ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยChakri Inchaieur ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ลำต้น (Stem) ลำต้นเป็นส่วนที่ยืดตรงอยู่เหนือดิน โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นทรงกระบอกแนวตั้ง แต่ก็มีลำต้นบางชนิดอยู่ใต้ดิน บางชนิดทอดไปตามดิน (
2
ประโยชน์ของลำต้น - ช่วยลดการบดบังการรับแสงของใบ ทำให้ใบแผ่ตัวรับแสงได้ทั่วถึง มากขึ้น - ช่วยในการลำเลียงวัตถุดิบในการสังเคราะห์แสง และอาหารที่ได้ จากการสังเคราะห์แสงไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช - ลำต้นบางชนิดเปลี่ยนแปลงตัวเองไปทำหน้าที่อื่น ๆ เช่น สะสม อาหาร ขยายพันธุ์ เป็นต้น
3
ลักษณะภายนอกของลำต้น
ลำต้นประกอบด้วย 1.ข้อ(node) 2. ปล้อง(internode) 3. ตา(bud) ซึ่งตาจะเกิดที่ข้อของลำต้น 4. เปลือก (bark) 5. หนาม แบ่งได้ 3 ชนิด คือ Thorn Prickle Spine 6. ยาง (sap)
4
เปลือกมีความสำคัญในการจำแนกชนิดต้นไม้เช่นกัน ในกรณีที่พืชบางชนิดมีเปลือกที่มีลักษณะเด่นไม่คล้ายกับต้นไม้อื่น จากภาพจะเห็นว่าเปลือกไม้ของพืชแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน (The Royal Horticultural Society A-Z Encyclopedia of Garden Plants ; 1996)
5
ชนิดของหนามแบ่งเป็น Spine คือหนามที่เกิดมาจากใบ หรือเปลี่ยนแปลงมาจากส่วนของใบ (เภสัชพฤกษ์ ; 2544)
6
Thorn คือหนามที่เกิดมาจากกิ่ง หักได้ยาก และเมื่อหักหนามจะเกิดบาดแผลที่ไม่เรียบสวยงามเหมือนกับการหักหนามแบบ Prickle (สมุนไพรสวนสิริรุกขชาติ ; 2543)
7
Prickle คือ หนามที่เกิดจากเซลล์บริเวณผิวของเปลือก หักแล้วจะเกิดรอยแผลที่เรียบสวยและหักได้ง่ายกว่า Thorn (Botany and Introduction to Plant Biology 5th edition ; 1974)
8
การจัดแบ่งลำต้นตามหน้าที่พิเศษ แบ่งเป็น
ลำต้นที่ใช้ในการสืบพันธุ์ Stolon เป็นลำต้นที่ทอดยาวไปตามพื้น เมื่อส่วนใดสัมผัสกับดินจะงอกรากออกมาแล้วเกิดเป็นต้นใหม่ เช่น สตรอเบอรี่ ผักชีฝรั่ง เป็นต้น (กายวิภาคและสัณฐานวิทยาของพืช ; 2543 )
9
(Botany and Introduction to Plant Biology 5th edition ; 1974)
Runner เป็นลำต้นเลื้อยยาวตรงขนานไปบนพื้นดินในแนวราบ งอกรากและต้นใหม่ที่ข้อทุกข้อ เช่น บัวบก ส้มกบ ฯลฯ (เภสัชพฤกษ์ ; 2544)
10
Sucker ลำต้นใต้ดินที่สามารถงอกรากและลำต้นใหม่ขึ้นมาเหนือพื้นดินแล้วเกิดเป็นต้นใหม่ขึ้น
(Botany and Introduction to Plant Biology 5th edition ; 1974)
11
Offset ลำต้นจะงอกออกไปสืบพันธุ์ทีละข้อ โดยจะงอกปล้องออกไปจากต้นเดิม และที่ปลายของปล้องจะเกิดเป็นต้นใหม่ (พฤกษศาสตร์ ; 2535)
12
ลำต้นสังเคราะห์แสง (Phyllocade)
Cladode ลำต้นเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษคือสังเคราะห์แสงได้และมักเกิดกับพืชที่มีใบลดรูปไปจนไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ (สวนสิริรุกขชาติ ; 2543)
13
ลำต้นสะสมอาหารแบ่งเป็น
Rhizome (เหง้า) เป็นลำต้นใต้ดินที่ทอดขนานไปตามผิวดิน มีข้อมีปล้องที่เห็นชัดเจน ตามข้อมีใบที่แปรสภาพเป็นแผ่นบาง ๆ สีน้ำตาลห่อหุ้มตาไว้มีรากงอกตามตา ตานี้อาจแตกแขนงเป็นหน่อหรือลำต้นเหนือดินได้ เช่น ขิง ข่า เป็นต้น Bulb เป็นลำต้นใต้ดินที่มีลักษณะกลมแป้น ตั้งตรง ที่บริเวณฐานของลำต้นมี scale leaf เรียงซ้อนอัดแน่นทำหน้าที่สะสมอาหาร อาจมีตาแทรกอยู่ เช่น หอม กระเทียม Corm เป็นลำต้นใต้ดินที่มีลักษณะคล้าย bulb แต่เห็นข้อและปล้องชัดเจนกว่า ตามข้อมี scale leaf หุ้มอยู่ ลำต้นทำหน้าที่สะสมอาหาร เช่น แห้ว เผือก เป็นต้น Tubers เป็นลำต้นใต้ดินที่ปลายขยายโป่งพอง ในหัว tuber จะมีกลุ่มเนื้อเยื่อนำน้ำและอาหารน้อย เป็นแหล่งสะสมอาหาร จึงประกอบด้วยเซลล์ parenchyma ที่มีอาหาร เช่น แป้งบรรจุอยู่ เช่น หัวมันฝรั่ง
14
Rhizome node Scale leaf bud
15
(The Royal Horticultural Society A-Z Encyclopedia of Garden Plants ; 1996)
16
เอกสารอ้างอิง 1. T. Weier, C.R. Stocking and M. G.Barbour, Botany An Introduction to Plant Biology 5th edition, John Wiley & Sons.New York, 1974, pp 2. สมภพ ประธานธุรารักษ์ พร้อมจิต ศรลัมพ์ และธนุชา บุญจรัส, กายวิภาคและสัณฐานวิทยาของพืช, พิมพ์ครั้งที่ 2, บริษัท นิวไทยมิตรการพิมพ์(1996)จำกัด, กทม, 2543, หน้า 31-62 3. องอาจ พฤกษ์ประมูล, พฤกษศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล คณะเกษตรศาสตร์บางพระ, อยุธยา, 2535, หน้า 68-88 หมายเหตุ บริเวณที่ขีดเส้นใต้คือชื่อหนังสือ ผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย สำหรับรูปภาพประกอบในส่วนที่ไม่ได้อ้างอิงไว้
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.