งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
กฎหมายว่าด้วย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

2 พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ระเบียบว่าด้วยความรับผิดชอบ ของข้าราชการในทางแพ่ง พ.ศ.2503

3 พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 คำนิยามที่สำคัญ - เจ้าหน้าที่ - หน่วยงานของรัฐ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ - การทำละเมิดต่อเอกชน (บุคคลภายนอก) - การทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ

4 การทำละเมิดต่อเอกชน / บุคคลภายนอก
ความรับผิดทางละเมิดของหน่วยงานของรัฐ - กรณีเจ้าหน้าที่กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ - หน่วยงานของรัฐรับผิด/ถูกฟ้องแทนเจ้าหน้าที่ - ฟ้องกระทรวงการคลัง (ม.5) -กรณีเจ้าหน้าที่กระทำนอกเหนือการปฏิบัติหน้าที่ - หน่วยงานของรัฐไม่ต้องรับผิด/ถูกฟ้อง (ม.6)

5 การทำละเมิดต่อเอกชน / บุคคลภายนอก (ต่อ)
สิทธิการดำเนินคดีของผู้เสียหาย - ฟ้องเจ้าหน้าที่ / หน่วยงานของรัฐ - ฟ้องผิด ฟ้องใหม่ได้ ภายใน 6 เดือน - อายุความการใช้สิทธิ 1 ปี / 10 ปี (ป.พ.พ. ม.448)

6 การทำละเมิดต่อเอกชน / บุคคลภายนอก (ต่อ)
การร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน - ผู้เสียหาย ตาม ม.5 - หน่วยงานของรัฐ - ออกใบรับคำขอเป็นหลักฐาน - พิจารณาภายใน 180 วัน - ขยายไม่เกิน 180 วัน (รายงาน ร.ม.ต.)

7 การทำละเมิดต่อเอกชน / บุคคลภายนอก (ต่อ)
สิทธิไล่เบี้ยของหน่วยงานของรัฐ - เจ้าหน้าที่ กระทำโดยจงใจ / ประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง (ม.8 ว 1) ดูภาพนิ่ง 33 - คำนึงถึงความร้ายแรงแห่งการกระทำ และความเป็นธรรม (ม.8 ว 2) - หักส่วนความเสียหาย (ม.8 ว 3) - ไม่นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ (ม.8 ว 4) ดูภาพนิ่ง 34

8 การทำละเมิดต่อเอกชน / บุคคลภายนอก (ต่อ)
หน่วยงานของรัฐ / เจ้าหน้าที่ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ผู้เสียหาย สำหรับกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายไปก่อน เจ้าหน้าที่ก็มีสิทธิมา ไล่เบี้ยเอาจากหน่วยงานของรัฐได้ในทำนองเดียวกัน สิทธิในการไล่เบี้ยในทั้งสองกรณีนี้มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย (มาตรา 9) ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายไปแล้ว และเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นด้วย หน่วยงาน ของรัฐก็มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล (มาตรา 12) อายุความการใช้สิทธิไล่เบี้ย (ม.9) - 1 ปี นับแต่วันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

9 การกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ
กรณีเจ้าหน้าที่กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ - บังคับตาม ม.8 โดยอนุโลม กรณีเจ้าหน้าที่กระทำ มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ - บังคับตาม ป.พ.พ - กระทำประมาทเลินเล่อ - รับผิดลักษณะลูกหนี้ร่วมได้

10 การกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ (ต่อ)
อายุความการเรียกชดใช้ค่าเสียหาย - 2 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐ รู้ถึง การละเมิด และรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (ปฏิบัติหน้าที่+ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่) แต่ไม่ว่าการละเมิดนั้นจะเกิดจากการกระทำในทางปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ก็ตาม สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในทั้ง 2 กรณีนั้น จะมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้กึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อย่างไรก็ดี ในกรณีหน่วยงานของรัฐที่เสียหาย เห็นว่าเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าเจ้าหน้าที่ต้อง รับผิด อายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จะมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง (มาตรา 10 วรรคสอง) - 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นกระทรวงการคลัง

11 การเรียกให้เจ้าหน้าที่ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ออกคำสั่งเรียกให้ชดใช้ (คำสั่งทางปกครอง) - กรณีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ - ละเมิดต่อเอกชน/บุคคลภายนอก (ม.8) - ละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ (ม.10 + ม.8) อุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ใช้มาตรการทางปกครอง (พ.ร.บ.วิ ปกครอง ม.57- ยึด/อายัดทรัพย์สิน) ในกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำการละเมิดต่อหน่วยงาน ของรัฐอันเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานของรัฐก็มีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่นั้นชำระเงินค่าสินไหมทดแทนภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ในทำนองเดียวกับการใช้สิทธิไล่เบี้ยในกรณีที่เกิดการละเมิดขึ้นแก่เอกชนดังกล่าวข้างต้น แต่ถ้าไม่ได้เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่หน่วยงานของรัฐก็ไม่มีอำนาจเช่นนั้น ต้องฟ้องร้องเป็นคดีไปตามปกติ (มาตรา12) นอกจากสาระสำคัญต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น นั้นแล้ว พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังกำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นสามารถผ่อนชำระเงินที่ต้องรับผิดนั้นได้ โดยให้คำนึงถึงรายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบและพฤติการณ์อื่นๆแห่ง กรณีนั้นประกอบด้วย (มาตรา 13)

