ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การวิเคราะห์ DNA และการศึกษาจีโนม
2
สมาชิก 1.นายนวนนท์ พยัคฆ์จำเริญ ชั้น ม.5/1 เลขที่ 6ก 2.นางสาวสุพิชญา โรจนะหัสดิน ชั้น ม.5/1 เลขที่ 12ก 3.นางสาวมนัสนันท์ สกุลวิไลเลิศ ชั้น ม.5/1 เลขที่ 9ข กลุ่มที่ 2
3
การวิเคราะห์ DNA ในการวิเคราะห์ DNA (DNA analysis) นั้นจะมีการแยกDNA ขนาดต่างๆ ออกจากกันโดยอาศัยเทคนิคที่เรียกว่า “อิเล็กโทรโฟริซิส (electrophoresis)” โดยให้ DNA ที่ต้องการแยก (DNA ที่ขนาดต่างกัน) ออกจากกันวิ่งผ่านตัวกลางที่เป็นแผ่นวุ้น (ตัวกลางที่เป็นแผ่นวุ้น เช่น อะกาโรสเจล (agarose gel) หรือ พอลิอะคริลาไมด์(polyacrylamide gel)ที่อยู่ภายในสนามไฟฟ้า ตามปกติ DNA จะมีประจุเป็นลบ
4
(เทคนิคเจลอิเล็กโทรโฟริซิส)
5
ดังนั้น DNA จะเคลื่อนเข้าหาขั้วบวกของสนามไฟฟ้า และ DNA ที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่จะเคลื่อนที่ได้ช้ากว่า DNA ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ทำให้ DNA ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้มากและอยู่ใกล้ขั้วบวก ส่วน DNA ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่จะเคลื่อนที่ไปได้น้อย จึงอยู่ใกล้ๆกับจุดเริ่มต้น ทำให้แยก DNA ขนาดต่างๆ กันออกจากกันได้ สำหรับการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ ต้องอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า ออโตเมตด์ ซีเควนซ์ ซึ่งยังอาศัยเทคนิคและวิธีการของเจลอิเล็กโทรโฟริซิสอยู่และมีการเพิ่มและพัฒนาเทคนิคทางซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถอ่านผลออกมาในรูปของลำดับเบสได้
6
เครื่องมือที่เรียกว่า ออโตเมตด์ ซีเควนซ์
สารละลายที่มี DNA จะไม่มีสีจึงต้องอาศัยการย้อมสีเพื่อตรวจสอบ DNA ในเจลอิเล็กโทรโฟริซิส ซึ่งนิยมใช้ อิธิเดียมโบนไมด์ (ethidiumbromide) เป็นตัวย้อมโดยอาศัยการจับกับ DNA และเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์เป็นสีชมพูได้เมื่อสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลต
7
การศึกษา จีโนม นักวิจัยพบว่า จีโนมของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน มีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถตรวจสอบความแตกต่างนั้นโดยอาศัยการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะแล้วนำชิ้น DNA ไปแยกขนาดโดยวิธีการเจลอิเล็กโทรโฟริซิส และตรวจสอบโดยวิธี จะได้รูปแบบของแถบ DNA ที่แตกต่างกัน ดังนั้นรูปแบบของแถบ DNA ที่ปรากฏขึ้นหลังจากตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะจะสามารถเชื่อมโยงถึงจีโนม ของสิ่งมีชีวิตนั้น เรียกความแตกต่างของรูปแบบของแถบ DNA ที่เกิดจากการตัดของเอนไซม์ตัดจำเพาะเหล่านี้ว่า เรสทริกชัน แฟรกเมนท์ เลจท์ พอลิมอร์ฟิซึม (restriction fragment length polymorphism:RELP) ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องหมายทางพันุกรรม (genetic marker)ได้
8
(จีโนมของมนุษย์)
9
ตั้งแต่ปี พ.ศ ได้มีการริเริ่มโครงการจีโนมมนุษย์ (Human Genome Project) เพื่อที่จะศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ของมนุษย์ทั้งจีโนมโดยการหาลำดับ นิวคลีโอไทด์ของออโทโซมจำนวน 22 โครโมโซม และโครโมโซม X และโครโมโซม Y ซึ่งเป็นโครงการนานาชาติ ในการดำเนินโครงการดังกล่าวมีการศึกษาแผนที่ยีน และแผนที่เครื่องหมายทางพันธุกรรมควบคู่ไปกับการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาในเชิงเทคโนโลยี และการประยุกต์ใช้อย่างมากมายในปัจจุบัน
10
โครงการศึกษาจีโนมนั้นไม่ได้ทำเฉพาะมนุษย์เท่านั้น แต่ยังศึกษาจีโนมของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ที่มีความสำคัญในการศึกษาในเชิงชีววิทยาด้วย เช่น จีโนมของ E.coli จีโนมของยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae) จีโนมของแมลงหวี่ (Drosophilia melanogaster) และหนู (Mus musculus) สำหรับการศึกษาในพืชนั้นนักวิทยาศาสตร์ได้ร่วมกันศึกษาจีโนมของพืชใบเลี้ยงคู่ในวงค์ผักกาด (Arabidopsis thaliana L.) ซึ่งถือว่าเป็นพืชต้นแบบในการศึกษาชีววิทยาระดับโมเลกุลของพืช เนื่องจากมีขนาดจีโนมเล็ก ลำดับนิวคลีโอไทด์ทั้งหมดของจีโนม Arabidopsis thaliana ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในปี 2542
11
ส่วนข้าว (Oryza sativa L
ข้าวเป็นโครงการร่วมมือนานาชาติที่มีประเทศไทยเข้าร่วมในการศึกษาด้วย โดย ทำการศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ของโครโมโซมแท่งที่ 9 ปัจจุบันการศึกษาจีโนมของ สิ่งมีชีวิตที่สำคัญดำเนินไปมากกว่าร้อยละ99 แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบคำตอบ เกี่ยวกับโครงสร้างจีโนม การควบคุมการแสงออกของยีนต่างๆ ที่ส่งผลถึงการ เจริญเติบโตและพัฒนา ตลอดจนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
12
บรรณานุกรม http://www.ceted.org/webbio/chapter08/index_l08_p15.php
13
THANK YOU
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.