ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMalcolm Merritt ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
นายรณรงค์ เทพรักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและประเมินผล นายเกรียงไกร ปัญญาพงศธร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2
ขอบเขตการนำเสนอ 1.สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย
2.กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนา ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11
3
1. สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อการพัฒนาประเทศไทย
4. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวน 1.กฎ กติกาใหม่ของโลกหลายด้านส่งผลให้ทุกประเทศต้องปรับตัว 5.ปัญหาความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของโลกมีแนวโน้มจะเป็นปัญหาสำคัญ 2.การปรับตัวสู่เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลาง รวมทั้งภูมิภาค 6.ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 3.การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของโลกอย่างต่อเนื่อง 7.การก่อการร้ายสากลเป็นภัยคุกคามของโลก
4
6 ความเสี่ยงของประเทศไทย
1. การบริหารภาครัฐอ่อนแอ การบริหารขาดประสิทธิภาพ ความโปร่งใส ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับภาค ประชาชนและระหว่างประชาชนกับประชาชนใน บางพื้นที่มีช่องว่างมากขึ้น 2. โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับ การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โครงสร้างเศรษฐกิจพึ่งภาคอุตสาหกรรมในสัดส่วนสูง ทำให้เศรษฐกิจไทยอ่อนไหวต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การขยายตัวทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับปัจจัยการผลิตดั้งเดิมโดยเฉพาะทุน และแรงงานราคาถูกที่มีผลผลิตต่ำ เป็นอุปสรรคเรื่องความสามารถการแข่งขัน ความต้องการพลังงานของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่พึ่งพิงพลังงานต่างประเทศ
5
6 ความเสี่ยงของประเทศไทย
3. โครงสร้างประชากรที่มีวัย สูงอายุมากขึ้น วัยเด็ก และวัย แรงงานลดลง ส่งผลให้การเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจในอนาคตต้องชะลอตัวลง ภาครัฐและครัวเรือนจะมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 4. ค่านิยมที่ดีงามของไทยเสื่อมถอย คนไทยให้ความสำคัญกับ ศีลธรรมและวัฒนธรรมที่ดีงามลดลง กระแสโลกาภิวัตน์และวัฒนธรรม โลก ส่งผลต่อวิถีชีวิตคนไทยทั้งระดับครอบครัว ชุมชน และประเทศ
6
6 ความเสี่ยงของประเทศไทย
5. ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพ แวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อม โทรมรุนแรง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศส่งผลให้ สถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรง โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำ รูปแบบและพฤติกรรมการบริโภคที่ฟุ่มเฟือยทั้งในภาคประชาชนและภาคการผลิต เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การพัฒนาไม่ยั่งยืน 6. ประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงด้านความมั่นคง ได้แก่ ปัญหาความไม่สงบในประเทศ ปัญหาการก่อการร้าย วิกฤตเศรษฐกิจ และภัยพิบัติต่างๆ
7
5.ภูมิคุ้มกันของประเทศไทย
1.ประเทศไทยมีการ ปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักที่ยึดโยงคนในชาติให้เกาะเกี่ยวแน่นแฟ้น พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นแบบอย่างของการดำรงชีวิตของคน ในสังคม
8
5 ภูมิคุ้มกันของประเทศไทย
2. การพัฒนาประเทศให้อยู่บนพื้นความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนา ประเทศ ในการปรับเปลี่ยนการผลิตจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เงินทุน และแรงงานที่มีผลิตภาพต่ำ ไปสู่การใช้ความรู้และความชำนาญด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3. สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม แม้สิ่งดีๆ จะหายไปบ้างแต่สังคม ไทยก็ยังมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงามหลงเหลือและยังคงถ่ายทอดมาถึงคนรุ่นนี้ ได้แก่ การมีกิริยามารยาท การ ช่วยเหลือ น้ำใจไมตรี และการมีสัมมา คารวะ เป็นต้น
9
5 ภูมิคุ้มกันของประเทศไทย
4. ประเทศไทยมีภาคการเกษตรเป็นฐาน สร้างรายได้และความ มั่นคงด้านอาหารของประเทศ ภาคการเกษตรเป็นแหล่งอาหารหลักของประเทศ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง 5. ชุมชนเป็นกลไกที่มีความ สามารถในการบริหารจัดการ มี ส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตและเชื่อมโยงกันเป็นสังคม สวัสดิการ ชุมชนเข้มแข็งจะเป็นพลังหลักในการพัฒนารากฐานของประเทศ ชุมชนที่พึ่งตนเองได้ จะสามารถบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10
2.กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภายใต้แผน ๑๑
