ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
BIOL OGY
2
สื่อการเรียนรู้ ภาควิชาชีววิทยา
วิทยาศาสตร์ ม.2 หลักสูตร โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี (โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) จัดทำโดย ด.ญ. พรธิตา ไกรเวช
3
ระบบย่อยอาหาร
4
ระบบในร่ายกายมนุษย์และสัตว์
เซลล์เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือ แม้เต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ เซลล์มีรูปร่าง ขนาด รวมทั้งจำนวนเซลล์แตกต่างกันในแต่ละชนิดของสิ่งมีชีวิต การที่สิ่งมีชีวิตต้องการอาหารและอากาศเพื่อยังชีพนั้น แท้จริงแล้วคือความต้องการของเซลล์ เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบอวัยวะ ร่างกาย
5
การย่อยอาหาร การย่อยเชิงกล การย่อยเชิงเคมี
การย่อยอาหารมี 2 ขั้นตอน ได้แก่ การย่อยเชิงกล Mechanical Digestion การย่อยเชิงเคมี Chemical Digestion เป็นกระบวนการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนที่ และการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีต่อไป โดยการบดเคี้ยว รวมทั้งการบีบตัวของทางเดินอาหาร การย่อยเชิงกลนี้ ขนาดของโมเลกุลยังเล็กไม่เพียงพอที่ถูกดูดซึมเข้าไปเซลล์ เป็นการย่อยคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนให้มีโมเลกุลขนาดเล็กลง การย่อยเชิงเคมีเป็นกระบวนการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่าง น้ำย่อยหรือ เอนไซม์ กับโมเลกุลของสารอาหาร
6
โครงสร้างระบบย่อยอาหาร
7
บดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง
ระบบย่อยอาหาร ลิ้น ปาก รับรสชาติอาหาร คือ รสหวาน รสเค็ม รสเปี้ยวและ รสขม ฟัน บดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง น้ำลายมีเอนไซม์อะไมเลสย่อยสารอาหารเฉพาะคาร์โบไฮเดรต เป็นน้ำตาล ดังสมการด้านล่าง ต่อมน้ำลาย ฟันน้ำนม 20 ซี่ ฟันถาวร 32 ซี่ อะไมเลส แป้ง + น้ำลาย เดกซ์ทริน มอลโทส (แป้งขนาดเล็กลง) (น้ำตาลโมเลกุลคู่)
8
หลอดอาหาร ระบบย่อยอาหาร
ประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่สามารถบีบตัวเป็นจังหวะในขณะที่มีอาหารผ่านลงมา จึงทำหน้าที่ในการลำเลียงอาหารขากช่องปากผ่านคอหอยลงไปยังกระเพาะอาหารทางเดินอาหาร ส่วนนี้ไม่สามารถสร้างน้ำย่อย แต่สามารถหลั่งสารเมือกช่วยหล่อลื่น
9
เพปซิน โปรตีน เพปไทด์ กระเพาะอาหาร ระบบย่อยอาหาร
ย่อยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนเป็นสำคัญ โดย เอนไซนม์เพปซินทำให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กลง เรียกว่า เพปไทด์ ซึ่งก็ยังไม่สามารถดูดซึมได้ เพปซิน โปรตีน เพปไทด์
10
ระบบย่อยอาหาร ลำไส้เล็ก
ดูโอดินัม (Duodenum) ระบบย่อยอาหาร ลำไส้เล็ก ผนังลำไส้เล็กสามารถสร้างน้ำย่อยได้หลายชนิด ลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัมได้รับน้ำย่อยมาจากตับอ่อนและรับน้ำดีมาจากตับ น้ำดีช่วยให้โมเลกุลของไขมันแตกตัวเป็นก้อนเล็กลง ทำให้เอนไซม์ไลเพส ย่อยไขมันได้เร็วขึ้น เจจูนัม (Jejunum) อิเลอัม (Ilenum)
11
ระบบย่อยอาหาร ลำไส้เล็ก
ส่วนของคาร์โบไฮเดรตที่เกิดขึ้นจากการย่อย (ในปาก) ยังไม่สมบูรณ์ จะถูกย่อยไปเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ส่วนของโปรตีนที่เกิดขึ้นจากการย่อยในกระเพาะอาหารยังไม่สมบูรณ์ จะถูกย่อยต่อไปจนสามารถดูดซึมได้ เรียกว่า กรดอะมิโน ส่วนของไขมัน จะถูกย่อยต่อไปเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล ส่วนโมเลกุลขนาดเล็กที่สุดของสารอาหารแต่ละชนิดที่ถูกย่อยในลำไส้เล็กนี้ จะถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์ การย่อยอาหารในลำไส้เล็กจะเกิดได้ดีในภาวะที่เป็นเบส โดยอาศัยสารเบสโซเดียมไบคาร์บอเน็ต (NaNCO3) จากตับอ่อน
12
ระบบย่อยอาหาร ลำไส้ใหญ่
ประกอบด้วย ซีคัม (Caecum) ไส้ติ่ง (Appendix) และ โคลอน (Colon) เป็นทางเดินอาหารส่วนสุดท้าย ส่วนนี้ไม่มีการย่อยอาหาร เพราะไม่มีความสามารถในการสร้างน้ำย่อย หน้าที่ส่วนใหญ่ของลำไส้ใหญ่จึงเป็นการดูดซึมน้ำ เกลือแร่ และวิตามินบางชนิด ลำไส้ส่วนท้ายๆ จะทำหน้าที่ในการเก็บกากอาหาร ก่อนที่จะขับผ่านทวารหนักออกไป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.