งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวิเคราะห์ โครงการทางการเงิน FIN 4304.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวิเคราะห์ โครงการทางการเงิน FIN 4304."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวิเคราะห์ โครงการทางการเงิน FIN 4304

2 1. บทนำ

3 1.1 ความสำคัญโดยทั่วไป เนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นเงื่อนไขสำคัญ ดังนั้นการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรไปยังโครงการใดนั้นสมควรที่จะต้องพิจารณาว่า โครงการประสบความสำเร็จให้ผลประโยชน์ตองแทนคุ้มค่ากับเงินลงทุน

4 ต่อ ความสำเร็จของโครงการย่อมต้องอาศัยวิธีการคัดเลือกที่มีประสิทธิภาพ วิธีการคัดเลือกประกอบด้วยการวิเคราะห์โครงการ ( project analysis) และการประเมินโครงการ ( project appraisal) ซึ่งการอธิบายความสำเร็จของโครงการดังกล่าวจะมีข้อสมมติว่า โครงการไม่มีปัญหาเรื่องนำไปปฏิบัติ ( operation) แต่อย่างใด วิธีการคัดเลือกโครงการโดยทำการวิเคราะห์และประเมินโครงการนี้เป็นการวิเคราะห์ผลเสีย – ผลประโยชน์ (cost-benefit analysis) ของโครงการ

5 1.2 แนวคิดขั้นพื้นฐาน “กำไร” เป็นสิ่งจูงใจ ราคาที่ผู้บริโภคจ่ายซื้อสินค้าเป็นเครื่องวัดความพอใจที่ได้รับจากสินค้านั้น การที่ผู้ผลิตมีกำไรแสดงว่าความพึงพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากสินค้าปละบริการที่จ่ายซื้อนั้นมากกว่าต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการ ดังนั้น เราสามารถหากำไรด้วยการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ของโครงการ

6 1.3 การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระหว่างโครงการของภาคเอกชนและภาครัฐ
ความแตกต่างนั้นอยู่ที่วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการดำเนินโครงการ ในขณะที่ผลประโยชน์สูงสุดที่ตกอยู่กับสังคมส่วนรวมเป็นเป้าหมายของการดำเนินโครงการของภาครัฐบาล ธุรกิจเอกชนกลับมีเป้าหมายในการดำเนินโครงการเพื่อแสวงหากำไรสูงสุดแก่ผู้เป็นเจ้าของโครงการ

7 1.4 การวิเคราะห์ทางการเงิน ( Financial Analysis)
การวิเคราะห์ทางการเงินเป็นการวิเคราะห์ผลประโยชน์และค่าใช้จ่ายที่อยู่ในรูปตัวเงินของโครงการเท่านั้น โดยผลประโยชน์อยู่ในรูปกระแสเงินสดของรายได้ที่โครงการก่อให้เกิด และค่าใช้จ่าย หรือต้นทุนอยู่ในรูปของการลงทุนเริ่มแรกและค่าใช้จ่ายดำเนินการที่เสียไปเมื่อได้ดำเนินโครงการ

8 “โครงการ” หมายถึงกิจกรรมที่ดำเนินการขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงานที่กำหนดไว้ ทั้งยังต้องเป็นกิจกรรมที่ผ่ายการอนุมัติจากผู้เป็นเจ้าของโครงการ และมีระยะเวลาในการดำเนินงานให้สำเร็จภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

9 องค์ประกอบที่สำคัญของโครงการ ที่สำคัญ 5 ประการดังนี้
องค์ประกอบที่สำคัญของโครงการ ที่สำคัญ 5 ประการดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ 2. มีการจัดกระบวนการดำเนินงานและบริหารงาน 3. การกำหนดอำนาจหน้าที่ - ความรับผิดชอบชัดเจน 4. ทำเลที่ตั้งของโครงการ 5. ระยะเวลาของโครงการ

10 วงจรของโครงการ ( Project Cycle)
ในที่นี้จะนำเสนอกระบวนการวางแผนหรือวงจรของโครงการตามที่ธนาคารโลก ( World Bank) ใช้เป็นแนวทาง ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นการกำหนดโครงการ ( Project Identification ) ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมการ ( Project Preparation ) ขั้นที่ 3 ขั้นประเมินและอนุมัติโครงการ ( Project Appraisal and Approval) ขั้นที่ 4 ขั้นนำโครงการไปปฏิบัติ ( Project Implementation ) ขั้นที่ 5 ขั้นติดตามและประเมินผล ( Monitoring and Evaluation)

11 ขั้นที่ 1 ขั้นการกำหนดโครงการ ( Project Identification )
1.1 ความคิดที่จะทำโครงการอะไร 1.2 พัฒนาโครงการเป็นรูปร่าง ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมการ ( Project Preparation ) 2.1 การวิเคราะห์ด้านการตลาด ( Market Analysis) 2.2 การวิเคราะห์ด้านเทคนิค ( Technical Analysis) 2.3 การวิเคราะห์ด้านการเงิน ( Financial Analysis)

12 ต่อ 2.4 การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ( Economic Analysis)
2.5 การวิเคราะห์ด้านการบริหาร ( Managerial and Organization Analysis) 2.6 การวิเคราะห์( Environmental Analysis)

13 ขั้นที่ 3 ขั้นประเมินและอนุมัติโครงการ ( Project Appraisal and Approval)
โครงการที่นำเสนอมานั้นเป็นโครงการที่มีความเป็นไปได้ในแต่ละด้านมากน้อยเพียงใด โครงการนี้เมื่อดำเนินการแล้วสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่วางไว้หรือไม่ผลประโยชน์คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เสียไปหรือไม่ โครงการมีความสามารถทำกำไรเพื่อจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยอย่างไร

14 ขั้นที่ 4 ขั้นนำโครงการไปปฏิบัติ ( Project Implementation )
ประกอบด้วยการดำเนิน 2 ช่วง 4.1.1 ช่วงก่อนปฏิบัติงานจริง 4.1.2 ช่วงปฏิบัติงานจริง 4.2 ขั้นดำเนินการ ( Operation)

15 ขั้นที่ 5 ขั้นติดตามและประเมินผล ( Monitoring and Evaluation)
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อทราบถึงผลสะท้อนกลับต่าง ๆ จากการดำเนินการตามโครงการ 5.1 การติดตามผล ( Monitoring) 5.2 การประเมินผล ( Evaluation)

16 แผนผังแสดงขั้นตอนการวิเคราะห์โครงการ
ระดมข้อมูลและข้อเสนอแนะ รูปแบบโครงการต่างๆ เลือกโครงการที่มีลำดับความสำคัญมากที่สุดไปวิเคราะห์ ไม่มี ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในเบื้องต้น ศึกษาความเป็นไปได้ในรายละเอียด 6 ด้าน ยุติโครงการ ไม่มี ความเป็นไปได้ด้านการตลาด ไม่มี ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค

17 ต่อ ความเป็นไปได้ด้านการบริหาร ความเป็นไปได้ด้านการเงิน โครงการรัฐบาล
โครงการเอกชนที่อยู่ในข่ายต้องศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ไม่มี โครงการเอกชนที่ไม่อยู่ในข่ายต้องศึกษาสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถ ยุติโครงการ โครงการสามารถฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้ได้ดังเดิมหรือไม่ ยุติโครงการ มี ไม่มี ความเป็นไปได้ด้านสิ่งแวดล้อม มี ได้ นำโครงการไปปฏิบัติได้

18 2. ลักษณะของต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการ

19 2.1 ลักษณะรูปแบบของโครงการ ( Types of Project)
1. โครงการลงทุนใหม่ ( new investments) 2. โครงการขยาย ( expansion investments) 3. โครงการปรับปรุง ( updating projects) 2.2 งบกระแสไหลเวียนทรัพยากรของโครงการ ( Resource Flow Statement)

20 ต่อ 2.2.1 ต้นทุนของโครงการ ( Cost) 1. ค่าใช้จ่ายในการลงทุน
1.1 ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนเริ่มแรก ( Initial Expenditures) 1.2 ค่าใช้จ่ายลงทุนทดแทน ( Replace Expenditures) 1.3 มูลค่าคงเหลือ ( Residual Values) 2. ค่าใช้จ่ายดำเนินการ ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายคงที่ ( fixed cost) และค่าใช้จ่ายผันแปร ( variable cost)

21 3. เงินทุนหมุนเวียน มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนได้แก่
3. เงินทุนหมุนเวียน มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนได้แก่ 1. สต็อกของวัตถุดิบต้นปี ( initial stocks of material) 2. สต็อกของผลผลิตปลายปี ( final stocks of output) 3. งานระหว่างผลิต ( work in progress) 4. ค่าใช้จ่ายด้านผลกระทบภายนอก ( External Cost) ซึ่งผลเสียต่างๆ ผู้วิเคราะห์โครงหารต้องประเมินค่าใช้จ่ายออกมาให้ได้ เพื่อประกอบการพิจารณาในหารตัดสินใจ

22 2.2.2 ผลประโยชน์ของโครงการ ( Benefits)
ก. ผลประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits ข. ผลประโยชน์ทางอ้อม ( Indirect Benefits)

23 2.3 ปัญหาการนับรายการบางอย่างเป็นต้นทุนและผลประโยชน์ในการวิเคราะห์โครงการทางเศรษฐกิจ
1. ปัญหาการนับซ้ำ ( Double Counting) 2. ผลกระทบภายนอกและผลเชื่อมโยง ( Externalities and Linkages) 3. การว่างงาน ( Employment) 4. ต้นทุนร่วม ( Joint Cost) 5. ต้นทุนจม ( Sunk Cost) 6. เงินสำรองจ่าย ( Contingency Allowances)

24 ต่อ 7. ผลกระทบทวีคูณ ( Multiplier Effects)
8. ผลกระทบด้านต่างประเทศ ( International Effects) 9.รายจ่ายประเภทเงินโอน ( Transfer Payments) 9.1 ดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง ( Interest during Construction) 9.2 เงินกู้ยืมระหว่างประเทศ ( Foreign Loans) 9.3 ค่าภาษี ( Tax Payments) 9.4 เงินอุดหนุน ( Subsides)

25 ต่อ 10 ค่าเสื่อมราคา ( Depreciation)
11. มูลค่าซากของทรัพย์สิน ( Salvage Values) 12. ขอบเขตของโครงการ ( Scope of the Project) 13. ส่วนเกินผู้บริโภค ( Consumer Surplus)

26 3 เกณฑ์การตัดสินใจ เพื่อการลงทุน

27 เกณฑ์การตัดสินใจเพื่อการลงทุน
เกณฑ์การตัดสินใจเพื่อการลงทุนมี 2 ประเภท 1. เกณฑ์แบบไม่ปรับค่าเวลา 2. เกณฑ์แบบปรับค่าเวลา

28 3.1 เกณฑ์การตัดสินใจเพื่อการลงทุนแบบไม่ปรับค่าของเวลา
เป็นเกณฑ์ที่ไม่นำเวลาเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดมูลค่าของเงินตรา ( value of money) อันจะมีผลให้มูลค่าของเงินในอนาคต ( future value) เท่ากับมูลค่าของเงินในปัจจุบัน (present value) 3.1.1 วิธีตรวจสอบด้วยการจัดเรียงลำดับ ( Ranking by Inspection) เกณฑ์นี้เป็นการจัดเรียงลำดับความสำคัญของโครงการ โดยเราเพียงทราบปริมาณการลงทุนและผลประโยชน์ของโครงการ

29 ต่อ 3.1.2 ระยะคืนทุน ( Payback Period) เกณฑ์ระยะคืนทุนเห็นเกณฑ์ที่คำนึงระยะเวลาที่มีผลประโยชน์สุทธิจากการดำเนินงาน เท่ากับค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรกของโครงการ 3.1.3 อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ( Rate of Return on Investment) เกณฑ์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนนี้จะวัดค่าของโครงการในรูปอัตราส่วนซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผลประโยชน์สุทธิจากการดำเนินงานต่อการลงทุน ROI = ผลประโยชน์สุทธิเฉลี่ยจากการดำเนินการ x 100 ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรก

30 3.2 เกณฑ์ตัดสินใจเพื่อการลงทุนแบบปรับค่าเวลา
3.2.1 การปรับค่าของเวลา เป็นกระบวนการซึ่งมูลค่าที่คิดเป็นเงินของต้นทุนผลประโยชน์ และผลประโยชน์สุทธิของโครงการที่เกิดขึ้นในระยะเวลาต่าง ๆ กันในอนาคตถูกปรับให้มาอยู่ในเวลาปัจจุบัน เราเรียกว่ามูลค่าปัจจุบัน (present value : PV ) 3.2.2 กรณีค่าใช้จ่ายต่อปีเท่ากัน 3.2.3 การหามูลค่าปัจจุบัน ( Present Value : PV )

31 ต่อ 3.2.4 กรณีค่าใช้จ่ายหรือผลประโยชน์เกิดขึ้นเท่ากันทุกปี
3.2.5 ความสำคัญของอัตราส่วนลด 3.3 รูปแบบของเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อการลงทุนแบบปรับค่าของเวลา 3.3.1 มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ ( Net Present Value : NPV ) 3.3.2 อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน ( Internal Rate of Return : IRR )

32 ต่อ 3.3.3อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน ( Benefit-Cost Ratio : BCR )
3.3.4 หลักค่าใช้จ่ายต่ำสุดหรือความมีประสิทธิผลของต้นทุน ( Least Cost Method or Cost Effectiveness ) เป็นการวิเคราะห์แบบย่อยของการวิเคราะห์ผลประโยชน์และผลเสีย ซึ่งเกณฑ์นี้มักนำมาใช้กับโครงการที่ได้มีการกำหนดผลประโยชน์ในรูปต่าง ๆ ไว้แล้ว ( identical benefit)

