งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคนิควิธีการสอนคณิตศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคนิควิธีการสอนคณิตศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคนิควิธีการสอนคณิตศาสตร์

2 1. การยกตัวอย่างและการสร้างโจทย์ปัญหา
1.1 การยกตัวอย่างได้อย่างอัตโนมัติ ครูควรจะยกตัวอย่างได้ในทันทีทันใด ใช้โจทย์ง่ายๆ โดยไม่จำเป็นจะต้องดูในหนังสือแบบเรียน ควรตั้งโจทย์ให้สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน เหมาะสมกับวัย 1.2 การยกตัวอย่างโจทย์ที่นอกเหนือจากหนังสือเรียน ครูควรยกตัวอย่างได้อย่างหลากหลาย เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์มากขึ้น เป็นการฝึกการเชื่อมโยงในการคิด และการแก้ปัญหา 1.3 ยกตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน เมื่อจะเรียนเรื่องใดต้องนำทักษะคณิตศาสตร์ไปบูรณาการให้ได้ทุกครั้ง และให้สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เช่น การนับจำนวนเพื่อนที่มาในแต่ละวัน การตัดขนมแบ่งให้เพื่อนได้อย่างไร

3 1.4 ยกตัวอย่างสอดแทรกจริยธรรม การยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาที่สอดแทรกจริยธรรมนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการส่งเสริมให้เด็กคิดไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การยกตัวอย่างโจทย์การบวก ไม่ใช่แต่งโจทย์ว่า “แม่ให้เงินมาโรงเรียน 5 บาท ไปขโมยเพื่อนมาอีก 2 บาท รวมเป็นเงินเท่าไร” แต่ควรแต่งโจทย์ว่า “แม่ให้เงินมาโรงเรียน 5 บาท ขายหนังสือพิมพ์ได้เงินอีก 2 บาท รวมเป็นเงินเท่าไร” 1.5 การสร้างโจทย์เป็นคำประพันธ์ ในการสร้างโจทย์ปัญหาเป็นคำประพันธ์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย การใช้คำแปลกๆ ย่อมดึงดูดความสนใจของเด็กได้ดีกว่าโจทย์ธรรมดา ดังที่อนุชิต ล้ำยอดมรรคผล (2544, หน้า 15-26) ได้สร้างโจทย์คณิตศาสตร์เป็นคำกลอนดังตัวอย่างโจทย์ปัญหาต่อไปนี้

4 ข้อที่ 1 หนึ่งบวกหนึ่ง พึงตอบสอง
สองบวกสอง ต้องเป็นสี่ แปดบวกเก้า ตอบครูที ถูกต้องดี มีคำชม คำตอบคือ……………… ข้อที่ 2 นกสิบตัว บนจั่วบ้าน หกตัวนั้น เป็นตัวผู้ นกตัวเมีย กางปีกชู ยืนเคียงคู่ อยู่กี่ตัว คำตอบคือ………………

5 1.6 การสร้างโจทย์จากภาพ การสร้างโจทย์จากภาพนี้ จะใช้ภาพที่วาด
ขึ้นเองหรือสำเร็จรูปก็ได้ แล้วให้เด็กฝึกคิดโจทย์จากภาพนั้น เช่น

6 1.7 การสร้างโจทย์แปลกๆ ในการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยนั้น ควรมีการยกตัวอย่างที่แปลกใหม่เพื่อให้เด็กได้ใช้ความคิดและมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ เช่น ข้อ 1 น้องจ๋ามีเงินในกระเป๋า 5 บาท เมื่อนำเงินของน้องจ๋ารวมกับเงินของน้องแนนได้ 8 บาท น้องแนนมีเงินในกระเป๋ากี่บาท ข้อ 2 น้องกริชได้ขนมเค้กมา 1 ชิ้น ต้องตัดแจกเพื่อน 4 คน น้องกริชจะตัดขนมเค้กอย่างไรดี ข้อ 3 แมว 3 ตัว จับหนู 3 ตัวได้ภายใน 3 นาที แมวกี่ตัวจึงจะจับหนูได้ 9 ตัว ภายใน 3 นาที ข้อ 4 แมวห้า หมาหก นกมีปีก รวมมีสัตว์ทั้งหมดกี่ตัว

