งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 8 เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Technology)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 8 เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Technology)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 8 เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Technology)
คณาจารย์ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บทที่ 8 โดยคณาจารย์ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

2 วัตถุประสงค์การเรียนรู้
นิสิตจะได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ อุปกรณ์เคลื่อนที่แบบต่าง ๆ วิวัฒนาการของการสื่อสารบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ แอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ใช้งานบนอุปกรณ์ เคลื่อนที่ เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายแบบต่าง ๆ ที่ รองรับการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่

3 หัวข้อเนื้อหา บทนำ เครือข่ายเคลื่อนที่ (Mobile Network)
วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ เทคโนโลยีไร้สายสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Wireless for M obile Devices) อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Devices) ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Operating Syst em for Mobile Devices) แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Applications) บทสรุป

4 บทนำ แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีเคลื่อนที่ (Mobile Technology) ที่เพิ่มมากขึ้น บริษัทต่าง ๆ แข่งขันการออกแบบและพัฒนาทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนในเทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่กันมากขึ้น โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันถูกนำมาพัฒนาให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นมีคุณลักษณะคล้ายกับคอมพิวเตอร์พกพา ทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และมีการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ เพื่อใช้งาน ถูกเรียกในชื่อ “สมาร์ทโฟน”

5 บทนำ (ต่อ) ฟังก์ชันต่าง ๆ --> การส่งข้อความเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ NFC อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ วิทยุ เครื่องเล่นเพลง การสนทนาออนไลน์ การใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ดูรายการทีวีออนไลน์ การสืบค้นข้อมูล และการทำธุรกรรมทางการเงิน ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ผู้ใช้ทั่วโลกใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่มากกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Cullen, A., www, 2016) อุปกรณ์เคลื่อนที่ไม่ได้หมายความถึงโทรศัพท์มือถือเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วย เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คหรือ Labtop แท็บเล็ต เป็นต้น

6 เครือข่ายเคลื่อนที่ (Mobile Network)
สถาปัตยกรรมการทำงานของ ระบบเครือข่ายเซลลูลาร์ ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญดังนี้ ชุมสายของระบบ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (MSC) ระบบฐานข้อมูล (Database ) สถานีฐาน (Base Station) อุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ (Mo bile Devices)

7 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ

8 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
เทคโนโลยีในรุ่นที่ 1 (First Generation) หรือ 1G เป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ที่เป็นแบบอนาล็อกและให้บริการรับ-ส่งเสียงเพียงอย่างเดียว มีระบบ AMPS และระบบ TACS Mobile Phone ในยุค 1G

9 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
เทคโนโลยีรุ่นที่ 2 (Second Generation) หรือ 2G ที่เริ่มจากการพัฒนาระบบ GSM เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระบบดิจิตอล สามารถรับ-ส่งข้อมูลที่เป็นแบบมัลติมิเดียและบริการเสริมอื่น ๆ ที่เป็นแบบ Non-Voice ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ ในรุ่น 2G มีดังนี้คือ ระบบ GSM (Global System for Mobile) เป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิตอลที่มีอัตราส่งที่ 9.6 Kbps ทำงานที่สัญญาณความถี่ 4 ระดับคือ 850 MHz, 900 MHz, 1800 MHz, และ 1900 MHz ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) เป็นระบบของโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิตอล โดยมีลำดับของการพัฒนาต่อจาก CDMA คือระบบ CDMA IS-95 (Interim Standard-95) เป็น CDMA ระบบแรกที่พัฒนาขึ้นในปี 1995 และต่อมามีการพัฒนาระบบ cdmaOne ซึ่งเป็นเทคโนโลยี 2.5G เหมือนกับระบบ GPRS

10 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ

11 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
เทคโนโลยีรุ่นที่ 2.5 (2.5G) หรือ GPRS เป็นระบบของการรับส่งแพคเก็จข้อมูลด้วยอัตราความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพบนระบบเครือข่ายของ GSM ซึ่งระบบ GPRS เป็นเทคโนโลยีในรุ่น 2.5G ที่พัฒนาต่อจากเทคโนโลยีในรุ่น 2G เดิม ทำให้สามารถบริการบนเครือข่าย GSM เดิมได้ โดยมีอัตราส่งสูงถึง 115 Kbps (แต่ถูกจำกัดการใช้งานจริงอยู่ที่ 40 kbps) เทคโนโลยีรุ่นที่ 2.75 (2.75G) หรือ EDGE เป็นเทคโนโลยีของการรับส่งแพคเก็จข้อมูลที่มีการพัฒนาต่อจากระบบ GPRS ซึ่งถือได้ว่า EDGE เป็นเทคโนโลยี 2.75G ที่ทำงานอยู่บนเครือข่ายของผู้ให้บริการเทคโนโลยีเครือข่าย GSM เดิม สามารถใช้อัตราส่งข้อมูลได้สูงถึง 384 Kbps ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลแบบมัลติมิเดีย และบริการเสริมอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