33 3.4 เงินเฟ้อ 3.4.1 ผลกระทบของเงินเฟ้อที่มีต่อการคำนวณความสมมูล ( Equivalence) ผลกระทบของเงินเฟ้อ (F) ก็คือการลดของกระแสผลประโยชน์ในอนาคต 3.4.2 อัตราผลตอบแทนที่ปรากฏ ( Apparent Rate of Return) อัตราผลตอบแทนที่ปรากฏก็คือผลลัพธ์ของการรวมผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อและมูลค่าของเงินตามเวลา การประเมินค่า NPV จริง โดยใช้การแสผลประโยชน์สุทธิ ณ ราคาคงที่ของปีฐานนั้น ไม่จำเป็นต้องพิจารณาผลกระทบทั้งหมดของเงินเฟ้อ

34 3.5 มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ ( Economic Value Added :EVA )
ในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจที่กำลังเติบโตและมีชื่อเสียงหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น AT&T , Kellog , Philip Morris , General Motor , Coca-Cola , Quaker Oats และอีกหลายธุรกิจชั้นนำมากกว่า 250 แห่งทั่วโลกได้นำวิธีวัดผลการดำเนินงานทางการเงินอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ ( EVA ) เข้ามาใช้บริหารจัดการโครงการ EVA เป็นวิธีการที่ได้คิดขึ้นมาในปี 1982 โดย Joel Stem และG.B Stewart ซึ่งได้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินภายใต้ชื่อ Stem Stewart & Company เพื่อใช้เป็นเครื่องมือวัดเปรียบเทียบผลกำไรจากการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจต่อต้นทุนของเงินทุนที่ใช้ไป

35 EVA= NOPAT – WACC * ( invested capital )
3.5.1 แนวคิดพื้นฐานของ EVA เป็นแนวคิดเดียวกันกับการผลกำไรทางเศรษฐศาสตร์ ( economic profit ) รายได้ส่วนเหลือ ( residual income :RI ) และการจัดการค่าทางเศรษฐกิจ ( economic value management ) การคิดคำนวณ EVA จึงมีรากฐานมาจากมูลค่าทางบัญชีของ RI EVA= NOPAT – WACC * ( invested capital ) โดยที่ NOPAT = ผลกำไรจากการดำเนินงานสุทธิหลังหักภาษี ( Net operating profit after tax ) WACC = ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของต้นทุนส่วนทุน ( Weighted average cost of capital )

36 ต่อ 3.5.2 ความเทียบเท่าของมูลค่าปัจจุบันสุทธิและมูลค่าเพิ่มของตลาดในฐานะเครื่องวัดค่าทางเศรษฐกิจของโครงการ ( The Equivalence of Net Present Value Market Value Added as Measures of a Project’ Economic Worth )

37 4.สาระสำคัญเบื้องหลังของเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อการลงทุน

38 4.1 ระยะคืนทุน ( Payback period )
เกณฑ์ระยะคืนทุนเป็นเกณฑ์ที่มีจุดอ่อน ผู้ตัดสินใจลงทุนบางรายจึงใช้วิธีหักลดค่าของเงินสำหรับเกณฑ์ระยะคืนทุน( discounted payback period ) โดยทำการคิดหักลดกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นจากโครงการ จากนั้นนำกระแสเงินสดที่หักลดแล้วมาเปรียบเทียบกับค่าใช่จ่ายในการลงทุนเริ่มแรก

39 ปัญหาสำคัญของเกณฑ์ระยะคืนทุน
ปัญหาที่ 1 ระยะเวลาของการได้มาซึ่งกระแสเงินสดของโครงการ ปัญหาที่ 2 เกณฑ์กระแสคืนทุนให้ความสำคัญกับกระแสเงินที่เข้ามาหลังระยะคืนทุน ปัญหาที่ 3 มูลค่าของเงินตามเวลา ปัญหาที่ 4 เกณฑ์ระยะคืนทุนเหมาะสมกับโครงการปกติ

40 4.2 มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ (Net Present Value :NPV )
หลักการตัดสินใจเพื่อการลงทุน NPV > 0 คุ้มค่าแก่การลงทุน ซึ่งแสดงนัยว่า โครงการก่อให้เกิดผลตอบแทนมากกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่เรียกว่า hurdle rate : r hurdle rate ก็คืออัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ยอมรับได้เพื่อตัดสินใจลงทุนในโครงการ

41 ข้อสมมติฐานที่สำคัญของเกณฑ์ NPV
1.NPV ของโครงการหนึ่งเป็นผลมาจากการรวม NPV แบบสะสมในแต่ละปีตลอดอายุของโครงการ คุณลักษณะเช่นนี้ไม่ปรากฏในเกณฑ์การตัดสินใจแบบอื่น 2. ผลประโยชน์สุทธิที่เกิดขึ้นในปีหนึ่งๆ ในช่วงอายุของโครงการ ( intermediate cash flows) จะถูกนำไปลงทุนใหม่ ณ ระดับ hurdle rate 3. การคำนวณหาค่า NPV ขึ้นกับการคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย

42 อัตราส่วนลด ( r) อาจมีการเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุผล 3 ประการ
(1) ระดับอัตราดอกเบี้ยอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และจากโครงสร้างของการกำหนดขึ้นเป็นอัตราดอกเบี้ยอาจทำให้พอที่จะคาดคะเนอัตราดอกเบี้ยในอนาคตได้ (2) การคาดคะเนความเสี่ยงของโครงการที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดอายุโครงการ มีผลให้อัตราส่วนมีการเปลี่ยนแปลงได้ (3) ความสับสนทางการเงินของโครงการอาจมีการเปลี่ยนตลอดเวลาผลคือเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งต้นทุนของเงินทุนและต้นทุนของส่วนผู้เป็นเจ้าของ

43 ถึงแม้ว่า NPV จะเป็นเกณฑ์ที่ดีก็ตาม แต่มีประเด็นพึงพิจารณาดังนี้
1. ขนาดโครงการ ( project scale ) 2. การกะจังหวะเวลาของโครงการ ( project timing ) 3. การประเมินโครงการซ้ำใหม่ ( project re-appraisal ) 4. เกณฑ์ NPV ไม่ได้ควบคุมอายุของโครงการ

44 4.2.1 การจำลองโครงการ ( Project Replication )
ปัญหา การจำลองโครงการเป็นการจำลองโครงการในเทอมของค่าที่แท้จริง ( real terms ) ถ้าเป็นรูปที่เป็นตัวเงิน ( nominal terms ) และมีภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจการวิเคราะห์จะมีความแตกต่างอย่างไร 4.2.2 เงินปีสมมูล ( Equivalent Annuity ) เงินปีสมมูลเป็นลักษณะของรายรับหรือรายจ่ายแบบรายปีในจำนวนที่เท่ากัน ค่า NPV ในบรรดาโครงการที่มีอายุต่างกัน สามารถนำมาเปรียบเทียบกับได้อีกวิธีหนึ่งในรูปกระแสผลประโยชน์สุทธิเป็นรายปีที่เท่ากัน ( equivalent annuity)

45 4.3 อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน ( Internal Rate of Return :IRR)
1. IRR คืออัตราส่วนลด (R) ที่ทำให้ NPV เท่ากับศูนย์ โดยเป็นอัตราที่บอกให้นักลงทุนทราบว่าเมื่อเขาลงทุนในโครงการนี้แล้ว ต้องได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเท่าใดจึงจะคุ้มค่ากับค่าเสียโอกาสของทุน 2. IRR เป็นอัตราที่บอกให้ทราบว่า เราคุ้มทุน นั่นคือ ถ้า IRR มีค่าเท่ากับ 20% 20% นี้ทำให้มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ท่ากับมูลค่าปัจจุบันของต้นทุน

46 ต่อ 3. IRR บอกให้ทราบถึงประสิทธิภาพการผลิตอันเกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิตในการลงทุน 4. IRR บอกให้ทราบว่า เงินทุนที่ถูกนำไปลงทุนใหม่ ( reinvestment ) จะได้อัตราผลตอบแทนทบต้นตามค่า IRR ที่คำนวณได้ตลอดอายุคงเหลือของโครงการ

47 โครงการอิสระ ( Independent Project )
4.3.1โครงการอิสระ ( Independent Project ) และโครงการเดี่ยว ( Mutually Exclusive Project) โครงการอิสระ ( Independent Project ) โครงการอิสระเป็นโครงการที่เราแยกการพิจารณาแต่ละโครงการเป็นอิสระต่อกันการยอมรับหรือปฏิเสธโครงการหนึ่งย่อมไม่ขึ้นกับการยอมรับหรือปฏิเสธโครงการอื่น หลักเกณฑ์ที่ใช้เลือกโครงการอิสระมีดังนี้ 1. กรณีเป็นโครงการอิสระและมีเงินทุนไม่จำกัด 2. กรณีเป็นโครงการอิสระและมีเงินทุนจำกัด

48 โครงการเดี่ยว ( Mutually Exclusive Project)
เป็นโครงการที่เราต้องต้องเลือกดำเนินการเพียงโครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้นหรือปฏิเสธทุกโครงการก็ได้ แต่ไม่สามารถเลือกทำทุกโครงการ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกโครงการเดี่ยวมีดังนี้ 1. กรณีเป็นโครงการเดี่ยวและมีเงินทุนเพียงพอที่จะทำโครงการใดโครงการหนึ่งก็ได้ 1.1ถ้าใช้เกณฑ์ NPV จะเลือกลงทุนในโครงการที่ให้ค่า NPV เป็นบวกและมีค่าสูงสุด 1.1ถ้าใช้เกณฑ์ IRR จะเลือกลงทุนในโครงการที่ให้ค่า IRR สูงสุดและมีค่ามากกว่า r

49 4.3.2 ปัญหาของการใช้เกณฑ์ IRR ประเมินโครงการอิสระ
1.1 ถ้าใช้เกณฑ์ PI จะเลือกลงทุนในโครงการที่ให้ค่า PI สูงสุดและมีค่ามากกว่า หรือเท่ากับหนึ่ง 2. กรณีเป็นโครงการเดี่ยวและมีเงินลงทุนจำกัด 4.3.2 ปัญหาของการใช้เกณฑ์ IRR ประเมินโครงการอิสระ ปัญหาที่ 1 โครงการมีความเหมาะสมแก่การลงทุนหรือเหมาะสมทางการเงิน( investing or financing ) ยอมรับโครงการเมื่อ IRR มีค่าน้อยกว่า r ปฏิเสธโครงการเมื่อ IRR มีค่ามากกว่า r

50 ปัญหาที่ 2 IRR อาจมีค่าเป็นลบได้ โครงการใด ๆ ที่มีลักษณะดังกล่าวควรถูกปฏิเสธ
ปัญหาที่ 3 โครงการให้ค่า IRR มากกว่า 1 ค่า ( multiple internal rate of returns multi IRRS) โครงการทั่วไปจะมีการลงทุนในปีเริ่มแรก ( initial cost ) หลังจากนั้น กระแสเงินสดของผลประโยชน์จะเข้ามาเรื่อย ๆ ตลอดอายุโครงการ โครงการลักษณะเช่นนี้จะให้ค่า IRR เพียงหนึ่งค่า

51 4.3.3 ปัญหาของการใช้เกณฑ์ IRR ประเมินโครงการเดี่ยว
เกณฑ์ NPV และ IRR มักจะให้ผลการตัดสินใจสอดคล้องกัน ความขัดแย้งของการใช้เกณฑ์ NPฮ และ IRR เกิดจากลักษณะเฉพาะของโครงการที่นำมาเปรียบเทียบกันเพื่อตัดสินใจเลือกลงทุน อันได้แก่ 1. ปัญหาด้านขนาดของโครงการที่แตกต่างกัน ค่า NPV ของโครงการหนึ่งจะปรากฏในเทมอของหน่วยเงินตรา ค่า IRR จะปรากฏในรูปเปอร์เซ็นต์ของอัตราผลตอบแทน ซึ่งได้มีการจัดขนดของโครงการแล้ว

52 สรุปได้ว่ามี 3 วิธีสำหรับการตัดสินใจ
2. ปัญหาด้านจังหวะเวลาของโครงการแตกต่างกัน โครงการต่าง ๆ มีจังหวะเวลาของการได้มาซึงกระแสเงินสดแตกต่างกันขณะเดียวกัน ค่าของเงินไม่เท่ากันในแต่ละปีเมื่อเวลาผ่านไป สรุปได้ว่ามี 3 วิธีสำหรับการตัดสินใจ 1. เปรียบเทียบ NPV ของสองโครงการ 2. เปรียบเทียบ IRR ส่วนเพิ่มกับอัตราส่วนลดที่สมเหตุสมผล 3. คำนวณ NPV ของกระแสเงินสดส่วนเพิ่ม นอกจากการประเมินโครงการเดี่ยวตามวิธีข้างต้นแล้วยังมีอีก 2 วิธีที่น่าสนใจ และให้ผลลัพธ์สอดคล้องกัน โดยทั้งสองวิธีมีข้อสมมติว่า การนำผลประโยชน์ไปลงทุนใหม่ไม่เกี่ยวพันกับอัตราผลตอบแทนที่โครงการกำหนดไว้แต่อย่างใด วิธีใหม่นี้ได้แก่

53 วิธีมูลค่าสุดท้าย ( Terminal Value )
วิธีนี้เป็นการหาค่ากระแสเงินสดของผลประโยชน์ที่โครงการได้รับในแต่ละปีสำหรับทุกโครงการเฉพาะ ณ ปีสุดท้ายของโครงการที่มีอายุนานที่สุด โดยพิจารณาว่าโครงการที่ดีที่สุดเหมาะสมแก่การลงทุนจะต้องเป็นโครงการที่มีมูลค่าของกระแสผลประโยชน์ ณ ปีสุดท้ายมากที่สุด วิธีอัตราผลตอบแทน ( Rate of Return ) เป็นการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยจากอัตราผลตอบแทนภายใน ( IRR ) และอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนใหม่ โดยโครงการที่เหมาะสมแก่การเลือกลงทุนหรือโครงการที่ดีที่สุดจะเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดอัตราผลตอบแทนสูงสุด

54 4.4 อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน ( Benefit - Cost Ratio : BCR)
ผู้วิเคราะห์ต้องพึงระวังและสมควรใช้เกณฑ์อื่นควบคู่กันไปในการตัดสินใจคัดเลือกโครงการ ด้วยเหตุ 3 ประการ 1. การตีความข้อมูลต้นทุนและผลประโยชน์ 2. การเปรียบเทียบโครงการ 3. ขนาดและจังหวะเวลาที่เหมาะสม

55 4.5 ดัชนีความสามารถทำกำไร ( Profitability Index : PI )
มูลค่าปัจจุบันของเงินทุนเริ่มแรก ข้อจำกัดของเกณฑ์ PI 1.เกณฑ์ PI มีข้อสมมติว่า ข้อจำกัดด้านการปันส่วนเงินทุนนั้นจะเกิดขึ้นในเวลาปัจจุบันเท่านั้น 2. ปัญหาหนึ่งที่สัมพันธ์กับเกณฑ์ PI ก็คือการแยกกระแสเงินสดออกเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรก ซึ่งจะเกิดในปัจจุบัน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งเกิดขึ้นในอนาคต

56 ต่อ ขั้นตอนต่างๆ ในการใช้ PI เลือกโครงการมีดังนี้
1. เงินทุนที่สามารถหามาได้เพื่อนำมาลงทุนในปีแรกนั้นต้องถูกกำหนดมาให้ ซึ่งแสดงถึงข้อจำกัดด้านงบประมาณของเงินทุน 2. ทำการคำนวณค่าNPV และประเมินค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรกของแต่ละโครงการ 3. คำนวณหาค่า PI ทุกโครงการ

57 ต่อ 4. จัดลำดับโครงการตามค่า PI
6. เมื่อเงินลงทุนเริ่มแรกของโครงการหนึ่งมีจำนวนเท่ากับเงินทุนที่เหลืออยู่พอดีจะยุติการลงทุนและไม่ลงทุนในโครงการอื่นใดอีกต่อไป

58 4.6 เกณฑ์ใดที่ผู้วิเคราะห์ควรใช้ในการประเมินการลงทุน
สิ่งหนึ่งที่ผู้วิเคราะห์โครงการต้องตระหนักในการประเมินการลงทุนก็คือ 1. ควรใช้เกณฑ์หรือเทคนิคมากกว่าหนึ่งเกณฑ์ในการวิเคราะห์โครงการ 2. โครงการเดียวมีความแตกต่างอย่างมากในการเลือกใช้เกณฑ์ที่แตกต่าง

59 4.7 การวิเคราะห์โครงการที่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน( Project Interactions)
โครงการซึ่งเรากำลังพิจารณาอยู่นั้นมีความเกี่ยวพันกับผลประโยชน์หรือกระแสเงินสดของโครงการอื่น ๆที่กำลังพิจารณาในระยะเวลาเดียวกันและอาจเกี่ยวพันกับโครงการอื่นที่ดำเนินการอยู่แล้ว อาจเป็นไปในทางที่เสริมกัน ในทางตรงกันข้ามผลกระทบระหว่างโครงการอาจเป็นไปในเชิงลบ

60 5 การวิเคราะห์โครงการทางเศรษฐกิจ

61 5.1 เหตุผลและความจำเป็น การวิเคราะห์โครงการเอกชนเป็นการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ทางด้านการเงินของโครงการที่มีผลโดยตรงต่อผู้เป็นเจ้าของโครงการ มุ่งเน้นที่ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุนหรือผลกำไรที่เป็นตัวเงินจากการดำเนินการ แต่การวิเคราะห์โครงการทางการเงินย่อมไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจในการลงทุน

62 ต่อ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการจึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลของโครงการที่มีต่อระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ซึ่งก็คือการวิเคราะห์โครงการทางเศรษฐกิจความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์โครงการทางเศรษฐกิจกับการวิเคราะห์ทางการเงิน จึงอยู่ที่การมุ่งเน้นผลของโครงการระหว่างผลต่อระบบเศรษฐกิจส่วนรวมและผลต่อผู้เป็นเจ้าของโครงการ

63 5.2 ขั้นตอนในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ
1. แต่ละโครงการต้องจำแนกและระบุรายละเอียดอย่างชัดเจน 2. ในทางปฏิบัติต้องพยายามประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ทุกรายการออกมาเป็นตัวเงิน 3. ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ที่เหมาะสมเพื่อตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการที่ดี 4. การตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการที่เหมาะสมจำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนและผลประโยชน์บางประการที่เราไม่สามารถประเมินค่าเป็นรูปตัวเงิน

64 การวิเคราะห์โครงการทางเศรษฐศาสตร์ยังมีความยุ่งยากในเรื่องต่อไปนี้
1. ผลประโยชน์จากการลงทุนที่คิดคำนวณเป็นค่าตัวเลข เราไม่อาจถือค่าใดเป็นมาตรฐานสำหรับทุกโครงการ 2. มีต้นทุนและผลประโยชน์บางอย่างของโครงการที่เราไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเงินได้ 3. ปัจจัยทางการเมืองมีอิทธิผลต่อการตัดสินใจดำเนินโครงการ 4. โครงการของรัฐบาลมีข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ที่มีผลต่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน 5. โครงการของรัฐบาลส่วนใหญ่ทำเพื่อสาธรณชน ไม่หวังผลกำไร

65 ต้นทุนทางเศรษฐกิจของโครงการ ( Economic Cost)
5.3 ลักษณะการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ต้นทุนทางเศรษฐกิจของโครงการ ( Economic Cost) หมายถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการใช้ทรัพยากรอย่างแท้จริง ซึ่งแสดงค่าเสียโอกาสของทรัพยากรที่สูญเสียไปในการนำทรัพยากรมาใช้ในโครงการ นอกจากนั้น ต้นทุนทางเศรษฐกิจยังครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายหรือผลเสียโดยอ้อมจากโครงการต่อบุคคลอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการโดยตรง ( third parties) ซึ่งผู้เป็นเจ้าของโครงการไม่ได้แบกรับภาระผลเสียดังกล่าว

66 ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของโครงการ ( Economic Benefit )
หมายถึง ผลประโยชน์หรือผลดีโดยตรงในรูปตัวเงินอันเกิดจากการจำหน่ายผลผลิตตามราคาเศรษฐกิจ (economic price ) รวมถึงผลประโยชน์โดยอ้อมที่บุคคลอื่นได้รับจากโครงการโดยไม่มีส่วนรู้เห็นกับการมีโครงการโดยตรง และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการได้รับประโยชน์จากโครงการ

67 ข้อดีของการวิเคราะห์โครงการโดยใช้ราคาคงที่มีดังนี้
1. จากงบกระแสเงินสดของโครงการ เราสามารถหาค่าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่แท้จริง ( real IRR ) ได้ทันที 2. เราสามารถเปลี่ยนค่าทางการเงินในงบกระแสเงินสด เป็นค่าทางเศรษฐกิจได้โดยใช้ค่าแปรราคาเงา ( conversion factor :CF) 3. ช่วยให้การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการง่ายขึ้น โดยเฉพาะการหาค่าเปลี่ยนการตัดสินใจ ( switching value ) ง่ายขึ้น

68 5.4 หลักการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ
5.4 หลักการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ประเภทของรายการทางการเงินที่ปรับค่าทางเศรษฐกิจ (economic value ) ต้องจำแนกเป็นรายการไป โดยอาศัยหลักการทางเศรษฐศาสตร์ดังนี้ 1. รายการประเภทเงินโอน ( Transfer Payments) เป็นค่าใช้จ่ายหรือรายได้ทางการเงินที่ตกอยู่กับผู้เป็นเจ้าของโครงการโดยตรง 2. รายการประเภทกลุ่มสินค้าและบริการที่มีการซื้อขายระหว่างประเทศหรือในตลาดโลก ( Traded Goods and Services) ได้แก่สินค้าที่มีการนำเข้าและส่งออก ทั้งที่เป็นผลผลิตจากการโครงการ หรือปัจจัยการผลิตที่ใช้ในโครงการ

69 ต่อ รายการเหล่านี้ต้องถูกปรับจากราคาตลาดมาเป็นราคาที่แท้จริงทางเศรษฐศาสตร์ โดยหาราคาที่แท้จริงทางเศรษฐกิจ ( real economic prices ) ซึ่งก็คือราคาสินค้า ณ ท่าเรือของประเทศ ( c.i.f or f.o.b prices ) หรือราคาผ่านแดน ( border price ) หรือราคาระหว่างประเทศ ( international price ) ปรับด้วยค่าขนย้ายภายในประเทศ ซึ่งประกอบด้วยค่าขนส่ง ( transport cost ) และค่าขนถ่าย ( handling charges ) ที่อาจเกิดขึ้น

70 3. รายการประเภทกลุ่มสินค้าและบริการที่ไม่มีการซื้อขายระหว่างประเทศหรือในตลาดโลก ( Non- Traded Goods and services ) ได้แก่สินค้าที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่มีการซื้อขายกันในตลาดโลก หรือเป็นบริการที่มีการซื้อขายเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น การตีค่าของกลุ่มสินค้าเหล่านี้เป็นการตีจากค่าเสียโอกาสซึ่งก็คือ ราคาเงา ( shadow prices )

71 5.4.2 ราคาตลาดแลราคาเงา ( Market Price and Shadow Price)
ราคาตลาด เป็นราคาหรืออัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกกำหนดขึ้นโดยกลไกลตลาดอย่างเปิดเผย เป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานตลาด ราคาเงา เป็นราคาหรืออัตราแลกเปลี่ยนของสินค้าและบริการ หรือปัจจัยการผลิตที่ถูกคำนวณขึ้นเพื่อให้สะท้อนถึงค่าเสียโอกาสที่แท้จริงของสินค้าและบริการหรือปัจจัยการผลิตในโครงการโดยถือว่าราคาตลาดของสิ่งดังกล่าถูกบิดเบือนจากค่าที่แท้จริง

72 สำหรับปัจจัยการผลิตและผลผลิตแต่ละประเภทนั้น ค่าแปรราคาเงา ( conversion factor : CF ) สามารถถูกคำนวณขึ้นได้ โดยค่า CF เป็นอัตราส่วนระหว่างราคาเงาและราคาตลาดสำหรับรายการนั้น ๆ ของโครงการ CF = ราคาเงา ราคาตลาด ค่า CF นี้สามารถนำมาใช้ประเมินค่าทรัพยากรจากราคาตลาดให้เป็นราคาเงา ดังนั้น มูลค่าของราคาเงา = CF x มูลค่าของราคาตลาด

73 ภาวะผูกขาดในตลาด เกิดขึ้นในตลาดสินค้าหรือปัจจัยการผลิต ราคาขายต่อหน่วยของสินค้าหรือปัจจัยการผลิตจะเป็นราคาที่สูงกว่าต้นทุนหน่วยท้ายสุด ( P > MC ) ผลกระทบภายนอก ตลาดที่ทำการผลิตผลผลิตใดมักจะปลดปล่อยสิ่งที่ตนไม่ต้องการจากกระบวนการผลิตและมีผลกระทบต่อบุคคลที่สามซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ผลกระทบดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของผลกระทบภายนอกในแง่ดี ( external benefit, positive externality or external economy ) หรือ/ และผลกระทบภายนอกเชิงลบหรือในแง่เสีย (external cost , negative externality or external diseconomy)

74 5.4.3 ราคาเงาและหน่วยมาตรฐาน เราสามารถแสดงราคาเงาได้สองวิธี
5.4.3 ราคาเงาและหน่วยมาตรฐาน เราสามารถแสดงราคาเงาได้สองวิธี วิธีแรก ราคาเงาแสดงในหน่วยเงินตราต่างประเทศโดยตรง ทำการประเมินค่าผลกระทบของโครงการทั้งหมด ณ ราคาตลาดโลก นั่นคือใช้ราคาโลกเป็นหน่วยมาตรฐาน ( World price numeraire) วิธีที่สอง ราคาเงาแสดงในหน่วยของราคาตลาดภายในประเทศ นั่นคือ ใช้ราคาภายในประเทศเป็นหน่วยมาตรฐาน ( domestic price numeraire)

75 ต่อ 5.4.4 การตัดสินใจกับทางเลือกของหน่วยราคา
หน่วยมาตรฐานที่แท้จริงในการคำนวณราคาเงาจะอยู่ในเทอมของมูลค่าปัจจุบัน คือรายได้ที่แท้จริงในปัจจุบัน ณ ราคาที่ในรูปของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศราคา ณ ท่าเรือของสินค้าแต่ละประเภทถูกคำนวณในรูปนี้ 5.4.4 การตัดสินใจกับทางเลือกของหน่วยราคา การตัดสินใจที่แตกต่างกันสำหรับกรณีที่ราคาตลาดและราคาเงา ณ อัตราส่วนลดที่เหมาะสม โครงการเป็นที่ยอมรับจากแง่คิดของส่วนรวมในกรณีราคาเงา ในทางทฤษฎีแล้วมีความเป็นไปได้ถึง 4 case

76 ต่อ Case 1 การคำนวณตามราคาตลาดและราคาเงาของโครงการเป็นที่ยอมรับ

77 5.5การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ : ระบบราคาโลก ( World Price System or L-M and S-T Approach )
วัตถุประสงค์หลักมี 3 ประการ 1. การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ 2. การเจริญเติบโตของทรัพยากรเมื่อเวลาผ่านไป 3. ความเท่าเทียมกันในการกระจายการบริโภคระหว่างชั้นสังคมที่มีความแตกต่างกัน และกลุ่มชั้นรายได้ L-M หมายถึง Litlle and Mirless S-T หมายถึง Squire andvan der Tak

