งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรักใดควรใฝ่หา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรักใดควรใฝ่หา."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรักใดควรใฝ่หา

2 ความรักใดควรใฝ่หา ที่มา บทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมาชกุมารี หนังสือกษัตริยานุสรณ์ ลักษณะคำประพันธ์ โคลงสี่สุภาพ

3 สาระสำคัญ รักชาติยอมสละแม้ ชีวี รักเกียรติจงเจตน์พลี ชีพได้
เริ่มต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ ๒ บท ซึ่งอยู่ในบทพระราชนิพนธ์กษัตริยา นุสรณ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระราช นิพนธ์ไว้ตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนจิตรลดา มีเนื้อหาว่า รักชาติยอมสละแม้ ชีวี รักเกียรติจงเจตน์พลี ชีพได้ รักราชมุ่งภักดี รองบาท รักศาสน์ราญเศิกไส้ เพื่อเกื้อพระศาสนาฯ อันสยามเป็นบ้านเกิด เมืองนอน ดุจบิดามารดร เปรียบได้ ยามสุขสโมสร ทุกเมื่อ ยามศึกทุกข์ยากไร้ ปลาตเร้นฤาควรฯ

4 เพลงดุจบิดรมารดา

5 สาระสำคัญ (ต่อ) ถ้าคนเราไม่เห็นแก่ตัวคิดที่จะช่วยเหลือผู้อื่นไม่เห็นแต่ประโยชน์ ส่วนตัว เด็กหรือผู้ใหญ่ก็ทำได้ โดยเด็กก็ทำเท่าที่เด็กจะทำได้ ผู้ใหญ่ก็ ทำเท่าที่ตนจะทำได้เช่นกัน ตามความสามารถและตามหน้าที่ของตน และต้องช่วยกันทำไม่ใช่คนใดคนหนึ่งทำเท่านั้น

6 ข้อคิดที่ได้ ๑. ประเทศไทยของเรามีสถาบันสำคัญที่คนไทยทุกคนต้องรัก และรักษาไว้ให้คงอยู่สืบไป คือ สถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ทั้งยังรักเกียรติของตนและยอมสละชีวิตเพื่อปกป้อง สิ่งเหล่านี้ไว้ให้ได้ ๒. ความรักและความสามัคคีของคนในชาติ ย่อมทำให้ ประเทศชาติรอดพ้นจากภัยพิบัตินานาประการได้

7 โคลง โคลง คือ คำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่กวีเรียบเรียงถ้อยคำเข้าคณะ มี การกำหนดใช้คำเอก คำโท และสัมผัส

8 โคลงสี่สุภาพ

9 โคลงสี่สุภาพ ตัวอย่างคำประพันธ์ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่ สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ (ลิลิตพระลอ)

10 กฎข้อบังคับ ๒. โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มี ๓๐ คำ (ไม่นับคำสร้อย)
๑. โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มี ๔ บาท เขียนบาทละ ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ พยางค์ วรรคหลังมี ๒ พยางค์ (วรรคหลังของบาทที่ ๑ และ ๓ มีคำสร้อย ได้อีก ๒ พยางค์) บาทที่ ๔ วรรคหลังมี ๔ พยางค์ ๒. โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มี ๓๐ คำ (ไม่นับคำสร้อย) ๓. สัมผัสบังคับ - คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของบาทที่ ๓ กับคำ สุดท้ายของบาทที่ ๑ ในบทที่ ๒ - คำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ในบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของบาทที่ ๓ ในบทที่ ๒

11 ๔. มีการบังคับใช้คำเอก ๗ แห่ง (คำเอกสามารถใช้คำตายแทนได้) คำโท ๔ แห่ง
๔. มีการบังคับใช้คำเอก ๗ แห่ง (คำเอกสามารถใช้คำตายแทนได้) คำโท ๔ แห่ง * คำตาย ได้แก่ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น ในมาตราแม่ ก กา และ คำที่มีตัวสะกดในแม่กก กด กบ ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น “ คบกากาโหดให้ เสียพงศ์ พาตระกูลเหมหงส์ แหลกด้วย” ๕. คำเอกโทษ และคำโทโทษ - คำเอกโทษ คือ คำที่ปกติใช้ไม้โท แต่เมื่อจำเป็นก็ให้ใช้คำที่มี ไม้เอกแทน เช่น เคี่ยว แทน เขี้ยว , ค่า แทน ข้า , พู่ แทน ผู้ ฯลฯ - คำโทโทษ คือ คำที่ปกติใช้ไม้เอก แต่เมื่อจำเป็นก็ใช้คำที่มีไม้โท แทน เช่น เหล้น แทน เล่น , แหล้น แทน แล่น ฯลฯ