12 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

13 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 - ที่มา - คำนิยามที่สำคัญ เจ้าหน้าที่ ความเสียหาย ผู้แต่งตั้ง

14 กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิด
หมวด 1 กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิด ต่อหน่วยงานของรัฐ 1.กระทรวงฯ (ส่วนกลาง+ภูมิภาค) 2.ท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นฯ

15 การดำเนินการ เมื่อหน่วยงานของรัฐเกิดความเสียหาย
- รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับ - สอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น - แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิด

16 การแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
มีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายเกิดจาก การกระทำของเจ้าหน้าที่ กรรมการจำนวนไม่เกิน 5 คน กำหนดวันแล้วเสร็จ กค. ประกาศกำหนดจำนวนความเสียหาย / ผู้แทนหน่วยงานร่วมเป็นกรรมการ

17 การแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด(ต่อ)
ข้อยกเว้น ไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ รายงานผู้บังคับบัญชา เห็นด้วย : ยุติเรื่อง ไม่เห็นด้วย : แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ชดใช้ค่าเสียหายครบถ้วน

18 การแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด(ต่อ)
กรณีร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐทำความเสียหาย แก่หน่วยงานของรัฐอีกแห่งหนึ่ง (ข้อ 10) หน่วยงานของรัฐมากกว่าหนึ่งแห่งได้รับ ความเสียหาย (ข้อ 11) เกิดการทำละเมิดของเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน(ข้อ 11)

19 การแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด(ต่อ)
ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ไม่ดำเนินการภายในเวลาสมควร แต่งตั้งไม่เหมาะสม ให้ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง รัฐมนตรี แต่งตั้ง/เปลี่ยนแปลง (แทนผู้มีอำนาจ)ตามที่เห็นสมควร

20 หน้าที่คณะกรรมการ สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
กรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด (ข้อ 13) ประธานไม่อยู่ให้เลือกกรรมการคนใดคนหนึ่ง ทำหน้าที่แทน มติที่ประชุมถือเสียงข้างมาก ไม่เห็นด้วยให้ทำความเห็นแย้งไว้ (ข้อ 14) ตรวจสอบข้อเท็จจริง รวมรวมพยานหลักฐาน พยานบุคคล/ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบเอกสาร วัตถุ / สถานที่

21 หน้าที่คณะกรรมการ สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด (ต่อ)
ต้องให้โอกาสแก่ผู้เสียหายได้ชี้แจง (ข้อ 15) เสนอความเห็นให้ผู้แต่งตั้งพิจารณา โดยมีข้อเท็จจริง/กฎหมาย/พยานหลักฐาน(ข้อ 16) สอบสวนให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา

22 การดำเนินการของผู้มีอำนาจแต่งตั้ง
ไม่ผูกพันความเห็นของคณะกรรมการฯ (ข้อ 16) ขอให้กรรมการสอบเพิ่มเติมหรือทบทวนได้ ให้วินิจฉัยว่ามีผู้ใดต้องรับผิด/เป็นจำนวนเท่าใด /ยังไม่ต้องแจ้งให้ผู้รับผิดทราบ (ข้อ 17) ให้ส่งผลให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ภายใน 7 วัน ระหว่างรอผลกระทรวงการคลัง ให้ตระเตรียมออกคำสั่ง/ ฟ้องคดีมิให้ขาดอายุความ 2 ปี

23 การดำเนินการของผู้มีอำนาจแต่งตั้ง (ต่อ)
หากกระทรวงการคลังมิได้แจ้งผลภายใน ปี หรือ 1 ปี 6 เดือน ให้ดำเนินตามที่เห็นสมควร เมื่อกระทรวงการคลังแจ้งผลแล้วให้ดำเนินการ ตามความเห็นกระทรวงการคลัง ตามที่เห็นว่าถูกต้อง (ข้อ 18) กรณีแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมกัน ผู้แต่งตั้งร่วมเห็นต่างกัน ให้เสนอ ครม. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดตาย ให้รีบดำเนินการภายในอายุความมรดก

24 การดำเนินการของผู้มีอำนาจแต่งตั้ง (ต่อ)
ข้อยกเว้น - สำนวนที่ไม่ต้องส่งให้ กค. ตรวจสอบ(ประกาศ กค.)ภาพนิ่ง87 การวินิจฉัยสั่งการที่แตกต่างจากความเห็น ของ กค. - ราชการส่วนท้องถิ่น/รัฐวิสาหกิจ /หน่วยงานอื่นของรัฐตามพระราชกฤษฎีกาฯ ให้ปฏิบัติตามที่เห็นว่าถูกต้อง