7 2. การใช้สื่อการสอน 2.1 ให้เด็กช่วยทำวัสดุประกอบการเรียนรู้ ในการเรียนรู้อาจให้เด็กร่วมกันทำสื่อการสอนร่วมกับครู โดยครูหรือเด็กเป็นผู้ออกแบบแล้วช่วยกันทำ โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยที่มีความพร้อมและอาจมีพ่อแม่ ผู้ปกครองมาช่วยกันทำด้วย 2.2 เลือกใช้สื่อการเรียนการสอนจากสิ่งแวดล้อม ใช้วัสดุตามธรรมชาติหรือวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นสื่อการสอน 2.3 เลือกใช้วัสดุที่หาง่ายและประหยัด เลือกใช้สื่อที่ทำจากเศษวัสดุมากกว่าที่จะเป็นสื่อสำเร็จรูปที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น เมล็ดพืช กิ่งไม้ กรวด หิน เปลือกหอย กระป๋อง ขวดเปล่า ใบมะพร้าว ใบลาน เป็นต้น

8 ในการสร้างสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ควรสร้างจากวัสดุที่ง่ายๆ หาได้ง่ายราคาไม่แพง และประหยัดเวลาในการสร้างได้แก่ 2.3.1 การใช้ภาพลายเส้น การใช้ภาพประกอบการสอนนั้น ทำให้เด็กสนใจมาก ครูควรวาดภาพลายเส้นง่ายๆ ให้คล่อง ถ้าวาดไม่ได้ก็ควรหามาจากที่อื่นๆ อาจเปิดโอกาสให้เด็กช่วยวาดก็ได้ 2.3.2 การใช้ภาพสำเร็จรูป ภาพสำเร็จรูป สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เพื่อให้เด็กรู้จักและมองเห็นแนวทางในการสร้างโจทย์และแก้ปัญหาโจทย์ จัดหาได้ง่ายไม่ต้องซื้อ อาจจะนำมาจากใบโฆษณาสินค้าก็ได้

9 3. กิจกรรมนันทนาการ 3.1 การใช้เพลงประกอบการสอน การใช้เพลงช่วยประกอบการสอน จะทำให้เด็กสนุกสนาน และเกิดความรู้ความเข้าใจทักษะทางคณิตศาสตร์ได้เร็ว

10 3.2 การใช้คำประพันธ์และคำคล้องจองประกอบท่าทาง การใช้คำประพันธ์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น จิระประภา บุณยนิตย์ (2544) ได้ให้คำแนะนำว่า ควรเป็นการท่องคำคล้องจอง และเมื่อท่องได้แล้ว ควรมีการทำท่าทางประกอบเพื่อให้สนุกสนานยิ่งขึ้น กระรอกน้อยห้าตัว คำคล้องจอง ท่าทางประกอบ กระรอกตัวที่ 1 “ดูนั่นแน่ะ อะไรนะ” ชูนิ้วหัวแม่มือขึ้น กระดิกนิ้วหัวแม่มือ กระรอกตัวที่ 2 “อ๊ะ คนถือปืนจ้ะ” ชูนิ้วชี้ขึ้น ทำท่านิ้วมือท่ายิงปืน กระรอกตัวที่ 3 “หนีกันไหมล่ะ หนีกันไหมล่ะ” ชูนิ้วกลางขึ้น กระดิกนิ้วกลาง กระรอกตัวที่ 4 “ซ่อนเงามืดเร็ว ๆ นะจ๊ะ” ชูนิ้วนางขึ้น กระดิกนิ้วนาง กระรอกตัวที่ 5 “ชะไม่กลัว ชะไม่กลัว” ชูนิ้วก้อยขึ้น กระดิกนิ้วก้อย ปัง ปัง ปัง เสียงปืนดังรัว กระดิกนิ้วทั้งห้า ซ่อนมือไว้ข้างหลัง

11 คำคล้องจอง ท่าทางประกอบ
โบสถ์ คำคล้องจอง ท่าทางประกอบ นี่คือโบสถ์ พนมมือให้นิ้วทั้งสองสับหว่างกัน แล้วกำให้แน่น นี่คือหลังคาโบสถ์ ปลายนิ้วมือทั้งห้าของสองมือ แตะติดกันให้ เป็นรูปสามเหลี่ยม ฉันกระโดดไปเปิดประตู - แบฝ่ามือทั้งสองให้ชิดกัน นิ้วทั้งสิบตั้งขึ้น แล้วแยก ให้ห่างจากกัน เห็นผู้คนนั่งอยู่ทั้งหมด 10 คน - พนมมือให้นิ้วมือทั้งสองสับหว่างกัน แล้วกระดิกนิ้วทั้งสิบ

