งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คุณครูโชคชัย บุตรครุธ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คุณครูโชคชัย บุตรครุธ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คุณครูโชคชัย บุตรครุธ
น้ำค้างแข็ง คุณครูโชคชัย บุตรครุธ

2 19 น้ำค้างแข็ง ( Frost ) 19.1 น้ำค้างแข็ง ( Frost ) เป็นปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในบรรยากาศของพื้นผิวโลก มีลักษณะเป็นเกร็ดน้ำแข็งขาว ๆ จับตัวตามใบไม้ใบหญ้า และวัตถุอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้กับพื้นดิน จะพบในช่วงฤดูหนาวบริเวณยอดดอยสูง ๆ ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3 19 น้ำค้างแข็ง ( Frost ) 19.2 แหล่งที่พบ น้ำค้างแข็งที่พบในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน มีชื่อภาษาถิ่นว่า “เหมยขาบ” ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แหล่งสำคัญที่พบ คือ ภูกระดึง จังหวัดเลย เรียกว่า “แม่คะนิ้ง”

4 19 น้ำค้างแข็ง ( Frost ) 19.3 กระบวนการเกิด น้ำค้างแข็งเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ (1) การเกิดโดยตรง เกิดเมื่ออุณหภูมิของอากาศใกล้ผิวโลกลดต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้ไอน้ำในอากาศจับตัวแข็งเป็นเกร็ดน้ำแข็ง และตกลงมาเกาะตามใบไม้ใบหญ้าบริเวณเหนือพื้นดิน

5 19 น้ำค้างแข็ง ( Frost ) (2) การเกิดโดยอ้อม เกิดเมื่ออุณหภูมิของอากาศลดต่ำลง โดยมีปริมาณความชื้นสัมพัทธ์บริเวณใกล้พื้นดินสูง ทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ตามใบไม้ใบหญ้า และเมื่ออุณหภูมิของอากาศลดต่ำเท่ากับจุดเยือกแข็ง น้ำค้างที่เกาะตามใบไม้ใบหญ้าก็จะแข็งตัวเป็นเกร็ดน้ำแข็ง

6 20. ลูกเห็บ 20.1 ลูกเห็บ ( Hail ) เป็นปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีลักษณะเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดเล็กคล้ายรูปกรวยหรือหัวหอม จะตกลงมาพร้อมกับการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองถ้าลูกเห็บมีขนาดใหญ่อาจทำอันตรายต่อบ้านเรือน หรือพืชผักผลไม้ได้

7 20. ลูกเห็บ 20.2 แหล่งที่พบ ลูกเห็บมักตกในพื้นที่จังหวัดเชียงรายมากที่สุด โดยเฉพาะในเดือนเมษายนซึ่งมีพายุฝนฟ้าคะนอง

8 20. ลูกเห็บ 20.3 กระบวนการเกิด ลูกเห็บจะเกิดเมื่อเมฆฝน ที่เรียกว่า “คิวมูโลนิมบัส” ก่อตัวขึ้นและลอยตัวอย่างรวดเร็วขึ้นสู่บรรยากาศชั้นบนที่มีอุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้เม็ดฝนแข็งตัวกลายเป็นก้อนน้ำแข็งและตกลงมาพร้อม ๆ กับพายุฝน

9 21. แผ่นดินไหว 21.1 แผ่นดินไหว ( Earthquakes ) เป็นปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เปลือกโลกเกิดการเคลื่อนไหวหรือสั่นสะเทือน โดยเกิดจากการเคลื่อนตัวและแรงกดดันของเปลือกโลก รวมทั้งการระเบิดของภูเขาไฟ

10 21. แผ่นดินไหว 21.2 กระบวนการเกิด สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวมี 2 ประการ คือ (1) เกิดโดยธรรมชาติ ได้แก่ การเคลื่อนตัวหรือการเลื่อนตัวของเปลือกโลก และการระเบิดของภูเขาไฟ

11 21. แผ่นดินไหว (2) เกิดโดยการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การสร้างอ่างเก็บน้ำไว้บนแนวรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลก การทำเหมืองขุดในระดับลึก การทดลองการระเบิดใต้ดิน การเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดินทำให้เกิดการแผ่กัมมันตรังสี 

12 21. แผ่นดินไหว 21.3 เครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว เรียกว่า ไซสโมกราฟ(Seismograph) โดยมีหน่วยวัดเป็นมาตรา “ริคเตอร์” (Richter)

13 21. แผ่นดินไหว 21.4 การวัดระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว โดยทั่วไประดับความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวตั้งแต่ 7.0 มาตราริคเตอร์ขั้นไป เป็นการสั่นไหวที่รุนแรง อาคารสิ่งก่อสร้างได้รับความเสียหายมาก แผ่นดินอาจมีรอยแตกแยก เครื่องเรือนและวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นจะถูกเหวี่ยงกระเด็น

14 21. แผ่นดินไหว 21.5 ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว
(1) ผลกระทบโดยตรง ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ (2) ผลกระทบโดยอ้อม พื้นที่ที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลอาจจะเกิดคลื่นยักษ์ เรียกว่า “สึนามิ” ( Tsunami )

15 21. แผ่นดินไหว 21.6 สถิติแผ่นดินไหวของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่นอกแนวแผ่นดินไหวของโลกจึงได้รับผลกระทบไม่มากนัก จากการตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าขนาดของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นระดับเล็กหรือปานกลาง (เฉลี่ยประมาณ 6.0 ริคเตอร์)

16 จบ


ดาวน์โหลด ppt คุณครูโชคชัย บุตรครุธ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google