25 การพิจารณาของกระทรวงการคลัง
ให้มี “คณะกรรมการพิจารณาความรับผิด ทางแพ่ง” เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นต่อกระทรวงการคลัง (ข้อ 21) ตรวจสอบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้บุคคลมาชี้แจงเพิ่มเติม ให้รับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติม

26 การชดใช้ค่าเสียหาย ถ้าเป็นเงินชดใช้เป็นเงิน
ถ้าเป็นสิ่งของต้องชดใช้เป็นสิ่งของ ที่มีสภาพอย่างเดียวกัน ถ้าซ่อมต้องทำสัญญาตกลง และซ่อมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว(6 ด.) ถ้าชดใช้ต่างจากทรัพย์สินที่เสียหายหรือสูญหาย ต้องทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง

27 การผ่อนชำระเงิน เจ้าหน้าที่สามารถผ่อนชำระได้ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง ภาพนิ่ง88 หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังกล่าวให้ทำความตกลงกับ กระทรวงการคลังเป็นกรณีไป ห้ามฟ้องล้มละลายในกรณีที่ไม่มีเงินผ่อนชำระเว้นแต่เข้าเงื่อนไขข้อ 27 แห่งระเบียบฯ

28 กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิด กระทรวงฯ (ส่วนกลาง+ภูมิภาค)
หมวด 2 กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิด ต่อบุคคลภายนอก กระทรวงฯ (ส่วนกลาง+ภูมิภาค)

29 การดำเนินการ เมื่อเจ้าหน้าที่ทำให้บุคคลภายนอก ได้รับเสียหาย
เจ้าหน้าที่ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ - รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับ - ดำเนินการตามหมวด 1 โดยอนุโลม

30 การดำเนินการ กรณีผู้เสียหาย (บุคคลภายนอก) ยื่นคำขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
-ผู้รับคำขอ หน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ กระทรวงการคลัง(กรณีมิได้สังกัดหน่วยงานใด) - แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด กรณีต้องชดใช้ ให้ปฏิบัติตามที่ กค. กำหนด กรณีไม่ต้องชดใช้ = ยังไม่ได้รับความเสียหาย

31 การดำเนินการ กรณีผู้เสียหาย (บุคคลภายนอก) ฟ้องคดีต่อศาล
กรณีไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ -เรียก จนท.เข้ามาเป็นคู่ความ กรณีปฏิบัติหน้าที่ -อัยการแถลงศาลให้กัน จนท.ออกมา ถ้าผลคดีทางราชการแพ้ -ไล่เบี้ย จนท. ตามเกณฑ์หมวด 1 (จงใจ-ร้ายแรง)

32 ตารางแสดงขั้นตอนดำเนินการตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ กรณีเห็นว่า ความเสียหายมิได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ต้องรายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อ พิจารณาว่าสมควรตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดหรือไม่ (ข้อ ๑๒) รายงาน หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ(แต่งตั้งคณะ กรรมการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น) ๑. เกิดความเสียหาย กรณีเห็นว่า ความเสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ก็ให้ตั้ง คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๒. คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง รับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ ปฏิบัติหน้าที่ ประมาทเลินเล่อ ไม่ต้องรับผิด มีผู้รับผิดหรือไม่ ๓. ผู้แต่งตั้งวินิจฉัยสั่งการ ส่งสำนวนการสอบสวนให้กระทรวงการคลังภายใน ๗ วัน นับแต่วันวินิจฉัยสั่งการ จำนวนเท่าใด ส่วนราชการต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อนอายุความ ๒ ปีสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า ๖ เดือน ๔. กระทรวงการคลัง คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง ส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อนอายุความ ๒ ปี สิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า ๑ ปี หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ๕. กระทรวงการคลัง คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง หน่วยงานของรัฐประเภทราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ มีคำสั่งตามที่เห็นว่าถูกต้อง กรณีปฏิบัติหน้าที่ ออกคำสั่งทางปกครอง ๖. หน่วยงานของรัฐ ผู้ต้องรับผิด ผู้ต้องรับผิดไม่พอใจคำสั่ง ให้ฟ้องศาลปกครอง กรณีไม่ใช่ปฏิบัติหน้าที่ ฟ้องคดีต่อศาล ภายในอายุความ ๒ ปี

33 กลับภาพนิ่ง 7

34 ผู้ทุจริต 100% 60% ผู้เกี่ยวข้อง 2,506,195.60 1,503,717.36 60%
902,230.42 กก.เก็บรักษาฯ 3 คน(รวมผู้ทุจริต) คนละ 300,743.47 กก.รับส่งเงิน 2 คน(รวมผู้ทุจริต) - ผู้บังคับบัญชา 2 คน(นายก+ปลัด) 40% 601,486.94 คนละ 300,743.47 กลับภาพนิ่งที่ 7

