปศึกษาต่อเพิ่มเติม คุณวุฒิทางการศึกษา เป็นต้น • การพัฒนาบุคลากรอย่างไม่เป็นทางการ หมายถึง การสอนงาน การเป็นพี่ เลี้ยง การสอนแนะ การมอบหมายงาน การค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ วารสาร รายงานการวิจัย CD-ROM การติดตามความรู้และความก้าวหน้าจาก ฐานข้อมูลออนไลน์ เว็บไซด์ INTERNET และจากวิทยุ โทรทัศน์ หรือวีดิ ทัศน์ เป็นต้น

8 ตัวชี้วัดที่ 8 : ร้อยละของข้าราชการที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักอย่างเป็นทางการและ/หรือไม่เป็นทางการ
วิธีการดำเนินงาน : • พัฒนาข้าราชการอย่างเป็นทางการ โดยดำเนินการจัดฝึกอบรม/สัมมนาให้แก่ บุคลากรในหน่วยงานและหรือส่งเสริมให้ข้าราชการเข้ารับการฝึกอบรมทั้ง จากหน่วยงานภายในและภายนอก • ส่งเสริมให้มีการพัฒนาข้าราชการอย่างไม่เป็นทางการในหน่วยงานทั้งในรูป ของการสอนงาน การค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือวารสาร การติดตามความรู้ และความก้าวหน้าจากฐานข้อมูลออนไลน์ เว็บไซด์ INTERNET เป็นต้น • รวบรวมผลการพัฒนาบุคลากรทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แจ้ง กองการเจ้าหน้าที่

9 * หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยปี 55 อยู่ที่ 88.12 *
ตัวชี้วัดที่ 8 : ร้อยละของข้าราชการที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักอย่างเป็นทางการและ/หรือไม่เป็นทางการ สูตรการคำนวณ : จำนวนข้าราชการที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักอย่างเป็นทางการและ/หรือไม่เป็นทางการ จำนวนข้าราชการทั้งหมดในหน่วยงาน เกณฑ์การให้คะแนน : X 100 ระดับคะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน ร้อยละ ต่ำกว่า 60 90 ขึ้นไป * หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยปี 55 อยู่ที่ *

10 ตัวชี้วัดที่ 8 : ร้อยละของข้าราชการที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักอย่างเป็นทางการและ/หรือไม่เป็นทางการ
วิธีการประเมินผล : การตรวจประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะหลักของข้าราชการอย่างเป็น ทางการและ/หรือไม่เป็นทางการ จะพิจารณาจากข้อมูลตามแบบรายงานผล การพัฒนาสมรรถนะหลักอย่างเป็นทางการและ/หรือไม่เป็นทางการ ที่ หน่วยงานจัดส่งให้กลุ่มงานพัฒนาระบบบริหาร พร้อมกับ SAR รอบ 12 เดือน พร้อมทั้งส่ง file แบบรายงานผลการพัฒนาสมรรถนะหลักอย่างเป็นทางการ และ/หรือไม่เป็นทางการ และเอกสารหลักฐานต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อ ประกอบการตรวจสอบด้วย หน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบ/ประสานงาน : นายชาคริตย์ เดชา ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ นางเพียงจันทร์ พจน์โพธิ์ศรี หัวหน้าฝ่ายพัฒนาข้าราชการ โทรศัพท์ , ภายใน 418, 420

11 ตัวชี้วัดที่ 8 : ร้อยละของข้าราชการที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักอย่างเป็นทางการและ/หรือไม่เป็นทางการ
คำถาม - คำตอบ