12 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
ตัวอย่าง Mobile Phone ในยุค 2G ที่มา :

13 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
เทคโนโลยี 3G เป็นมาตรฐานเทคโนโลยี 3G ของยุโรป ซึ่งรับผิดชอบโดย 3GPP เรียกว่า UMTS ซึ่งระบบ W-CDMA / UMTS นี้เป็นการพัฒนาต่อจากจากระบบ GSM, GPRS และ EDGE ตามลำดับ เทคโนโลยี 3G ระบบ cdma2000 เป็นเทคโนโลยีในรุ่น 3G ที่พัฒนาโดยกลุ่ม 3GPP2 โดยในรุ่นแรกของ cdma2000 คือระบบ cdma2000 1X เทคโนโลยี 3G ระบบ TD-SCDMA เป็นเทคโนโลยีรุ่น 3G ของจีน ที่ทำงานร่วมกับระบบ W-CDMA ได้โดยไม่มีปัญหา

14 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
เทคโนโลยีรุ่นที่ 4 (4G) เนื่องจากเทคโนโลยีระบบ 3G ที่ติดตั้งให้บริการในหลายประเทศทั่วโลกมีหลายมาตรฐาน จึงทำให้มีการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีในรุ่นที่ 4 (4G) เร็วขึ้น ระบบ 4G ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีอยู่ 2 มาตรฐาน ดังนี้ เทคโนโลยี LTE (Long Term Evolution) เป็นเทคโนโลยีจากกลุ่ม 3GPP ที่มีเป้าหมายในเรื่องของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้บริการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และรองรับบริการที่ต้องการความเร็วสูงต่าง ๆ เช่น บริการ Real-time ต่างๆ ระบบโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP) ระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรน (VDO Conference) เทคโนโลยี WiMAX

15 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
ที่มา :

16 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
ที่มา :

17 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
Wi-Fi 4G ทดสอบความเร็วของ Wi-Fi และ 3G/4G ด้วยแอป Speedtest Speedtest

18 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ

19 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
เทคโนโลยีรุ่นที่ 5 (5G) ระบบ 5G เป็นระบบสื่อสารไร้สายยุคถัดจากระบบ 4G โดยมีการกำหนดมาตรฐานจาก ITU (International Telecommunications Union) หรือสหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับโทรคมนาคม ระบบ 5G ใช้คลื่นความถี่ใหม่ที่มีขนาดแบนด์วิธกว้างมากซึ่งเปรียบได้กับถนนขนาดใหญ่ สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วถึง 20 Gbps มากกว่า 4G ถึง 20 เท่า ส่วนความเร็วถ้าได้ใช้จริง ๆ อาจจะไม่ถึง 20 Gbps เต็มความสามารถก็ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น พื้นที่ สภาพอากาศ อุปกรณ์ ในปัจจุบัน ITU ยังไม่ได้กำหนดคลื่นความถี่สำหรับเทคโนโลยี 5G อย่างเป็นทางการ แต่หลายหน่วยงานต่างเห็นตรงกันว่าจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ย่าน 3-6 GHz ซึ่งเป็นขนาดแบนด์วิธใหญ่มากพอที่จะรองรับข้อมูลปริมาณมาก ๆ ได้ อีกย่านหนึ่งคือ 28 GHz สำหรับประเทศที่มีการทดลองใช้งาน 5G แล้ว ได้แก่ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน โดยทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ระบุว่าจะเริ่มต้นใช้งาน 5G อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2020

