งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พงศธร สังข์เผือก สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พงศธร สังข์เผือก สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินความปลอดภัยของพืชอาหารที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรม
พงศธร สังข์เผือก สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2547 ห้องอยุธยา โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ

2 Substantial equivalence
ความเทียบเท่าโดยสาระสำคัญ องค์ประกอบโดยรวมในอาหารทั้งหมด ไม่มีความแตกต่างจากพืชอาหารที่ได้จากธรรมชาติ ถ้ามีความแตกต่าง พิจารณาประเมินสิ่งที่แตกต่างเพิ่มเติม ผลที่เจตนาให้เกิดขึ้น (intended effect) หรือไม่ได้เจตนาให้เกิดขึ้น (unintended effect)

3 ข้อมูลพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ข้อมูลองค์ประกอบสำคัญในอาหาร ข้อมูลสารโปรตีนหรือสารประกอบใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นจากการดัดแปลงพันธุกรรม ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสารเมตาโบไลต์ ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงคุณค่าทางโภชนาการ ข้อมูลกระบวนการแปรรูปเพื่อเป็นอาหาร

4 องค์ประกอบสำคัญในอาหาร
เปรียบเทียบชนิดและปริมาณขององค์ประกอบสำคัญกับพืชอาหารที่ได้จากธรรมชาติ ที่มีการเจริญเติบโตและการเก็บเกี่ยวภายใต้สภาวะเดียวกัน จำนวนรุ่นที่ทำการปลูกและเก็บตัวอย่าง ต้องเพียงพอที่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในแหล่งเพาะปลูกนั้นๆ การทดลองในแต่ละสภาวะควรต้องมีการทำซ้ำ เพื่อให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

5 องค์ประกอบสำคัญในอาหาร
ต้องทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ส่วนประกอบพื้นฐาน (proximate composition) True protein, non protein nitrogen: nucleic acid, aminoglycosides Amino acid profile, d-amino acids ไขมัน ที่ละลายและไม่ละลายน้ำ, fatty acid profile, phospholipids, sterols (phytosterol), cyclic fatty acids, toxic fatty acids, trans fatty acids

6 องค์ประกอบสำคัญในอาหาร
คาร์โบไฮเดรต: น้ำตาล แป้ง chitin, non-starch polysaccharide: lignin Vitamins Minerals Phytonutrients สารพิษที่มีอยู่ตามธรรมชาติ: gossypol สารต้านโภชนาการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือโดยความบังเอิญ: phytates, trypsin inhibitors, tannins, oxalates, hemagglutinin

7 องค์ประกอบสำคัญในอาหาร
Storage stability ความเสถียรในการเก็บรักษา ความเสถียรของโปรตีนและสารอาหารอื่น ต่อความร้อน ต่อกระบวนการแปรรูปอาหาร และต่อสภาวะภายในระบบการย่อยอาหาร Nutrient bioavailability ชีวประสิทธิผลของสารอาหาร ถ้าเป็นอาหารหลัก ต้องมีการศึกษาในสัตว์ทดลอง มีหลักฐานแสดงว่ามีคุณค่าทางโภชนาการอย่างเพียงพอ วิเคราะห์ด้วยวิธีมาตรฐาน HPLC, GC-MS, ICP

8 THEORETICAL SAMPLE NUMBER
Statistically based: n > ([t / r] [s/y])2 Where: n = number of samples (must start with guess [10]), t = ‘students t’ for n – 1 df & confidence desired (95%) [2.262], r = closeness of estimate to population value (10%) [0.10], s/y = estimated coefficient of variation of population (first guess = 20% [0.20]) Result = 21 samples (20.46)

9 วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี
Good Laboratory Practices วิธีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของสากล สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ + มกอช) AOAC, 17th ed AOCS, 1993. ISO, 1977.

10 Nutritional Modification
การดัดแปลงพันธุกรรม มีเจตนาให้เกิดการปรับเปลี่ยนคุณค่าของสารอาหาร ปริมาณของสารอาหาร หน้าที่ทางโภชนาการโดยตรง อาจส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงของสารอาหารอื่นๆ ได้ อาจมีผลต่อภาวะโภชนาการของบุคคลที่บริโภคอาหารนั้น ต้องเปรียบเทียบกับพืชอาหารชนิดเดียวกันที่ได้จากธรรมชาติ รูปแบบการใช้ และการบริโภค ความแตกต่างและความแปรปรวนทางด้านภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมของรูปแบบการบริโภคอาหารในบางพื้นที่ บางกลุ่มประชากร อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง

11 Nutritional Modification
ควรประเมินทั้งระดับปกติ และระดับสูงสุดของการบริโภค ว่าจะไม่ก่อให้เกิดผลที่ไม่พึงปรารถนาทางโภชนาการ ลักษณะเฉพาะทางสรีระวิทยา และความต้องการในการครองธาตุ ของกลุ่มประชากรต่างๆ เช่น ทารก เด็ก หญิงมีครรภ์และให้น้ำนมบุตร ผู้สูงอายุ กลุ่มที่มีโรคเรื้อรัง หรือระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างไป ต้องประเมินภาวะโภชนาการเพิ่ม ความเสถียรของสารอาหาร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงของเวลา การแปรรูป และการเก็บรักษา

12 Nutritional Modification
กรณีที่องค์ประกอบเปลี่ยนแปลงจากพืชธรรมชาติชัดเจน ต้องเปรียบเทียบกับอาหารอื่นที่มีองค์ประกอบใกล้เคียง เพื่อให้การประเมินผลกระทบทางโภชนาการ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ต้องทำการศึกษาในสัตว์ทดลอง เพื่อตรวจสอบผลกระทบทางโภชนาการด้านอื่นๆ ที่เหมาะสมเพิ่มเติมโดยเฉพาะด้านพิษวิทยา เปรียบเทียบข้อมูล ประวัติการใช้บริโภค การแพร่กระจายในธรรมชาติ กลุ่มผู้บริโภค และสัดส่วนการบริโภค วิธีการและขั้นตอนการผลิตเพื่อใช้เป็นอาหาร ปริมาณสารพิษ กับพืชอาหารธรรมชาติ

13 กระบวนการแปรรูปเพื่อเป็นอาหาร
ทั้งระดับครัวเรือน และอุตสาหกรรม มีข้อมูลอธิบายถึงภาวะ ขั้นตอนการแปรรูปที่ใช้ในการผลิตส่วนประกอบของพืชอาหาร เช่นการสกัดแยก ขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์ สารอาหารบางอย่างอาจเปลี่ยนแปลงไปในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจากการแปรรูปอาหาร สารพิษอาจเปลี่ยนคุณสมบัติในการทนทานต่อความร้อนมากขึ้น


ดาวน์โหลด ppt พงศธร สังข์เผือก สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google