78 5.5.1 สินค้าที่มีการซื้อขายกันได้และไม่มีการซื้อขายกันในตลาดโลก ( Traded and Non- Traded Goods )
สินค้าที่มีการซื้อขายกันในตลาดโลกเป็นสินค้าที่ถูกลิตหรือถูกนำมาใช้ในโครงการ จะมีผลกระทบต่อดุลการชำระเงินของประเทศ สินค้าที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลก จะไม่มีรายการในการค้าระหว่างประเทศ สินค้าเหล่านี้ที่โครงการผลิตขึ้นหรือนำเข้ามาใช้จะส่งผลกระทบต่อการหามาได้ซึ่งอุปทานในระบบเศรษฐกิจเท่านั้น

79 5.5.2 การตีราคาสินค้าและบริการที่มีการซื้อขายในตลาดโลก( Valuation of Traded Goods and Services)
ความสำคัญของการแบ่งแยกประเภทสินค้าต่าง ๆ ก็เพื่อให้สินค้าและบริการที่ซื้อขายกันในตลาดนั้นมีราคาเงาที่อิงอยู่กับราคาในตลาดโลก โดยไม่อิงอยู่กับกับมูลค่าของการใช้หรืออุปทานภายในประเทศแต่อย่างใด ราคาในตลาดโลกสะท้อนถึงเงื่อนไขที่มีอยู่ในตลาดระหว่างประเทศ

80 5.5.3 ราคาเสมอภาค ณ ท่าเรือ ( Border Parity : BPP)
โดยปกติแล้ว ราคาตลาดโลกจะถูกตีค่าเป็นราคา ณ ท่าเรือเพื่อสะท้อนถึงมูลค่าของสินค้าที่ซื้อขายกัน ณ ชายแดนหรือท่าเรือที่ผ่านเข้าในประเทศที่มีโครงการ ตามหลักเศรษฐศาสตร์ การนำการผลิตและการใช้สินค้าที่ซื้อขายกันมาใช้ในการวิเคราะห์นั้นจะมีผลกระทบสองประการ ประการแรก อยู่ในรูปของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยตรงที่กำหนดโดยราคา ณ ท่าเรือของสินค้า ประการที่สอง อยู่ในเทอมของทรัพยากรซึ่งต้องนำรายการค่าขนส่งและการกระจายทรัพยากรปรือสินค้าไประหว่างที่ตั้งของโครงการและท่าเรือเข้ามาพิจารณา

81 การตีราคาสินค้าและบริการที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลก ( Valuation of Non-Traded Goods and Services ) การประเมินมูลค่าของกลุ่มสินค้านี้จะต้องใช้วิธีประมูลค่าเทียบเท่ากันของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเท่ากับเป็นการพิจารณาผลกระทบในแง่เงินตราต่างประเทศทางอ้อม การศึกษากลุ่มสินค้านี้เราจะพิจารณาว่าเป็นปัจจัยการผลิตของโครงการนั้น ก. ปัจจัยการผลิตที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลก : อุปทานผันแปร ประเด็นแรก ภาคเศรษฐกิจที่ไม่มีการซื้อขายกันเลยจะใช้ปัจจัยที่ผลิตจากภาคเศรษฐกิจอื่นที่ไม่มีการซื้อขายกัน ประเด็นที่สอง รายละเอียดข้อมูลด้านต้นทุนของภาคเศรษฐกิจที่ไม่มีการซื้อขาย ควรอยู่ในรูปของต้นทุนหน่วยท้ายสุด ไม่ใช่ต้นทุนเฉลี่ยและน่าอ้างอิงถึงแหล่งอุปทานที่เพิ่มขึ้นด้วย

82 ข. ปัจจัยการผลิตที่ไม่มีการซื้อขายกันในตลาดโลก : กรณีอุปทานคงที
การประเมินราคาปัจจัยจึงขึ้นอยู่กับว่า อุปสงค์จากโครงการมีขนาดใหญ่พอที่จะผลักดันให้ราคาตลาดของปัจจัยเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ ค่าแปรราคาเงามาตรฐานหรือค่าแปรราคาเงาเฉลี่ย ( Standard or Average Conversion Factor ) ACF = M + X ( M + Tm - Sm) ( X – Tx + Sx )

83 Tm และ Tx : ภาษีการค้าทั้งการนำเข้าและส่งออกตามลำดับ
สัมประสิทธิ์ตัวปรับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค (ACF) ผลรวมของมูลค่าสินค้านำเข้าและส่งออก ณ ราคาท่าเรือ ผลรวมของมูลค่าสินค้านำเข้า ณ ราคาภายในประเทศ โดยที่ M และ X : มูลค่าทั้งหมดของการนำเข้าและส่งออกในปีที่กำหนด ซึ่งจะถูกดัดแปลง ค่าเป็นเงินในประเทศด้วยอัตรา แลกเปลี่ยนทางการ ( OER) Tm และ Tx : ภาษีการค้าทั้งการนำเข้าและส่งออกตามลำดับ Sm และ Sx : เงินอุดหนุนด้านการค้าทั้งหมดทั้งการนำเข้าและส่งออกตามลำดับ ค่า ACF จะมีประโยชน์เฉพาะกรณีที่เราสามารถหาตัวแปรต่าง ๆ ในสูตรได้พร้อมเท่านั้น

84 5.5.6 การประเมินค่าแรงงานตามระบบราคาตลาดโลก
การประเมินค่าแรงงานตามระบบราคาตลาดโลก การแบ่งประเภทแรงงานจะถือเอาความสามารถของแรงงานเป็นเกณฑ์แรงงานจึงมีสองประเภทได้แก่ แรงงานมีทักษะ และแรงงานไร้ทักษะ แรงงานประเภทนี้หมายถึงบุคคลที่ได้รับการศึกษาตามที่ทางการกำหนด คือ ศึกษาระดับมัธยมศึกษาสองปี หรือสูงกว่า หรือจบการศึกษาระดับประถมศึกษาและได้ฝึกอบรมวิชาชีพเฉพาะในสองปีหรือมากกว่า แรงงานในสภาพอุปทานส่วนเกิน ประเด็นสำคัญในทีนี้อยู่ที่ว่า ค่าจ้างแรงงานซึ่งโครงการหนึ่งจะจ่ายให้แก่แรงงานในสภาพตลาดที่มีอุปทานส่วนเกิน ซึ่งอาจเป็นการทำงานเต็มเวลาหรือทำงานต่ำกว่าระดับ

85 5.5.7 การประเมินค่าที่ดินตามระบบราคาตลาดโลก
แรงงานในสภาพอุปสงค์ส่วนเกิน ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นก็คือ (1) อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากโครงการจะดึงดูดแรงงานจากกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำงานเต็มเวลา (2) อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้มีการฝึกอบรมหรือการโยกย้ายแรงงาน การประเมินค่าที่ดินตามระบบราคาตลาดโลก ในตลาดซื้อขายที่ดินที่มีการแข่งขันกันนั้น ราคาจะเท่ากับผลประโยชน์ในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับการซื้อขายหรือการเช่าพื้นที่ดินเพิ่มขึ้น

86 ต่อ การคำนวณค่าทางเศรษฐกิจ
ราคาเงาของที่ดินถูกกำหนดโดยค่าเสียโอกาสของที่ดิน ซึ่งก็คือรายได้สุทธิ ณ ราคาตลาดโลกที่ได้รับจากที่ดินในกรณีที่ที่ดินไม่ได้ถูกนำมาใช้ในทางเลือกซึ่งมีการเก็งกำไร แต่กรณีที่ที่ดินเป็นต้นทุนขนาดใหญ่ของโครงการ การประเมินมูลค่าที่ดินต้องพิจารณาสถานการณ์ในบริเวณพื้นที่โครงการ และการใช้พื้นที่โดยส่วนใหญ่ของโครงการ

87 การประเมินค่าที่ดินยังอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
ก. กรณีเช่าที่ดิน พิจารณาในรูปของผลประโยชน์สูงสุดที่สูญเสียไปอันเนื่องจากนำที่ดินดังกล่าวมาใช้ในโครงการ ข. กรณีซื้อที่ดิน เราจะกระจายมูลค่าที่ดินเป็นรายปี ( annual) ตลอดอายุของโครงการ ค. กรณีมีการปรับปรุงที่ดิน จัดเป็นบริการภายในประเทศที่ไม่อาจซื้อขายกันได้ในตลาดโลก (nontradable goods)

88 5.5.8 อัตราส่วนลด : แนวคิดในการเลือก
อัตราส่วนลด : แนวคิดในการเลือก อัตราส่วนลดที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จึงมุ่งไปที่การใช้เงินทุนของโครงการและวัดการลดลงในมูลค่าของเงินลงทุนเมื่อเวลาผ่านไป สามารถพิจารณาสถานการณ์หลักที่เกิดขึ้นได้ 3 สถานการณ์ (1) กรณีงบประมาณที่ใช้ในโครงการลงทุนสาธารฯถูกกำหนดให้คงที่ตลอดระยะเวลาที่กำหนดให้ (2) กรณีการลงทุนทั้งหมดของระบบเศรษฐกิจคงทีตลอดระยะเวลาที่กำหนดให้ แต่งบประมาณการลงทุนของรัฐบาลสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยเก็บภาษีหรือกู้ยืมจากภาคเอกชน (3) กรณีอุปทานของแหล่งเงินทุนแปรผันได้ งบประมาณการลงทุนสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยดึงจากการออมภายในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

89 6. การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ : วิธีระบบราคาภายในประเทศ

90 วิธีการใช้ราคาตลาดภายในประเทศเป็นหน่วยมาตรฐานในการวัดค่าเสียโอกาสทางการค้า อีกนัยหนึ่ง คือศึกษาในเทมอของระบบราคาภายในประเทศตามวิธีของ UNIDO ย่อมาจาก United Nations Industrial Development Organization ( domestic price or UNIDO approach) เราจะเริ่มศึกษาเงื่อนไขภายใต้ระบบราคาตลาดโลกและระบบราคาภายในประเทศที่ให้ผลลัพธ์เทียบเท่ากัน จากนั้นพิจารณาอัตราแลกเปลี่ยนเงา ซึ่งเป็นพารามิเตอร์สำคัญของระบบราคาภายในประเทศ ศึกษาถึงรายละเอียดของวิธีการได้มาซึ่งค่าแปรราคาเงาสำหรับสินค้าที่มีการซื้อขายกันและไม่มีการซื้อขายกันในตลาดโลก

91 6.1 การเลือกหน่วยของราคา
ความแตกต่างระหว่างหน่วยมาตรฐานที่เป็นราคาตลาดโลกและราคาภายในประเทศเกิดขึ้นเพราะในระบบเศรษฐกิจโดยส่วนใหญ่นั้น สินค้าที่ซื้อขายกันในตลาดโลกจะมีราคาภายในประเทศแตกต่างจากราคาตลาดโลก โดยส่วนเพิ่มของต้นทุนค่าขนส่ง แลการจัดจำหน่ายตามระบบราคาภายในประเทศจะมีค่ามากกว่า นโยบายด้านภาษี เงินอุดหนุน โควตาหรือใบอนุญาตที่ควบคุมการค้าต่างประเทศและการผูกขาดในตลาด ฯลฯ นโยบายเหล่านี้จะสร้างความแตกต่างระหว่างวิธีการปรับต้นทุนค่าขนส่งและการจัดจำหน่ายตามราคาตลาดโลกและราคาภายในประเทศ

92 6.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงา ( Shadow Exchange Rate : SER)
อัตราแลกเปลี่ยนทางการ ( official exchange rate :OER) ย่อมเป็นอัตราแลกเปลี่ยนตามราคาตลาดที่เหมาะสม เพราะแสดงถึงราคาที่ผู้บริโภคเต็มใจจ่ายซื้อเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ ตลอดจนรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศอันเกิดจากการผลิตผลผลิตส่งออกของโครงการ โดยปกติแล้วรัฐบาลในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ มักเข้าแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศโดยมีบทบาทควบคุมปริวรรตเงินตราต่างประเทศโดยกำหนด OER สูงเกินความเป็นจริง อันแสดงว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่ปรากฏอยู่ในตลาดถูกบิดเบือนไปจากอัตราที่แท้จริง ไม่สะท้อนถึงความขาดแคลนในมูลค่าของเงินตราต่างแระเทศที่เหมาะสม

93 ต่อ เมื่อเป็นเช่นนี้ กลไกลด้านภาษีและโควตาการนำเข้าจะถูกนำมาใช้รักษาความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องประเมินหาอัตราแลกเปลี่ยนราคาเงาซึ่งสะท้อนถึงความขาดแคลนในมูลค่าของเงินตราต่างประเทศโดยปรับค่าอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดด้วยสัมประสิทธิ์ตัวปรับราคา ( consumption conversion factor : CCf ) ที่แสดงถึงค่าพรีเมี่ยมเงินตราต่างประเทศ ( premium on foreign exchange ) ค่าพรีเมี่ยมเงินตราต่างประเทศ = ( M+Tm – Sm ) + (X+ Sx – Tx ) ( M + X )

94 6.3 ความเทียบเท่ากันของระบบราคาตลาดโลกและระบบ ราคาในประเทศ
6.3 ความเทียบเท่ากันของระบบราคาตลาดโลกและระบบ ราคาในประเทศ โดยสมมุติว่า อัตราส่วนของราคาตลาดโลกต่อราคาภายในประเทศ (ACF) ที่ใช้อย่างกว้างขวางในระบบเศรษฐกิจจะถูกนำมาใช้กับรายการที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลกแต่ละรายการได้ สิ่งนี้เปรียบเทียบได้โดยตรงกับกระบวนการของระบบราคาภายในประเทศในการประเมินค่าสินค้าเหล่านี้ ณ ราคาตลาดภายในประเทศเพราะการแปลงราคาตลาดโลกสำหรับสินค้าที่ซื้อขายได้ในตลาดโลกทั้งหมด เป็นราคาในประเทศด้วย SER จะได้มาซึ่งอัตราส่วนของราคาภายในประเทศต่อราคาตลาดโลกที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในระบบเศรษฐกิจ

95 6.4 การประมาณค่าในระบบราคาตลาดโลกและระบบ ราคาในประเทศ
6.4 การประมาณค่าในระบบราคาตลาดโลกและระบบ ราคาในประเทศ จากแง่คิดใหม่นี้เราจะจำแนกรายการทรัพยากรต่าง ๆ ออกมาดังนี้ 1. เงินตราต่างประเทศ ( foreign exchange : F ) 2. ทรัพยากรในประเทศ ( domestic resources : N ) 3. แรงงานไร้ทักษะ ( unskilled labor : LU ) 4. แรงงานมีทักษะ ( skilled labor : LS ) 5. รายการเงินโอน ( transfer payments : T )

96 ต่อ เงินตราต่างประเทศจะครอบคลุมถึงสินค้าที่ซื้อขายในตลาดโลก (ประเมินค่าตามราคาตลาดโลกโดย OER) และทรัพยากรในประเทศจะครอบคลุมถึงสินค้าที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลกทั้งที่เป็นปัจจัยการผลิตและผลผลิตของโครงการ (ประเมินค่าตามราคาตลาดในประเทศ) สามารถแสดงค่า NPV ของโครงการ ณ ราคาตลาดได้ว่า NPV = F + N + LU + LS + T โดยที่รายการต่างๆ ของทรัพยากรทั้งหมดจะอยู่ในรูปของมูลค่าปัจจุบัน ณ ราคาตลาด และสัญลักษณ์ของผลผลิตมีค่าเป็นบวก และปัจจัยการผลิตมีค่าเป็นลบ

97 ต่อ ENPV = F. CFF + N.CFN + LU.CFLU + LS.CFLS
มูลค่าปัจจุบันสุทธิทางเศรษฐกิจ( economic net present value : ENPV ) ของโครงการหาได้โดยการประยุกต์ค่าแปรราคาเงาเข้ากับประเภททรัพยากรที่แตกต่างกันดังนี้ ENPV = F. CFF + N.CFN + LU.CFLU + LS.CFLS CFF , CFN , CFLU และ CFLS เป็นค่าแปรราคาเงาสำหรับเงินตราต่างประเทศสินค้าที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลก แรงงานไร้ทักษะและแรงงานมีทักษะตามลำดับ โดยที่รายจ่ายเงินโอนมีค่า CF เป็นศูนย์ และ T ไม่ได้รวมอยู่ใน ENPV

98 6.5 สินค้าที่มีการซื้อขายในตลาดโลก ณ ระบบราคา ภายในประเทศ
6.5 สินค้าที่มีการซื้อขายในตลาดโลก ณ ระบบราคา ภายในประเทศ สมมติว่า i เป็นสินค้าที่มีการซื้อขายในตลาดโลก และ DP เป็นอักษรที่อ้างถึงระบบราคาภายในประเทศ DPSPi = (WPi x OER) x CFF + (Ti DPCFT + Di DPCFD ) DPSPi : ราคาเงาของ i ณ ระบบราคาภายในประเทศ WPi : ราคา ณ ท่าเรือหรือราคาผ่านแดน OER : อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เป็นทางการ CFF : ค่าแปรราคาเงาสำหรับเงินตราต่างประเทศ ( SER/OER )

99 ต่อ DPSPi = (WPi x SER) + (Ti.DPCFT + Di.DPCFD)
Ti และ Di : ค่าขนส่งและค่าจัดจำหน่ายต่อหน่วยของ i จากท่าเรือสู่โครงการ ณ ราคาภายในประเทศ DPCFT และ DPCFD : ค่าแปรราคาเงาสำหรับค่าขนส่งและการจัดจำหน่าย ณ ระบบราคาภายในประเทศ เนื่องจาก CFF = SER/OER สมการข้างต้น ( ) จึงเขียนได้ใหม่ว่า DPSPi = (WPi x SER) + (Ti.DPCFT + Di.DPCFD)

100 ต่อ สิ่งนี้หมายความว่า สำหรับสินค้า i แล้ว ราคาเงาก็คือราคาตลาดโลกที่แปลงค่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเงา บวก หรือ ลบ ด้วยต้นทุนค่าขนส่งและการจัดจำหน่ายต่อหน่วย ณ ราคาเงาในหน่วยมาตรฐานของราคาภายในประเทศ ค่า CF สำหรับสินค้า i ในกรณีนี้ก็คือ DPCFi = DPSPi DPi โดยที่ DPi : ราคาตลาดภายในประเทศของสินค้า i ของโครงการ DPCFi : ค่าแปรราคาเงา ณ ระบบราคาภายในประเทศ

101 6.6 สินค้าที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลก ณ ระบบราคา ภายในประเทศ
6.6 สินค้าที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลก ณ ระบบราคา ภายในประเทศ ในทางทฤษฎี ตามระบบราคาตลาดโลกนั้น ปัจจัยการผลิตที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลกและมีอุปทานผันแปรจะถูกประเมินค่าด้วยต้นทุนหน่วยท้ายสุดของการผลิตในระยะยาว (ยกเว้นแต่ว่าขณะนี้ต้นทุนอยู่ในหน่วยมาตรฐานของราคาภายในประเทศไม่ใช่หน่วยมาตรฐานของราคาตลาดโลก) วิธีการกะประมาณค่าโดยส่วนใหญ่ ราคาตลาดภายในประทศของกิจกรรมที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลกถูกใช้เป็นตัวแทนสำหรับราคาเงาของกิจกรรมเหล่านี้ ในระบบราคาตลาดโลก สิ่งนี้เทียบเท่ากับการใช้ ACF เพื่อแปลงค่ารายการดังกล่าวเป็นราคาตลาดโลก อีกทางเลือกหนึ่งคือใช้ราคาเงาประเมินค่าปัจจัยการผลิตบางชนิดหรือทั้งหมดในกิจกรรมที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลก

102 6.6.1 แรงงาน แรงงานไร้ทักษะในระบบราคาภายในประเทศ
แรงงาน แรงงานไร้ทักษะในระบบราคาภายในประเทศ ค่าจ้างเงาของแรงงานก็คือมูลค่าของผลผลิตที่สูญเสียไปเพราะในระบบราคาภายในประเทศนั้น ค่าจ้างเงาต้องถูกวัดค่าในหน่วยของราคาภายในประเทศไม่ใช่ราคาตลาดโลก แรงงานมีทักษะในระบบราคาภายในประเทศ แรงงานมีทักษะซึ่งอยู่ในสภาพตลาดที่เกิดอุปสงค์ส่วนเกินจะถูกปรับค่าด้วยACF ซึ่งเป็นค่าแปรราคาเงาเฉลี่ยของแรงงาน ค่าจ้างตามราคาตลาดของแรงงานเหล่านี้สะท้อนถึงผลผลิตภาพของแรงงาน การประเมินค่าผลผลิตที่สูญเสียไปโดยตรงสำหรับแรงงานมีทักษะกระทำโดยใช้ค่าแปรราคาเงาสำหรับสินค้าต่าง ๆ เพื่อให้ได้มูลค่า ณ ราคาเงา

103 6.6.2 ที่ดินและอัตราส่วนลด ณ ระบบราคาในประเทศ
ที่ดินและอัตราส่วนลด ณ ระบบราคาในประเทศ การวิเคราะห์ด้วยระบบราคาตลาดโลก ถ้าผลผลิตและปัจจัยการผลิตทั้งหมดถูกนำมาซื้อขายในตลาดโลกได้ ผลตอบแทนโดยสุทธิที่ตกกับที่ดินในหน่วยมาตรฐานของราคาภายในประเทศ การเปลี่ยนแปลงหน่วยมาตรฐานจะไม่มีผลกระทบต่ออัตราส่วนลด ดังนั้นจะได้ค่าอัตราส่วนลด

104 6.7 การลดค่าในอนาคตของเงินตราในประเทศ
6.7 การลดค่าในอนาคตของเงินตราในประเทศ เมื่อใดก็ตามที่มีการลดค่าเงินที่แท้จริงย่อมบ่งชี้ว่าค่า CCF จะลดลง ความเต็มใจจ่าย ณ ราคาตลาดภายในประเทศจะมีมูลค่าน้อยกว่าในเทอมของเงินตราต่างประเทศ ผลกระทบของภาวะเงินฝืดที่มีต่ออุปสงค์มวลรวม ซึ่งความสัมพันธ์กับการลงค่าเงินจะนำไปสู่การทดแทนกันระหว่างปัจจัยการผลิตในส่วนของสินค้าที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลก และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในค่าสัมประสิทธิ์ของปัจจัยการผลิต ดังนั้น ต้นทุนผันแปรของกิจกรรเหล่านี้เท่านั้นควรจะถูกนำมารวมไว้ในราคาเงาของกิจกรรมดังกล่าว สรุปได้ว่า ระบบราคาภายในประเทศสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้กับระบบราคาตลาดโลกโดยกำหนดข้อสมมติที่เทียบเท่ากัน ในทางปฏิบัติ ระบบราคาภายในประเทศจะนำมาใช้กับสินค้าที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลก เพราะได้ค่าถูกต้องกว่าและประหยัดเวลา

105 6.8 อัตราส่วนของต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ ( Domestic Resource Cost Ratio : DRC )
DRC เป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่มีความเกี่ยวพันอย่างมากกับระบบราคาภายในประเทศ สำหรับโครงการที่ทำการผลิตสินค้าที่มีการซื้อขายในตลาดโลกนั้น ค่า DRC จะเป็นสิ่งที่ใช้ประเมินทรัพยากรภายในประเทศที่เราต้องการเพื่อให้ได้มาหรือประหยัดเงินตราต่างประเทศ

106 การแสดงค่า DRC กระทำได้สองวิธี
DRCi = PV( ) ยังไม่เสร็จ หน้าที่ 370 PV( Wpi ) โดยที่ PV : มูลค่าปัจจุบัน j, L, n : ปัจจัยที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลก , แรงงานและปัจจัยที่มีการซื้อขาย ในตลาดโลกตามลำดับ สำหรับกิจกรรมที่มีการซื้อขายในตลาดโลก : i aji : จำนวนหน่วยของปัจจัยที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลก j ต่อหน่วยของ i aLi : จำนวนแรงงานประเภท L ต่อหน่วยของ i

107 ต่อ Ani : จำนวนหน่วยขอปัจจัยที่มีการซื้อขายในตลาดโลก n ต่อหน่วยของ i
DPSPj : ราคาเงาของปัจจัยที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดโลก j DPSWRL : ค่าเงาสำหรับแรงงานประเภท L WPi , WPn : ราคาตลาดโลกในรูปเงินตราต่างประเทศของผลผลิต i และปัจจัย n ประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นเมื่อกิจกรรม i ต้องมี DRCi < SER

108 ต่อ 2. ทรัพยากรภายในประเทศและเงินตราต่างประเทศสุทธิถูกกำหนดให้อยู่ในรูปเงินตราภายในประเทศ ดังนั้น จะเป็นอัตราส่วนของต้นทุนต่อผลประโยชน์ DRCi = PV ( ) ยังไม่เสร็จ หน้าที่ 370 PV(WPi ) SER ประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นเมื่อ DRC < โดยที่ OER ถูกใช้เป็นตัวหารหรือตัวส่วน ( denominator )

109 6.9 การประเมินมูลค่าของสินค้าและบริการที่ไม่ผ่านตลาด
6.9 การประเมินมูลค่าของสินค้าและบริการที่ไม่ผ่านตลาด สินค้าและบริการบางชนิดที่รัฐบาลจัดหาบริการให้แก่ประชาชน อาทิ สวนธารณะ สวนพักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ เป็นสินค้าและบริการที่ไม่ถูกกำหนดโดยผ่านกลไกลตลาด เพราะไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นในตลาด การประเมินมูลค่าของสินค้าและบริการเหล่านี้ กระทำโดยพิจารณาจำนวนเงินที่ผู้บริโภคเต็มใจจ่ายซื้อเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ แหล่งนันทนาการ ( Recreational Facilities) วิธีการประเมินมูลค่าของสินค้าและบริการประเภทแหล่งนันทนาการที่จะกล่าวถึงในที่นี้พอสังเขป ได้แก่ CVM และ TCM

110 ต่อ 1. วิธีประเมินค่าจากเหตุการณ์สมมติ ( Contingent Valuation Method : CVM) เป็นวิธีการสำรวจโดยการออกแบบสอบถามเพื่อทราบถึงทัศนคติของผู้ใช้บริการแหล่งนันทนาการ ข้อมูลที่รวบรวมได้จะสะท้อนถึงมูลค่าที่สังคมส่วนใหญ่พึงให้ความสำคัญ วิธีการนี้เรียกว่า dephi technique 2. วิธีต้นทุนการเดินทาง ( Travel – Cost Method : TCM ) เป็นวิธีการประเมินมูลค่าแหล่งนันทนาการโดยอาศัยฐานการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค โดยถือคุฤณค่าของเวลาเป็นสิ่งสำคัญ ข้อมูลดังกล่าวนำมาสร้างฟังก์ชันแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนครั้งของการมาใช้บริการกับค่าใช้จ่ายต่อครั้งของการใช้บริการก็จะได้เส้นอุปสงค์ของการมาใช้บริการพื้นที่ภายใต้เส้นอุปสงค์จะแสดงถึงมูลค่าความเต็มใจจ่ายของผู้ใช้บริการ

111 มูลค่าชีวิต ( Value of Life )
ในการวิเคราะห์ผลเสีย – ผลประโยชน์ของโครงการรัฐบาลมักจะให้ความสำคัญกับผลกระทบของโครงการที่มีผลต่อมูลค่าของชีวิต โดยเฉพาะการลดอัตราการสูญเสียชีวิต ของคนในสังคม นักเศรษฐศาสตร์ได้นำเสนอวิธีการประเมินมูลค่าชีวิตดังนี้ 1. วิธีพิจารณาจากความสามารถในการผลิต ( productivity ) หรือมูลค่าทุนมนุษย์ ( human capital value ) โดยพิจารณาว่า การตายก่อให้เกิดการสูญเสียประโยชน์ ไม่มีโอกาสสร้างขึ้นมาได้อีก ซึ่งก็คือมูลค่าปัจจุบันสุทธิของกระแสเงินรายได้ของผู้ตายที่แสดงประสิทธิภาพในการผลิตที่เขาจะได้รับในอนาคตตลอดช่วงชีวิตที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่ 2. วิธีพิจารณามูลค่าของเงินประกันที่ผู้ตายทำประกันไว้ก่อนเสียชีวิต ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญที่ผู้ตายมีต่อบุคคลในครอบครัวของเขา 3. วิธีพิจารณาความยินดีจ่ายเงินของบุคคลเพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุถึงชีวิตหรือทุพพลภาพตลอดชีพ