12 ตัวชี้วัดที่ 10 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทีมงาน
น้ำหนัก : ร้อยละ 5 (ทุกหน่วยงาน) คำอธิบาย : • ดำเนินการตามกรอบการประเมินผลของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 มิติ ภายในด้านการพัฒนาองค์การ กพร_10 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุง วัฒนธรรมองค์การ หมายถึงปัจจัยต่างๆ ภายในองค์การที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน การ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์การ เช่น ด้านวัฒนธรรม (Culture) ผู้นำ (Leadership) การทำงานเป็นทีม (Teamwork) การอุทิศตนและความมุ่งมั่นในการทำงาน (Personal Contribution) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) • การประเมินผลตัวชี้วัดที่ ก.พ.ร._10 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรม องค์การ ตัวชี้วัดย่อยที่ กพร_10.1 ส่วนต่างระหว่างความเห็นและความสำคัญต่อความพึง พอใจในการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ เป็นการประเมินโดยใช้แบบสำรวจ บรรยากาศภายในองค์การ (Organization Climate Survey) ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจะ รวมอยู่ในแบบสำรวจการพัฒนาองค์การ (Organization Development Survey) และจะมี การประเมิน 2 ครั้ง โดยใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยส่วนต่างระหว่างความเห็นและ ความสำคัญขององค์การ (Gap) คือ การทำให้ส่วนต่างระหว่างปัจจัยด้านระดับความสำคัญ และความเห็นของบุคลากรภายในองค์การ (Gap) น้อยที่สุด จากการตอบแบบสำรวจการ พัฒนาองค์การ (Organization Climate Survey)

13 ตัวชี้วัดที่ 10 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทีมงาน
• จากผลสำรวจการพัฒนาองค์การ ครั้งที่ 1 ปัจจัยการทำงานเป็นทีม มีคะแนนมากกว่าค่า คะแนนเฉลี่ยรวม (Gap) เพื่อให้ผลการสำรวจการพัฒนาองค์การครั้งที่ 2 ปัจจัยการทำงาน เป็นทีมมีคะแนนน้อยกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยรวม (Gap) กองการเจ้าหน้าที่เห็นควรถ่ายทอดให้ เป็นตัวชี้วัดระดับหน่วยงานเพื่อสนับสนุนตัวชี้วัดระดับกรมให้ได้ค่าคะแนนประเมินผลใน เกณฑ์ที่ดี • การพัฒนาทีมงานหรือการสร้างทีม หมายถึง กระบวนการทำกิจกรรมร่วมกัน เริ่มจากการ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลภายในกลุ่ม ความพยายามทำให้กลุ่มสามารถเรียนรู้การวินิจฉัย ปัญหา เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในการทำงานให้ดีขึ้นทั้งเชิงปริมาณและเชิง คุณภาพ ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีผลต่อการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย

14 ระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone)
ตัวชี้วัดที่ 10 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทีมงาน เกณฑ์การให้คะแนน : กำหนดเป็นระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับพิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับ ดังนี้ ระดับคะแนน ระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 1 2 3 4 5

15 ตัวชี้วัดที่ 10 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทีมงาน
ขั้นตอน เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผล 1 แต่งตั้งคณะทำงานจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทีมงาน คำสั่งคณะทำงานที่ลงนามโดยหัวหน้าหน่วยงาน 2 กำหนดกิจกรรมที่เหมาะสม หลักฐานที่แสดงว่ามีการกำหนดกิจกรรมที่เหมาะสม โดยมีระยะเวลาดำเนินกิจกรรมไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง 3 ดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนด หลักฐานที่แสดงว่ามีการดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนด โดยจำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมต้องไม่ต่ำกว่า 80% ของหน่วยงาน 4 ประเมินผลการดำเนินงาน แบบประเมินผลการดำเนินงาน 5 รายงานผลการดำเนินงานพร้อมข้อเสนอแนะ หลักฐานการรายงานผลการดำเนินการพร้อมข้อเสนอแนะ

16 ตัวชี้วัดที่ 10 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทีมงาน
วิธีการประเมินผล : หน่วยงานต้องจัดส่งรายงานการประเมินผลตนเอง (Self Assessment Report : SAR) ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2556 หน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบ/ประสานงาน : นายชาคริตย์ เดชา ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ นายอนุชา ละอองพันธ์ หัวหน้าฝ่ายอัตรากำลังและระบบงาน โทรศัพท์ , ภายใน 407

17 ตัวชี้วัดที่ 10 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทีมงาน
คำถาม - คำตอบ

18 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ หน่วยงานภายในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google