12 คำคล้องจอง ท่าทางประกอบ
หนังสือของฉัน คำคล้องจอง ท่าทางประกอบ หนังสือของฉัน เรามาอ่านหนังสือด้วยกัน เอาฝ่ามือทั้งสองประกบกัน เปิดหน้าที่ 1 พ่อเห็นผึ้งบินมา 1 ตัว แบฝ่ามือออกทำท่าอ่านหนังสือแล้ว เปิดหน้าที่ 2 แม่เห็นกระป๋อง 2 ใบ ประกบฝ่ามือใหม่ทำเช่นนี้ไปจนจบ เปิดหน้าที่ 3 พี่เห็นปลาฉลาม 3 ตัว เปิดหน้าที่ 4 น้องเห็นลิ้นจี่ 4 ผล เปิดหน้าที่ 5 ฉันเห็นปูม้า 5 ตัว เปิดหน้าที่ 6 เพื่อนเห็นจิ้งจก 6 ตัว เปิดหน้าที่ 7 ปู่เห็นไข่เป็ด 7 ฟอง เปิดหน้าที่ 8 ย่าเห็นเด็กใส่เสื้อสีแสด 8 คน เปิดหน้าที่ 9 ตาเห็นปลาปักเป้า 9 ตัว เปิดหน้าที่ 10 ยายเห็นขนมทองหยิบ 10 ดอก

13 3.3 การใช้เกม เกมที่ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์นั้นแบ่งเป็นเกมในร่มและเกมกลางแจ้ง เกมในร่มส่วนใหญ่จะมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่าเกมกลางแจ้งเนื่องจากมีพื้นที่น้อย เกมที่ใช้จะเป็นเกมง่ายๆ เช่นเกมการศึกษา และการใช้เกมแข่งขันระหว่างกลุ่มเป็นต้น ซึ่งนอกจากจะทำให้เด็กสนุกสนานในการเรียนแล้ว ยังใช้ประเมินการเรียนรู้ของเด็กได้อีกด้วย

14 4. การใช้รูปเรขาคณิตสร้างรูปต่างๆ
4.1 เจ็ดชิ้นมหัศจรรย์ (Wikipedia, 2007, บางครั้งเรียกว่าเกม 7 ชิ้นอัจฉริยะ เป็นเกมตัวต่อที่เก่าแก่ของจีน การใช้เจ็ดชิ้นมหัศจรรย์มาเรียงต่อกันสร้างภาพได้มากมายหลายแบบไม่ซ้ำกัน สามารถนำมาใช้ได้หลายวิธี เช่นใช้เล่นเป็นตัวต่อแบบธรรมดา หรือนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับความสามารถของเด็ก เช่น เติมตัวเลขหรือภาพลงไปด้วยก็ได้ โดยมีวิธีการดังนี้

15 ขั้นที่ 1 ตัดกระดาษ โฟมหรือวัสดุอื่นๆให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 4 4 นิ้ว
ขั้นที่ 2 แบ่งวัสดุในขั้นที่ 1 ออกเป็น 7 ชิ้น ดังนี้ ขั้นที่ 3 ตัดตามรอยที่แบ่งไว้ จะได้รูปเรขาคณิต 7 ชิ้นดังนี้คือ สามเหลี่ยมขนาดใหญ่ 2 ชิ้น สามเหลี่ยมขนาดกลาง 1 ชิ้น สามเหลี่ยมขนาดเล็ก 2 ชิ้น สี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 ชิ้น และสี่เหลี่ยมด้านขนาน 1 ชิ้น

16 ขั้นที่ 4 นำไปใช้สร้างภาพต่างๆ ได้หลายวิธี เช่น
วิธีที่ 1 ถามคำถามเพื่อให้เด็กคิดแก้ปัญหา เช่น ให้นำสามเหลี่ยม มาต่อกันให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือเป็นรูปสามเหลี่ยมเหมือนเดิม วิธีที่ 2 ให้เด็กใช้ชิ้นส่วน 2-3 ชิ้นมาสร้างเป็นรูปต่างๆ เช่นบ้าน สิ่งของ ต้นไม้ วิธีที่ 3 ให้นำชิ้นส่วนทั้งหมดมาต่อเป็นภาพตามจินตนาการ วิธีที่ 4 นำชิ้นส่วนทั้ง 7 ชิ้นต่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามเดิม นอกจากจะใช้รูปเรขาคณิตต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว อาจให้เด็กสร้างภาพจากวงกลม สามเหลี่ยม ใช้แบบรูปมาสร้างภาพก็ได้

