ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การวิจัยเชิงทดลอง สมพงษ์ พันธุรัตน์
2
การวิจัยเชิงทดลอง เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อผู้วิจัย ทำการวิจัย หรือทดลอง โดยการควบคุมตัวแปรหรือสภาพการณ์ต่างๆ เป็นอย่างดี เป็นการศึกษาเพื่อที่จะลงสรุปผลการทดลอง เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าหรือตัวแปรต้นที่ผู้วิจัยดำเนินการ กับผลที่ได้จากการทดลอง หรือตัวแปรตาม ในเชิงเหตุผล
3
ขั้นตอนการวิจัยเชิงทดลอง
สำรวจปัญหา ตั้งชื่อเรื่องปัญหา และคำถามในการวิจัย ตั้งสมมติฐาน ให้คำนิยามปฏิบัติการ วางแผนการทดลอง
4
การวางแผนการทดลอง กำหนดและควบคุมตัวแปรที่ไม่ได้ใช้ในการทดลอง
เลือกรูปแบบการทดลอง เลือกกลุ่มตัวอย่าง สร้างหรือเลือกเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล เขียนสมมติฐานและสถิติที่ใช้การทดสอบ ดำเนินการทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล ทดสอบนัยสำคัญ และแปลผล
5
ตัวแปรในการวิจัยเชิงทดลอง
ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ (independent variable) ตัวแปรตามหรือตัวแปรที่ไม่อิสระ (dependent variable) ตัวแปรที่เป็นตัวกลาง (moderator variable) ตัวแปรควบคุม (control variable) ตัวแปรแทรกแซง (intervening variable) ตัวแปรที่อยู่นอกแวดวงการทดลอง (extraneous variable) ตัวแปรที่เป็นคุณลักษณะ (attribute variable)
6
การคัดเลือกและจัดกลุ่มตัวอย่าง
หลักการ คือ ให้แต่ละกลุ่มมีความเสมอภาค หรือเท่าเทียมกัน ก่อนทำการทดลอง การจัดคู่ผู้ที่ถูกทดลอง (matching case) การจัดให้กลุ่มผู้ที่ถูกทดลองสมดุลย์กัน (balancing case) การคัดเลือกแบบสุ่ม (randomization)
7
สัญลักษณ์ที่ใช้ในรูปแบบการวิจัย
X = การให้การทดลองหรือสิ่งเร้า หรือตัวแปรต้น แก่กลุ่มทดลอง ช่องว่าง = การควบคุมหรือกลุ่มควบคุม ไม่มีการให้การทดลอง O = การสังเกต หรือการวัดผลที่ได้จากการทดลอง R = การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการแบบสุ่ม = กลุ่มที่ใช้ในการทดลอง เป็นกลุ่มที่ผู้วิจัยคัดเลือกมาเป็นกลุ่ม C = กลุ่มที่ใช้เป็นกลุ่มเกณฑ์
8
รูปแบบการศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว EX POST FACTO DESIGNS
รูปแบบการศึกษาความสัมพันธ์ O1 O2 O1 O On รูปแบบที่อาศัยกลุ่มที่เป็นเกณฑ์ C O1 O2 C O1 หรือ O2
9
รูปแบบที่ยังไม่เข้าขั้นการทดลอง PRE-EXPERIMENTAL DESIGNS
การศึกษาเฉพาะกรณีโดยให้การทดลองหนึ่งครั้ง (One-shot case study) X O รูปแบบกลุ่มที่มีการทดสอบก่อนและทดสอบหลังการทดลอง (One group pretest-postest design) O X O2 การเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาแบบเป็นกลุ่ม (Intact-group comparison) X O1 O2
10
รูปแบบกึ่งการทดลอง QUASI-EXPERIMENTAL DESIGN
รูปแบบอนุกรมช่วงเวลา (Time-series design) O1 O2 O3 O4 X O5 O6 O7 O8 รูปแบบที่มีกลุ่มควบคุมที่ไม่เสมอภาค (Nonequivalent control group design) O1 X O2 O3 O4
11
รูปแบบการทดลองที่แท้จริง TRUE EXPERIMENTAL DESIGNS
รูปแบบที่มีกลุ่มควบคุมและทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (pretest-postest control group design) R O1 X O2 R O3 O4
12
รูปแบบการทดลองที่แท้จริง TRUE EXPERIMENTAL DESIGNS
รูปแบบสี่กลุ่มแบบโซโลมอน The Solomon four-group design R O1 X O2 R O3 O4 R X O5 R O6
13
รูปแบบการทดลองที่แท้จริง TRUE EXPERIMENTAL DESIGNS
รูปแบบที่มีกลุ่มควบคุมและทำการทดสอบหลังการทดลองเท่านั้น posttest-only control group design R X O1 R O2
14
ความตรงของการวิจัย ความตรงภายใน ความตรงภายนอก
การจัดกระทำต่อตัวอย่างหรือตัวแปรต้นนั้นมีผลกระทบต่อสิ่งที่ต้องการศึกษาหรือตัวแปรตามอย่างแท้จริง ความตรงภายนอก ความเป็นตัวแทนของผลการวิจัยและการที่ผู้วิจัยสามารถจะลงสรุปความ (generalize) เกี่ยวกับผลการวิจัย ไปยังกลุ่มประชากร หรือสภาพการณ์อื่นๆ
15
องค์ประกอบที่ส่งผลต่อความตรงภายในของการวิจัย
ความเป็นอยู่หรือประวัติ (history) วุฒิภาวะ (maturation) ผลจากการทดสอบ (testing effect) เครื่องมือที่ใช้ (instrumentation) ความลำเอียงในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง (selection bias) การถดถอยทางสถิติ (statistical regression) การสูญเสียบุคคลในกลุ่มตัวอย่าง (experimental martality) ปฏิกิริยาร่วมระหว่างองค์ประกอบต่างๆ (interactive combinations)
16
องค์ประกอบที่ส่งผลต่อความตรงภายนอกของการวิจัย
ผลกระทบของการตอบสนองที่มีต่อการจัดการทดลอง ผลกระทบของปฏิกิริยาร่วมระหว่างความลำเอียงในการคัดเลือกตัวอย่างและตัวแปรในการทดลอง ผลกระทบของการตอบสนองที่มีต่อการทดสอบในการทดลอง ผลกระทบที่เกิดจากการแทรกแซงของการทดลองหลายครั้ง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.