งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์3

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์3"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์3
สมมติฐานของการวิจัย การกำหนดและการนิยามตัวแปร

2 สมมติฐาน ข้อเสนอ เงื่อนไข หรือหลักการ ที่เราสมมติขึ้นมาเพื่อหาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผล และเพื่อทดสอบกับข้อเท็จจริง คำกล่าวในเชิงคาดคะเนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวหรือมากกว่าสองตัว การรวบรวมข้อมูลโดยมีสมมติฐานเป็นการจำกัดเรื่องที่วิจัย เพื่อให้นักวิจัยสามารถมุ่งสนใจในบางลักษณะที่ถือว่ามีความสำคัญในการวิจัย เป็นการป้องกันการรวบรวมข้อมูลโดยปราศจากเป้าหมาย

3 ประโยชน์ของสมมติฐาน ช่วยชี้แนวทางในการศึกษาค้นคว้า เพื่อให้ทราบว่าจะค้นคว้าด้วยข้อมูลอะไร ช่วยในการวางแผนข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นเครื่องเชื่อมโยงกับทฤษฎี เป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ

4 ประเภทของสมมติฐาน สมมติฐานในเชิงพรรณนา เป็นสมมติฐานที่กล่าวถึงปรากฏการณ์หนึ่ง หรือตัวแปรหนึ่งโดยสม่ำเสมอ เป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงโดยไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร สมมติฐานในเชิงวิเคราะห์ เป็นสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยมีจุดมุ่งหมายต้องการค้นหาว่า การเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบหนึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบอื่นๆ เพียงใด

5 แหล่งที่มาของสมมติฐาน
สมมติฐานได้มาจากวัฒนธรรมที่ศาสตร์นั้นพัฒนาขึ้นมา สมมติฐานได้มาจากศาสตร์ สมมติฐานได้มาจากการเปรียบเทียบ สมมติฐานได้มาจากประสบการณ์ส่วนบุคคล สมมติฐานได้มาจากผลของการวิจัยที่ผู้อื่นค้นพบได้ สมมติฐานอาจได้มาจากข้อสงสัยของนักวิจัยเอง

6 เกณฑ์ในการพิจารณาสมมติฐานที่เป็นประโยชน์
ต้องมีแนวความคิดกำหนดไว้โดยชัดเจน ไม่คลุมเครือ มีข้ออ้างอิงจากประสบการณ์ ต้องเฉพาะเจาะจง การปฏิบัติการและเงื่อนไขต่างๆต้องระบุให้ชัดเจน ควรเกี่ยวข้องกับเทคนิคที่มีอยู่ (เทคนิคในการทดสอบ) ควรเกี่ยวข้องกับทฤษฎี

7 การกำหนดและการนิยามตัวแปร
ความหมาย คุณสมบัติหรือคุณลักษณะของสิ่งต่างๆซึ่งอาจเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ลักษณะสำคัญของตัวแปร ในกลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างกลุ่มหนึ่ง เมื่อวัดลักษณะที่ต้องการออกมา แล้วนำมาแจกแจงจะต้องมีลักษณะที่วัดได้แตกต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีมากกว่า 1 ลักษณะ

8 ลักษณะและชนิดของตัวแปร
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ตัวแปรที่เรียกว่า concept หมายถึง ตัวแปรที่แสดงความหมายในลักษณะที่คนทั่วไปรับรู้ได้ตรงกัน เช่น เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา เป็นต้น ตัวแปรที่เรียกว่า construct หมายถึง ตัวแปรที่แสดงความหมายในลักษณะตัวบุคคลคนทั่วไปอาจรับรู้ได้ตรงกันหรือไม่ตรงกันก็ได้ ตัวแปรประเภทนี้มักเป็นตัวแปรที่เป็นนามธรรม ตัวแปรลักษณะนี้เรียกว่า ตัวแปรสมมติฐาน (Hypothesis variable) เช่น ทัศนคติ ความเป็นผู้นำ แรงจูงใจ เป็นต้น

9 ลักษณะและชนิดของตัวแปร
ถ้าพิจารณาในแง่ของชนิดของตัวแปร จะแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด ดังนี้ ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent variable) ตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนและเป็นเหตุให้เกิดผลตามมา ตัวแปรตาม (Dependent variable) ตัวแปรที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ตัวแปรอิสระ ตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous variable) ตัวแปรสอดแทรก (Intervening variable)

10 การนิยามตัวแปร การนิยามตัวแปรแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
การนิยามในรูปแนวความคิด (Conceptual Definition) เป็นการให้คำนิยามในรูปของการพรรณนาลักษณะหรือแนวความคิดของตัวแปรนั้น มีลักษณะคล้ายกับการให้คำนิยามของพจนานุกรม การนิยามปฏิบัติการ (Operational or Working Definition) เป็นการให้คำนิยามที่สามารถจะสังเกตได้ วัดได้จากความเป็นจริง


ดาวน์โหลด ppt ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์3

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google