20 วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
เทคโนโลยีรุ่นที่ 5 (5G) ต่อ 5G สามารถรองรับกับเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ที่อุปกรณ์เกือบทุกอย่าง จะสามารถเชื่อมข้อมูลกับอินเทอร์เน็ต ทำงานเชื่อมโยงผ่านการสื่อสารไร้สาย 5G จะทำให้ระบบ Virtual Reality และ Augmented Reality มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น 5G จะปฏิวัติวงการรถยนต์ไร้คนขับ (Driverless Cars) ด้วยความเร็วของสัญญาณและการรับส่งข้อมูลที่มีความเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้รถสามารถมีปฏิสัมพันธ์ทั้งระหว่างรถด้วยกันเองและถนนอัจฉริยะ (Smart Road) ซึ่งจะทำให้การขับขี่รูปแบบนี้มีความปลอดภัยและสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น คาดการณ์ว่าอุปกรณ์ IoT อย่างน้อย 30,000 ล้านอุปกรณ์ ภายในปี 2020 นี้ ในขณะที่บริษัท CISCO ที่ทำด้านอุปกรณ์ network ระดับโลก ได้ประเมินว่าอาจจะมีถึง 60,000 ล้านอุปกรณ์ในปีเดียวกัน และขณะนี้อุตสาหกรรมการสื่อสารกำลังมุ่งมั่นพัฒนาอย่างจริงจังเพื่อก้าวเข้าสู่ยุค 5G อย่างเต็มตัว

21 เทคโนโลยีไร้สายสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
เทคโนโลยี IrDA (Infrared Data Association) เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสารด้วยแสงอินฟราเรดโดย IrDA เป็นเทคโนโลยีที่มีราคาถูก ง่ายต่อการผลิต มีความปลอดภัยในการสื่อสาร และลำแสงอินฟราเรดเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุได้ ทำให้ต้องทำการติดต่อสื่อสารในบริเวณห้องเดียวกัน ตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีนี้ เช่น รีโมตคอนโทรลโทรทัศน์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์

22 เทคโนโลยีไร้สายสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ในการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ของ IrDA เป็นแบบ 2 ทิศทาง (Half duplex) โดยมีระยะทาง 1-3 เมตร มีอัตราส่งข้อมูลหลายระดับคือ SIR (Serial Infrared) หรือ IrDA 1.0 มีอัตราการรับส่งข้อมูล Kbps MIR (Medium Speed Infrared) หรือ IrDA 1.1 มีอัตราการรับส่งข้อมูล 576 Kbps Mbps FIR (Fast Infrared) หรือ IrDA 1.2 มีอัตราการรับส่งข้อมูล 4 Mbps VFIR (Very Fast Infrared) หรือ IrDA 1.3 มีอัตราการรับส่งข้อมูล 16 Mbps UFIR (Ultra Fast Infrared) มีอัตราการรับส่งข้อมูล 96 Mbps GigaIR (Gigabit Infrared) มีอัตราการรับส่งข้อมูล 512 Mbps - 1 Gbps

23 เทคโนโลยีไร้สายสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
เทคโนโลยี NFC (Near Field Communication) เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระยะสั้นประมาณ 4 ซม. มีอัตราการรับ-ส่งข้อมูลสูงถึง 424 Kbps สามารถใช้ได้ดีกับโครงสร้างพื้นฐานแบบไร้สัมผัส รองรับการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระยะใกล้

24 เทคโนโลยีไร้สายสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
เทคโนโลยี Bluetooth สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตรา 1 Mbps ในระยะทางไม่เกิน 10 เมตร ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายระหว่างอุปกรณ์ที่มีฟังก์ชั่นที่แตกต่างกัน เช่น แล็ปท็อป เครื่องพิมพ์ กล้องดิจิตอล พีดีเอ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ชุดหูฟังและไมโครโฟน คีย์บอร์ด เมาส์ และอุปกรณ์ประมวลผลขนาดเล็กอื่นๆ ภาพตัวอย่างเทคโนโลยี Bluetooth ของ Samsung ที่มา: หูฟัง Bluetooth HM โดย Samsung. (2017). Retrieved on July 1, 2017, from com/th/consumer/mobile-devices/accessories/audio/BHM1300JBEGTHO/

25 เทคโนโลยีไร้สายสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
เทคโนโลยี Wi-Fi มาตรฐาน IEEE มีการใช้งานในระดับองค์กรต่างๆ มากขึ้นหลังจากปี ค.ศ. 1990 ในปัจจุบันอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ มีการใช้เทคโนโลยี Wi-Fi เพิ่มมากขึ้น IEEE คือมาตรฐานการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สายกำหนดขึ้นโดย Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) เป็นมาตรฐานกลาง ที่ได้นำมาปฏิบัติใช้ เพื่อที่จะทำการเชื่อมโยงอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายเข้าด้วยกันบนระบบ การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สาย จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์สองชิ้น คือ Access point และ ตัวรับส่งสัญญาณไวเลส