ความเสี่ยงที่ประเทศไทย ต้องเผชิญ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความ เสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” ๖ ยุทธศาสตร์การพัฒนา โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญ เติบโตอย่างยั่งยืน การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ๑ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ๒ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน โครงสร้างประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น วัยเด็ก วัยแรงงานลดลง มีความเสี่ยงด้านความมั่นคง พันธกิจ ๖ ความเสี่ยง สร้างสังคมเป็นธรรม ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต พัฒนาคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย พัฒนาฐานการผลิตและบริการให้เข้มแข็งและมีเสถียรภาพบนฐานความรู้และการสร้างสรรค์ของคนไทย สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๓ ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน ฐานทรัพยากรธรรมชาติสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมรุนแรง ๔ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ สู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ ค่านิยมดีงามของไทยเสื่อมถอย ๕ ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงใน ภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้าง ๕ ภูมิคุ้มกันให้ประเทศพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง ๖ ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ๕ ภูมิคุ้มกัน เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จ ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดี งาม ภาคเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความ มั่นคงด้านอาหารของประเทศ ชุมชนเป็นกลไกที่มีความสามารถในการ บริหารจัดการ ความอยู่เย็นเป็นสุขของคนในสังคมและความสงบสุขของสังคมไทยเพิ่มขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะที่ดีขึ้น และสถาบันทางสังคมมีความเข้มแข้งมากขึ้น เศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ยร้อยละ ๕ ต่อปี อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย ผลิตภาพการผลิตรวมสูงขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓ ต่อปี คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุข ดัชนีความสงบสุข สัดส่วนรายได้ระหว่างกลุ่มประชากร จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงิน เฟ้อ ผลิตภาพการผลิตรวม 10
11
1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
4 เสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสังคมให้ทุกคนในสังคมไทย 2 การจัดบริการทางสังคม ให้ทุกคนตามสิทธิพึงมีพึงได้ 3 การเสริมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วน 11
12
2.1 ปรับโครงสร้างและการกระจายตัวประชากรให้เหมาะสม
2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน 2.1 ปรับโครงสร้างและการกระจายตัวประชากรให้เหมาะสม 2.2 พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง 2.3 ส่งเสริมการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม 2.4 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2.5 ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม 12
13
3. ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
1 พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตร 2 เพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร 3 สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต สร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร 4 5 สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชน 6 สร้างความมั่นคงด้านพลังงานชีวภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและความเข้มแข็งภาคเกษตร 7 ปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและ พลังงาน 13
14
4.1 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน
4. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ 4.1 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน 4.2 พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม 4.3 พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ เท่าเทียม และเป็นธรรม 4.4 การบริหารจัดการเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีเสถียรภาพ 14
15
สร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
5. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จุดเน้นของยุทธศาสตร์ “ให้ความสำคัญกับ 3 วง ของกรอบความร่วมมือ” รวมทั้งประเด็นการพัฒนา ร่วมและปัจจัยสนับสนุน อนุภูมิภาค (GMS, IMT-GT, ACMECS, BIMSTEC) อาเซียน (ASEAN) อาเซียน+3, อาเซียน+6, เอเปค, และอื่นๆ 1 2 3 10 แนว ทาง การ พัฒนา กรอบอนุภูมิภาค อาเซียน อาเซียน+เอเปค ปัจจัยสนับสนุน 5.1 พัฒนาความเชื่อมโยงการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ 5.2 พัฒนาฐานการลงทุนโดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 5.3 สร้างความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 5.4 เข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศและภูมิภาคอย่างสร้างสรรค์ 5.10 ปรับปรุงและสร้างความเข้มแข็งของภาคีการพัฒนาในท้องถิ่น ประเด็น ร่วม 5.5 สร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์/เคลื่อนย้ายแรงงาน/ส่งเสริมแรงงานไทยใน ตปท. 5.6 การมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมนานาชาติที่มีคุณภาพชีวิต ป้องกันภัยจากการก่อการร้ายและอาชญากรรม ยาเสพติด ภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรคภัย 5.7 เสริมสร้างความร่วมมือที่ดีในการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมี จริยธรรมไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 5.8 การเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว 5.9 การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการลงทุน และการประกอบธุรกิจในเอเชียรวมทั้งเป็นฐานความร่วมมือในการพัฒนาภูมิภาค
16
6.ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
