งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อมูลทั่วไป คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไป ตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการ โดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) สังกัด : กระทรวงมหาดไทย ประธานกรรมการ : นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ กรรมการผู้แทน กค. : นางเสาวนีย์ กมลบุตร Website : โทร   ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด ผู้ว่าการ (CEO) : นายวิเศษ ชำนาญวงษ์ สัญญาจ้างลงวันที่ : 19 พ.ค. 52 ระยะเวลาจ้าง : 19 พ.ค. 52 – 7 พ.ย. 54  วาระที่ 1  วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO  Board  รอง CEO  บุคคลภายนอก (รองผู้ว่าการ(ปฏิบัติการ 3) การประปาส่วนภูมิภาค) รอง CEO  พนักงาน  สัญญาจ้าง CFO  พนักงาน  สัญญาจ้าง พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม วัตถุประสงค์ ประกอบและส่งเสริมธุรกิจการประปาโดยการสำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบ และจัดให้ได้มาซึ่ง น้ำดิบ เพื่อใช้ในการผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปารวมทั้งการดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับธุรกิจการประปา เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การให้บริการสาธารณูปโภค โดยคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญ ((ม. 5 ดู ม. 7 ประกอบ) กปภ. มีอำนาจดำเนินการเพื่อจำหน่ายน้ำประปาในเขตท้องที่ซึ่งอยู่นอกเขตที่การประปานครหลวงมีอำนาจดำเนินการ แต่ กปภ. อาจดำเนินการจำหน่ายน้ำประปาในเขตที่การประปานครหลวงมีอำนาจดำเนินการได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากการประปานครหลวง (ม. 8) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน  คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง  มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 58 Min-max ของเงินเดือน : 5,510 – 113,520 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 9,670 บาท จำนวนพนักงาน : 6,351 คน (31 พ.ค 54) จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ ไม่เกิน 11 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบดีกรมอนามัย ผู้ว่าการ กรรมการอื่นอีกไม่เกิน 7 คน ผู้ว่าการเป็นเลขานุการคณะกรรมการ (ม.12) วาระการดำรงตำแหน่ง : 3 ปี ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับ การแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน การแต่งตั้งกรรมการอื่น ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้ว่าการ ด้วยความเห็นชอบของ ครม. (ม.19) ผู้ว่าการอาจพ้นจากตำแหน่งโดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกโดยความเห็นชอบจาก ครม. (ม. 21 (3)) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กรรมการ (ม.14) ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ต้อง (1) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง (2) ไม่มีส่วนได้เสียในธุรกิจที่กระทำกับ กปภ. หรือในกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกิจการของ กปภ. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ผู้ว่าการ ต้องไม่มีส่วนได้เสียในธุรกิจที่กระทำกับ กปภ. หรือในกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกิจการของ กปภ. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม (ม.20 (1))  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง ทรัพย์สินของ กปภ. ซึ่งใช้หรือจะใช้ในการดำเนินการเพื่อประสิทธิภาพแห่งระบบการประปา ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (ม.11) ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ และพนักงานเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ม.28) อำนาจใช้สอยหรือเข้าครองครองอสังหาริมทรัพย์ภายใต้เงื่อนไข (ม. 29) อำนาจเดินท่อและติดตั้งอุปกรณ์ผ่านที่ดินของบุคคลใดๆ (ม. 30) อำนาจรื้อถอนทำลายสิ่งที่เป็นอันตรายหรืออุปสรรคต่อการผลิต ส่ง จำหน่ายน้ำประปา (ม. 31) อำนาจเข้าไปในที่ดินหรือสถานที่ของผู้อื่น (ม. 32) อำนาจในการได้อสังหาริมทรัพย์มาเพื่อใช้ในการวางหรือจัดสร้างระบบการผลิต ส่ง จำหน่ายน้ำประปา (ม.33) ปัจจุบันมีโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนดำเนินการผลิตและจำหน่ายน้ำประปา ปทุมธานี – รังสิต (BOOT) อยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการตาม ม. 22 หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร   มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง สิทธิในการให้บริการประปาภายในตัวอาคารที่เป็นงานการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงแก่ส่วนราชการ โดยไม่ต้องประกวดราคา / สอบราคา และดำเนินการได้โดยวิธีพิเศษ(ตาม มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 ธ.ค หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0203/ว 209 ลว 14 ธ.ค. 22) สิทธิในการให้บริการภายนอกตัวอาคาร โดยไม่ต้องประกวดราคา / สอบราคา และดำเนินการได้โดยวิธีพิเศษ(ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0203/ว 171 ลว 25 ก.ย.23) สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 1 ผู้อำนวยการส่วน : - ผู้จัดทำ : นางสาวยสวดี นิลคูหา โทร ต่อ 6721 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค 54 (Update) ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เลขเสร็จที่ 80/2546 สัญญานี้ กปภ. ได้ร่วมลงทุนกับบริษัทประปาฉะเชิงเทรา จำกัดโดยไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ เนื่องจากเงื่อนไขสัญญาที่ให้เอกชนผลิตน้ำประปาเพื่อขายให้แก่สำนักงานประปาของ กปภ. ดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการที่บริษัทฯ ได้ ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในตัวเงินและ กปภ. ก็มิได้รับเงินจำนวนใดๆ จากบริษัทฯ อันเนื่องมาจากการดำเนินการลดน้ำสูญเสียหรือการวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำ รวมทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการแปลงหนี้อื่นมาเป็นหนี้เงินกู้ แต่มีลักษณะทำนองเดียวกับการออกเงินทดรองให้ก่อนตามที่อีกฝ่ายหนึ่งร้องขอ จึงถือไม่ได้ว่า กปภ. กู้ยืมเงินจากบริษัทฯ ตามมาตรา 650 แห่ง ปพพ. ดังนั้น เมื่อไม่เป็นการกู้ยืมเงินจึงไม่ต้องด้วย ม. 48 (2) แห่ง พรบ. การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ ที่ต้องขอความเห็นชอบจาก ครม.


ดาวน์โหลด ppt การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google