ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยThurdchai Kachornsak ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
บทที่ 8 การกำหนดราคาและผลผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Price and Output Determination Under Perfect Competition) ความหมายของตลาด ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ลักษณะของเส้นอุปสงค์ เส้นรายรับเฉลี่ย และเส้นรายรับ หน่วยท้ายสุด การหาผลผลิตที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผลิต ดุลยภาพระยะยาวของผู้ผลิต ผลของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ
2
8.1 ความหมายของตลาด ในทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดหมายถึง การที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อขายสินค้าและบริการซึ่งกันและกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ในการซื้อขาย หรือไม่ต้องพบเจอกัน ประเภทของตลาดจำแนกได้หลายลักษณะ แล้วแต่ใช้อะไรมาจำแนกประเภท เช่น จำแนกตามสถานที่ จำแนกตามเวลา จำแนกตามชนิดสินค้า จำแนกตามผลผลิต ในการวิเคราะห์เรื่องการกำหนดราคาสินค้าในตลาด นักเศรษฐศาสตร์แบ่งตลาดออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ แบ่งออกเป็น ตลาดผูกขาดแท้จริง ตลาดผู้ขายน้อยราย และตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
3
โครงสร้างตลาดแบ่งตามผู้ขาย
โครงสร้างของตลาดและการกำหนดราคาในทางทฤษฎี โครงสร้างตลาดแบ่งตามผู้ขาย ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (perfectly competitive market) ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (imperfectly competitive market) ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) ตลาดผูกขาดแท้จริง (Pure Monopoly)
4
8.2 ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์
8.2 ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมาก ผู้ซื้อและผู้ขายเป็น Price taker สินค้าที่นำมาขายในตลาดจะมีลักษณะที่เหมือนกัน ผู้ผลิตและผู้ขายสามารถเข้าออกจากตลาดโดยเสรี สินค้าและปัจจัยการผลิตสามารถโยกย้ายได้อย่างเสรี ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้ และรับทราบข่าวสารและข้อมูลเป็นอย่างดี
5
8.3 ลักษณะของเส้นอุปสงค์ เส้นรายรับเฉลี่ย และเส้นรายรับหน่วยท้ายสุด
8.3 ลักษณะของเส้นอุปสงค์ เส้นรายรับเฉลี่ย และเส้นรายรับหน่วยท้ายสุด P P S E1 P1 P1 D1=P1=AR1=MR1 E P P D=P=AR=MR D1 D Q Q อุปสงค์ของตลาด อุปสงค์ของผู้ขายแต่ละราย
6
8.4 การหาผลผลิตที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด
8.4 การหาผลผลิตที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด การหาผลผลิตที่ทำให้กำไรสูงสุดในระยะสั้น การหาผลผลิตที่ทำให้กำไรสูงสุดในระยะยาว ทั้งระยะสั้นและระยะยาวจะแยกพิจารณาได้ 2 กรณี คือ วิธีรวม (Total Approach) วิธีส่วนเพิ่ม (Marginal Approach) 1) การหาผลผลิตที่ทำให้กำไรสูงสุดในระยะสั้น กำไรของผู้ผลิต คือการที่ผู้ผลิตมีรายรับรวมมากกว่าต้นทุนรวม = TR – TC โดยที่ = กำไร TR = รายรับรวม TC = ต้นทุนรวม ระดับผลผลิตที่กำไรสูงสุด เป็นดุลยภาพของผู้ผลิต เมื่อผู้ผลิตแต่ละรายได้ดุลยภาพ ตลาดของสินค้า/อุตสาหกรรม ก็จะได้ดุลยภาพด้วย
7
วิธีรวม (Total Approach)
รายรับ, ต้นทุน TC วิธีรวม (Total Approach) TR กำไร = TR – TC หาระดับผลผลิตซึ่ง TR ห่าง จาก TC มากที่สุด A B ช่วงที่ TR>TC มากที่สุดกำไรสูงสุด slope TR= slope TC โดย TR อยู่ เหนือ TC หรือ MR= MC ต้นุทนรวมอยู่ในช่วงที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้น Q Q Q1 Q2 กำไร Q Q Q1 Q2
8
วิธีรวม (Total Approach)
TR, TC TC ในกรณีที่เส้น TR อยู่ต่ำกว่าเส้น TC ทั้งเส้น แสดงว่าผู้ผลิตขาดทุน หากผู้ผลิตทำการผลิตต่อไป ควรผลิตที่ระดับผลผลิตที่ขาดทุนน้อยที่สุด คือ TR อยู่ต่ำกว่า TC และห่างกันน้อยที่สุด ระดับผลผลิตที่ขาดทุนน้อยที่สุด อยู่ที่ OQ1 หน่วย slope TR = slope TC เส้นกำไร () อยู่ต่ำกว่าแกนนอนคือเป็นลบ ที่ Q1 หน่วย เส้นกำไรอยู่ใกล้แกนนอนมากที่สุด คือ ขาดทุนน้อยที่สุดหากมีการผลิต TR A B Q Q Q1 กำไร Q Q Q1
9
วิธีส่วนเพิ่ม (Margimal Approach)
ระดับการผลิตที่ได้กำไรสูงสุด คือ การผลิตที่ MC=MR ในช่วงที่ MC กำลังเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตมีกำไรสูงสุดที่ OQ2 หน่วย ซึ่ง MC=MR ขณะที่ MC กำลังเพิ่มขึ้น MC, MR MC P D=AR=MR=P Q Q1 Q2 ขณะที่ MR>MC ผู้ผลิตจะได้กำไร หากขยายการผลิตออกไป แต่ถ้าเลยระดับ OQ2 กำไรจะ หากยังทำการผลิตอยู่ ส่วนการผลิตที่ OQ1 หน่วย MC=MR แต่เป็นปริมาณผลผลิตที่ขาดทุนมากที่สุด
10
2) การหาผลผลิตที่ทำให้กำไรสูงสุดในระยะยาว
2) การหาผลผลิตที่ทำให้กำไรสูงสุดในระยะยาว วิธีรวม (Total Approach) ผลผลิตที่ผู้ผลิตมีกำไรสูงสุด อยู่ ณ ปริมาณผลผลิตที่ TR ห่างจาก TC มากที่สุด และ slope TR = slope TC รายรับ, ต้นทุน LTC TR A B Q Q การผลิตที่ได้กำไรสูงสุด คือ OQ หน่วย กำไร=AB ซึ่ง ณ Q นี้ slope TR= slope LTC และห่างกันมากที่สุด
11
ปริมาณการผลิตที่ได้กำไรสูงสุดคือ OQ หน่วย
วิธีส่วนเพิ่ม (Marginal Approach) ระดับการผลิตที่ได้กำไรสูงสุดในระยะยาว คือที่ LMC=MR ในช่วงที่ LMC กำลังเพิ่มขึ้น รายรับ, ต้นทุน LMC P D = AR = MR = P Q Q ปริมาณการผลิตที่ได้กำไรสูงสุดคือ OQ หน่วย
