ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยWani-ratana-kanya Boonliang ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
เสนอ เรื่อง รายงาน อ. ชมัยพร โคตรโยธา จัดทำโดย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1
พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จัดทำโดย น.ส. ชลิตา จันทร์พุฒ เลขที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 เสนอ อ. ชมัยพร โคตรโยธา
2
พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์เริ่มเข้าไปมีบทบาท และทวีความสําคัญเพิ่มขึ้นตามลําดับต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มขยายวงกว้าง และทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ นับเป็นพยานหลักฐานสําคัญในการดําเนินคดี อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสืบสวน สอบสวน เพื่อนําตัวผู้กระทําความผิดมาลงโทษ จึงสมควรกําหนดให้ผู้ให้บริการมีหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๖ วรรค ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ เรียกว่า "หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. ๒๕๕๐" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามประกาศนี้ ข้อ ๔ ในประกาศนี้
3
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
"ผู้ให้บริการ" หมายความว่า (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น "ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกําเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น บริการใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายทั่วไปในหน่วยงานของตนเองอีกด้วย "ระบบคอมพิวเตอร์ " หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ที่เชื่อมการทํางานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกําหนด ตาฝั่ง ชุดคําสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทําหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
4
ตามที่จะมีการนำพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาประกาศใช้ โดย พรบ.ดังกล่าวนี้ได้มีการกำหนดเกี่ยวกับบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องในหลายส่วน ได้แก่ ผู้ให้บริการ ที่หมายถึง ผู้ประกอบกิจการทางด้านโทรคมนาคม, ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต, ผู้ให้บริการอื่นๆ เช่น Web Hosting, InternetCaf?, หน่วยงาน บริษัท และสถานศึกษาต่าง ๆ และได้กำหนดให้หน่วยงานหรือองค์การเหล่านี้ จะต้องทำการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (traffic data) ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการสืบสวนหรือสอบสวนการกระทำผิดตาม พรบ. ดังกล่าวนี้ เป็นระยะเวลา 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี โดยมีการกำหนดประเภทของ Log File ที่มีความจำเป็นต้องเก็บไว้ (ตามมาตรา 24) ออกเป็น 7 ประเภทดังนี้
5
• Personal Computer log file
• Network Access Server or RADIUS server log file • Server log file (SMTP log) • FTP Server log file • Web Server (HTTP server) log file • UseNet log file • IRC log file สำหรับข้อมูลจราจรหรือข้อมูล Log ที่ต้องจัดเก็บนั้นจะแตกต่างกันไปตาม protocol ที่ใช้ในแต่ละบริการขององค์การนั้น ๆ เช่น การใช้บริการรับหรือส่ง การจัดเก็บก็จะให้ความสำคัญที่การเก็บในส่วนของ header เป็นต้น โดยข้อมูลจราจรที่ต้องมีการจัดเก็บจะประกอบไปด้วย
6
• แหล่งกำเนิด • ต้นทาง ปลายทาง • เส้นทาง • เวลาและวันที่ • ปริมาณ • ระยะเวลา • ชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ จึงมีความจำเป็นที่ทุก ๆ องค์การที่อยู่ในฐานะของผู้ให้บริการจำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เพื่อให้ตนเองรองรับการ พรบ. ดังกล่าวนี้ ซึ่งเงื่อนไขสำคัญคือการจัดหาอุปกรณ์ที่มีราคาเหมาะสมกับขนาด ขององค์การและงบประมาณที่องค์การสามารถจัดหาได้
7
ใช้พรบ.คอมพ์ เอาผิดมือเน็ตแพร่ข้อมูลเท็จ
ดีเอสไอ ยกพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ลงดาบผู้เผยแพร่ข้อมูลมั่วปรับเวลาเร็ว 30 นาที พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการ สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไร กับผู้เจตนาบิดเบือนและเผยแพร่ข้อมูลผ่านอีเมล์ ว่า ในวันที่ 23 ส.ค. นี้ จะมีการปรับแก้หรือเปลี่ยนแปลงเวลามาตรฐานของประเทศไทยให้เร็วขึ้น 30 นาที ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวถือว่า มีความผิดตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ โดยเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ทั้งยังสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก
8
ทั้งนี้ เวลามาตรฐานของประเทศไทยเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา ที่ประกาศใช้สมัยรัชกาลที่ 6 ที่กำหนดให้ประเทศไทยใช้เวลาตามมาตรฐานกรีนนีซ+7 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2463 พ.ต.อ.ญาณพล กล่าวว่า การปรับเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทยปัจจุบัน มีสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับผิดชอบจัดทำ และรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทยตามระบบสากล ซึ่งการปรับเทียบเวลามาตรฐาน สามารถทำได้ 3 ช่องทาง คือ 1) การปรับเที่ยบที่ห้องปฏิบัติการของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ คลอง 5 ปทุมธานี 2) การปรับเทียบเวลามาตรฐานผ่านระบบโทรศัพท์ 181 ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และ 3) การปรับเทียบทางอินเทอร์เน็ต ที่มา : หน้า B3 ธุรกิจ-ตลาด หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2,024 วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551
9
จบการนำเสนอแล้วค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.