ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
รายงานความก้าวหน้า การสนองพระราชดำริด้านงานวิจัย
จัดทำโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดือนมีนาคม 2558
2
ความก้าวหน้าด้านงานวิจัย
ระบบปฏิบัติการเพื่อคาดการณ์ความสูงและทิศทางคลื่น (Simulating WAves Nearshore: SWAN) การประยุกต์ใช้สำหรับการวางแผนการระบายน้ำลงสู่ ทะเล: ปฏิบัติการณ์ร่วม ป้องกัน-บรรเทาอุทกภัยจังหวัด ยะลา-ปัตตานี
3
ระบบปฏิบัติการเพื่อคาดการณ์ความสูงและทิศทางคลื่น
พัฒนาแบบจำลอง Simulating WAves Nearshore (SWAN) เพื่อคำนวณความสูงและทิศทางคลื่น บริเวณอ่าวไทย ให้สามารถคำนวณคลื่นบริเวณน้ำตื้นได้ ซึ่งเหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศของอ่าวไทยที่มีความลึกเฉลี่ย 45 เมตร เชื่อมโยงข้อมูลลม reanalysis จากแบบจำลอง Navy Global Environmental Model (NAVGEM) เพื่อคำนวณคลื่นในช่วงก่อนการคาดการณ์ และนำข้อมูลลมคาดการณ์ที่ความละเอียดสูงจากแบบจำลอง Weather Research and Forecasting model (WRF) มาใช้ในการคาดการณ์ความสูงและทิศทางคลื่นล่วงหน้า 7 วัน สนับสนุนการเตือนภัยพื้นที่ชายฝั่งและประยุกต์ใช้สำหรับการวางแผนการระบายน้ำลงสู่ทะเลได้
4
ระบบปฏิบัติการเพื่อคาดการณ์ความสูงและทิศทางคลื่น
แบบจำลอง SWAN ข้อมูลนำเข้า ETOPO1 (Bathymetry data) Bathymetry data + Wind data Boundary condition Results Initial condition MATLAB แผนที่แสดงความเร็ว และทิศทางลม แผนที่แสดงความสูง และทิศทางคลื่น WRF (Forecast wind data) แผนภาพความสูงคลื่น แบบอนุกรมเวลา ผังแสดงทิศทาง และความสูงคลื่น NAVGEM (Reanalysis wind data)
5
สนับสนุนข้อมูลสำหรับการวางแผนการระบายน้ำ:
ปฏิบัติการณ์ร่วม ป้องกัน-บรรเทาอุทกภัย จังหวัดยะลา-ปัตตานี
6
ปริมาณฝนบริเวณภาคใต้ตอนล่าง เดือนธันวาคม 2557
เกิดฝนตกหนักมากต่อเนื่องในหลายจังหวัดบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ปริมาณฝนรายวันสุงสุดวัดได้ 358 มม. ที่ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส ในวันที่ 17 ธ.ค. 57 6
7
สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนบางลาง
น้ำกักเก็บเต็มอ่าง 100% วันที่ 26 ธ.ค. 57 ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ธ.ค. ไหลลงสูงสุด 103 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 24 ธ.ค.57 เริ่มเปิด spillway เพื่อเร่งระบายน้ำตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.57 เวลา น. ระบายสูงสุด 48 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 29 ธ.ค.57 7
8
คลื่นทะเล จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลให้ความสูงของคลื่นบริเวณอ่าวไทยเพิ่มขึ้นในหลายช่วง โดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยตอนล่างที่ความสูงของคลื่นเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในช่วงวันที่ , และ ธ.ค. 57
9
การปฏิบัติการณ์ร่วม สสนก. ได้เฝ้าติดตามและประเมินสถานการณ์ร่วมกันกับ กฟผ. ปภ. และ ชป. อย่างใกล้ชิด โดยได้วิเคราะห์แนวโน้มการระบายน้ำจากเขื่อนบางลาง ในช่วง เวลาที่เหมาะสมตั้งแต่ช่วงวันที่ 26 ธ.ค เป็นต้นไป เนื่องจากคาดการณ์ แล้วว่า ปริมาณฝนจะลดลง คลื่นในอ่าวไทยจะลดกำลังลงและแม้จะกลับมา รุนแรงในช่วง ธ.ค แต่ก็เป็นช่วงเวลาระดับน้ำทะเลลดต่ำลง กฟผ.ได้หน่วงน้ำจากฝนตกหนัก ช่วงวันที่ ธ.ค ไว้ที่เขื่อนบาง ลางกว่า 517 ล้าน ลบ.ม. และระบายน้ำผ่านทางระบายน้ำล้นฉุกเฉิน วันละ 40 ล้าน ลบ.ม. ในวันที่ 26 ธันวาคม เวลา น. กรมชลประทานเร่งระบายน้ำที่เขื่อนปัตตานีผ่านแม่น้ำปัตตานีและคลอง ชลประทานทั้ง 5 สาย รวมกว่า 700 ลบ.ม./วินาที ทำให้น้ำที่ระบายจากเขื่อน บางลาง ไหลผ่าน อ.เมืองยะลา ปริมาณ 650 ลบ.ม./วินาที ไม่ส่งผลให้ระดับน้ำ เพิ่มสูงขึ้นมากแต่อย่างใด ชุมชนปะกาฮะรังและชุมชนท่าด่าน ร่วมบริหารจัดการน้ำด้วยการเร่งระบายน้ำ ด้านท้ายน้ำและน้ำที่ระบายมาจากเขื่อนปัตตานี ให้ออกสู่ทะเลโดยเร็ว ทำให้ ชุมชนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเพียงเล็กน้อย
10
การคาดการณ์ปริมาณฝนจากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF (ความละเอียด 3x3 กม
26 ธ.ค. 57 27 ธ.ค. 57 28 ธ.ค. 57 29 ธ.ค. 57 30 ธ.ค. 57 31 ธ.ค. 57
11
ผลการคาดการณ์ความสูงและทิศทางคลื่นทะเล
บริเวณอ่าวไทยและอันดามัน ช่วงวันที่ ธ.ค. 57 26 ธ.ค. 2557 27 ธ.ค. 2557 7.00 น. 19.00 น. 7.00 น. 19.00 น. 29 ธ.ค. 2557 30 ธ.ค. 2557 7.00 น. 19.00 น. 7.00 น. 19.00 น. 11 ที่มา: สสนก.
12
ผลการคาดการณ์ระดับน้ำทะเล
สงขลา ปากน้ำปัตตานี 12 ที่มา: กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ
13
การระบายน้ำของเขื่อนบางลาง ไม่กระทบต่อ อ.เมืองยะลา และ อ.เมืองปัตตานี
เขื่อนบางลางหน่วงน้ำกว่า 517 ล้าน ลบ.ม. ชุมชนปะกาฮะรังและชุมชนท่าด่าน ร่วมเร่งระบายน้ำด้านท้ายน้ำให้ออกสู่ทะเลโดยเร็ว เขื่อนปัตตานี ระบายน้ำมากกว่า 700 ลบ.ม./วินาที
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.