35 สำนักความรับผิดทางแพ่ง
การทำสำนวนการสอบสวน สำนักความรับผิดทางแพ่ง กรมบัญชีกลาง

36 ประเภทสำนวนการสอบสวน
1. ทุจริตเงินหรือทรัพย์สิน 2. ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบ 3. คนร้ายกระทำโจรกรรม หรือทรัพย์สิน สูญหาย 4. อาคารสถานที่ถูกเพลิงไหม้ 5. ยานพาหนะเกิดอุบัติเหตุ

37 1. ทุจริตเงินหรือทรัพย์สิน
1)วันเวลา เกิดการทุจริต 2)ชื่อ ตำแหน่งและอำนาจหน้าที่ของ ผู้กระทำทุจริต ในการปฏิบัติราชการโดยปกติ 3)การกระทำและพฤติการณ์ในการกระทำทุจริต

38 ทุจริตเงินหรือทรัพย์สิน (ต่อ)
4) ชื่อ ตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ที่ร่วมงานหรือที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้บังคับบัญชาตามสายงาน 5)รายละเอียดการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งผู้บังคับบัญชา ให้ระบุชื่อและตำแหน่งว่าตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือทางปฏิบัติที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร เปรียบเทียบกับการกระทำที่เกิดขึ้นจริง พร้อมแผนภูมิประกอบ เปรียบเทียบระหว่างกรณีทางปฏิบัติ ที่ถูกต้องกับการกระทำที่เกิดขึ้นจริง

39 ทุจริตเงินหรือทรัพย์สิน (ต่อ)
6)กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่ง เกี่ยวกับงานในหน้าที่นั้น ๆ หรืองานที่ได้รับมอบหมายมีอย่างไร 7)หลักและวิธีปฏิบัติโดยปกติของงานหรือ กิจการนั้นเป็นอย่างไร 8)หลักฐานและเอกสารที่ผู้ทุจริตได้กระทำหรือหลักฐานที่ผู้ทุจริตจะต้องกระทำแต่ได้ละเว้นไม่กระทำ (ข้อนี้อาจจะต้องตรวจ รายละเอียดจากเอกสารที่มีอยู่เป็นจำนวนมากก็ได้ ซึ่งแล้วแต่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไป)

40 ทุจริตเงินหรือทรัพย์สิน (ต่อ)
9)รายการและจำนวนเงินที่ทุจริต หรือขาดหายไป 10)เอกสารแจ้งความร้องทุกข์ สำเนาสำนวนการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ และความเห็น (ถ้ามี) ตลอดจนผลการฟ้องคดี 11)กรณีมีการระบุว่า ลายมือชื่อปลอม ได้มีการส่งหลักฐานให้ผู้ชำนาญของกองพิสูจน์หลักฐานตรวจสอบหรือไม่ ถ้ามีขอรายงานผลการพิสูจน์ดังกล่าว

41 ทุจริตเงินหรือทรัพย์สิน (ต่อ)
12)การเรียกร้องหรือฟ้องคดีกับธนาคารผู้จ่ายเงิน (ถ้ามี) 13)ในกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับเช็ค ขอสำเนาเช็ค สำเนาใบเสร็จรับเงิน เอกสารประกอบการสั่งจ่าย ผู้มีอำนาจสั่งจ่าย หลักฐานการได้รับชำระหนี้ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 14)พฤติการณ์และกรณีแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ผู้ทุจริตเป็นคนชอบเล่นการพนัน ภาวะแห่งจิตใจ ฯลฯ

42 ทุจริตเงินหรือทรัพย์สิน (ต่อ)
15)ความเห็นและผลการดำเนินการของ ปปช. ปปง. และผลการดำเนินคดีอาญา (ถ้ามี) 16)กรณีมีการกระทำทุจริตเกิดขึ้นหลายกรณี ให้แยกการสอบสวนเป็นรายกรณี พร้อมความเห็นว่า ผู้กระทำการทุจริตและ ผู้บังคับบัญชาจะต้องรับผิดหรือไม่ อย่างไร และเป็นจำนวนเงินเท่าใด

43 ทุจริตเงินหรือทรัพย์สิน (ต่อ)
17)บันทึกการให้ปากคำของผู้เกี่ยวข้อง และโดยเฉพาะผู้ที่จะต้องรับผิดหรืออาจจะต้องรับผิด ทั้งนี้ -ต้องให้บุคคลดังกล่าวได้มีโอกาสที่จะทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและเป็นธรรม -ให้มีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยาน หลักฐานของตนด้วย -โดยต้องมิได้กระทำการใดอันเป็นการล่อลวง ขู่เข็ญ ให้สัญญา หรือกระทำโดยมิชอบด้วยประการอื่น

44 ทุจริตเงินหรือทรัพย์สิน (ต่อ)
18)กรณีช่วงระยะเวลาที่เกิดความเสียหาย มีผู้รับผิดชอบและเกี่ยวข้อง หลายคนซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้รับผิดชอบหรือที่เกี่ยวข้อง และหรือมีการโยกย้าย -ให้ระบุรายละเอียดช่วงเวลาที่แต่ละคนต้องรับผิดชอบ และจำนวนความเสียหายซึ่งเกิดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว -พร้อมแผนภูมิประกอบ