112 มูลค่าของเวลา ( Value of Time )
เป็นเวลาของการได้พักผ่อน ( leisure time) หรือเวลาที่ออมได้อันเกิดจากโครงการ โดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยทฤษฎีอุปทานแรงงานที่ว่า มูลค่าที่แรงงานได้รับจากการพักผ่อนเพิ่มขึ้นหนึ่งชั่วโมงจะเท่ากับมูลค่าของการทำงานอันเกิดจาการทำงานเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชั่วโมง

113 6.10 ประเด็นข้อสังเกตเกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงการทางเศรษฐกิจ
6.10 ประเด็นข้อสังเกตเกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงการทางเศรษฐกิจ 1. การคิดหักลดต้นทุนและผลประโยชน์ ( Discounting Costs and Benefits) “อัตราส่วนลด” จะสะท้อนถึงค่าเสียโอกาสของการใช้ทรัพยากรมาใช้ในโครงการ หรือ ผลประโยชน์ที่โครงการอื่นสูญเสียไปอันเนื่องมาจากมีการนำทรัพยากรมาใช้ในโครงการที่เราต้องการแล้ว 2. การเปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินใจเพื่อการลงทุน ( Method of Comparison ) เกณฑ์พื้นฐานที่ใช้เปรียบเทียบต้นทุนและผลประโยชน์ที่สำคัญมี 4 เกณฑ์ อันได้แก่ NPV IRR BCR และระยะคืนทุน ( payback period) การเลือกใช้เกณฑ์ใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของโครงการ

114 ต่อ มีความเสี่ยงสูงในอนาคต Payback period เกณฑ์นี้มักใช้กับโครงการที่
มีโอกาสในการลงทุนที่เห็นผลเร็ว ไม่สามารถหาเงินทุนได้ในระยะยาว หลักค่าใช้จ่ายต่ำสุด ( Cost Minimization ) ทำการเลือกโครงการที่ให้ค่าปัจจุบันของค่าใช้จ่ายต่ำสุด ซึ่งค่าใช่จ่ายนี้ถูกหักด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหาะสม

115 3. ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ( Risk and Uncertainty )
ความไม่แน่นอนของโครงการก็คือการวิเคราะห์ความไวหรือความอ่อนไหวและการวิเคราะห์ความเสี่ยง 3.1 การวิเคราะห์ความอ่อนไหว เป็นการวิเคราะห์ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยทำการทดสอบผลกระทบที่มีต่อค่า IRR หรือค่า NPV อันเนื่องจากการผันแปรในมูลค่าของตัวแปร ผลลัทธ์ของการวิเคราะห์ความอ่อนไหว วิธีที่ 1 การกำหนดมูลค่าของปัจจัยที่สำคัญหลาย ๆ ตัวซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการ จากนั้น คำนวณหา IRR และ NPV เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงจากเดิม

116 ต่อ วิธีที่ 2 โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในในมูลค่าของตัวแปรจากระดับหนึ่งเป็นอีกระดับหนึ่งในรูปของเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของตัวแปรที่ทำให้อัตราผลตอบแทนของโครงการเท่ากับค่าเสียโอกาสของทุน ( IRR = r ) หรือ NPV เท่ากับศูนย์ วิธีการดังกล่าวทำให้ทราบว่า ตัวแปรใดมีความสำคัญต่อขั้นวิกฤตของโครงการ 3.2 การวิเคราะห์ความเสี่ยง เราสามารถหาค่าความน่าจะเป็นสำหรับเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยง แต่ไม่สามารถกระทำได้กับเหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอน ความละเอียดในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนขึ้นกับว่าผู้วิเคราะห์ให้ความสำคัญมากน้อยเพียงใด ถ้าผลประโยชน์ของโครงการระบบขนส่งขึ้นกับตัวแปรอิสระหลายตัว ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักยิ่งขึ้น ถ้าโครงการที่กำลังพิจารณาเป็นโครงการที่มีความสำคัญ

117 4. การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์และทางการเงิน ( Economic Versus)
มีความแตกต่างในการประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการอันจะนำไปสู่ผลของการตัดสินใจในการลงทุนที่ขัดแย้งกันได้ ซึ่งในกรณีของโครงการสาธารณะแล้ว รัฐบาลจะไม่อนุมัติให้ดำเนินโครงการที่ให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่ำกว่าต้นทุน การวิเคราะห์ทางการเงินจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการตัดสินใจดำเนินโครงการ 5. เวลาที่เหมาะสมของโครงการ ( Optimum Timing of Projects) ช่วงเวลาที่เหมาะสมของการดำเนินโครงการใด ๆ ต้องพิจารณาว่า ความแตกต่างของมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์และมูลค่าปัจจุบันของต้นทุนนั้นจะต้องต่ำที่สุด ผลประโยชน์ที่สูญเสียไปจากความล่าช้าหรือเลื่อนเวลาดำเนินโครงการออกไปควรจะเท่ากับการลดลงในมูลค่าปัจจุบันของต้นทุนที่เรายอมรับได้

118 7 การเลือกอัตราส่วนลด

119 7.1 ความสำคัญและความหมายของอัตราส่วนลด
7.1 ความสำคัญและความหมายของอัตราส่วนลด การประเมินต้นทุนและผลประโยชน์อันเกิดจากโครงการนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับช่วงเวลาของการได้มาซึ่งต้นทุนและผลประโยชน์ที่มักเกิดขึ้นต่างเวลากัน มูลค่าที่แท้จริงของเงิน 1 บาท ในปัจจุบันจะมีความลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อการดำเนินโครงการใดก่อให้เกิดกระแสผลประโยชน์และค่าใช้จ่ายต่างวาระกัน กระแสผลประโยชน์และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในอนาคตย่อมมีค่าน้อยกว่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้น ความสนใจในการกำหนดค่าของเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญ และมีผลกระทบต่อมูลค่าของต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการค่าของเวลาและมูลค่าของต้นทุนและผลประโยชน์ดังกล่าวถูกเชื่อมโยชน์ด้วย “อัตราส่วนลด” โดยผ่านกระบวนการหักลด ( discounting)

120 ต่อ อัตราส่วนลด ( discount rate : r ) เป็นค่าที่แสดงในรูปร้อยละซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำแฟกเตอร์ส่วนลด( discount factor : 1 สูตร หน้า 406 ) โดยแฟกเตอร์ส่วนลดเป็นสิ่งที่ใช้ปรับลดค่าของเงินในอนาคตเป็นค่าปัจจุบัน ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นตลอดอายุของโครงการหรือโปรแกรม ผลลัทธ์สุทธิขึ้นอยู่อย่างสำคัญกับอัตราส่วนลดที่ถูกเลือกมา อัตราส่วนลดค่าสูงบ่งชี้ว่า หนึ่งบาทในอนาคตอันใกล้ย่อมมีค่ามากว่าหนึ่งบาทในอนาคตอันไกล เมื่อเป็นเช่นนี้ อัตราส่วนลดค่าสูงจึงสนับสนุนให้เรานำทรัพยากรไปใช้ในโปรแกรมซึ่งให้ผลคุ้มค่าโดยเปรียบเทียบสูง ในระยะสั้น ในทางตรงกันข้าม อัตราส่วนลดค่าต่ำกว่า จะสนับสนุนให้เราเลือกโปรแกรมซึ่งมีผลประโยชน์สุทธิสูงในอนาคตอันยาวไกล

121 ต่อ ปัญหาเกี่ยวกับการใช้อัตราส่วนลดค่าบวกสำหรับโปรแกรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบระยาวนั้นเป็นเรื่อลำบากต่อการหาข้อยุติ นักวิชาการหลายท่านมีความเห็นว่า สำหรับโครงการสิ่งแวดล้อมในระยะยาวแล้ว ค่าอัตราส่วนลดที่เหมาะสมจะเท่ากับศูนย์ ทว่ามีประเด็นที่เราต้องพึงระวัง เพราะอาจเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและวิ่งแวดล้อมได้ ถ้าหากเราใช้อัตราส่วนลดค่าต่ำในการประเมินโครงการพัฒนา การใช้อัตราส่วนลดค่าต่ำ ทำให้มีความเป็นไปได้มากในการสนับสนุนโครงการขั้นพื้นฐานที่ไม่คุ้มค่า ทั้งนี้เพราะความไม่แน่นอนและระยะเวลาอันยาวนานทำให้ผลประโยชน์ถูกสะสมจนมีมูลค่ามากกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระยะแรก ๆ

122 ค่าอัตราส่วนลด : r มีความสำคัญต่อการวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุนของโครงหารอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า โครงการมีประสิทธิภาพเพียงใด ด้วยเหตุผลที่ว่า 1. ความพึงใจที่จะเลือกบริโภคในปัจจุบันมากกว่ารอไปบริโภคในอนาคต 2. บุคคลคาดคะเนอัตราเงินเฟ้อแตกต่างกัน 3. ดีกรีของการไม่ชอบความเลี่ยงอาจแปรผันระหว่างบุคคล การที่จะตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการใดนั้นโครงการใดนั้นจะต้องพิจารณาผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป อาจคำนวณเป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน( rate of return on investment) ในรูปของเปอร์เซ็นต์

123 7.2 การประเมินค่าอัตราส่วนลดที่เหมาะสม
7.2 การประเมินค่าอัตราส่วนลดที่เหมาะสม การเลือกอัตราส่วนลดค่าใดมาใช้ในกระแสทรัพยากรหรืองบทางการเงินของโครงการนั้นย่อมขึ้นอยู่กับความหมายที่ให้กับอัตราส่วนลดและเป้าหมายของโครงการที่กำลังพิจารณา กระแสทรัพยากรหรืองบทางการเงินของโครงการจะถูกประเมินค่าโดยใช้ราคาคงที่( constant prices) ดังนั้น อัตราส่วนลดที่นำมาใช้ทำแฟกเตอร์ส่วนลดต้องเป็นอัตราส่วนลดที่แท้จริง เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงต้องมีการปรับลดค่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดด้วยอัตราเงินเฟ้อ อัตราส่วนลดที่แท้จริง = ( 1+r) / (1+ พาย หน้า 415) โดยที่ r คืออัตราส่วนลดตลาดในปัจจุบัน พาย คืออัตราการเพิ่มของราคาโดยเฉลี่ยรายปี

124 ต่อ เงื่อนไขขั้นต่ำของผู้เป็นเจ้าของโครงการก็คือโครงการควรก่อให้เกิดทรัพยากรในอนาคตในอัตราที่สามารถจ่ายคืนเงินทุนที่กู้ยืมมาทั้งหมด ต้นทุนของเงินทุนที่กู้ยืมมทนี้ต้องแสดงในรูปค่าที่แท้จริง ตัวอย่าง เช่น ผู้เป็นเจ้าของโครงการใช้เงินทุนของตนเองส่วนหนึ่งส่วนที่เหลือกู้ยืมจากสถาบันการเงิน การคำนวณหาอัตราส่วนลดเป็นดังนี้ อัตราส่วนลด = (เงินทุนของผู้เป็นเจ้าของโครงการ x อัตราผลตอบแทนส่วนผู้เป็นเจ้าของ) เงินทุนทั้งหมดที่ต้องใช้ในโครงการ + (เงินทุนจากการกู้ยืม x อัตราดอกเบี้ยเงินกู้)

125 7.3 แนวคิดพื้นฐานในการกำหนดอัตราส่วนลดของสังคมและอัตราส่วนลดของเอกชน ( Social Discount Rate and Private Discount Rate ) 7.3.1 แนวคิดอัตราค่าเสียโอกาสของเอกชน ( Private Opportunity Cost Rate) ในระบบเศรษฐกิจที่ตลาดมีการแข่งขันสมบูรณ์ อัตราผลตอบแทนที่เอกชนได้รับจะเท่ากันหมดในแต่ละหน่วยธุรกิจ หน่วยธุรกิจใดได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำกว่าหน่วยธุรกิจอื่นก็จะออกจากตลาดไปหรือโยกย้ายทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตไปลงทุนในทางอื่นที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่า การที่รัฐบาลดึงทรัพยากรจากเอกชนมาใช้ในโครงการของตนก็จำเป็นต้องปรับอัตราผลตอบแทนของเอกชนเสียก่อน เพื่อให้ได้อัตราส่วนลดที่เหมาะสมในการนำมาประเมินโครงการของรัฐบาล

126 ต่อ กรณีที่ 1 การกำหนดอัตราส่วนลดของโครงการรัฐบาลเมื่อการลงทุนของภาคเอกชนไม่ต้องเสียภาษีและปราศจากความเลี่ยง กรณีที่ 2 การกำหนดอัตราสาวนลดของโครงการรัฐบาล เมื่อการลงทุนของภาคเอกชนต้องเสียภาษีและไม่เผชิญความเลี่ยง กำหนดให้ r = อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่ปราศจากความเลี่ยงและไม่ต้องเสียภาษี g = อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนก่อนเสียภาษี (กรณีต้องเสียภาษี) t = อัตราภาษี g - tg = r g = r 1 – t G ก็คืออัตราส่วนลดที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงการรัฐบาล

127 กรณีที่ 3 การกำหนดอัตราส่วนลดของโครงการรัฐบาล กรณีการลงทุนของเอกชนมีความเลี่ยงและต้องเสียภาษีในอัตราที่แตกต่างกัน วิธีคำนวณหาอัตราส่วนลดเงา ( shadow discount rate : SDR ) SDR = K + NDI โดยที่ K : ค่าเสียโอกาสหรือผลิตภาพเพิ่มของทุน( opportunity cost of capital or marginal productivity of capital ) NDI : ผลกระทบจากการกระจายรายได้โดยสุทธิ( net distribution impact ) แต่เนื่องจากผลกระทบของการดำเนินโครงการเรื่องการกระจายรายได้นั้น ในทางปฏิบัตินอกจากจะหาข้อมูลได้ยากแล้วยังมีความยุ่งยากในการวัดอีกด้วย ประกอบกับการกระจายรายได้ไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการวิเคราะห์โครงการ ดังนั้น จะไม่นำค่า NDI เข้ามาพิจารณา จึงได้ว่า SDR = K

128 ต่อ หลักการคำนวณค่า K มี 4 วิธี
วิธีที่ 1 หาค่า K ที่ทำให้อุปสงค์ของทุนเท่ากับอุปทานของทุน (demand of capital = supply of capital ) อุปทานของเงินทุน หมายถึง เงินที่รัฐบาลจะนำมาใช้ดำเนินโครงการที่ประเมินแล้วว่าคุ้มค่าที่จะลงทุน ต้องคำนวณหาค่า NPV ของโครงการที่พิจารณาด้วยค่า K ทั้งนี้จะกำหนดค่า K เรื่อยไปจนได้ว่า K ที่ทำให้อุปสงค์ของทุนเท่ากับอุปทานของทุน การหาค่า K ด้วยวิธีนี้ รัฐบาลมักนำมาใช้ในกรณีมีข้อจำกัดด้านงบประมาณในการลงทุนเฉพาะในช่วงระยะเวลาที่กำลังตัดสินใจเลือกโครงการ

129 ต่อ วิธีที่ 2 หาค่า K จากอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนหน่วยท้ายสุดของโครงการรัฐบาล ( marginal rate of public investment ) หรืออีกนัยหนึ่งคือค่าประสิทธิภาพของทุนหน่วยท้ายสุด ( marginal efficiency of capital : MEC ) ในทางปฏิบัติจะทำการประเมินอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของโครงการรัฐบาลหลาย ๆโครงการที่ได้ลงทุนไปแล้ว ซึ่งวิธีนี้มีข้อเสียคือค่า K ที่ได้ไม่ทันสมัย วิธีที่ 3 การใช้ค่าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่ธนาคารโลกกำหนด โดยพิจารณาจากโครงการที่ธนาคารโลกปล่อยกู้ ซึ่งจะเป็นโครงการที่ดี อัตรานี้จึงเป็นอัตราเพดานที่ประเทศกำลังพัฒนาใช้เป็น SDR ได้ วิธีที่ 4 การใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ประเทศกำลังพัฒนาขอกู้จากต่างประเทศเพื่อมาลงทุนในโครงการ อัตรานี้เป็นอัตราขั้นต่ำสุดที่ใช้เป็น SDR เพื่อให้ค่า SDR ที่เป็นมาตรฐานในการวิเคราะห์โครงการทุกโครงการหน่วยงานระดับชาติจึงมีหน้าที่คำนวณหาค่า SDR ที่ถูกต้อง

130 การเลือกใช้อัตราส่วนลดภายใต้ความเลี่ยงและความไม่แน่นอน ( Risk and Uncertainty)
หมายถึง สถานการณ์ที่อาจมีเหตุการณ์เกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งเหตุการณ์ โดยแต่ละเหตุการณ์มีโอกาสเกิดขึ้น ซึ่งเราอาจประมาณความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ ขณะที่ความไม่แน่นอนนั้น เราไม่สามารถคาดหมายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้เลย ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนจะมีความแตกต่างกันระหว่างโครงการลงทุน โครงการที่มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนสูงย่อมต้องพิจารณาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราสูง เพื่อจูงใจให้มีการลงทุน

131 7.3.2 แนวคิดความพอใจด้านเวลาของสังคม ( Social Time Preference )
ในกรณีที่ตลาดมีการแข่งขันสมบูรณ์ อัตราความพอใจด้านเวลาของสังคมจะเท่ากับอัตราค่าเสียโอกาสหรืออัตราผลตอบแทนในการลงทุนของสังคม ณ ดุลยภาพ นั่นคือ ต้องนำผลประโยชน์ของภาคเอกชนที่ลดลงไปหักออกจากผลประโยชน์ของโครงการรัฐบาลอันเกิดจากการดึงทรัพยากรมาลงทุน

132 ประเด็นข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวคิดความพอใจด้านเวลาของสังคม
คนรุ่นปัจจุบันมีความพอใจบริโภคในปัจจุบันมากกว่ารอบริโภคใจอนาคต เพราะผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้ในอนาคตต่ำกว่าผลประโยชน์ที่ได้รับในปัจจุบัน Kenneth Arrow เป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งที่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าวว่า สังคมให้ความพอใจด้านเวลาในปัจจุบันต่ำกว่าภาคเอกชน

133 8 การประเมินผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม : สาระสำคัญของปัญหา
8 การประเมินผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม : สาระสำคัญของปัญหา

134 8.1 ความสำคัญของการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเป็นทรัพย์สินที่มีผลิตภาพ ( productive asset) ความมีผลิตภาพของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นเรื่องของความสามารถที่สิ่งแวดล้อมจะสนับสนุนและทำให้ชีวิตมนุษย์ดีขึ้น คุณภาพของทรัพย์สินสิ่งแวดล้อมจึงได้รับผลกระทบโดยตรงจากปริมาณและรูปแบบของกากของเสียซึ่งไม่ใช่แล้วจากการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจ

135 แหล่งกำเนิด 1 แหล่งกำเนิด แหล่งกำเนิด n ผู้ผลิต ,ครัวเรือน (ผู้ผลิต, ครัวเรือน) ผู้ผลิต,ครัวเรือน การผลิต การผลิต การผลิต กากเหลือ กากเหลือ กากเหลือ การจัดการกากเหลือ(จัดการ,จัดเก็บ นำมาเวียนใช้ ....) การจัดการกากเหลือ(จัดการ,จัดเก็บ นำมาเวียนใช้ ....) การจัดการกากเหลือ(จัดการ,จัดเก็บ นำมาเวียนใช้ ....)

136 ยังไม่เสร็จ หน้า 433

137 ศัพท์เฉพาะ *คุณภาพอากาศโดยรอบ (ambient quality) ปริมาณมลพิษที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม *คุณภาพสิ่งแวดล้อม(environment quality) สภาพของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ *กากเหลือ(residual) วัตถุที่เหลือทิ้งจากการผลิต *การแพร่(emission) ส่วนของกากเหลือที่กระจายอยู่ในสิ่งแวดล้อม *การเวียนกลับมาผลิตใหม่(recycling) กระบวนการนำกากเหลือนำกลับมาใช้ในการผลิตอีกครั้ง *มลพิษ(pollutant) สะสารที่ปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมีผลให้ระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมลดลง

138 *การปล่อยมลพิษ(effluent)มลพิษที่ถูกทำให้กระจายสู่สิ่งแวดล้อม
*ภาวะมลพิษ(pollution) มีบางสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมนั้นเลวลง จนทำให้เกิดความเสียหารแก่สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต *ความเสียหาย(damages) ผลกระทบเชิงลบอันเกิดจากภาวะมลพิษในสิ่งแวดล้อม *สื่อกลางของสิ่งแวดล้อม(environmental medium) มิติทางธรรมชาติที่จำแนกได้เป็น ดิน น้ำ และอากาศ *แหล่งกำเนิด(source) แหล่งที่ทำให้เกิดมลพิษ

139 8.1.1 การเปลี่ยนแปลงนโยบาย (Policy Changes)
โครงการลงทุนส่วนใหญ่มีกกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต้องนำผลกระทบมาประกอบการตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการหรือไม่ โครงการที่ดำเนินการแล้วเกิดผลกระทบในเชิงลบก็จำเป็นต้องยุติโครงการ นอกเสียจากว่าโครงการจะก่อให้เกิดผลประโยชน์มหาศาลในระยะยาวคุ้มกับค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนระยะยาว ซึ่งได้รวมถึงผลกระทบในเชิงลบคือต้นทุนของสิ่งแวดล้อม(environmental costs) ในการวิเคราะห์โครงการ เราจำเป็นต้องทำการประเมินสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่จำสูยเสียไปจากการทำโครงการ โดยผู้วางแผนโครงการต้องจัดเตรียมความพร้อมของจำนวนทรัพย์ยากรที่ใช้ ตลอดจนเครื่องชี้วัดสิ่งแวดล้อม(environmental indicators) ซึ่งจะแสดงแนวโน้มการใช้ทรัพยากรทั้งแง่ของการใช้เกินปริมาณที่เหมาะสมหรืการฟื้นฟูทรัพยากรใหม่

140 8.1.2 เกราะป้องกันสิ่งแวดล้อม (Environmental Safeguards)
เกราะป้องกันสิ่งแวดล้อมรวมถึงการป้องกัน การลดความสูญเสีย หรือการจ่ายชดเชยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการมีโครงการ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่สูญเสียไปในการปกป้องสิ่งแวดล้อมจะรวมถึงองค์ประกอบขั้นพื้นฐานทางเทคโนโลยี่ จึงทำให้การคิดคำนวณต้นทุนของโครงการให้ชัดแจ้งมีความยุ่งยากมากขึ้น เพื่อให้มีประสิทธิผลสูงสุดความห่วงใยใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมควรถูกกำหนดในขั้นแรกของการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขั้นต้น และควรจะได้มีการติดตามผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในช่วงที่นำโครงการไปปฏิบัติจริง พร้อมตรวจสอบและประเมินผลเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

141 8.2 ผลกระทบภายนอก (Externality)
โครงการที่ปราศจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การใช้อัตราส่วนลด (ค่าสูง) จะช่วยจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยขจัดโครงการลงทุนที่ให้ผลประโยชน์ต่ำออกไปและคงไว้ซึ่งโครงการที่ให้ผลประโยชน์สูง 8.2 ผลกระทบภายนอก (Externality) 8.2.1 ผลประโยชน์ภายนอก (External Benefit) ผลกระทบภายนอกเป็นผลประโยชน์ซึ่งเกิดขึ้นกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลภายนอกโครงการหรืออยู่นอกเหนือการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริโภค หรือการใช้สินค้าหรือทรัพยากรอันเป็นสาเหตุของผลกระทบภายนอก เมื่อการใช้สิ่งใดก็ตามที่นำไปสู่ผลประโยชน์ภายนอก ความเต็มใจจ่ายตามราคาตลาดของของสิ่งนั้นจะน้อยกว่าความเต็มใจจ่ายของสังคม

142 8.2.2 สินค้าสาธารณะ (Public Goods)
สินค้าสาธารณะเป็นสินค้าที่การบริโภคหรือการใช้ประโยชน์มีลักษณะเป็น nonrival และ nonexcludable ลักษณะทั้งสองเป็นลักษณะความซับซ้อน โดยเฉพาะของทรัพยากรธรรมชาติ โดยที่ nonrival หมายถึง การบริโภคหรือการใช้ประโยชน์ของบุคคลหนึ่งไม่ได้ทำให้การบริโภคของอีกบุคคลหนึ่งลดลง nonexcludable เป็นกรณีที่บุคคลนิ่งเฉยที่จะจ่ายเงินให้กับการใช้ประโยชน์ เพราะไม่สามารถระบุได้ว่า ตนใช้ประโยชน์สินค้าไปกี่หน่วย

143 ต้นทุนของสังคม = ต้นทุนภายในโครงการ + ต้นทุนภายนอก
8.2.3 ผลกระทบภายนอกเชิงลบ ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจหรือโครงการคือผู้แสวงกำไรสูงสุด พวกเขาก็จะพยายามลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงเท่าที่จะเป็นไปได้ สิ่งนี้ถือเป็นผลประโยชน์อันคุ้มค่าในแง่ของธุรกิจและสังคม เพราะปัจจัยการผลิตมีค่าเสียโอกาสเสมอ ความพยายามของธุรกิจที่จะหาทางลดต้นทุนดังกล่าวมักจะก่อให้เกิดผลกระทบภายนอกเชิงลบหรือต้นทุนภายนอก ( external cost ) ที่เรียกว่า “ ภายนอก” ก็เพราะถึงแม้จะเป็นต้นทุนแท้จริงที่ตกอยู่กับสมาชิกบางคนในสังคม ธุรกิจจะไม่นำต้นทุนเหล่านี้มาพิจารณาเมื่อทำการตัดสินใจเกี่ยวกับปริมาณการผลิต บางครั้งเรียกว่าต้นทุนภายนอกว่า “ต้นทุนบุคคลที่สาม” ( third-party costs ) ต้นทุนของสังคม = ต้นทุนภายในโครงการ ต้นทุนภายนอก

144 ราคาปัจจัยการผลิตและผลผลิตที่จะนำมากำหนดต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการต้องเป็นราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของค่าเสียโอกาสของปัจจัยและผลผลิต ซึ่งเท่ากับว่า โครงการได้จัดสรรทรัพยากรอย่ามีประสิทธิภาพ โดยผลผลิตที่เหมาะสมของโครงการ ( optimal output ) จะถูกกำหนด ณ ระดับที่ราคาสินค้าต่อหน่วยเท่ากับต้นทุนหน่วยท้ายสุด นั่นคือ P=MC

145 8.3 ระดับที่เหมาะสมของผลกระทบภายนอกเชิงลบ
8.3 ระดับที่เหมาะสมของผลกระทบภายนอกเชิงลบ มลพิษเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วยากที่จะกำจัดให้หมดสิ้น ดังนั้น สิ่งที่กระทำได้ก็คือการกำหนดระดับที่เหมาะสมของมลพิษที่สร้างความเสียหายแก่สังคมโดยรวมให้น้อยที่สุด อาทิ กรมควบคุมมลพิษมีการกำหนดระดับสารตะกั่ว ฝุ่นละออง เสียงจากยานพาหนะหรือการก่อสร้าง ฯลฯ ที่ยอมรับได้ ผลประโยชน์สุทธิหน่วยท้ายสุดของเอกชน ( marginal net private benefit : MNPB ) MNPB = P - MC โดยที่ P คือ ราคาผลผลิตต่อหน่วยหรือผลประโยชน์หน่วยท้ายสุด MC คือ ต้นทุนหน่วยท้ายสุดของธุรกิจเอกชน