12
8.5 ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผลิต
8.5 ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผลิต ดุลยภาพในระยะสั้น พิจารณาโดยวิธี Marginal Approach การกำหนดปริมาณผลผลิตที่กำไรสูงสุด ปริมาณผลผลิตที่กำไรสูงสุด คือ ณ ผลผลิตที่ MC = MR ราคา, รายรับ, ต้นทุน MC AC P E D=AR=MR=P P0 F Q Q ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผลิต คือ จุดที่ MC=MR ที่ปริมาณผลผลิต OQ หน่วย ณ ระดับนี้ ผู้ผลิตได้กำไรสูงสุด TR = OPEQ TC = OP0FQ กำไร = TR–TC = OPEQ– OP0FQ= P0PEF
13
กำไรปกติและกำไรเกินปกติ
กำไรทางเศรษฐศาสตร์ กำไรปกติ (Normal Profit) เป็นกำไรซึ่งนำเอาต้นทุนค่าเสียโอกาสมาคิดรวมในต้นทุน หาก TR = TC เรียกว่ามีกำไรปกติ (Normal Profit) หรือกำไรทางเศรษฐศาสตร์เท่ากับ 0 เพราะได้รวมกำไรที่ควรได้รับในฐานะผู้ประกอบการเข้าไว้แล้วในต้นทุน ในระยะสั้นแม้ผู้ผลิตไม่มีกำไรปกติ ก็อาจทำการผลิตต่อเพราะจะช่วยลดการขาดทุนต้นทุนคงที่บางส่วน ในระยะยาว ถ้าผู้ผลผลิตไม่ได้กำไรปกติ จะเลิกทำการผลิต กำไรเกินปกติ (Excess Profit) เป็นกำไรที่แท้จริงทางเศรษฐศาสตร์ เกิดเมื่อ TR > TC เรียกว่ามีกำไรทางเศรษฐศาสตร์ ในระยะสั้น ตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะมี Excess Profit แต่ในระยะยาว กำไรเกินปกติจะทำให้ผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาแข่งขัน กำไรเกินปกติจึงหมดไป ผู้ผลิตได้รับเพียงกำไรปกติเท่านั้น
14
ผู้ผลิตได้กำไรปกติ ผลิตที่ OQ หน่วย (MC=MR ที่จุด E)
ราคา, รายรับ, ต้นทุน ราคา, รายรับ, ต้นทุน MC MC AC AC E P E P D=AR=MR D=AR=MR P1 F Break - even Point Q Q Q Q ผู้ผลิตได้กำไรปกติ ผลิตที่ OQ หน่วย (MC=MR ที่จุด E) TR=TC = OPEQ ผู้ผลิตจึงมีเพียงกำไรปกติ จุดผลิตนี้เรียกว่า จุดคุ้มทุน (Break-even Point) ซึ่งอยู่ ณ จุดต่ำสุดของ AC ผู้ผลิตมีกำไรเกินปกติ ผลิตที่ OQ หน่วย (MC=MR ที่จุด E) TR=OPEQ และ TC=OP1FQ TR>TC ผู้ผลิตจึงมี Excess Profit =P1PEF จุดการผลิตที่ MC=MR อยู่สูงกว่า AC หรือจุด Break-even
15
การตัดสินใจหยุดผลิตในระยะสั้นเมื่อเกิดการขาดทุน
ในระยะสั้น ผู้ผลิตอาจขาดทุนหาก TR < TC ผู้ผลิตอาจผลิตต่อหรือเลิกผลิต หรือทำอย่างไรให้ขาดทุนน้อยที่สุด ถ้า P=AR >AVC ผู้ผลิตยังคงทำการผลิตต่อไปแม้จะขาดทุน เพราะสามารถชดเชย TFC บางส่วน ทำให้ขาดทุนน้อยลงไปได้ ถ้า P=AR <AVC ผู้ผลิตจะเลิกทำการผลิต เพราะหากทำการผลิตแล้ว นอกจากขาดทุน TFC ยังขาดทุนไปถึง TVC ด้วย ถ้า P=AR=AVC ผู้ผลิตทำการผลิตหรือไม่ก็ได้ เพราะผลิตหรือไม่ผลิตก็ขาดทุนเท่ากับ TFC ซึ่งเป็นจุดปิดโรงงาน (Shut-Down Point) จะอยู่ ณ จุดต่ำสุดของ AVC
