ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สำนวน
2
สำนวน เป็นคำกล่าวเชิงเปรียบเทียบเพื่อนำไปใช้อธิบายพฤติกรรมการกระทำ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่ต้องกล่าวถึงสิ่งนั้นตรง ๆ สำนวนเป็นถ้อยคำที่ใช้สืบเนื่องกันมานานจึงมรการเรียงคำหรือใช้คำที่แน่นอน มีการตีความเป็นแบบแผน และใช้เปรียบเทียบหรืออธิบายเรื่องราวโดยเฉพาะ
3
สุภาษิต คำพังเพย เป็นสำนวนหรือไม่
4
สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำที่เป็นคติเตือนใจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสอนให้ละเว้น หรือ ปฏิบัติ มักมีคำว่า “อย่า” “ให้” อยู่ในถ้อยคำนั้นด้วย การสอนนั้นอาจเป็นการสอนตรงๆ หรือสอนด้วยความหมายที่แฝงไว้ให้ขบคิด ซึ่งต้องแปลความหมายของถ้อยคำนั้นเพื่อให้ทราบเรื่องที่ต้องการสอน ถ้อยคำที่เป็นสุภาษิตมักใช้คำสั้นๆ กะทัดรัด กินใจ อาจมีสัมผัสคล้องจอง หรือใช้คำที่แปลกชวนให้สะดุดใจและให้คิดตีความ
5
สุภาษิตที่ใช้กันในสังคมไทย มาจากไหน???
6
จากการอ้างอิงธรรมชาติ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว กิจกรรมที่คนเรากระทำ
มาจากธรรมะคำสอนในศาสนา จากการอ้างอิงธรรมชาติ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว กิจกรรมที่คนเรากระทำ โบราณาจารย์ที่สอนสั่งมาแต่โบราณ
7
มีการรวบรวมสุภาษิต คำสอนไว้ในวรรณคดีเรื่องต่างๆ เช่น
มีการรวบรวมสุภาษิต คำสอนไว้ในวรรณคดีเรื่องต่างๆ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง อิศรญาณภาษิต เพลงยาวถวายโอวาท
8
สุภาษิตที่มาจากคำสอนในศาสนา
18
พุทธภาษิตอะไรเอ่ย อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
19
ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย
ปมาโท มจฺจุโน ปทํ ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย
20
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ทำดีได้ดี
21
ปาปการี จ ปาปกํ ทำชั่วได้ชั่ว
23
พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ
อกฺโกเธน ชิเน โกธํ พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ
24
สุภาษิตที่เป็นคำกล่าวของโบราณจารย์
26
ตักน้ำใส่กระโหลก ชะโงกดูเงา
ตักน้ำใส่กระโหลก ชะโงกดูเงา สอนให้รู้จักตนเอง รู้ความสามารถและสถานะของตนว่าเหมาะสมหรือสมควรทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือไม่
28
สอนให้รีบทำเมื่อมีโอกาสดี
น้ำขึ้นให้รีบตัก สอนให้รีบทำเมื่อมีโอกาสดี
30
รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี
รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี สอนว่า เพื่อให้ลูกเป็นคนดีต้องเฆี่ยนตีสั่งสอน ให้หลาบจำบ้าง
31
คำพังเพย เป็นสำนวนที่กล่าวให้เป็นข้อคิด คำพังเพยจะกล่าวถึงพฤติกรรม การกระทำ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งอาจนำมาจากตำนาน นิทาน วรรณคดี เหตุการณ์ หรือสิ่งที่สังเกตได้จากธรรมชาติรอบตัว แล้วนำมาใช้ในความหมายที่เป็นนามธรรมหรือข้อสรุปของลักษณะที่เป็นนามธรรม เป็นข้อสรุปการกระทำหรือพฤติกรรมโดยทั่วไป
33
มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ
มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ ใช้ในความหมายว่า ไม่ช่วยทำแล้วยังขัดขวางการทำงานของผู้อื่น
35
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ใช้ในความหมายว่า จัดงานฟุ่มเฟื่อยแต่ได้ผลไม่คุ้ม ใช้จ่ายทรัพย์ไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์
37
ใช้ในความหมายว่า ทำดีแต่ไม่มีใครเห็นความดีนั้น
ปิดทองหลังพระ ใช้ในความหมายว่า ทำดีแต่ไม่มีใครเห็นความดีนั้น
39
รำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง
รำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง ใช้ในความหมายว่า ตนเองทำพิษแต่กลับโทษว่าเป็นความผิดของผู้อื่น
70
สำนวนไทยเนมรดกแห่งภูมิปัญญาทางภาษาไทยที่สะท้อนความเป็นมาของชาติ วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา การดำเนินชีวิตที่เป็นจริงของคนไทยมาแต่โบราณ สำนวนไทยใช้ภาษาที่งดงาม ไพเราะ กะทัดรัด มีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ จึงสมควรที่จะช่วยกันรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.