งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นางสาวศิริรัตน์ รักญาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นางสาวศิริรัตน์ รักญาติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นางสาวศิริรัตน์ รักญาติ
พุทธประวัติ โดย นางสาวศิริรัตน์ รักญาติ ครูอัตราจ้าง

2 องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เปี่ยมด้วยบารมีธรรม เป็นครูของมนุษย์ เทวดา และพรหมทั้งหลาย

3 พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่า "พระนางสิริมหามายา" ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ

4 เมื่อประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อ 80 ปีก่อนพุทธศักราช
ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละ ซึ่งอยู่ระหว่างพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ (ปัจจุบันคือประเทศเนปาล) เมื่อประสูติ พราหมณ์ทั้ง 8 ทำนายว่า ถ้าถือเพศฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก

5 ทันทีที่ประสูติ ทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว
มีดอกบัวผุดรองรับ ทรงเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา"

6 หลังประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์
ทรงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระเจ้าน้า ศึกษาเล่าเรียนจนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลกในสมัยนั้น คือ ศิลปศาสตร์ถึง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร

7 พระบิดาไม่ประสงค์จะให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอก จึงพยายามทำให้พบแต่ความสุขทางโลก เช่นสร้างประสาท 3 ฤดูให้ อายุ 16 ปี ได้ให้เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกกับนางพิมพาหรือยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา เมื่อมีพระชนมายุ 29 ปี พระนางพิมพาก็ให้ประสูติ ราหุล (บ่วง)

8 ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะตามลำดับ
เห็นสภาพชีวิตเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทรงเห็นความสุขทางโลกเป็นเพียงมายา ความสุขในกามคุณเป็นความสุขจอมปลอม

9 เมื่อพระชนมายุ 29 ชันษา ทรงเริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตที่ไม่เที่ยง
หาวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิต หนทางหลุดพ้นจากวัฏสงสาร จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนเป็นสมณะ แอบมองพระนางพิมพา พระราหุล ก่อนหนีออกบวชเพื่อแสวงธรรม

10 เปลี่ยนห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ทรงม้ากัณฐกะออกผนวช มีนายฉันนะติดตาม ถึงริมแม่น้ำอโนมา ทรงปลงพระเกศา เปลี่ยนห่มผ้ากาสาวพัสตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) การออกบวชครั้งนี้เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์

11 หลังจากทรงผนวชแล้ว ทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ เพื่อค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร เมื่อเรียนจบทั้งสองสำนัก (บรรลุฌาณชั้นที่แปด) แต่ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้

12 ตัดสินพระทัย ศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เอง
ณ แม่น้ำเนรัญชรา เริ่มด้วยการบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรมานพระวรกายอย่างหนัก นาน 6 ปี แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้

13 พระองค์จึงค้นพบว่า ทางสายกลางเป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้
พระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย พระองค์จึงค้นพบว่า ทางสายกลางเป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้ ฉันอาหาร บำรุงร่างกาย เหมือนเดิม ปัญจวัคคีย์ (โกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ) หนีไป-ไม่ปรนนิบัติพระพุทธเจ้าอีก คิดว่าพระองค์ทรงละความเพียร

14 นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส
ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ก่อนที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส(หุงด้วยนม) ใต้ต้นไทร

15 อธิษฐานจิตก่อนบรรลุธรรม
เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า “ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ” ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ๑ เส้น แล้วก็จมลงตรงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช

16 เพียรพยายามจนท่านบรรลุธรรมขั้นสูงสุด
-ในเวลาเย็นโสตถิยะให้ถวายหญ้าคา 8 กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  - ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก เพียรพยายามจนท่านบรรลุธรรมขั้นสูงสุด สำเร็จเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก  - ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง คือ 1.) เวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้ 2.) เวลามัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ(ทิพยจักษุญาณ)คือรู้เรื่องเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้ 3.) เวลาปัจฉิมยาม ทรงได้ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ4

17 หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว
ทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ทรงเห็นว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน

18 ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง
ทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีเปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า จึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป 1.ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ - สติปัญญาเฉลียวฉลาด 2.ดอกบัวปริ่มน้ำ - สติปัญญาปานกลาง 3.ดอกบัวใต้น้ำ - สติปัญญาน้อย ต้องฝึกฝนมากๆจึงเข้าใจได้ 4.ดอกบัวติดโคลนตมน้ำ - ไร้สติปัญญา เป็นมิจฉาทิฎฐิ สั่งสอนไม่ได้

19 1.) มรรคมีองค์แปด เป็นไปเพื่อพระนิพพาน 2.) ทรงแสดง อริยสัจ4 โดยละเอียด
ทรงโปรดแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ในวันขึ้น 15 เดือน 8 ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีใจความ 3 ตอน คือ 1.) มรรคมีองค์แปด เป็นไปเพื่อพระนิพพาน 2.) ทรงแสดง อริยสัจ4 โดยละเอียด 3.) ทรงปฏิญญาว่าทรงตรัสรู้พระองค์เอง และได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว

20 โกณฑัญญะเป็นผู้ได้ธรรมจักษุก่อน หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบทแล้ว
จึงได้อุปสมบทแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นสงฆ์องค์แรกในพุทธศาสนา หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบทแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์ อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึงสำเร็จเป็นอรหันต์

21 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยพระเมตตาจากน้ำพระทัยท่าน ทรงสั่งสอน อบรม รื้อขนสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร จนถึงวินาทีสุดท้าย ก่อนที่พระพระพุทธองค์ จะเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน


ดาวน์โหลด ppt นางสาวศิริรัตน์ รักญาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google