16
ผู้ผลิตขาดทุนแต่ยังผลิต เพราะสามารถชดเชยการขาดทุน TFC บางส่วนได้
ราคา, รายรับ, ต้นทุน MC AC AVC K P1 E P D=AR=MR=P P2 F Q Q ผู้ผลิตขาดทุนแต่ยังผลิต เพราะสามารถชดเชยการขาดทุน TFC บางส่วนได้ ดุลยภาพอยู่ที่จุด E ทำการผลิต OQ หน่วย TR = OPEQ TC = OP1KQ ขาดทุน = PP1KE ซึ่งน้อยกว่า TFC ( P2P1KF)
17
ราคา, รายรับ, ต้นทุน Q MC AC AVC F P1 E P D=AR=MR=P Shut-down Point Q
Q Q เป็นกรณีที่ผู้ผลิตขาดทุน = TFC ดุลยภาพอยู่ที่จุด E ทำการผลิต OQ หน่วย TR = OPEQ TC = OP1FQ ขาดทุน = PP1FE = TFC การผลิต ณ จุด E นี้เป็นจุดที่เรียกว่าจุดปิดโรงงาน (shut-down point) อยู่ ณ จุดต่ำสุดของ AVC
18
เป็นกรณีที่ผู้ผลิตไม่ทำการผลิตเนื่องจากขาดทุน > TFC
ดุลยภาพอยู่ที่จุด E ทำการผลิต OQ หน่วย TR = OPEQ TC = OP2KQ ขาดทุน = PP2KE > TFC (= P1P2KF) โดยขาดทุนมากกว่า TFC = PP1FE จุดการผลิตนี้อยู่ต่ำกว่าจุดปิดโรงงาน ราคา, รายรับ, ต้นทุน MC AC AVC P2 K P1 F P D=AR=MR=P E Q Q
19
อุปทานของผู้ผลิตในระยะสั้น
ระยะสั้น ผู้ผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ทำการผลิตเพื่อได้กำไรสูงสุดที่ MC=MR ซึ่งอาจได้กำไรหรือขาดทุน จากดุลยภาพการผลิตต่างๆ สามารถสร้างเส้นอุปทานของผู้ผลิตแต่ละรายในระยะสั้นได้ ราคา,รายรับ,ต้นทุน P S MC AC P P E D AVC P1 P1 E1 D1 P2 P2 E2 D2 E3 P3 P3 D3 D1 D D3 D2 Q Q Q3 Q2 Q1 Q ถ้า P ตลาด=OP เส้น D ที่ผู้ผลิตเผชิญคือเส้น D ดุลยภาพอยู่ที่จุด E ผลิตสินค้า OQ หน่วย ถ้า D เป็น D1D3 เส้น D ที่ผู้ผลิตเผชิญจะเปลี่ยนเป็น D1D3 ดุลยภาพการผลิตเปลี่ยนจาก EE3 Q เปลี่ยนจาก QQ3 คือผลิตลดลง จุด E3 เป็นจุด Shut-down Point หาก P ต่ำกว่าจุด E3 ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิต ผู้ผลิตทำการผลิตตั้งแต่จุด E3 ขึ้นไปตามเส้น MC เส้นอุปทานของผู้ผลิตในระยะสั้น จึงเป็น เส้น MC ที่อยู่เหนือจุดต่ำสุดของ AVC ขึ้นไป
20
เส้นอุปทานระยะสั้นของอุตสาหกรรมทำโดยรวม MC ของผู้ผลิตแต่ละรายเข้าด้วยกันตามแนวนอน
P P P SM SMC1 SMC2 P P P Q Q Q Q1 Q2 Q1+ Q2 ที่ราคาตลาด=OP บาท ผู้ผลิตรายที่ 1 ผลิต OQ1 หน่วย ผู้ผลิตรายที่ 2 ผลิต OQ2 หน่วย อุปทานระยะสั้นของอุตสาหกรรมที่ราคา OP บาท คือ OQ1+OQ2 เมื่อรวมอุปทานของผู้ผลิตทุกรายในแต่ละระดับราคา จะได้เส้นอุปทานของอุตสาหกรรม (สมมติว่าราคาปัจจัยการผลิตไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเพิ่มการผลิตในตลาด) แต่หากผู้ผลิตต้องการใช้ปัจจัย จนราคาปัจจัยสูงขึ้น เมื่อรวมอุปทานของหน่วยผลิตแต่ละรายเข้าด้วยกัน เส้นอุปทานของอุตสาหกรรมจะมีค่า slope มากกว่า (คือมีค่าความยืดหยุ่นของอุปทานน้อยกว่า) เส้นอุปทานในกรณีที่ราคาปัจจัยคงที่
