ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKwanjai Wongsawat ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ชื่อเรื่อง ไตรสิกขาพัฒนาสุขภาพจิต จัดทำโดย ด. ช
ชื่อเรื่อง ไตรสิกขาพัฒนาสุขภาพจิต จัดทำโดย ด.ช.ศรัญญู วงษ์ไกร ชั้น ม 3/2 เลขที่14 โรงเรียนวัดพวงนิมิต เสนอ ครู ศราวุธ ไชยเจริญ ครู ทัศนีย์ ไชยเจริญ
2
ไตรสิกขา ไตรสิกขา ไตรสิกขาคืออะไร ไตรสิกขา คือ หลักการพัฒนาชีวิตเพื่อให้ประสบความสำเร็จเป็นคนสมบูรณ์แบบตามแนวพุทธ ไตรสิกขา จึงจัดอยู่ใน มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) คือ ควรทำให้เกิดมีขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาชีวิต ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา ๓ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา ๓ อย่าง คือ ๑. อธิสีลสิกขา สิกขา คือ ศีลอันยิ่ง ๒. อธิจิตตสิกขา สิกขา คือจิตอันยิ่ง หมายถึง สมาธิ ๓. อธิปัญญาสิกขา สิกขา คือ ปัญญาอันยิ่ง
3
ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นกระบวนการปฏิบัติ หรือ กระบวนการพัฒนา ๓ ด้าน คือ ศีล เป็นหลักการพัฒนาระดับความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม สมาธิ เป็นหลักการพัฒนาจิตใจให้มีสมรรถภาพและประสิทธิภาพในการคิดพิจารณาตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำการใด ๆ ปัญญา เป็นหลักการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ รู้จักสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น และสามารถแยกแยะวิเคราะห์สืบหาสาเหตุของสิ่งทั้งหลายได้ชัดแจ้ง ไตรสิกขาจึงเป็นกระบวนการพัฒนาแบบบูรณาการ
4
สุขภาพจิต สุขภาพจิต คือ สภาพชีวิตที่เป็นสุข มีอารมณ์มั่นคงสามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีสมรรถภาพในการ ทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ สุขภาพไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญและ จำเป็นสำหรับทุกชีวิตในการดำรงอยู่อย่างปกติ เป้าหมายของการเรียนรู้ วิชาสุขภาพจิต ก็คือ การทำให้ชีวิตมีความสุข ความพอใจ ความสมหวัง ทั้งของตนเองและของผู้อื่น
5
ความสำคัญของสุขภาพจิต "สุขภาพจิต" มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หลายด้าน ดังนี้ 1. ด้านการศึกษา ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมมีจิตใจปลอดโปร่ง สามารถศึกษาได้สำเร็จ 2. ด้านอาชีพการงาน ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมมีกำลังใจต่อสู้อุปสรรค ไม่ท้อแท้ เบื่อหน่าย ทำงานก็บรรลุผลสำเร็จ 3. ด้านชีวิตครอบครัว คนในครอบครัวสุขภาพจิตดี ครอบครัวก็สงบสุข 4. ด้านเพื่อนร่วมงาน ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมไม่เป็นที่รังเกียจ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี 5. ด้านสุขภาพร่างกาย ถ้าสุขภาพจิตดีร่างกายก็สดชื่น หน้าตายิ้มแย้ม สมองแจ่มใส เป็นที่สบายใจแก่ผู้พบเห็น อยากคบค้าสมาคมด้วย
6
ไตรสิกขาพัฒนาสุขภาพจิต
การพัฒนาคน ให้เป็นผู้มีคุณภาพ ที่สำคัญที่สุดก็คือ การปลูกฝังให้คนเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม วิธีการหนึ่งที่น่าจะให้ผลดีในการปลูกฝังและพัฒนาการมีคุณธรรมจริยธรรม ก็โดยใช้ หลักไตรสิกขา เนื่องจากไตรสิกขาเป็นระบบและเป็นกระบวนการในการฝึกฝน อบรม ฝึกหัดเพื่อพัฒนาคนใน 3 ด้านคือ • พัฒนา ด้านพฤติกรรม เรียกว่า ศีล • พัฒนา ด้านจิตใจ เรียกว่า สมาธิ • พัฒนา ด้านปัญญา เรียกว่า ปัญญา ทั้งนี้ก็เพื่อให้บุคคลมีการดำเนินชีวิตไปในวิถีที่ถูกต้องดีงาม
7
ปัญญาวุฒิธรรม ๔ ประการ คือ 1
ปัญญาวุฒิธรรม ๔ ประการ คือ 1.สัปปุริสสังเสวะ หมายถึงการอยู่ใกล้คนดี ใกล้ผู้รู้ มีครู อาจารย์ดี มีข้อมูล มีสื่อที่ดี 2.สัทธัมมัสสวนะ หมายถึง เอาใจใส่ศึกษาโดยมีหลักสูตร การเรียนการสอนที่ดี 3.โยนิโสมนสิการ หมายถึง มีกระบวนการคิดวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุผลที่ดีและถูกวิธี 4.ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง ความสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตได้ถูกต้องเหมาะสม
8
คำคม คนที่มองโลกในแง่ดี ย่อมเห็นโอกาสในทุกยามที่เกิดวิกฤต คนที่มองโลกในแง่ร้าย ก็ย่อมเห็นแต่วิกฤตในทุกโอกาส
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.