45 2. ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบ
1)กฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับและคำสั่ง ที่เกี่ยวข้อง 2)สำเนารายงานความเห็นของ สตง. หรือเหตุที่ทำให้ทราบว่ามีการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และความเห็นหรือ ผลการดำเนินการของ ปปช. ปปง และผลการดำเนินคดีอาญา (ถ้ามี) 3)จำนวนเงินที่ถือว่าทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย

46 ไม่ปฏิบัติตาม กม.หรือระเบียบ (ต่อ)
4) กรณีกำหนดราคากลางสูงกว่าราคา ค่าก่อสร้าง ก.รายละเอียดแสดงวิธีคำนวณ หาค่าแฟคเตอร์เอฟ (ถ้ามี) ข.แหล่งที่มาของราคาวัสดุที่ใช้กำหนดเป็นราคากลาง ค.ราคาวัสดุแยกเป็นประเภท ชนิด พร้อมราคา

47 ไม่ปฏิบัติตาม กม.หรือระเบียบ (ต่อ)
5) กรณีไม่ปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ ก.ขั้นตอนดำเนินการก่อนมีการประกาศสอบราคา ประกวดราคา จัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ หรือก่อนมีการตกลงราคา แล้วแต่กรณี ข.ประกาศสอบราคา ประกวดราคา ฯลฯ ค.รายชื่อคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามระเบียบทุกคน

48 ไม่ปฏิบัติตาม กม.หรือระเบียบ (ต่อ)
ง.รายละเอียดการปฏิบัติงาน -ของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด -รวมทั้งผู้บังคับบัญชา -ระบุชื่อและตำแหน่งว่า ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และหรือทางปฏิบัติที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร -พร้อมแผนภูมิประกอบ -เปรียบเทียบระหว่างกรณีทางปฏิบัติ ที่ถูกต้องกับการกระทำที่เกิดขึ้นจริง

49 ไม่ปฏิบัติตาม กม.หรือระเบียบ (ต่อ)
จ. รายงานผลการปฏิบัติงานและ ความเห็นของเจ้าหน้าที่ และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องทุกคณะ ฉ. หากมีการยกเลิกการสอบราคา ประกวดราคา ฯลฯ ขอเหตุผลพร้อม หลักฐานที่เกี่ยวข้อง ช. ความเห็นของผู้สั่งซื้อ สั่งจ้าง

50 3. คนร้ายกระทำโจรกรรมหรือทรัพย์สินสูญหาย
1)ข้อเท็จจริงทั่วไป และรายละเอียดของทรัพย์สินที่สูญหาย ก.วันเวลาที่เกิดเหตุ ข.เป็นทรัพย์ชนิดใด ตั้งหรือเก็บรักษา ณ ที่ใด บริเวณที่ตั้งทรัพย์หรือสถานที่เก็บรักษาทรัพย์นั้น มีทรัพย์สินอื่นที่ไม่ได้หายไปอยู่ด้วยหรือไม่ ถ้ามี อะไรบ้าง(อธิบายโดยละเอียดหรือแยกเป็นรายการ) ค.รายการและมูลค่าของทรัพย์สินที่หายทั้งก่อนและหลังคำนวณค่าเสื่อมราคา

51 คนร้ายกระทำโจรกรรมหรือทรัพย์สินสูญหาย (ต่อ)
2)อาคารและสถานที่ที่เก็บทรัพย์ ก.ลักษณะของอาคาร ทางเข้า ทางออก ร่องรอยที่คนร้ายเข้าและออกมีรั้วรอบ ขอบชิดหรือไม่ อย่างไร แผนผังบริเวณอาคารหรือสถานที่เก็บรักษาทรัพย์ที่ สูญหาย ดูภาพนิ่ง 68 ข.พฤติการณ์ที่คนร้ายเข้าไปในอาคาร และทำการลักทรัพย์อย่างไร (ถ้าไม่มีหลักฐานแน่นอน ก็ควรสันนิษฐาน

52 คนร้ายกระทำโจรกรรมหรือทรัพย์สินสูญหาย (ต่อ)
ค.สถานที่เก็บทรัพย์เป็นอะไร เช่น ตู้เหล็ก ตู้ไม้ ฯลฯ และมีลักษณะอย่างไร มีลิ้นชักหรือมีของอื่นเก็บรวมอยู่ด้วยหรือไม่ ถ้ามี มีอะไรบ้าง ความมั่นคงแข็งแรงของที่เก็บทรัพย์นั้น เช่น เป็นตู้เหล็กมีกุญแจ ฯลฯ และตั้งอยู่ในตอนใดของอาคาร ง.มีของอื่นที่ไม่หายเก็บรวมอยู่ในที่เก็บทรัพย์นั้นหรือไม่ จ.กุญแจอาคาร กุญแจสถานที่เก็บทรัพย์ เก็บรักษาไว้ที่ใด ผู้ใด เป็นผู้รับผิดชอบหรือเก็บรักษา และสูญหายหรือเสียหายไปในขณะเกิดเหตุหรือไม่