21
8.6 ดุลยภาพระยะยาวของผู้ผลิต
8.6 ดุลยภาพระยะยาวของผู้ผลิต ดุลยภาพระยะยาวของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีเงื่อนไข 2 ประการ การได้กำไรสูงสุด ณ MC=MR ในระยะยาว ดุลยภาพอยู่ที่ LMC=MR=P ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดของโรงงานได้ หรือจะเลิกผลิตถ้าเห็นว่าไม่คุ้มทุน ดังนั้นราคาสินค้าในระยะยาวต้องเท่ากับต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำสุด และผู้ผลิตจะใช้ขนาดของโรงงานที่เป็น Optimum Size ซึ่งอยู่ ณ จุดต่ำสุดของ LAC และ SMC=LMC เมื่อได้ดุลยภาพระยะยาวจะต้องได้ดุลยภาพระยะสั้นด้วย แต่การได้ดุลยภาพระยะสั้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ในดุลยภาพระยะยาว เพราะเมื่อ P>LAC ที่ต่ำสุดในระยะยาว ผู้ผลิตมีกำไรเกินปกติ (Excess Profit) จะจูงใจให้ผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาแข่งขันมากขึ้น ทำให้ราคา จนเท่ากับ LAC ต่ำสุด แต่ถ้า P < LAC ที่ต่ำสุด ผู้ผลิตบางรายจะออกจากอุตสาหกรรม จำนวนผู้ผลิต ทำให้ P จนเท่ากับ LAC ต่ำสุด ในระยะยาวจึงต้องผลิตที่จุดต่ำสุดของ LAC
22
ดุลยภาพระยะยาว ผู้ผลิตใช้โรงงานที่มีขนาดที่เหมาะสม (LAC=SAC)
ผู้ผลิตทำการผลิต ณ ระดับผลผลิตที่เหมาะสมที่สุด ผู้ผลิตได้รับเพียงกำไรปกติ ราคา, รายรับ, ต้นทุน LMC SMC LAC SAC E P D=AR=MR=P Q Q ดุลยภาพระยะยาวเกิดขึ้นที่ LMC=MR=P คือจุด E โดยผลิต OQ หน่วย ณ จุดนี้ SMC=LMC=LAC=SAC=MR ขนาดของโรงงาน ณ จุดต่ำสุดของ LAC เป็น Optimum Size ผู้ผลิตมีเพียงกำไรปกติเท่านั้น โดย TR = TC = OPEQ
23
8.7 ผลของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ
8.7 ผลของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ หน่วยผลิตใช้ขนาดของโรงงานที่มี AC ต่ำสุด แสดงถึงความมีประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต โดยผลิตที่จุดต่ำสุดของ LAC ในระยะยาวหน่วยผลิตมีเพียงกำไรปกติ (P=LAC) ทำให้ทั้งหน่วยผลิตเดิมและหน่วยผลิตใหม่ไม่มีการโยกย้ายออกหรือเข้าจากอุตสาหกรรม ไม่มีการเคลื่อนย้ายปัจจัย การจัดสรรทรัพยากรจึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ราคาสินค้าในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ P=MC (D=S) แสดงว่าจำนวนสินค้าที่ทำการผลิตเท่ากับความต้องการในการซื้อสินค้าพอดี คนในสังคมจึงได้รับประโยชน์สูงสุดเช่นกัน ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ สินค้ามีลักษณะเป็น Homogenous Product หน่วยผลิตไม่จำเป็นต้องโฆษณาสินค้า จึงไม่เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.