ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
นางสาวกุลธิดา แก่นแก้ว ตำแหน่ง ครู คศ. 1 โรงเรียนหนองหิ้งพิทยา
2
ลักษณะทางพันธุกรรม ลักษณะทางพันธุกรรม หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถูกควบคุมโดยกรดนิวคลีอิกชนิด DNA หรือ RNA ที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อๆ ไป โดยอาศัยเซลล์สืบพันธุ์หรือเซลล์ชนิดอื่นๆ เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด
3
ประเภทของลักษณะทางพันธุกรรม
1. ลักษณะที่มีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous variation) เป็นลักษณะพันธุกรรมที่ 2. ลักษณะที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (Continuous variation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่
4
1.ลักษณะที่มีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง
- แยกความแตกต่างกันได้อย่างเด่นชัด - มักถูกควบคุมด้วยยีนน้อยคู่ - มักเกี่ยวข้องกับทางด้านคุณภาพ (Qualitative trait)
5
2. ลักษณะที่มีความแปรผันต่อเนื่อง
- ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างเด่นชัด - มักถูกควบคุมด้วยยีนหลายคู่ (Polygenes or Multiple genes) - มักเกี่ยวข้องกับทางด้านปริมาณ (Qrantitative trait)
6
เกรเกอร์ โจฮันน์ เมนเดล Gregor Mendel
เกิดในปี ค.ศ.1822 เป็นบาทหลวง ชาวออสเตรีย และใน ขณะเดียวกันเขาก็เป็นอาจารย์ สอนหนังสือให้แก่นักเรียน เมน เดลมีความสนใจศึกษาด้าน วิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ ด้าน พันธุศาสตร์ เขาได้ใช้สถานที่ ภายในบริเวณวัดเพื่อทำการ ทดลองการรวบรวมต้นถั่ว หลายๆพันธุ์นำมาผสมกัน หลายๆวิธี
7
การทดลองของเมนเดล 1. เมนเดล ผสมต้นถั่วลันเตาจนได้ พันธุ์บริสุทธิ์ทั้ง พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ 2. เมนเดล นำต้นถั่วพันธุ์สูงเป็นพ่อ พันธุ์ หรือแม่พันธุ์ มาผสมกับต้นถั่ว พันธุ์เตี้ยซึ่งเป็นแม่พันธุ์หรือพ่อพันธุ์ เป็นการผสมข้ามต้นต่างลักษณะ 3. เมนเดล นำต้นถั่วรุ่นที่สอง (F2) มา ผสมพันธุ์กันเอง
9
สรุปผลการทดลองของเมนเดล
1. ลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมความสูงของ ต้นถั่วมีลักษณะเด่น คือ ลักษณะลำต้นสูงกับ ลักษณะด้อย คือ ลักษณะลำต้นเตี้ย ลักษณะ ทางพันธุกรรมของพ่อจะอยู่ในละอองเกสรตัวผู้ ของแม่จะอยู่ในรังไข่ ลักษณะพันธุกรรมจึง ถ่ายทอดถึงลูกหลานได้ 2. ลักษณะเด่นจะข่มลักษณะด้อยในรุ่นลูก (F1) จึงพบรุ่นลูกมีลักษณะเด่นหมด ทั้งนี้ภายใน ข้อจำกัดพ่อและแม่ ต้องเป็นพันธุ์เด่นแท้และ ด้อยแท้ 3. ในชั่วรุ่นหลาน (F2) โดยปล่อยให้รุ่นลูก (F1) ผสมพันธุ์กันเองจะได้ลักษณะเด่นต่อลักษณะ ด้อยในอัตราส่วน 3 : 1
10
กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดล
กฎข้อที่ 1 กฎแห่งการแยกตัว ( law of segregation) กล่าวว่า สิ่งที่ควบคุมลักษณะทาง พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบ อาศัยเพศมี อยู่เป็นคู่ๆ แต่ละคู่แยกจาก กันในระหว่าง การสร้างเซลล์พืชสืบพันธุ์ กฎข้อที่ 2 กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ กล่าวว่า ในเซลล์สืบพันธุ์จะมีการรวมกลุ่ม ของหน่วยพันธุกรรมของลักษณะต่าง ๆ การรวมกลุ่มเหล่านี้เป็นไปอย่างอิสระ จึง ทำให้เราสามารถทำนายผลที่เกิดขึ้นในรุ่น ลูก และรุ่นหลานได้
11
1. กฏการแยก (law of segregation)
เมื่อพิจารณาการถ่ายทอดลักษณะของถั่ว ลันเตาทีละลักษณะ เช่น ลักษณะสีของ เมล็ด เมนเดลให้สัญลักษณ์ Y แทน ลักษณะเมล็ดสีเหลือง และ y แทนลักษณะ เมล็ดสีเขียว
12
2. กฏการรวมกลุ่มกันอย่างอิสระ (law of independent assortment)
เมื่อพิจารณาการ ถ่ายทอดลักษณะ ของถั่วลันเตาทีละ ลักษณะ 2 ลักษณะ ขึ้นไป เช่น ลักษณะ สีของเมล็ด และ ลักษณะรูปร่างของ เมล็ด เมนเดลให้ สัญลักษณ์ของ ลักษณะรูปร่าง เมล็ดกลม R และ ลักษณะรูปร่าง เมล็ดขรุขระ r
13
คำศัพท์ที่ควรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์
1. เซลล์สืบพันธุ์ (Gamete or Sex cell)หมายถึง ไข่ (Egg) หรือ สเปิร์ม ( Sperm) 2. ลักษณะเด่น (Dominance) หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏออกมาในรุ่นลูกหรือรุ่นต่อ ๆ ไปเสมอ 3. ลักษณะด้อย (Recessive) หมายถึง ลักษณะที่ไม่มีโอกาสปรากฏในรุ่นต่อไป
14
คำศัพท์ที่ควรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์
4. ยีน (Gene) หมายถึง หน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเป็นสารเคมีจำพวก กรดนิวคลีอิก โดยเฉพาะ ชนิด DNA จะพบมากที่สุด ชนิด RNA 5. โฮโมโลกัสยีน (Homologous gene) หมายถึง ยีนที่เหมือนกันอยู่ด้วยกัน เช่น TT , tt , AA , bb 6. เฮเทอโรไซกัสยีน (Heterozygous gene) หมายถึง ยีนที่ต่างกันอยู่ด้วยกัน เช่น Tt , Aa , Bb
15
คำศัพท์ที่ควรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์
7. จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง ลักษณะหรือแบบของยีนที่ควบคุมลักษณะ 8. ฟีโนไทป์ (Phenotype) หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏออกมาเนื่องจากการ แสดงออกของยีนและอิทธิพลของ สิ่งแวดล้อม
16
คำศัพท์ที่ควรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์
9. โฮโมโลกัสโครโมโซม (Homologous chromosome) หมายถึง โครโมโซมที่เป็นคู่กัน มีขนาดและรูปร่างภายนอกเหมือนกัน 10. โฮโมไซกัสโครโมโซม (Homozygous chromosome) หมายถึง โครโมโซมที่เป็นโฮโมโลกัสกัน และมียีนที่เป็นโฮโมไซกัสกัน อย่างน้อย 1 คู่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.