53 คนร้ายกระทำโจรกรรมหรือทรัพย์สินสูญหาย (ต่อ)
3) ระเบียบ คำสั่งและมาตรการในการป้องกันรักษาทรัพย์ ก.ระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งที่เกี่ยวกับการ ป้องกันดูแลรักษาทรัพย์ กำหนดไว้อย่างไร ข.มีการจัดเวรยามหรือไม่ถ้ามีจัดไว้อย่างไร ค.ใครมีหน้าที่อยู่เวรยามและตรวจเวรในระหว่างทรัพย์สินหาย หรือสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหน้าที่เวรยามในระหว่างทรัพย์สินหาย ให้ระบุชื่อ ตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่ของเวรยามเหล่านั้น

54 คนร้ายกระทำโจรกรรมหรือทรัพย์สินสูญหาย (ต่อ)
ง.เจ้าหน้าที่เวรยามและผู้ตรวจเวรได้ปฏิบัติอย่างไร หรือละเลยต่อหน้าที่อย่างไร จ.นอกจากเวรยามแล้ว ยังมีมาตรการอื่นที่ใช้สำหรับป้องกันอันตรายของทรัพย์สินด้วยหรือไม่ ฉ.บันทึกการตรวจเวรยามในช่วงเวลาที่เกิดเหตุ

55 คนร้ายกระทำโจรกรรมหรือทรัพย์สินสูญหาย (ต่อ)
4) ใครมีหน้าที่รับผิดชอบ หรือดูแลรักษา ทรัพย์ และมีหน้าที่อย่างไร 5)ภาพถ่ายสีของอาคารและสถานที่เก็บทรัพย์ ทางเข้าออกของคนร้าย และ ภาพถ่ายบริเวณรอบ ๆ อาคารและสถานที่เกิดเหตุ 6) พฤติการณ์และกรณีแวดล้อมอื่น ๆ 7) การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน รายงานการสอบสวน ความเห็นของพนักงานสอบสวนและความเห็นของพนักงานอัยการ (ถ้ามี)

56 4. อาคารสถานที่ถูกเพลิงไหม้
ข้อเท็จจริงทั่วไป ก. วันเวลาที่เกิดเพลิงไหม้ ข. ตัวอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ และลักษณะของอาคาร เช่น 4 ชั้น,ไม้, คอนกรีตเสริมเหล็กฯลฯ ค. มูลค่าและรายการทรัพย์สินที่ถูกเพลิงไหม้ แยกจากตัวอาคารที่ต้องซ่อมแซม

57 อาคารสถานที่ถูกเพลิงไหม้ (ต่อ)
2) การตรวจสอบสาเหตุ ก. วัตถุพยานและร่องรอยที่เหลือจากเพลิงไหม้เพื่อนำมาสันนิษฐานว่า เกิดจากสาเหตุใด (ถ้าเป็นเพลิงไหม้จากที่อื่นที่เห็นชัดแจ้งแล้วลุกลามมาอาจจะไม่ต้องสอบปัญหานี้ก็ได้) ข.ประจักษ์พยานที่เห็นเหตุการณ์ เพลิงไหม้ก่อนจะมีลักษณะรุนแรง (ถ้ามี) ที่จะชี้แจงว่าต้นเพลิงอยู่ตำแหน่งใด

58 อาคารสถานที่ถูกเพลิงไหม้ (ต่อ)
3) มาตรการในการป้องกันเพลิง ก.มีการจัดเจ้าหน้าที่เวรรักษาการและ ดูแลสถานที่หรือไม่ อย่างไร ข.ระเบียบหรือคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัด เจ้าหน้าที่รักษาการดังกล่าว ใครเป็นผู้วางระเบียบหรือออกคำสั่ง ค. ในระหว่างเวลาเกิดเพลิงไหม้ ได้มีการปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการอย่างไร หรือไม่

59 อาคารสถานที่ถูกเพลิงไหม้ (ต่อ)
4) บุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่เข้าทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่เป็นประจำ หรืออยู่อาศัยในอาคารหลังนั้น สอบพฤติการณ์ รายละเอียดในการทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ หรืออยู่ในอาคารหลังนั้นครั้งสุดท้ายก่อนเพลิงไหม้ 5) การร้องทุกข์ และการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และความเห็นของ เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน วิทยาการ ตลอดจนความเห็นของพนักงานอัยการ

