งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

องค์ประกอบ Graphic.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์ประกอบ Graphic."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์ประกอบ Graphic

2 หัวข้อ องค์ประกอบงานกราฟิก สีในการสื่อความหมาย ตัวอักษรในงานกราฟิก
เส้น รูปร่าง, รูปทรง, น้ำหนัก พื้นผิว สีในการสื่อความหมาย ความหมายสี เทคนิคการนำสีไปใช้ ตัวอักษรในงานกราฟิก วิธีเลือกตัวอักษรและรูปแบบที่ใช้

3 องค์ประกอบงานกราฟิก จุด เส้น รูปทรง, รูปร่าง, น้ำหนัก พื้นผิว

4 จุด ( DOT ) เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญ เพราะเป็นต้นกำเนิดของเส้น
และน้ำหนัก จะเห็นได้ชัดในงานกราฟิกประเภท Halftone

5 เส้น ( LINE ) เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดง ความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง (Straight Line) และ เส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้ เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึก ที่แตกต่างกันอีกด้วย

6 รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก
รูปร่าง (Shape) – เป็นองค์ประกอบต่อเนื่องมาจากเส้น แบ่งรูปร่างออกเป็น 2 ประเภทคือ รูปร่างแบบที่คุ้นตา คือ รูปร่างที่เห็นแล้วรู้ทันทีว่าคืออะไร เช่น ดอกไม้ รูปร่างแบบ freeform คือ รูปร่างที่สื่อความหมายตามจินตนาการ ไม่มีรูปทรงแน่นอน

7 รูปทรง ( Form ) รูปทรง – เป็นรูปร่างที่มี 3 มิติ คือมีความลึก เพื่อสื่อความหมายและอารมณ์ให้กับงานกราฟิกได้มากขึ้น

8 น้ำหนักกราฟิก ( Value)
เป็นส่วนเสริมที่ทำให้งานกราฟิกมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น และส่งผลต่อการสื่อความหมายและอารมณ์ของการออกแบบกราฟิกได้มากขึ้น เช่น ความหนัก ทึบของสี หรือความโปร่งใส

9 พื้นผิว ( Texture) พื้นผิวในงานกราฟิกนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
พื้นผิวที่สามารถสัมผัสได้ด้วยมือ พื้นผิวที่สามารถสัมผัสได้ด้วยตา

10 สี ( Color ) สีเกิดจากอะไร สีเกิดจากแสง = RGB
สีที่เกิดจากหมึกพิมพ์ = CMYK สีที่เกิดจากธรรมชาติ = แดง เหลือง น้ำเงิน

11 สีสื่อความหมาย สีแต่ละสีจะสื่อถึงความหมายที่แตกต่างกันออกไป โดยผู้ออกแบบงานด้านกราฟิกจำเป็นต้องเลือกใช้ให้มีความเหมาะสมกับงานแต่ละประเภท และตรงกับความหมายที่กราฟิกต้องการสื่อออกไป

12 สีสื่อความหมาย

13 สีสื่อความหมาย

14 เทคนิคการนำสีไปใช้งาน
Mono Complement Triadic Analogous Split Complementary Tetradic (Double Complementary)

15 Mono การใช้สีไปในโทนเดียวกันทั้งหมด เช่น โทนสีเหลือง จุดเด่นของภาพก็จะเป็นสีเหลือง ส่วนอื่นๆ ก็จะใช้สีที่ใกล้เคียงกับสีเหลือง โดยใช้วิธีลดและเพิ่มน้ำหนักความเข้มของสี

16 Complement การใช้สีที่ตัดกันหรือสีตรงข้าม เวลาเลือกใช้เทคนิคสีนี้ต้องคำนึงถึงความสวยงามเป็นหลักและการให้น้ำหนักของสี ถ้าสามารถควบคุมสีได้ จะช่วยให้งานมีความเด่นและดึงดูดมากกว่าแบบ Mono

17 Triadic การเลือกสี 3 สี ที่มีระยะห่างเท่ากันเป็น สามสีหลักในการออกแบบงานกราฟิก นิยมใช้มากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในสื่อสิ่งพิมพ์

18 Analogous สีข้างเคียงกัน คือ การเลือกสีใดสีหนึ่งขึ้นมาใช้งานพร้อมกับสีที่อยู่ติดกันอีกข้างละสี หรือ สีที่อยู่ติดกัน 3 สีในวงจรสี

19 Split Complementary

20 Double Complementary ( Tetrad )

21 Color Scheme Designer

22 Typography Body & Proportion Format Font Style

23 Body & Proportion Body หมายถึง ตัวอักษรแต่ละตัว

24 Proportion Aa Regular Bold Italic Aa Regular Bold Italic

25 รูปแบบของตัวอักษร Serif San Serif Antique Script
ดูเป็นระเบียบ ทางการ เหมาะใช้ในงานที่เป็นทางการ San Serif อ่านง่าย ทันสมัย ไม่เป็นทางการมากนัก Antique เหมาะกับงานที่ต้องการเน้นความย้อนยุค แสดงความชัดเจนในยุคสมัย Script รูปแบบของตัวอักษรที่ไม่เป็นทางการ มีความเป็นกันเอง ดูสนุกสนาน และมีความคล้ายคลึงกับลายมือเขียน

26 LOVE PROFESSIONAL SALE วิธีเลือกใช้งาน FONT ความหมายต้องเข้ากัน
อารมณ์ของฟอนต์ LOVE PROFESSIONAL SALE

27 การวางตำแหน่งตัวอักษร
ธรรมชาติการอ่านของคนไทยจะอ่านจากซ้ายไปขวา และบนลงล่าง 1 2 3

28 การวางตำแหน่งตัวอักษร
จุดเด่นควรจะมีเพียงจุดเดียว คือ มีตัวอักษรที่เป็นจุดนำสายตาเพียงจุดเดียว เพื่อให้ชิ้นงานกราฟิกมีความเด่นชัด และดึงดูดความสนใจได้

29 การวางตำแหน่งตัวอักษร
ไม่ควรใช้ฟอนต์หลากหลายรูปแบบจนเกินไป เพราะจะทำให้งานดูไม่เป็นมืออาชีพ อีกทั้งยังเกิดความแตกต่างของตัวอักษรที่ส่งผลต่อการอ่านและขาดความเด่นชัดและดึงดูด


ดาวน์โหลด ppt องค์ประกอบ Graphic.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google