17 4.2 การสร้างภาพจากวงกลม เป็นการใช้รูปวงกลมให้เด็กสร้างภาพ โดยมีวิธีการดังนี้

18 5. การต่อภาพ 5.1 การลากเส้นต่อจุดเป็นรูปต่างๆ การลากเส้นต่อจุดเป็นรูปต่างๆ นี้มีประโยชน์คือช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง ฝึกการสังเกต และเรียนรู้เรื่องรูปร่าง ความคิดสร้างสรรค์ การลากเส้นต่อจุดนี้อาจให้สร้างภาพโดยอิสระหรือทำตามตนแบบที่กำหนดไว้ก็ได้

19 ในการลากเส้นต่อจุดนี้อาจใช้ฝึกกระบวนการคิดและการแก้ปัญหาได้ เช่น ให้เด็กลากเส้นเพื่อแบ่งชิ้นส่วน การแข่งขันสร้างบ้าน ดังตัวอย่าง จงแบ่งรูปสี่เหลี่ยมนี้ออกเป็น 4 ชิ้น โดยให้แต่ละชิ้นมีขนาดเท่ากันและเหมือนกัน

20 5.2 การลากเส้นต่อจุดเพื่อนับจำนวน ทำให้เด็กสามารถจดจำตัวเลข
ได้ง่ายขึ้น 4 5 6 3 2 7 13 1 8 12 11 24 9 25 10 14 23 22 15 21 16 20 19 18 17

21 6. การให้โจทย์แบบฝึกหัด
การให้แบบฝึกหัดควรให้เหมาะสมกับวัย เนื้อหาน่าสนใจ ฝึกทักษะหลายๆ ด้าน ภาพต้องสวยงาม ชัดเจน ตรงตามจุดมุ่งหมายในการสอน ให้แบบฝึกหัดในสิ่งที่เด็กได้เรียนมาแล้ว และควรตรงกับหน่วยการเรียนรู้ ในแบบฝึกหรือแบบฝึกทักษะสำหรับเด็กควรใช้เลขหน้าและเลขข้อที่เป็นตัวเลขจะดีกว่าใช้ภาพสัญลักษณ์ กำหนดเลขหน้าให้สอดคล้องกับพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็ก เช่น แบบฝึกหัดสำหรับเด็กอายุ 3 ขวบ เลขกำกับหน้าไม่เกินเลข 3 กล่าวคือ มีหน้า และ 3 ส่วนเลขกำกับข้อไม่เกิน 3 เช่นกัน แต่ถ้าอายุ 4 ขวบขึ้นไปถึง 6 ขวบ เลขกำกับหน้าและเลขกำกับข้ออาจได้ตั้งแต่ 5 ถึง 10

22 การให้เลขกำกับหน้าและเลขกำกับข้อจะสร้างความคุ้นเคยให้กับเด็กและง่ายต่อการเข้าใจสาระ การใช้การกำกับหน้าและการกำกับข้อเป็นภาพสัญลักษณ์ ทำให้เด็กต้องรับภาระที่ซับซ้อนมากขึ้น เกิดความสับสนใจเนื้อหาที่เด็กต้องเข้าใจ เช่น กำกับหน้าด้วยภาพสัญลักษณ์ใบไม้ กำกับข้อด้วยภาพสัญลักษณ์ผลไม้ แต่เนื้อเรื่องเป็นรูปทรงเรขาคณิต เป็นต้น

23 การใช้สัญลักษณ์ภาพในการเรียกหน้ากระดาษในหนังสือหรือแบบฝึกหัด เหมาะกับเด็กอายุ ขวบ เพราะเด็กยังมีการรับรู้น้อยมาก และต้องเป็นหน้าเดียว ข้อเดียว ใช้สำหรับเพื่อให้เด็กหยิบขึ้นมาถูกและชี้ถูกเท่านั้น แต่เมื่อเด็กอายุ 3 – 6 ขวบ ต้องการพัฒนาทักษะทางสติปัญญาและการเรียนรู้ที่มากขึ้น เป็นการสร้างความคุ้นเคย และฝึกทักษะพื้นฐานที่สูงกว่า ดังนั้นการได้เห็นตัวเลขบ่อย ๆ จะทำให้เด็กซึมซับและเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ แต่ต้องไม่สร้างความสับสนให้กับเด็ก