60 อาคารสถานที่ถูกเพลิงไหม้ (ต่อ)
6)ข้อสันนิษฐานหรือข้อพิสูจน์สาเหตุที่เกิดเพลิงไหม้ อาจเป็นกรณีต่อไปนี้ ก. ไฟฟ้าช็อต มีผู้ใดกระทำโดยประมาทหรือไม่ อย่างไร ข. เป็นการลอบวางเพลิงหรือไม่ รู้ตัวและจับตัว ผู้ต้องหาได้แล้วหรือไม่ ค. สาเหตุเกิดจากความประมาทของบุคคล หรือไม่ เช่น ทิ้งก้นบุหรี่ในที่ติดไฟง่าย ติดหลอดไฟฟ้าไว้ในที่อับและมีวัตถุที่ติดไฟได้ง่าย ง. เหตุนอกเหนือการควบคุม เช่น พายุพัดแรง เสาไฟฟ้าโค่นลงมา ทำให้สายไฟเกิดลัดวงจรและสายไฟอยู่ใกล้อาคาร ฯลฯ

61 5. ยานพาหนะเกิดอุบัติเหตุ
ข้อเท็จจริงทั่วไป ก. วันเวลาเกิดเหตุ ข. ชื่อ ยี่ห้อ และเลขทะเบียนรถ ค. ชื่อผู้ขับ และตำแหน่ง ง. ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมดูแลรถ ตลอดจนอำนาจหน้าที่ รวมถึงผู้ที่โดยสารในรถขณะเกิดเหตุด้วย จ. รายการและมูลค่าของทรัพย์สินที่เสียหาย (ก่อนและหลังหักค่าเสื่อมราคา) ฉ. มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตหรือไม่

62 ยานพาหนะเกิดอุบัติเหตุ (ต่อ)
การตรวจสอบสาเหตุที่เกิดขึ้น ก. ตรวจวัตถุพยาน เช่น คันชัก คันส่ง พวงมาลัย เครื่องยนต์ ฯลฯ ข. ร่องรอยล้อและเบรก (ถ้ามี ขอภาพถ่ายสีประกอบด้วย) ค. รถคู่กรณีมีหรือไม่ ถ้ามีจะต้องสอบตาม ข้อ 1) – 2) ข้อ ก. - ข. ด้วย ง. อัตราวิ่ง (ความเร็ว) ของรถขณะเกิดเหตุ และก่อนหน้านั้น ตลอดจนพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น เช่น เดิมขับมา 120 แล้วลดเหลือ 80 เนื่องจาก...ดูภาพนิ่ง 72

63 ยานพาหนะเกิดอุบัติเหตุ (ต่อ)
จ. สาเหตุภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น คนวิ่งตัดหน้า สัตว์วิ่งตัดหน้า ฯลฯ ฉ. ระยะห่างระหว่างรถคันหน้าและรถคันหลัง (ในกรณีเกิดเหตุรถชนท้ายกัน) ช. พฤติการณ์อื่น ๆ 3) สภาพของรถก่อนใช้ ก. มีการตรวจสภาพก่อนนำออกใช้หรือไม่ ข. สภาพของรถก่อนเกิดเหตุเป็นอย่างไร เช่น เบรก พวงมาลัย ยาง และประวัติการบำรุงรักษาฯ

64 ยานพาหนะเกิดอุบัติเหตุ (ต่อ)
4) สภาพของพื้นถนนหรือทางเป็นอย่างไร เช่นสภาพความกว้างของถนนและ ไหล่ถนนรถวิ่งได้กี่ช่องทาง (ขอภาพถ่ายสีประกอบ)ดูภาพนิ่ง 78 5) เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว มีการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนหรือไม่ ถ้าไม่มีการแจ้งให้ระบุสาเหตุว่า เหตุใดจึงไม่แจ้งความ 6) ถ้ามีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต มีการร้องทุกข์และสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรือไม่ พร้อมความเห็นของพนักงานอัยการ(ถ้ามี)

65 ยานพาหนะเกิดอุบัติเหตุ (ต่อ)
7) ระเบียบ ข้อบังคับ ในการใช้รถ มีอย่างไร 8) นำรถไปใช้ในราชการหรือไม่ ถ้าใช้ในราชการขอหลักฐานแสดงการขอใช้รถ ที่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา 9) ผู้ขับขี่มีใบอนุญาตขับขี่หรือไม่ หรือได้ขับรถมาแล้วนานเท่าใด กรณีมิได้ขับรถยนต์ทั่วไป มีใบขับขี่เฉพาะประเภทของรถนั้นหรือไม่ อย่างไร (เช่น รถขนส่งขนาดใหญ่รถกระเช้าไฟฟ้า รถบรรทุกน้ำมัน ฯลฯ)

66 ยานพาหนะเกิดอุบัติเหตุ (ต่อ)
10) สภาพแห่งจิตใจหรือสภาพแห่งร่างกายของผู้ขับเป็นอย่างไร เช่น ขับรถแล้วเป็นปกติ ขับรถในขณะมึนเมาสุรา เคยเป็นโรคลมบ้าหมูหรือมีประวัติเป็นโรคหัวใจ หรือต้องขับรถติดต่อกันเป็นเวลานาน 11) รายงานผลการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกายของผู้ขับขี่ 12) อื่น ๆ อันเป็นพฤติการณ์เฉพาะกรณี 13) บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทางราชการหรือไม่ ผลคดีเป็นอย่างไร