26 เทคโนโลยีไร้สายสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
เทคโนโลยี WiMAX WiMAX มาจากคำว่า Worldwide Interoperability of Microwave Access เครือข่ายระดับเมือง (MAN) ตามมาตรฐาน IEEE ได้รับการรับรองเมื่อ ค.ศ. 2002 การใช้เทคโนโลยี WiMAX เป็นการให้บริการกับ องค์กรธุรกิจหรือผู้ใช้ตามบ้าน ปัจจุบันเริ่มมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อ WiMAX บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น Notebook/Netbook, PDA, Smartphone คล้ายกับการติดตั้งเทคโนโลยีของ Wi-Fi ภาพตัวอย่างของเครือข่าย WiMAX ที่มา: WiMAX. โดย Boss Corporation Thailand Co.,Ltd. (2017). Retrieved on July 1, 2017, from

27 อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Devices)
1. Notebook / Netbook ภาพอุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภท Notebook หรือ Laptop ที่มา: Dell Inspiron 5000 Series. โดย Dell Incorporation. (2017). Retrieved on July 1, 2017, from

28 อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Devices)
2. PDA (Personal Digital Assistant) ภาพอุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภท PDA ที่มา: Compaq iPAQ Pocket PC H3600 Series. โดย HP Development Company. (2017). Retrieved on July 1, 2017, from

29 อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Devices)
3. Tablet ภาพอุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภท Tablet ที่มา: iPad. โดย Apple Incorporation. (2017). Retrieved on July 1, 2017, from

30 อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Devices)
4. Cellphone โทรศัพท์แบบ Cellular phones หรือ Cellphone มีฟังก์ชันการทำงานขั้นพื้นฐาน เช่น การโทรออก-รับสายเข้า การรับ-ส่งข้อความ SMS/MMS เป็นโทรศัพท์ที่เน้นการใช้เสียงเป็นหลัก โดยมีข้อจำกัด เช่น มีหน่วยความจำน้อยประมาณไม่เกิน 10 MB อัตราการโอนย้ายข้อมูลต่ำ แต่ในบางรุ่นก็มีฟังก์ชันเพิ่มเติม เช่น WAP (Wireless Application Protocol) หรือ GPRS เป็นต้น

31 อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Devices)
5. Smartphone Smartphone เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานมากที่สุดในยุคปัจจุบัน โดยเป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่นำเอาฟังก์ชันของ PDA และแอปพลิเคชันของคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน นอกจากนั้นในเรื่องของการติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย สามารถรองรับ Wi-Fi, Bluetooth หรือ IrDA ได้ โดยในปัจจุบันเทคโนโลยีในกลุ่มนี้มีราคาถูกลง และมีแนวโน้มการใช้งานเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ภาพอุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภท Smartphone ที่มา: Galaxy S8 vs. iPhone 7 โดย pcmag. (2017). Retrieved on July 1, 2017, from

32 ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
1. แอนดรอยด์ (Andriod) เริ่มต้นพัฒนาโดยบริษัท Android Inc. และต่อมาได้ขายลิขสิทธิ์ให้กับ Google ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะ Open Platform ที่ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้งานเองได้ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ใช้ชื่อเรียกเวอร์ชัน (Code Names) ตามชื่อขนมหวานชนิดต่าง ๆ เช่น v.4.1/4.2/4.3 (Jelly Bean), v.4.4/4.4.3 (KitKat), v.5.0 (Lollipop), v.6.0 (Marshmallow), v.7.0 (Nougat) , v.8.0 (Oreo) เป็นต้น

33 ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
2. ไอโอเอส (iOS) ระบบปฏิบัติการ iOS พัฒนาโดยบริษัท Apple ใช้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของ Apple เอง เช่น iPhone, iPad, iPod, MacBook, MacBook Air ผู้ใช้ iOS สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ จาก AppStore ซึ่งมีทั้งแอปที่เป็นของฟรีและต้องจ่ายเงิน

34 ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
3. วินโดส์โมบาย (Windows Mobile) เริ่มต้นใช้ชื่อระบบปฏิบัติการว่า Windows CE --> Windows Mobile --> Windows Phone --> Windows 10 Mobile (เวอร์ชันปัจจุบัน ค.ศ.2017) Windows Mobile แบ่งได้เป็น 3 รุ่นหลักคือ Windows Mobile Standard , Windows Mobile Professional และ Windows Mobile Classic มีโปรแกรม Office Mobile ที่สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรม Microsoft Office บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่างๆ จาก Windows Marketplace ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 10,000 แอปพลิเคชัน ภาพตัวอย่างระบบปฏิบัติการ Windows Mobile ที่มา: Building Apps for Windows Phone 8. โดย Microsoft Corporation. (2017). Retrieved on July 1, 2017, from