24 7. การใช้สื่อการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา
7.1 การเลือกหาสิ่งของ ครูจัดสิ่งของต่างๆ เช่น จานที่เหมือนกัน 4 ใบ กับผลไม้ 1 ผล วางรวมกันไว้ ให้เด็กออกมาเลือกหยิบของที่ต่างจากพวก นอกจากนี้ การเลือกหาสิ่งของยังสามารถนำไปใช้กับการเลือกสิ่งที่เหมือนกัน โดยการจัดหาสิ่งที่เหมือนกัน 2 ชิ้น ปะปนกับของ อื่น ๆ อีก 3-4 อย่าง แล้วจึงให้เด็กเลือกสิ่งที่เหมือนกันขึ้นมา 7.2 การจับคู่สี ครูนำสิ่งต่าง ๆ ที่มีสีตามธรรมชาติ มาให้เด็กรู้จักสีต่างๆ เช่น ดอกมะลิสีขาว ใบไม้สีเขียว มะม่วงสุกสีเหลือง ฯลฯ เมื่อเด็กจำสีต่างๆ ได้แล้วใช้วิธีการจับคู่สี โดยใช้ภาพสิ่งของและบัตรภาพสี จะทำให้เด็กมีความสามารถในการจำสีต่างๆ ได้ดีขึ้น

25 7.3 การระบายสี ครูจัดกิจกรรมให้เด็กระบายสีภาพให้เหมือนกับของจริงตามธรรมชาติ
7.4 การหยิบสิ่งของสีต่างๆ ตามคำสั่ง เป็นการจัดกิจกรรม เพื่อให้เด็กได้แสดงความรู้ เกี่ยวกับสัญลักษณ์ของสีต่าง ๆ โดยครูเตรียมสื่อและอุปกรณ์แต่ละชนิดที่มีสีต่างๆ เช่น ใบไม้ เสื้อสีแดง ดินสอสีเหลือง ของเล่นสีเขียว ฯลฯ เมื่อครูบอกชื่อสี ก็ให้เด็กหยิบสิ่งที่มีสีตามที่ครูบอก

26 7.5 การเลือกรูปเรขาคณิต ครูอาจจัดกิจกรรมให้เด็กรู้จักชื่อของรูปเรขาคณิตชนิดต่าง ๆ เช่น รูปวงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ฯลฯ โดยมีวิธีการดังนี้ คือ แนะนำชื่อรูปเรขาคณิต แล้วติดไว้บนกระดานป้ายนิเทศให้เด็กได้ทบทวนซ้ำๆ จนเด็กจำได้ เข้าใจและเรียกชื่อรูปได้ 7.6 การประกอบรูป การประกอบรูป ทำให้เด็กได้ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ โดยให้เด็กนำรูปเรขาคณิตที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ ประกอบเป็นรูปสิ่งต่างๆ ตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง และใช้กาวทาด้านหลังแล้วติดลงบนใบงานหรือกระดาษเปล่า แล้วนำผลงานมาแสดงในชั้นเรียน

27 7.7 การต่อภาพ ครูสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เห็นลักษณะของรูปเรขาคณิต โดยครูจัดทำเกมการต่อภาพ ที่ครูตัดเป็นรูปเรขาคณิต เช่น รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม เป็นต้น ให้เด็กได้ประกอบเข้าเป็นรูปใหญ่ที่ถูกต้อง 7.8 การแข่งเลือกรูปที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ให้เด็กดูรูปเรขาคณิตที่เตรียมไว้แล้วให้เด็กเลือกสิ่งของต่าง ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปที่ครูให้ดูเช่น เมื่อครูให้ดูรูปวงกลม เด็กจะแข่งขันกันหาเหรียญหรือสิ่งของที่มีลักษณะกลมในห้อง เป็นต้น

28 7.9 สื่อและอุปกรณ์การสอนเกี่ยวกับคุณสมบัติ สื่อและอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในระยะแรกควรเป็นของจริง เมื่อเด็กมีความคิดรวบยอดที่ถูกต้องแล้ว จึงเน้นย้ำด้วยภาพ เช่น การสอนเกี่ยวกับคุณสมบัติเล็ก–ใหญ่ ครูอาจใช้ผลไม้ชนิดเดียวกันแต่ต่างขนาด เมื่อแนะนำให้เด็กรู้จักขนาดเล็ก–ใหญ่แล้ว หลังจากนั้นอาจใช้ภาพเป็นสื่อทบทวน โดยให้เด็กชี้บอก หรือทำเครื่องหมายตามครูบอก เมื่อเด็กเข้าใจแล้วจึงสอน“เล็กที่สุด” “ใหญ่ที่สุด” แล้วให้เด็กออกมาเรียงลำดับสิ่งของ แล้วจึงให้ทำแบบฝึกหัด