67 กรณีภัยธรรมชาติ (วาตภัย อุทกภัย ฟ้าผ่า ฯลฯ)
กรณีภัยธรรมชาติ (วาตภัย อุทกภัย ฟ้าผ่า ฯลฯ) โดยปกติไม่ต้องตั้ง กก.ละเมิด(คำวินิจฉัยกฤษฎีกา) วันเวลาที่เกิดเหตุ เหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย รายการและมูลค่าทรัพย์สินที่เสียหาย สภาพ ลักษณะอาคารสถานที่เก็บรักษาทรัพย์ ระเบียบ คำสั่งและมาตรการในการป้องกันรักษาทรัพย์ เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินที่เสียหาย รายงานสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในท้องที่ที่เกิดเหตุหรือใกล้เคียง

68 ไปภาพนิ่ง 69

69 ไป ภาพนิ่ง 70

70 ไปภาพนิ่ง 71

71 กลับภาพนิ่ง 51

72 ภาพนิ่ง 73

73 ภาพนิ่ง 74

74 ภาพนิ่ง 75

75 ภาพนิ่ง 76

76 กลับภาพนิ่ง 62

77

78 ไปภาพนิ่ง 79

79 ไป ภาพนิ่ง 80

80 ไปภาพนิ่ง 64

81 สาระเพิ่มเติม หน้า 82

82 คำนวณราคากลางไม่ถูกต้อง
ที่ถูกต้อง กก.คำนวณ ทำสัญญา ผล 2,500,000 2,300,000 ไม่เสียหาย 2,600,000 เสียหาย 100,000

83 การแบ่งส่วนความรับผิด
ใช้ Factor F ผิดปี จ้างแพง 100,000 กก.กำหนดราคากลาง 75% 75,000 จนท.ฝ่ายพัสดุ ทำความเห็นเสนอผู้อนุมัติ 15% 15,000 ผู้อนุมัติ ให้ใช้ราคากลางทำสัญญา 10% 10,000

84 การแบ่งส่วนความรับผิด (ต่อ)
คำนวณราคา ต่อหน่วยเกินจริง จ้างแพง 100,000 กก.กำหนดราคากลาง 100% จนท.ฝ่ายพัสดุ ทำความเห็นเสนอผู้อนุมัติ - ผู้อนุมัติ ให้ใช้ราคากลางทำสัญญา -

85 กก.ตรวจรับไม่ถูกต้อง ก่อสร้างถนน แบ่งส่วนความรับผิด กก.ตรวจรับ
ทำสัญญา 800 ม. 500,000 ก่อสร้างจริง 700 ม. ผู้ควบคุมงาน/ กก.ตรวจรับ ครบถ้วนถูกต้อง ความเสียหาย 100 ม. 62,500 แบ่งส่วนความรับผิด กก.ตรวจรับ ผู้ควบคุมงาน ขรก. 30% (2 คนๆละ15%) 60%(2คนๆละ30%) ปชช.10% (2 คนๆละ5%)

86 กก.ตรวจรับไม่ถูกต้อง ก่อสร้างถนน แบ่งส่วนความรับผิด กก.ภาคราชการ
ทำสัญญา 800 ม. 500,000 ก่อสร้างจริง ใช้หิน+ทรายไม่ครบ กก.ตรวจรับ ครบถ้วนถูกต้อง ความเสียหาย หิน+ทราย 62,500 แบ่งส่วนความรับผิด ภาพนิ่ง 90 กก.ภาคราชการ 100% 4 คนๆละส่วน กก.ประชาคม 2 คน 0% เรื่องเทคนิค

87 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2548 (กค /ว 98 ลว.20 มิ.ย.2548) สาเหตุ วงเงิน การวินิจฉัย ส่วนราชการ หน่วยงานอื่น ทั่วไป <=500,000 <=1,000,000 - >500,000 >1,000,000 ชดใช้ 75% ทุจริต คนทุจริต % ผู้เกี่ยวข้อง 100% ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ภาพนิ่ง24

88 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับ การผ่อนชำระหนี้ของเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ 19 กันยายน 2545 (กค /ว 115 ลว.18 พ.ย.2545) เงื่อนไข วงเงิน ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ เวลา งวดแรก 20 วันทำสัญญา ที่เหลือ <=50,000 ไม่เกิน 1 ปี >50, ,000 ไม่เกิน 5 ปี >500,000 ไม่เกิน 10 ปี

89 ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี ยกเว้น ผ่อนครบภายใน 1 ปี ไม่คิดดอกเบี้ย
ภาพนิ่ง27

90 เฉลิมชัย เบญจกาญจน์ โทร.0 2271 3135
รวิภา ด้วงแดงโชติ โทร กริช บัวทอง โทร เฉลิมชัย เบญจกาญจน์ โทร

91


ดาวน์โหลด ppt ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google