ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ข้อมูลทั่วไป สังกัด : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประธานกรรมการ : นายวิชัย ศรีขวัญ กรรมการผู้แทน กค. : นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ Website : โทร พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม. 9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่ กระทรวงการคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด ผู้ว่าการ (CEO) : นายสุรพล เศวตเศรนี สัญญาจ้างลงวันที่ : 22 ธันวาคม 2552 ระยะเวลาจ้าง : 1 ม.ค. 53 – 21 ธ.ค. 56 วาระที่ 1 วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO Board รอง CEO บุคคลภายนอก (รองผู้ว่าการ ททท.) รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง CFO พนักงาน สัญญาจ้าง พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 เงินเดือนพนักงาน วัตถุประสงค์ ททท. มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (ม. 8) (1) ส่งเสริมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตลอดจนการประกอบอาชีพของ คนไทยในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (2) เผยแพร่ประเทศไทยในด้านความงามของธรรมชาติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา และวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ตลอดจนกิจการอย่างอื่นอันจะเป็นการชักจูงให้มีการเดินทางท่องเที่ยว (3) อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว (4) ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความเป็นมิตรไมตรีระหว่างประชาชนและระหว่างประเทศโดยอาศัยการท่องเที่ยว (5) ริเริ่มให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยว และเพื่อพัฒนาปัจจัยพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 58 Min-max ของเงินเดือน : 6,870 – 113,520 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 9,670 บาท จำนวนพนักงาน : 885 คน ลูกจ้าง 55 คน (31 พ.ค. 54) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ คณะกรรมการประกอบด้วย ประธานกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ปลัดกระทรวงการคลังปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2 คน และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 3 คนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ และให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการ (ม. 18) วาระการดำรงตำแหน่ง : 2 ปี ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน (ม. 19) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าการ ททท. (ม .24) ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ (ม. 18/1) ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (2) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ ททท. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ ททท. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เว้นแต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ในกิจการที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น หรือเป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดำเนินกิจการในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ ททท. เป็นผู้ถือหุ้น (3) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง ไม่ปรากฏข้อเท็จริงว่ามีโครงการที่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สิทธิพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง ทรัพย์สินของ ททท. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (ม. 14) สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 2 ผู้อำนวยการส่วน : นายปัญญ์สุธา รายา ผู้จัดทำ : นายหัสดินทร์ แสนสระดี โทร ต่อ 6720 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง -ไม่มี- ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 123/2554 (กรณีสิทธิประโยชน์จากภาครัฐในการจำหน่ายกิจการของบริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (TPC) ให้แก่เอกชน) ประเด็นที่ 1 หากเมื่อขายกิจการ TPC ให้แก่เอกชนแล้ว การดำเนินการออกบัตรเอกสิทธิ์พิเศษให้แก่ผู้ถือบัตรพิเศษสมาชิกเดิม และคนต่างด้าวที่เป็นสมาชิกรายใหม่ จึงมิใช่เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของรัฐอีกต่อไป จึงไม่ใช่กรณีพิเศษที่จะอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองได้ ประเด็นที่ 2 บริษัทเอกชนที่ชนะการประมูลจะสืบสิทธิต่างๆ ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยกเว้นสิทธิพิเศษในการตรวจลงตรา (Visa) ตามประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 3 หาก TPC ประสงค์จะจำหน่ายกิจการทั้งหมดให้แก่เอกชน โดยที่รัฐไม่ต้องเข้าไปรับผิดชอบใดหรือให้สิทธิพิเศษใดๆ แก่เอกชนที่รับซื้อไป การจำหน่ายกิจการจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.