146 8.4 การควบคุมและมาตรการแก้ไขผลกระทบภายนอกเชิงลบ
8.4 การควบคุมและมาตรการแก้ไขผลกระทบภายนอกเชิงลบ ความพยามที่จะควบคุมมลพิษมีความสมเหตุสมผลในทางเศรษฐศาสตร์เพียงใดนั้น นักเศรษฐศาสตร์ได้เสนอให้ใช้การวิเคราะห์ต้นทุน - ผลประโยชน์มาประเมินความพยายามที่จะควบคุมมลพิษ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการควบคุมมลพิษคุ้มค่ากับต้นทุนหรือไม่ รายการต้นทุนสามารถระบุได้สองส่วน ส่วนแรกเป็นต้นทุนของสินค้า และบริการที่มีค่าสูงขึ้นเพราะต้นทุนของการติดตั้ง การดำเนินการ และการบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ควบคุมมลพิษถูกส่งผ่านผู้บริโภคในรูปของราคาที่สูงขึ้น ส่วนที่สองเป็นต้นทุนที่เกี่ยวพันกับการร่างและการส่งเสริมสนับสนุนกฎระเบียบข้อบังคับ อีกทั้งการติดตามผลและการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย

147 มาตรการแก้ไขปัญหาผลกระทบภายนอกด้านมลพิษ
*มาตรการทางภาษี *การคิดค่าปรับจาการปล่อยมลพิษ (Effluent Charges) *เงินอุดหนุน (Subsidies) *กฎข้อบังคับ มาตรฐาน และใบอนุญาต (Regulation Standards and Licenses)

148 9 การวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม : วิธีการวิเคราะห์

149 9.1 EIA ( environmental impact assessment : EIA ) คือการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบจากผลการพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่สำคัญเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการ / กิจการ ผลการศึกษาจัดทำเป็นเอกสารเรียกว่า รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับประเทศไทยมีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ และมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณารายงานการวิเคราะห์

150 ขั้นกลั่นกรองโครงการ
ขั้นกลั่นกรองโครงการ หน้าที่ 489

151 9.2 มูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งหมด ( Total Economic Value : TEV )
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นสินค้าและบริการที่ไม่มีราคา เพราะไม่มีตลาดรองรับ ( non-market goods ) นอกจากนั้น สินค้าและบริการเหล่านี้ไม่อาจนำกลับคืนมาใช้ได้ ( irreversibility ) เมื่อถูกทำลายไป และที่สำคัญคือไม่สามารถผลิตทดแทนหรือเพิ่มขึ้นจากเดิมได้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าในหน่วยของเงินตรา การวัดมูลค่าทางเศรษฐกิจถูกนำมาใช้ประเมินผลเสีย – ผลประโยชน์ของโครงการ นักเศรษฐศาสตร์จึงได้จำแนกมูลค่าร่วมทางเศรษฐกิจของสิ่งแวดล้อมออกเป็น 3 ประเภท อันได้แก่ มูลค่าการใช้ ( use value ) มูลค่าเผื่อใช้ ( option value ) และมูลค่าที่ไม่ได้ใช้ ( nonuse value )

152 Total economic value = actual use value + option value + nonuse value
มูลค่าการใช้แท้จริง ( actual use value ) เป็นมูลค่าอันเกิดจากการใช้ประโยชน์หรือสวัสดิการที่บุคคลได้รับจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ถ้ารับประโยชน์โดยตรงเรียกว่า direct use value มูลค่าเผื่อใช้ option value ) เป็นมูลค่าเผื่อใช้ในอนาคตของบุคคล โดยบุคคลเต็มใจจ่ายในปัจจุบันเพื่อให้ตัวเองหรืออนุชนรุ่นหลังมีโอกาสใช้สิ่งแวดล้อมในอนาคตได้ถ้าต้องการ มูลค่าที่ไม่ได้ใช้ ( nonuse value ) เป็นการที่ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้ประโยชน์ต่อบุคคลในลักษณะของบุคคลที่มีความรู้รู้สึกที่ดีเมื่อรับรู้ สิ่งแวดล้อมยังอยู่ในสภาพที่ดีโดยที่ไม่มีโอกาสใช้ประโยชน์ทั้งในแง่ direct หรือ indirect use value

153 9.3 การประเมินค่าผลประโยชน์ ( Valuing Benefits )
การดำเนินกิจกรรมของโครงการหรือกิจกรรมใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้วิเคราะห์ย่อมมีหน้าที่ประเมินความเสียหายออกมาในรูปตัวเงิน (money term) โดยแสดงเป็นค่าของ 1. มูลค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไป 2. มูลค่าของการฟื้นฟูทรัพยากรให้กลับสู่สภาพเดิม แนวคิดของ “ผลประโยชน์” (benefit) มีรากฐานมาจาก “สิ่งที่บุคคลต้องการ” หรือ “ความพอใจของบุคคล” จะแสดงในรูปของความเต็มใจที่จะจ่ายสำหรับสิ่งนั้น (willingness to pay : WTP) และเต็มใจยอมรับการชดเชย (WTA) มี 2 วิธีที่ใช้วัดผลเสียอนเกิดจากการทำลายสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1. WTP เพื่อรักษาผลประโยชน์ 2. WTAเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์ 3. WTPเพื่อปกป้องความสูญเสีย 4. WTAเพื่อให้ทันต่อความสูญเสีย

154 9.3.1 ฟังก์ชั่นความเสียหาย : ลักษณะทางการภาพ
เพื่อกะประมาณฟังก์ชั่นความเสียหายของการปล่อยมลพิษ จำเป็นต้องดำเนินตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. วัดขนาดการแพร่ของมลพิษ 2. วัดระดับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับคุณภาพอากาศโดนใช้แบบจำลองการแพร่กระจาย (diffusion models) 3. ประเมินค่าการเปิดรับมลพิษ 4. ประเมินค่าผลลัพธ์ทางการภาพของระดับการเปิดรับมลพิษ 5. วัดมูลค่าของผลกระทบทางกายภาพ 9.3.2 การประเมินค่าความเสียหารของสิ่งแวดล้อม : วิธีทางตรง ในรูปของค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงิน 9.3.3 ความเต็มใจที่จะจ่าย : วิธีทางอ้อม ผู้จ่ายและผู้รับสินค้า-บริการไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน

155 9.3.4 การประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมโดยใช้มูลค่าทรัพย์สิน
มูลค่าของสุขภาพมนุษย์ในรูปของต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการ “ป้องกัน” (Advertising Costs) ยังประกอบไปด้วยวิธีการพิจารณาจาก 1. มูลค่าของชีวิต (Value of Life) 2. มูลค่าของเวลา (Value of Time) 3. ความสูญเสียในทรัพย์สิน 4. การบาดเจ็บของบุคคล 5. การเสียชีวิต 6. มูลค่าของชีวิตมนุษย์ที่แสดงในรูปอัตราจ้าง 9.3.4 การประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมโดยใช้มูลค่าทรัพย์สิน ขั้นตอนการประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อม HPM (Hedonic Price Method) ขั้นนี้ทำการเลือกตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบของมูลค่าบ้าน จากนั้นสร้างความสัมพันธ์ ในรูปฟังก์ชั่น คือ PP = f(PROP,NHOOD,ACCESS,ENV)

156 9.3.5 การประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมและความแตกต่างของค่าจ้าง ระหว่างเมือง
PP = ราคาอสังหาริมทรัพย์ PROP = องค์ประกอบทางการภาพของบ้าน NHOOD= ลักษณะเพื่อนบ้านและสังคม ACCESS = ความสามารถเข้าถึงธุรกิจใจกลางเมือง E,ENV = สภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบในทำเลที่ตั้งของบ้าน 9.3.5 การประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมและความแตกต่างของค่าจ้าง ระหว่างเมือง 9.3.6 การประเมินมูลค่าของสิ่งแวดล้อมโดยวิธีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (Travel Cost Method : TCM) ขั้นตอนหลักของวิธี TCM 1. การแบ่งเขตพื้นที่โดยรอบแหล่งนันทนาการและคิดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 2. หาค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 3. หาความสัมพันธ์ของฟังก์ชั่นการเดินทาง (trip generating function : TGF)

157 9.3.7 การประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมโดยวิธีสมมติเหตุการณ์
ข้อจำกัดในการนำวิธี TCM มาประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อม 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว 2. การคำนวรค่าใช้จ่ายตามระยะทางจากที่พักถึงแหล่งนันทนาการ 3. การกำหนดตัวแปรตามเกี่ยวกับการมาแหล่งท่องเที่ยว 4. การคิดค่าเสียโอกาส 5. การเลือกรูปแบบสมการของอุปสงค์การเดินทาง 6. วิธี TCM นำมาใช้ได้เฉพาะ Direct use values เท่านั้น มิใช่ nonuse values 9.3.7 การประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมโดยวิธีสมมติเหตุการณ์ (Contingent Valuation Method : CVM) มีวิธีการวิเคราะห์ดังนี้ 1.ระบุและให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่จะทำการประเมิน 2. ระบุกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการสอบถาม 3. ออกแบบสอบถามที่จะใช้สำรวจ 4. วิเคราะห์ผลลัพธ์และสรุปการตอบสนองของบุคคลเพื่อประเมินมูลค่าสำหรับกลุ่มที่ ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม

158 ปัญหาการประเมินผลประโยชน์ มีดังนี้ 1. การคิดหักลด (Discounting)
ข้อจำกัดในการนำวิธี CVM มาประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อม 1. ความเอนเอียงจากกลยุทธ์(stratergic bias) หรือพฤติกรรมของผู้ตอบ (behavious bias) 2. ความเอนเอียงของคำถาม (design bias) 3. ความเอนเอียงจากเครื่องมือ (vehicle bias or payment bias) 4. ความเอนเอียงจากข้อมูล (information bias) 5. ความเอนเอียงในรายละเอียดของสถานการณ์ที่สมมติขึ้น (hypotheticle bias) 6. ความเอนเอียงด้านการดำเนินการ (operational bias) ปัญหาการประเมินผลประโยชน์ มีดังนี้ 1. การคิดหักลด (Discounting) 2. ความเต็มใจที่จะจ่ายและความเต็มใจที่จะรับ 3. มูลค่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ (Nonuse Values)

159 9.4 การประเมินค่าต้นทุน (Valuing Costs) มีการพิจารณาอยู่หลายด้านดังนี้
9.4.1 แนวคิดเรื่องต้นทุน ประกอบไปด้วย 1. ค่าเสียโอกาส 2.ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม 3. ต้นทุนการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ 9.4.2 การวิเคราะห์ต้นทุน แบ่งได้ 3 ระดับได้แก่ 1. ระดับชุมชนเดียวหรือระดับหน่วยผลิต 2. ระดับอุตสาหกรรมหรือระดับภาค 3. ระดับชาติ 9.4.3 ประเด็นข้อสังเกตของการวิเคราะห์ต้นทุน มีดังนี้ 1. แหล่งข้อมูลด้านต้นทุน 1.1 วิธีสำรวจ (Survey Approach) 1.2 วิธีทางวิศวกรรม (Engineering Approach) 1.3 วิธีผนวก (Combines Approach)

160 9.5 การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis : CBA)
2. มี/ไม่มี กฎข้อบังคับ (With/Without Principle) 3.ไม่มีต้นทุนในการปรับปรุงคุณภาพของสิ่งแวดล้อม 4. การกระจายภาระต้นทุน 5. การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี่ในระยะยาวและต้นทุนของการควบคุมมลพิษ 9.5 การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis : CBA) 9.5.1 สรุปการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ (CBA) - เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการตัดสินใจด้านนโยบายสาธารณะ - ใช้ประเมินว่าผลประโยชน์ของสังคมอันเกิดจากการใช้นโยบายหรือโครงการที่นำเสนอมานั้นมีน้ำหนักมากกว่าผลเสียของสังคมหรือไม่ - ทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรไปสู่การใช้ประโยชน์ที่มีค่ามากที่สุด - เพื่อประเมินการแทรกแซงและเป็นแนวทางในการแทรกแซงด้านนโยบายของภาครัฐ - มีความแตกต่างอย่างสำคัญโดยสิ้นเชิงจากการวิเคราะห์ทางการเงิน

161 - การวิเคราะห์ทางการเงินเป็นเครื่องมือของธุรกิจ ซึ่งมุ่งความสำคัญไปยังรายจ่ายและรายรับทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับการลงทุน ให้ความสนใจกับผลเสียและผลประโยชน์ของสังคม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม - ไม่มีบุคคลใดมีสภาพที่เลวลงกว่าเดิม ขั้นตอนการวิเคราะห์ CBA มีดังนี้ 1. ระบุกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง 2. คัดเลือกโครงการในหมู่โครงการ 3. แจกแจงผลกระทบที่สามารถเป็นไปได้และเลือกดัชนีที่ใช้ชี้วัดผลกระทบ 4. ทำนายหรือคาดคะเนผลกระทบเชิงปริมาณตลอดอายุโครงการ 5. ประเมินค่าผลกระทบทั้งหมดเป็นรูปตัวเงิน 6. คำนวณหามูลค่าปัจจุบันสุทธิ 7. ระบุรายการต้นทุนและผลประโยชน์ที่สำคัญต่อความสำเร็จของโครงการ 8. ดำเนินการทดสอบความอ่อนไหวของโครงการ 9. ทำการรับรองผลของ CBA


ดาวน์โหลด ppt การวิเคราะห์ โครงการทางการเงิน FIN 4304.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google