29 7.10 สื่อและอุปกรณ์การสอนเกี่ยวกับสิ่งที่เหมาะสมกัน สิ่งต่างๆ ที่เด็กพบเห็นในชีวิตประจำวันสามารถนำมาเป็นสื่อและอุปกรณ์การสอนเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เช่น ดอกไม้กับแจกัน โต๊ะกับเก้าอี้ ด้ายกับเข็ม ช้อนกับส้อม ฯลฯ เมื่อให้เด็กสังเกตและแนะนำสิ่งที่เข้าคู่กันแล้ว อาจให้เด็กโยงภาพสิ่งที่เหมาะสมกัน ใช้คู่กันก็ได้

30 8. การปฏิบัติจริง การให้เด็กปฏิบัติจริง เป็นการให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมนั้นจริงๆ เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติ โดยใช้สื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่เป็นรูปธรรมที่ทำให้เด็กได้ค้นพบและได้ข้อสรุปในการใช้สื่อ ในการปฏิบัติจริงนั้นเด็กจะเรียนรู้จากการที่ครูสาธิตให้ดูและเด็กปฏิบัติทดลองด้วยตนเอง ซึ่งทำให้เด็กได้ฝึกการใช้ทักษะกระบวนการต่างๆ เช่น การสังเกต การคาดคะเน การประมาณค่า การใช้เครื่องมือ การบันทึกข้อมูล การอภิปราย และการหาข้อสรุปด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กได้พิสูจน์ ใช้เหตุผล อ้างข้อเท็จจริง ตลอดจนได้ฝึกทักษะในการแก้ปัญหาใหม่ๆ การจัดการเรียนรู้เช่นนี้เปิดโอกาสให้เด็กมีอิสระในการคิด และเลือกใช้วิธีการต่างๆในการแก้ปัญหา

31 9. การสอนซ่อมเสริม การสอนซ่อมเสริมเป็นวิธีการสอนที่นำมาใช้อย่างแพร่หลาย โดยแบ่งเป็นการสอนซ่อมและการสอนเสริม การสอนซ่อมใช้กับเด็กที่มีพัฒนาการช้า ไม่เข้าใจในการสอนครั้งแรกและไม่เกิดความคิดรวบยอดตามจุดมุ่งหมายและการสอนเสริมเด็กที่มีพัฒนาการเร็ว เป็นการเสริมศักยภาพของเด็กให้เพิ่มยิ่งขึ้น ดังนั้นการสอนซ่อมและการสอนเสริมจึงมีความแตกต่างกัน

32 การสอนซ่อม การสอนเสริม ต้องใช้สื่อที่ง่าย เป็นการสอนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ต้องใช้ภาษาที่เหมาะสมกับระดับ ความสามารถ 4.ปรับเปลี่ยนวิธีการสอน 5.สอนตามระดับความสามารถเป็นรายบุคคล 6.ใช้เวลามาก ใช้สื่อที่ยากขึ้น ให้ทำแบบฝึกหัดที่แปลกใหม่ ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับระดับ ความสามารถ ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้กระตุ้นความสนใจมากขึ้น ใช้เวลาน้อย

33 10. จดหมายถึงผู้ปกครอง จดหมายถึงผู้ปกครอง เป็นจดหมายที่ใช้สร้างความสัมพันธ์ ระหว่างบ้านและโรงเรียน และเป็นการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ได้คือ เสนอแนะให้ผู้ปกครองทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก ตามข้อความที่ครูให้ไป เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มพูนความรู้ ให้เด็กได้ทำซ้ำ และมีความใกล้ชิดกับผู้ปกครองมากขึ้น

34 เรียน ท่านผู้ปกครอง ในสัปดาห์นี้ลูกของท่านได้เรียนรู้เรื่องการนับเพิ่มไปแล้ว ครูจึงมีกิจกรรมที่สนุกสำหรับท่านและลูกที่จะทำร่วมกันที่บ้านดังนี้ ชื่อเกม พิระมิดแสนกล วิธีการเล่น ให้หาจำนวนมาเติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง โดยจำนวนในแถวบนเกิดจากการบวกในแถวล่าง แสดงตัวอย่างจดหมายถึงผู้ปกครอง 7 8 3 4 1 1 2 3

35


ดาวน์โหลด ppt เทคนิควิธีการสอนคณิตศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google