งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

“นโยบายและการบริการภาครัฐสำหรับผู้สูงอายุ”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "“นโยบายและการบริการภาครัฐสำหรับผู้สูงอายุ”"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 “นโยบายและการบริการภาครัฐสำหรับผู้สูงอายุ”
ญาณี เลิศไกร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 29 สิงหาคม 2556

2 สถานการณ์ผู้สูงอายุ ปี 2555
สัดส่วนประชากรวัยผู้สูงอายุมีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงมากอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันประมาณ 1 ใน 10 ของประชากรไทย เป็นประชากรสูงวัย และภายในปี พ.ศ คาดประมาณกันว่าสัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 4 หรือจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็น 25% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ผู้สูงอายุวัยปลาย (80+) จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้หญิงกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ในวัยสูงอายุ อัตราส่วนของประชากรวัยแรงงานที่จะมาเกื้อหนุนประชากรสูงอายุจะลดน้อยลงอย่างมาก

3 สถานการณ์ผู้สูงอายุ ปี 2555
จำนวนผู้สูงอายุ ปี 2555 จำนวน 8,170,909 คน แบ่งเป็นช่วงอายุ ดังนี้ 60-69ปี 4,133,163 คน 70-79ปี 2,403,819 คน 80ปีขึ้นไป 956,245 คน รวม 8,170,909 คน

4 สถานการณ์ผู้สูงอายุ ปี 2555
ช่วงอายุ ปี 4,541,021 คน - ส่งเสริมสุขภาพ สังคม การมีส่วนร่วม - ส่งเสริมการมีงานทำ ภูมิปัญญา (13.3%) (31.1%) (55.6%) ช่วงอายุ ปี 2,542,247 คน - ส่งเสริมสุขภาพ สังคม การมีส่วนร่วม - การให้บริหารดูแลที่บ้านและชุมชน ช่วงอายุ 80 ปี ขึ้นไป 1,087,641 คน ดูแลรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ - การให้การบริหารดูแลที่บ้าน ที่มา:ทะเบียนราษฎร ปี 2555 กรมการปกครอง

5 การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ
กระทรวง พม. ดำเนินการตามภารกิจหลัก ภายใต้กรอบกฎหมายและแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ – 2564) ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ โดยมุ่งเน้นประเด็นสำคัญดังนี้ การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มี คุณภาพ การส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ การผลักดันระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ

6 1. การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ
การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ 1. การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ 1.1 ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมก่อนวัยผู้สูงอายุโดยกำหนดหลักสูตรและเผยแพร่ให้แก่หน่วยงานเครือข่ายใช้อบรมบุคลากรในหน่วยงาน จัดอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมบุคลากรเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการอมรบพัฒนาบุคลากรจากทุกภาคส่วน เข้าร่วมการอบรม จำนวน 180 หน่วยงาน จัดทำชุดความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพ เพื่อเผยแพร่แก่หน่วยงานต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์ในการจัดอบรมต่อไป

7 1. การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ (ต่อ)
การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ 1. การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ (ต่อ) 1.2 การรณรงค์สร้างความตระหนักและสร้างทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ ดำเนินการผ่านกระบวนงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปี 2556 มีจำนวนผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 215,870 คน

8 การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ
2. การส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ 2.1 ส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กร/ชมรมผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ - โดยในปี 2556 เริ่มดำเนินการศูนย์ฯ นำร่องทั่วประเทศไทย จำนวน 99 แห่ง 2.2 ส่งเสริมคลังปัญญาผู้สูงอายุ - ปัจจุบัน มีผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนอาสาสมัครพัฒนาสังคมด้วยภูมิปัญญา จำนวน 22,576 คน

9 การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ
2. การส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ (ต่อ) 2.3 สนับสนุนการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ โดยกองทุนผู้สูงอายุ 2.4 ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญประสานความร่วมมือกับองค์กรภาคธุรกิจ และสื่อสารมวลชน ร่วมจัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานด้านผู้สูงอายุ - ส่งเสริมความร่วมมือด้านผู้สูงอายุระหว่างหน่วยงานและภาคีเครือข่ายภาคธุรกิจเอกชน (CSR) ดำเนินการประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจในการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับผู้สูงอายุ อาทิ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

10 การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ
3. การผลักดันระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ 3.1 การผลักดันระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุขในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง 3.2 การสร้างหลักประกันด้านรายได้เพื่อวัยสูงอายุ โดยผลักดันนโยบายสำคัญ ดังนี้ 1. การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แบบขั้นบันได 2. ระบบการออมเพื่อวัยสูงอายุ โดยผลักดันให้เกิด พ.ร.บ. กองทุนการออมแห่งชาติ รวมถึงการผลักดันมาตรการภาษีด้านผู้สูงอายุ อาทิ 1) การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท 2) การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ สำหรับ ผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี จำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 30,000 บาท 3) การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

11 การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ
3. การผลักดันระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ (ต่อ) 3.3 การผลักดันมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวดูแลผู้สูงอายุ 1) การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับบุตรที่เลี้ยงดูบิดาหรือมารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท 2) การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับบุตรที่ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันสุขภาพบิดาหรือมารดาของผู้มีเงินได้ เท่ากับค่าเบี้ยประกันที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท 3.4 ผลักดันงานอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านให้มีครอบคลุมในทุก อปท. - โดยมี อผส. จำนวน 81,833 คนในเขต อปท. จำนวน 7,776 แห่ง ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 864,660 คน

12 การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ
3. การผลักดันระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ (ต่อ) 3.5 ส่งเสริมให้ อปท. มีส่วนร่วมในการจัดบริการด้านผู้สูงอายุ และให้มีการจัดปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ - จัดทำเป็นชุดองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่แนวคิดและถ่ายทอดองค์ความรู้ - ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย อปท. แกนนำชุมชน ภาคธุรกิจ ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปในชุมชน ดำเนินงานการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุทั้งในบ้าน อาทิ การจัดทำราวจับช่วยพยุงตัว ทางลาด ปรับสภาพแวดล้อมฯ ในห้องน้ำ เพิ่มแสงสว่าง และการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะและสภาพแวดล้อมในชุมชน ได้แก่ ถนน ทางสัญจร สะพานทางเดิน ห้องน้ำสาธารณะ พื้นที่ในวัด และสถานีอนามัย เป็นต้น

13 การดำเนินงานในระยะต่อไป
สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ ตามนโยบายท่านนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสถานที่สำหรับทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน โดยในปี 2556 จัดตั้งศูนย์ฯ แล้วจำนวน 99 แห่ง และในปี 2557 จะดำเนิน การจัดตั้งศูนย์ในทุกอำเภอ จำนวน 878 แห่งทั่วประเทศ สร้างความรู้และความตระหนักแก่คนทุกช่วงวัยอย่างต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ และด้านเศรษฐกิจ รวมถึงส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ สร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ผ่านกลไกระบบอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยขณะนี้ พม. ได้ผลักดันงานอาสาสมัคร ให้มีครบทุก อปท. ทั่วประเทศไทยแล้วซึ่งขณะนี้เป็นช่วงของการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

14 ขอบคุณค่ะ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


ดาวน์โหลด ppt “นโยบายและการบริการภาครัฐสำหรับผู้สูงอายุ”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google