12 ๖. สัมผัส หมายถึง คำที่มีเสียงคล้องจองในคำประพันธ์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
- สัมผัสนอก คือ สัมผัสบังคับที่คำประพันธ์ทุกชนิดต้องมี ไม่มี ไม่ได้ เป็นสัมผัสระหว่างวรรคและสัมผัสระหว่างบท - สัมผัสใน คือ สัมผัสของคำภายในวรรคเดียวกัน เป็นสัมผัสที่ ไม่บังคับ มีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีแล้วจะทำให้คำประพันธ์นั้นๆไพเราะ ยิ่งขึ้น มี ๒ ชนิด คือ ๑. สัมผัสพยัญชนะ คือ เสียงสัมผัสของพยัญชนะเสียง เดียวกัน แต่สระอาจเป็นคนละตัวก็ได้ ๒. สัมผัสสระ คือ เสียงสัมผัสของสระเสียงเดียวกัน แต่ พยัญชนะเป็นคนละตัวได้

13 คำที่ใช้ในกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์
๑. คำ มี ๒ ความหมาย ได้แก่ - คำ หมายถึง หน่วยย่อยที่สุดของฉันทลักษณ์และเป็น ส่วนย่อยของวรรค หนึ่งพยางค์ จัดเป็น ๑ คำ ซึ่งแตกต่างจากการนับ คำในไวยากรณ์ เพราะการนับคำในไวยากรณ์ ๑ คำอาจมีหลายพยางค์ - คำ หมายถึง กลอน ๑ บาท (๑ คำกลอน) มี ๒ วรรค รวมกันเป็น ๑ คำกลอน

14 ๒. คำที่บอกลักษณะหน่วยย่อยที่บรรจุลงในคำประพันธ์ชนิดหนึ่งๆซึ่งมี ข้อกำหนดต่างกัน - คำเอก คำโท เป็นลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ คำเอก คือ คำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกกำกับหรือเป็นคำตาย ในโคลงสี่ สุภาพ ๑ บท จะมีคำเอกทั้งหมด ๗ แห่ง คำโท คือ คำที่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับ ในโคลงสี่สุภาพ ๑ บท จะมี คำโททั้งหมด ๔ แห่ง - คำเอกโทษ โทโทษ คำเอกโทษ คือ คำที่ปกติใช้ไม้โท แต่เมื่อจำเป็นก็ให้ใช้คำที่มีไม้เอก แทน คำโทโทษ คือ คำที่ปกติใช้ไม้เอก แต่เมื่อจำเป็นก็ใช้คำที่มีไม้โทแทน - คำตาย คำตาย คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น ในมาตราแม่ ก กา และคำที่ มีตัวสะกดในแม่กก กด กบ ไม่มีรูปวรรณยุกต์

15 - คำเป็น คำเป็น คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา และเป็นคำ ที่มีตัวสะกดอยู่ในแม่กง กน กม เกย เกอว - คำครุ คำครุ เป็นคำที่ลงเสียงหนัก มีสัญลักษณ์ ( ั ) มีลักษณะดังนี้ ๑. คำที่มีตัวสะกด ๒. คำที่ประสมด้วยสระ อำ ใอ ไอ เอา ๓. คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด - คำลหุ คำลหุ เป็นคำที่ลงเสียงเบา มีสัญลักษณ์ ( ุ ) คือ คำที่ประสม ด้วยสระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด

16 ๓. คำว่า “คำ” หมายถึง ข้อบังคับของฉันทลักษณ์แบบหนึ่งๆ ได้แก่
- คำนำ หรือ คำขึ้นต้น เป็นข้อบังคับของกลอนชนิดต่างๆ เช่น กลอนสักวา กลอน บทละคร กลอนนิราศ กลอนดอกสร้อย กลอนเสภา กลอนเพลงพื้นบ้าน ซึ่งบังคับ คำขึ้นต้นวรรคของบทกลอนตามประเภทนั้นๆ เช่น ๑. กลอนบทละคร บังคับขึ้นต้นว่า เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป ๒. กลอนดอกสร้อย บังคับคำขึ้นต้น ๔ คำ โดยคำที่ ๒ ต้องเป็น เอ๋ย ส่วนคำที่ ๑ กับคำที่ ๓ ซ้ำคำเดียวกัน และคำที่ ๔ เป็นคำที่มีความหมาย เช่น แมงเอ๋ยแมงมุม เด็กเอ๋ยเด็กน้อย ๓. กลอนเสภา มักขึ้นต้นด้วยคำว่า ครานั้น จะกล่าวถึง ๔. กลอนเพลงพื้นบ้าน บังคับขึ้นต้นตามลักษณะของการร้อง เช่น เพลง พิษฐานจะขึ้นต้นว่า พิษฐานเอย - คำสร้อย หมายถึง คำลงท้ายบทหรือท้ายบาทของคำประพันธ์มักจะเป็นคำที่ไม่มี ความหมายเด่น เช่น เทอญ นา ฤา แล เฮย ฯลฯ - คำลงท้าย เป็นลักษณะบังคับของกลอนบางชนิด เช่น เอย

17 ประโยคซับซ้อน ประโยคที่ใช้สื่อสารกันทั่วไปมี ๓ ชนิด คือ ประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน แต่ในกรณีที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการบอกเล่าความคิดที่ ต่อเนื่องกันมากๆก็อาจใช้ประโยคหลายประโยครวมกัน คืออาจใช้ชนิด เดียวกันหรือต่างชนิดกันก็ได้ เรียกว่า “ประโยคซับซ้อน”

18 ประโยคซับซ้อนมีลักษณะดังนี้
๑. ประโยคความเดียวที่ซับซ้อน ๒. ประโยคความรวมที่ซับซ้อน ๓. ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน

19 ๑. ประโยคความเดียวที่ซับซ้อน
คือ ประโยคความเดียวที่มีส่วนประกอบของประโยคเป็นกลุ่มคำที่มี ขนาดยาว เช่น ประธาน ขยายประธาน ชาวไทย ในถิ่นอื่น เช่น ไทใหญ่ ไทลื้อและลาว เป็นต้น มีคติความเชื่อ เรื่องขวัญทำนองเดียวกัน ขยายกรรม กริยา กรรม

20 ๒. ประโยคความรวมที่ซับซ้อน
คือ ประโยคความรวมที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยค การสื่อความหมายจึงอาจมากกว่า ๑ วัตถุประสงค์ และเป็น ประโยคความรวมที่มีคำเชื่อมหลายคำที่เชื่อมประโยคหลายประโยคให้ เป็นประโยคเดียวกัน ประธาน กริยา คำเชื่อม กริยา คำเชื่อม กริยา ธรรมทานบวชเณรแล้วหัดเทศน์ ธรรมวัตร และเรียนภาษาบาลี (ประโยคความรวมที่มีใจความคล้อยตามกัน)

21 (เป็นประโยคความรวมที่มีใจความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งและ ขัดแย้งกัน)
ประธาน กริยา คำเชื่อม พระปิดทวาร ไม่ได้ช่วยให้ อยู่คงกระพัน หรือ ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก แต่ จะช่วยปิด ความชั่ว คำเชื่อม กริยา (เป็นประโยคความรวมที่มีใจความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งและ ขัดแย้งกัน)

22 ๓. ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน
คือ ประโยคความซ้อนที่มีอนุประโยคมากกว่า ๑ ประโยค หรือ เป็นประโยคที่มีทั้งลักษณะของประโยคความซ้อนและประโยคความ รวมอยู่ด้วยกัน ประธาน ประธาน กรรม กรรม เรา ย่อมรู้ได้เองว่า การทำความดี ทำให้ ความสุข เกิดขึ้นในใจ กริยา กริยา ประธาน กริยา (นามานุประโยคซ้อนนามานุประโยค)

23 (ประโยคความซ้อนและประโยคความรวมอยู่ด้วยกัน)
ประธาน กริยา อนุประโยค ๑ คำเชื่อม กริยา เขาสอนลูกชายวัยเรียนว่าควรมีความรัก แต่ไม่ได้สอนลูกชาย ว่าจะต้องมีแฟนในขณะที่เรียนหนังสืออยู่ อนุประโยค ๒ เป็นส่วนเติมเต็ม กริยา “สอน” ขยายคำนาม “ขณะ” (ประโยคความซ้อนและประโยคความรวมอยู่ด้วยกัน)

24 จบ


ดาวน์โหลด ppt ความรักใดควรใฝ่หา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google