ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยUdom Sriroj ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
นกในประเทศไทย จัดทำโดย ด.ช.ธีรวุฒิ เนียมคุ้ม ชั้น ม. 2/1 เลขที่ 9
2
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินทร
3
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (หนึ่งเดียวในโลก)
ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายนกนางแอ่น (Swallows) แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีความยาวตัว 15 เซนติเมตร ตัวสีดำเหลือบน้ำเงินเข้ม ใต้คอสีน้ำตาลดำ หน้าผากมีขนสีดำคล้ายกำมะหยี่ ขาและแข้งเป็นสีชาพู จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ นกเจ้าฟ้าฯ จะมีขอบตาสีขาวเป็นวงรอบตาเห็นได้ชัดเจน ทำให้เห็นเหมืนว่าตาของมันพองโปนขึ้นมา ชาวบ้านเรียกนกชนิดนี้ว่า " นกตาพอง" บริเวณสะโพกมีแถบสีขาวขนาดใหญ่เด่นชัด และในขณะที่นกนางแอ่นมีขนหางยาวแฉกลึกนั้น นกเจ้าฟ้าฯ จะมีหางสั้นกลมมน และนกที่โตเต็มที่แล้วจะมีแกนหางคู่กลางเส้นเล็กๆ 2 เส้น ยี่นยาวออกมาประมาณ 8.5 เซนติเมตร คล้ายหางนกหางบ่วง แต่ปลายบ่วงมีขนาดเล็กมาก มีความกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 35 มิลลิเมตร ปากของนกเจ้าฟ้าฯ มีลักษณะแบนกว้างกว่าปากของนกนางแอ่นมาก
4
นกพิราบป่า (Rock Pigeon)
ลำตัวป้อม หัวเล็ก ขนปกคลุมลำตัวหลากสี แต่ที่พบมากที่สุดมีสีเทาเข้ม และมีแถบใหญ่สีดำขวางที่ปีกสองเส้น คอมีแถบสีเขียวเหลือบ ปากดำและขาแดง เป็นต้นตระกูลของนกพิราบที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน นกที่พบตามธรรมชาติมักเกาะอยู่ตามสายไฟหรือหลังคาสิ่งปลูกสร้างต่างๆอาหารได้แก่ เมล็ดพืช ผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ทำรังตามสิ่งก่อสร้างหรือซอกหิน วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ง่ายทั่วประเทศ ตามพื้นที่เกษตรกรรม ป่าละเมาะ และป่าโปร่ง
5
นกเขาพม่า (Oriental Turtle Dove)
ลักษณะคล้ายนกเขาใหญ่ ต่างกันตรงที่มีแถบสีดำข้างคอแบ่งเป็นสองแถบไม่ต่อเนื่องกัน และในแถบเป็นลายขีดขาวไม่เป็นจุดอย่างนกเขาใหญ่ อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าดงดิบแล้ง ป่ารุ่น และป่าละเมาะ บางครั้งพบเป็นฝูงใหญ่มาก มักหากินตามพื้นดิน อาหารคือ เมล็ดพืช ขุยไผ่และยอดอ่อนของพืช ผสมพันธุ์เดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม ทำรังตามต้นไม้หรือกิ่งไผ่ สูงจากพื้นดินประมาณ เมตร วางไข่ 2 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้น้อย มีบางส่วนเป็นนกอพยพช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์
6
นกเขาใหญ่ , นกเขาหลวง (Spotted Dove)
ลำตัวป้อม หัวเล็ก คอ ปากและขาสั้น ขนปกคลุมลำตัวสีน้ำตาล มีขีดสีคล้ำกระจายอยู่ทั่ว หัวมีสีเทา หลังคอตอนล่างมีจุดกลมเล็กๆ กระจายอยู่บนแถบพื้นสีดำ อาศัยอยู่ตามพื้นที่เกษตรกรรม ป่าละเมาะ ทุ่งโล่งและป่าโปร่ง เวลาหากินจะลงมาเดินหากินอยู่ตามพื้นดิน อาหารได้แก่เมล็ดพืช ผสมพันธุ์เดือนมีนาคม ถึงกรกฎาคม ทำรังตามต้นไม้ พุ่มไม้หรือป่าไผ่ วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วประเทศ
7
นกเขาเขียว ( Emeral Dove)
ปีกและหลังมีสีเขียวสดเป็นเงาวาว ตัวผู้มีหน้าผากและคิ้วขาว บนกระหม่อมมีสีเทาจางๆ ส่วนตัวเมียมีสีตัวหม่นกว่าและบนกระหม่อมมีสีน้ำตาล อาศัยตามป่าดงดิบในบริเวณที่โล่งเตียน มักลงมาหากินบนพื้นดินตามลำพัง และพบได้บ่อยตามริมถนนในป่าต่างๆ อาหารคือ เมล็ดพืชและแมลงบางชนิด เช่น ปลวก ผสมพันธุ์เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ทำรังเล็กกกๆ บนต้นไม้ พุ่มไม้ หรือป่าไผ่สูงจากพื้นประมาณ 2- 8 เมตร วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยเกือบทั่วประเทศ
8
นกชาปีไหน ( Nicobar Pigoen)
ส่วนบนของตัวตั้งแต่ไหล่ ปีก ขนคลุมปีกถึงขนคลุมบนโคนหางมีสีเขียวเหลือบเหลืองและม่วง ขนปลายปีกมีสีดำแกมน้ำเงิน มีขนที่คอยาวเรียก "สร้อยคอ" ซึ่งขนสร้อยคอและหน้าอกตอนบนสีเขียว อาศัยและหากินอยู่ตามพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้ อาหารได้แก่ เมล็ดพืชและผลไม้เล็กๆ ที่หล่นอยู่ตามพื้นดิน ผสมพันธุ์เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่หายากในทะเลอันดามัน ตามเกาะต่างๆ เช่น เกาะสุรินทร์ เกาะสิมิลัน
9
นกเขาลายเล็ก ( Little Cuckoo Dove)
ตัวผู้หัวสีส้ม ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลมีลายสีส้ม หางสีดำ ด้านล่างลำตัวสีน้ำตาลจาง มีลายสีขาวคาดบนหน้าอก ตัวเมียสีคล้ำกว่าและลายเด่นชัดกว่า อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ บางครั้งจะลงมาบนพื้นดินเพื่อกินแมลงเล็กๆ เมล็ดข้าวและเมล็ดพืชบางชนิด เป็นนกที่ค่อนข้างเชื่อง ผสมพันธุ์เดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน ทำรังตามง่ามไม้สูงจากพื้นดินไม่เกิน 8 เมตร วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้น้อยเฉพาะทางด้านเหนือ
10
3.ช่วยแพร่กระจายปลูกเมล็ดพืช
คุณค่าของนก 1.ช่วยผสมเกสรดอกไม้ 2.กำจัดศัตรูพืช 3.ช่วยแพร่กระจายปลูกเมล็ดพืช
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.