1 การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 2 การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 1. การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการคุ้มครอง ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ และเขตอนุรักษ์ พัฒนาระบบ ฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และการจัดการองค์ความรู้ ปรับปรุงการบริหารจัดการที่ดินทั้งระบบ กระจายการถือครองที่ดินให้เกิดความเป็นธรรม เร่งรัดพัฒนาและ ฟื้นฟูคุณภาพดิน วางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เร่งรัดการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ พัฒนาปรับปรุงและฟื้นฟูแหล่งน้ำ พัฒนาและส่งเสริม ให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานด้านทรัพยากรน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคอย่างเป็นระบบ และ ส่งเสริมการอนุรักษ์ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ และแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม 2. การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการปรับโครงสร้างการผลิต ของประเทศสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคขนส่ง เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก พัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมเน้นการวางผังเมืองที่ผสมผสานวัฒนธรรม สังคม ระบบนิเวศเข้าด้วยกัน และปรับพฤติกรรมการบริโภคสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. การยกระดับขีดความสามารถในการรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้สังคมมีภูมิคุ้มกัน โดยพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบ และ การปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พัฒนาเครื่องมือในการบริหารจัดการเพื่อรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาศักยภาพ ชุมชนให้เข้มแข็งพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4. เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยจัดทำแผนที่เพื่อบ่งชี้พื้นที่เสี่ยงภัยทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาคและจังหวัด และจัดลำดับความเสี่ยงพื้นที่เสี่ยง พัฒนายกระดับการจัดการภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับแนวโน้มการเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงในอนาคต พัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ส่งเสริม การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการจัดการภัยพิบัติ วางระบบเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ พัฒนาระบบงานอาสาสมัครของประเทศอย่างจริงจัง และมีมาตรฐานตามหลักสากล และสนับสนุนภาคเอกชน สถานประกอบการ โรงเรียน และท้องถิ่น 5. สร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤติภาวะโลกร้อน โดยติดตามและเฝ้าระวังมาตรการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อการค้า และการลงทุน เตรียมมาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการทางการค้าและข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ศึกษาผลกระทบ และกำหนดแผนกลยุทธ์รายสินค้า รวมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาในสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้ผู้ส่งออกทำคาร์บอนฟุตพริ้นต์ และสร้างแรงจูงใจให้เกิด อุตสาหกรรมใหม่ๆ 6. เพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีประชาคมโลกที่เกี่ยวข้องกับกรอบความตกลงและพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ โดยศึกษารายละเอียดและสร้างความ เข้าใจของพันธกรณี รวมทั้งติดตามสถานการณ์การเจรจาและท่าทีของประเทศต่างๆ สร้างความพร้อมและพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐเพื่อเสริมสร้างเทคนิคการเจรจา พัฒนาความร่วมมือในกลุ่มอาเซียน และสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7. การควบคุมและลดมลพิษ โดยลดปริมาณมลพิษทางอากาศ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะและน้ำเสียชุมชน พัฒนาระบบการจัดการของเสียอันตราย ขยะอีเล็กทรอนิกส์ และขยะติดเชื้อ ลดความเสี่ยงอันตราย การรั่วไหล และการเกิดอุบัติภัยจากสารเคมี และพัฒนาระบบเตือนภัย แจ้งเหตุฉุกเฉิน และระบบการจัดการเมื่อเกิดอุบัติภัยด้านมลพิษ 8. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรมอย่างบูรณาการ โดยพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง และ ส่งเสริมสิทธิชุมชนในการเข้าถึงและ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมและ พัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นและชุมชน ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์การ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมและบังคับใช้อย่างเสมอภาคเป็นธรรม ปรับนโยบายการ ลงทุนภาครัฐให้เอื้อต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลักดันให้มีการ จัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปฏิรูปการบริหารจัดการงบประมาณของประเทศ การยกระดับขีดความสามารถในการปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 3 4 การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ สร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤติจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 5 6 เพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีประชาคมโลกที่เกี่ยวข้องกับกรอบความตกลงและพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ 7 การควบคุมและลดมลพิษ 8 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรมอย่างบูรณาการ
17
ขอขอบคุณ กองวิชาการและแผนงาน 17
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.