35 ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
4. ซิมเบียน (Symbian) เป็นระบบปฏิบัติการขนาดเล็กแบบ 32 บิต ที่ใช้สถาปัตยกรรม Object-oriented C++ และมีการใช้ทรัพยากรของอุปกรณ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น Symbian OS เริ่มจากการเป็นซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง PDA ในอดีต Symbian OS เคยเป็นระบบปฏิบัติการหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และถูกนำไปใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนมาก ภาพตัวอย่างระบบปฏิบัติการซิมเบียน (Symbian) ที่มา: Get Microsoft Office for Symbian. โดย Microsoft Corporation. (2017). Retrieved on July 1, 2017, from

36 ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
5. แบล็คเบอรี่ (BlackBerry) BlackBerry เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท RIM (Research In Motion) BlackBerry ใช้กลไกการตรวจสอบอีเมล์แบบ Push Notification ในการใช้งานนั้นจะมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา (Always on) ผ่านทาง GPRS หรือ EDGE หรือ 3G เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูล ได้เป็นอย่างดีเยี่ยม จนฝ่ายความมั่นคงของบางประเทศ ห้ามมีการจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ BlackBerry BlackBerry ยังมีจุดอ่อนอีกหลายอย่าง เช่น เรื่องของความเร็ว ในการแสดงผลของ Browser จำนวนแอปพลิเคชันที่มีน้อยเมื่อ เทียบกับ iOS และ Android ซึ่งอาจจะทำให้ในอนาคตความนิยมลดน้อยลง

37 แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
1. การโอนเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Money Transfer) 2. การสืบค้นผ่านอุปกรณ์สื่อสาร (Mobile Search) 3. การใช้บริการเว็บไซต์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Browsing) 4. การติดตามสุขภาพหรือการตรวจสุขภาพทางไกล (Mobile Health Monitoring) 5. การชำระเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Payment) 6. การเชื่อมต่อสัญญาณและการโอนย้ายข้อมูลระยะสั้นด้วยเทคโนโลยี NFC

38 แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (ต่อ)
7. การโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Advertising) 8. การรับ-ส่งข้อความตัวอักษรหรือภาพ (Mobile Instant Messaging) 9. บริการเพลงประเภทต่าง ๆ (Mobile Music) 10. Banking Services 11. Location Based Services (LBS) 12. Cloud Based Services (CBS) บทที่ 8 โดยคณาจารย์ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

39 แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (ต่อ)
การโอนเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Money Transfer)

40 บทสรุป เทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ มีการพัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการพัฒนาและเชื่อมต่อเครือข่ายกันได้ทั่วโลกจากยุค 1G ถึง 4G ที่เริ่มด้วยการติดต่อสื่อสารด้วยเสียงในระบบอนาล็อค จนกระทั่งเป็นการติดต่อสื่อสารด้วยระบบดิจิตอลมีการรับส่งข้อมูลแบบมัลติมิเดียด้วยความเร็วสูงและมีประสิทธิภาพในปัจจุบัน ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ พร้อมกับในปัจจุบันมีการพัฒนาอุปกรณ์เคลื่อนที่และอุปกรณ์พกพาแบบต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการพัฒนาและปรับปรุงระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่และแอปพลิเคชันต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อใช้ในการสนับสนุนธุรกิจ ความบันเทิง และการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกในการใช้งานเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จากเหตุผลที่กล่าวมาส่งผลต่อจำนวนผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ทั่วโลกเพิ่มจำนวนมากขึ้น และส่งผลต่อการพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ที่จะใช้ในการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้งานทั่วโลก ตัวอย่างเช่น การค้นหาข้อมูล การใช้งานโซเชียลมีเดีย ดูหนัง ฟังเพลง ดูรายการทีวีสด การดูแลสุขภาพทางไกล การจ่ายค่าบริการต่าง ๆ การทำธุรกรรมทางการเงิน การบันเทิง การประชุมทางไกล และการใช้งานและจัดเก็บข้อมูลจากระยะไกล เป็นต้น

41 Questions?


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 8 เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Technology)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google